เปิดปมนิยามใหม่ “ว่างงาน” …. เตรียมตัดสิทธิผู้ประกันตน “ลาออก?”

IMG_20150125_2

โดย บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ นักวิชาการมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน

220158

หลักเกณฑ์การเข้าถึงสิทธิประกันสังคมกรณีว่างงาน

  1. นายจ้างและลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนโดยบังคับตามกฎหมายประกันสังคมมาตรา 33 เท่านั้น ที่ต้องจ่ายเงินสมทบ และได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน
  2. ประโยชน์ทดแทนกรณีว่างาน มี 3 เรื่อง คือ 1.เงินทดแทนการขาดรายได้ 2.บริการจัดหางาน และ3.บริการพัฒนาฝีมือแรงงาน
  3. ผู้ประกันตนที่จะไดรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน

IMG_20150125_4

ถ้าว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินทดแทนในระหว่างว่างงานร้อยละ 50 ของค่าจ้างครั้งละไม่เกิน 180 วัน/ปี กรณีลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน และเลิกจ้างตามกำหนด ได้รับเงินทดแทนร้อยละ 30 ของค่าจ้างครั้งละไม่เกิน 90 วัน/ปี

  1. ผู้ประกันตนที่ต้องการได้สิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน ต้องไปขึ้นทะเบียนที่สำนักจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง และต้องไปรายงานตัวไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง โดย พร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่รัฐจัดหาให้หรือไปหางานใหม่เองหรือต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน

                    นิยามตามพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 กับพ.ร.บ.ฉบับครม.เสนอ

พ.ร.บ.พ.ศ.2533 พ.ร.บ.ฉบับครม.เสนอ
    “ว่างงาน” หมายความว่า การที่ผู้ประกันตนต้องหยุดงานเนื่องจากนิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง     ว่างงาน”หมายความว่า การที่ผู้ประกันตนต้องหยุดงานเนื่องจากนิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง เพราะเหตุลูกจ้างถูกเลิกจ้าง

                                                              คำอธิบาย

     นิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง สรุปรวมได้ 4 กรณี คือ

  1. เพราะนายจ้างเลิกจ้าง (ปลดออก/ไล่ออก)
  2. เพราะเกษียณอายุ และนายจ้างไม่ได้จ้างทำงานต่อ (ถือเป็นการ “เลิกจ้าง” ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา)
  3. เพราะสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน
  4. เพราะลาออกจากงาน ไม่ว่าด้วยเหตุอะไรก็ตาม? รวมถึงการลาออกก่อนกำหนดอายุเกษียณตามเงื่อนไขที่นายจ้างกำหนด

     ฝ่ายสนับสนุน VS ฝ่ายโต้แย้งกรณีไม่จ่ายประกันสังคมกรณีลาออก

     ฝ่ายสนับสนุน ไม่จ่ายประโยชน์ทดแทนประกันสังคมกรณีลาออก

  1. เพราะประเทศส่วนใหญ่ไม่ให้สิทธิประกันสังคมกรณีลูกจ้างลาออก
  2. มีลูกจ้างบางคนมีเจตนาไม่สุจริต โดยตั้งใจลาออก เพื่อขอรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานและกลับไปทำงานเป็นลูกจ้างอีก
  3. ลูกจ้างบางคนลาออก เพื่อความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ หรือ อัตราเงินเดือน/สวัสดิการของตนเองในอนาคต หรือไปประกอบอาชีพอื่น จึงไม่ใช่หน้าที่ของระบบประกันสังคมพึงไปช่วยเหลือ

ฝ่ายโต้แย้ง คัดค้านการไม่จ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีลาออก

1. กฎหมายประกันสังคมบังคับใช้กรณีว่างงานตั้งแต่ปี2547 เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ที่คุ้มครองถึงกรณีลาออกด้วย ถ้าแก้ไขกฎหมาย เพื่อคุ้มครองเหตุถูกเลิกจ้างเท่านั้น ย่อมเป็นการลิดรอนละเมิดสิทธิผู้ประกันตนในอนาคตได้

2. กฎหมายประกันสังคมกำหนดให้ลูกจ้างต้องจ่ายเงินสมทบกรณีว่างงานไปตลอดขณะทำงานอยู่ เมื่อลาออกจากงาน ควรที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนบ้าง เพราะเป็นเงินสมทบบางส่วนของ ผู้ประกันตนด้วย ซึ่งเป็นเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวนน้อยและไม่ได้รับง่ายๆ

3. ลูกจ้างที่มีเจตนาลาออกเพื่อรับเงินทดแทนการขาดรายได้เป็นเพียงส่วนน้อย ไม่ควรนำมาตัดสิทธิผู้ประกันตนส่วนใหญ่ในอนาคต และยังมีผู้ประกันตนที่ไม่รู้สิทธิ หรือ เข้าไม่ถึงสิทธิประกันการว่างงาน ทำให้ไม่ไปขึ้นทะเบียนว่างงานต่อสำนักงานจัดหางานเพือ่ขอรับสิทธิประโยชน์

4. ลูกจ้างจำนวนมาก ไม่มีเจตนาลาออกโดยสมัครใจโดยแท้จริง เพราะมีเหตุจำเป็น-เหตุจำยอมอื่นๆ เช่น ปัญหาสุขภาวะของตนเอง,นายจ้างต่อรองให้ลูกจ้างลงชื่อลาออก เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือจากนายจ้าง โดยไม่ต้องเสียเวลาไปฟ้องศาลแรงงานและไปหางานใหม่ได้เร็วขึ้น หรือไม่เสียประวัติบางอย่างถ้าไปสมัครงานใหม่

