เมื่อวันที่28 เมษายน2554 ที่กระทรวงแรงงาน สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ใน สมัชชาคนจน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เครือข่ายแรงงานนอกระบบ สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย. กลุ่มผู้ใช้แรงงานอยุธยาและใกล้เคียง กลุ่มผู้ใช้แรงงานรังสิตและใกล้เคียง กลุ่มผู้ใช้แรงงานสัมพันธ์ตะวันออก เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน รวมทั้งผู้ถูกผลกระทบจากากรทำงาน กว่า 30 คน ได้ไปติดตามทวงถามให้กระทรวงแรงงานจัดงานวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติให้ตรงกับวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ซึ่งให้เป็นไปตามติคณะรัฐมนตรี26 สิงหาคม2540 ที่ขบวนการแรงงาน องค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงานได้ผลักดัน โดยใช้เวลาถึง 3 ปี กว่า มติ ครม.จะเห็นชอบ แต่กระทรวงแรงงานกลับไม่จัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยให้ตรงกับวันรำลึกโศกนาฏกรรมโรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ไฟไหม้ตึกถล่ม จนคนงานวัยหนุ่มสาวต้องสังเวยชีวิต 188 ศพ บาดเจ็บ 469 ราย กับการสูญเสียที่ไม่มีวันจะเรียกกลับคืนมาได้ ทั้งเห็นควรให้กระทรวงแรงงานยกเลิกการจัดงานตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2535 ที่กำหนดให้วันที่ 1-5 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติที่ได้ยกเลิกไปแล้ว
โดยเรียกร้องให้กระทรวงแรงงานกำหนดสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ 10 พฤษภาคมของทุกปี เพื่อการกระตุ้นเตือนไม่ให้เกิดเหตุโศกนาฎกกรรมครั้งต่อไป และจะได้ให้สังคม หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน และผู้ใช้แรงงานตระหนักถึงการป้องกันสุขภาพความปลอดภัยในการทำงานให้มากขึ้นกว่านี้
ต่อมาในวันเดียวกันเครือข่ายแรงงาน ได้เข้าพบตัวแทนรัฐมนตรีรองอธิบดีกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน ทวงถามวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ 10 พฤษภาคม 2554 ที่ห้องประชุมชั้น 2 ตึกกรมสวัสดิการฯณ.กระทรวงแรงงาน
โดยทางรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานมอบหมาย ท่านอธิบดีกรมสวัสดิการฯมาพบแต่ท่านอธิบดีมอบหมาย ท่านรอง สุพรรณี มาพบกับตัวแทน สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ใน สมัชชาคนจน คุณชาลีลอย สูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย คุณสุจินต์ รุ่งสว่าง เครือข่ายแรงงานนอกระบบ คุณบุญยืน สุขใหม่ รองประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย. กลุ่มผู้ใช้แรงงานอยุธยาและใกล้เคียง กลุ่มผู้ใช้แรงงานรังสิตและใกล้เคียง กลุ่มผู้ใช้แรงงานสัมพันธ์ตะวันออก เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน รวมทั้งผู้ถูกผลกระทบจากากรทำงาน กว่า 30 คน ได้ไปติดตามทวงถามให้กระทรวงแรงงานจัดงานวัความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติให้ตรงกับวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 และปัญหาการเข้าไม่ถึงสิทธิกองทุนเงินทดแทนด้วยว่าทำไมต้องใช้ระยะเวลารอคำวินิจฉัยจากกองทุนเงินทดแทนนานมากอย่างน้อยๆก็ 7 เดือนซึ่งทำให้ผู้ป่วยจากการทำงาน เดือดร้อนไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้และอาจถูกนายจ้างเพ่งเล็ง
ตัวแทนกระทรวงแรงงาน ก็กล่าวว่าปีนี้คงปรับปรุงวันจัดสัปดาห์ความปลอดภัยไม่ทันแต่ปีหน้าจะมีการตั้งคณะกรรมการจัดงานวันความปลอดภัยให้ตรงกับวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 แล้วจะเชิญตัวแทนจากสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยและเครือข่ายแรงงานต่างๆ ร่วมจัดงานกำหนดสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ 10 พฤษภาคมของทุกปี อย่างไรก็คงต้องติดตามกันต่อไป
สมบุญ สีคำดอกแค สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ รายงาน