หรือลูกจ้างต้องลาออกเพราะนายจ้างย้ายสถานประกอบการไปไกล ส่งผลกระทบต่อชีวิตปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว , สถานประกอบการบางแห่ง นายจ้างอาจมีเหตุจำเป็นต้องค้างจ่ายค่าจ้าง หรือจ่ายค่าจ้างล่าช้าเป็นประจำ หรือไม่มีการทำงานล่วง เวลาขณะที่คนงานได้ค่าจ้างต่ำอยู่แล้ว ทำให้ลูกจ้างจำนวนมากต้องค่อยๆลาออกไป หางานที่มั่นคงกว่าหรือรายได้มากกว่าเดิม ฯลฯ

5. ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคม พบว่าตั้งแต่ปี2547 ถึง 2556 (ดูตารางที่ 1) มีแนวโน้มการลาออกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงหลังๆ(ปี2553-2556)ไม่น้อยกว่า 70% ของผู้ว่างงานทั้งหมด

เป็นไปได้ว่า นายจ้างหลายแห่งใช้วิธีข่มขู่ หรือชักจูงเกลี้ยกล่อม หรือหลอกลวง หรือต่อรองให้ลูกจ้างยอมลาออก เพื่อลดทอนสิทธิประโยชน์ที่ฝ่ายนายจ้างต้องจ่ายและป้องกันการร้องเรียน/ฟ้องร้องในอนาคต ขณะที่ลูกจ้างต้องเสียสิทธิประโยชน์ประกันสังคมกรณีว่างงาน

                                                          ตารางที่ 1

จำนวนการใช้บริการกรณีว่างงาน จำแนกตามสาเหตุ ปี 2547-2556

ปี

ถูกเลิกจ้าง (%)

สมัครใจลาออก(%)

สิ้นสุดสัญญาจ้าง (%)

รวม (100%)

2547 5,432 (35%) 8,102 (52%) 2,188 (14%) 15,722
2548 9,074 (32%) 14,821 (53%) 4,126 (15%) 28,021
2549 14,767 (37%) 22,427 (56%) 2,708 (7%) 39,902
2550 20,470 (36%) 33,573 (59%) 2,538 (4%) 56,581
2551 21,926 (30%) 45,545 (63%) 4,480 (6%) 71,951
2552 60,767 (44%) 73,783 (53%) 4,615 (3%) 139,165
2553 19,552 (22%) 66,279 (73%) 4,134 (5%) 89,965
2554 24,036 (24%) 69,029 (70%) 5,077 (5%) 98,142
2555 17,937 (20%) 63,873 (72%) 6,253 (7%) 88,063
2556 18,712 (20%) 72,619 (76%) 3,759 (4%) 95,090

ที่มา : กองวิจัยและพัฒนา สำนักงานประกันสังคม (สถิติประกันสังคม 2556 : น.60)

ข้อสังเกต คือ สำนักงานประกันสังคมไม่มีฐานข้อมูลชัดเจนว่าผู้ประกันตนถูกเลิกจ้าง และลาออก เพราะเหตุใดบ้าง? และไม่รู้ว่าผู้ประกันตนที่ไม่ไปแจ้งขึ้นทะเบียนว่างงานมีจำนวนมากน้อยเท่าไร เพราะเหตุใด?

ประเด็น คือ รายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. สภาผู้แทนราษฎร ที่ส่งให้วุฒิสภาพิจารณาในปลายปี2556 ก่อนยุบสภาผู้แทนราษฎร กรรมาธิการวิสามัญส่วนใหญ่ที่เป็น ส.ส.เห็นชอบให้ตัดความว่า “เพราะเหตุลูกจ้างถูกเลิกจ้าง” ออกจากนิยามของ “ว่างงาน” ของร่างกฎหมายฉบับรัฐบาลเสนอและสำนักงานประกันสังคมก็ไม่ได้คัดค้าน ขณะที่ประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายประกันสังคม (พลเอกสิงห์ศึก สิงห์ไพร) สภานิบัญญัติแห่งชาติปัจจุบัน กลับเห็นว่าเป็นการเปลี่ยนหลักการร่างกฎหมาย ถ้ากลับไปใช้นิยามเดิมของ “ว่างงาน” ตามกฎหมายประกันสังคม

                                                              ตารางที่ 2

                         สรุประยะเวลาดำเนินการจัดเก็บเงินสมทบเพื่อให้ประโยชน์ทดแทน

ประเภทของการประกันสังคม(มาตรา 54) ระยะเวลาดำเนินการจัดเก็บเงินสมทบเพื่อให้ประโยชน์ทดแทน(มาตรา 104) อัตราเงินสมทบ
ตามกฎหมาย จ่ายจริง
1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน2. กรณีคลอดบุตร3. กรณีทุพพลภาพ4. กรณีตาย ดำเนินการเมื่อพ้น 180 วันนับแต่วันที่ประกาศใช้บังคับกฎหมายประกันสังคม (มาตรา 2) คือ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2534 เป็นต้นไป ไม่เกิน 1.5% ฝ่ายละ1.5%
5. กรณีสงเคราะห์บุตร6. กรณีชราภาพ ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2541 เป็นต้นไป** ไม่เกิน 3% รัฐจ่าย1% นายจ้าง/ลูกจ้างฝ่ายละ 3%
7. กรณีว่างงาน ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2547 เป็นต้นไป** ไม่เกิน 5% รัฐจ่าย 0.25 % นายจ้าง/ลูกจ้างฝ่ายละ 0.50%

* พระราชกฤษฎีกากำหนดระยะเวลาเริ่มดำเนินการจัดเก็บเงินสมทบเพื่อการให้ประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ พ.ศ. 2541 ตรา ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2541

** พระราชกฤษฎีกากำหนดระยะเวลาเริ่มดำเนินการจัดเก็บเงินสมทบเพื่อการให้ประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ.2546 ตรา ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2546