เครือข่ายแรงงานทวงกรรมาธิการ -การจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย

เมื่อวันที่  9 กุมภาพันธ์ 2554 เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน อาชีวอนามัย ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก สภาแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย  กลุ่มผู้ใช้แรงงานรังสิตและใกล้เคียง กลุ่มผู้ใช้แรงงานอยุธยาใกล้เคียง  เครือข่าย ปปส.กลุ่มแรงงานนอกระบบ กทม.สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย สมัชชาคนจน  ได้เข้ายื่นหนังสือทวงถามประธานกรรมาธิการวิสามัญร่างกฎหมายจัดตั้งสถาบันฯ ให้พิจารณาปรับปรุง กฎหมาย ที่มีการผลักดันการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่ผ่านเข้าสภาไปเรียบร้อย แล้วรอการบังคับใช้กฎหมายซึ่ง พระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้บรรจุ การจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาแวดล้อมในการทำงานไว้ในหมวด 7 มาตรา 52 ซึ่งขณะนี้กระทรวงแรงงานอยู่ระหว่างการตั้งกรรมการยกร่างพระราชกฤษฎีกา ซึ่งมีสัดส่วนทั้งตัวแทนภาครัฐและนักกฎหมายรวมทั้งภาคประชาชนร่วมยกร่างดังกล่าวดังนั้น จึงมีข้อเสนอดังนี้

1. ในมาตรา 10 พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.ฉบับนี้ต้องเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.และสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยดังกล่าวคือ ดอกผลของกองทุนต่อปีของ พ.ร.บ.เงินทดแทน จะต้องใช้จ่ายเพื่อการบำบัดรักษาและส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานของลูกจ้าง และเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานฯและในตัว พ.ร.บ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน และ องค์กรสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย ได้บรรจุไว้ในหมวด 2 มาตรา 9 ทุนทรัพย์ในการดำเนินงานของสถาบันฯ

(2) เงินรายปีที่ได้รับการจัดสรรจากกองทุนเงินทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน

(3) เงินรายปีที่ได้รับการจัดสรรจากกองทุนความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

โดยมีข้อเสนอ เพื่อให้สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯสามารถเนินงานตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของสถาบันฯได้จึงขอให้นำเงินต้น 10%ของกองทุนเงินทดแทนมาจัดสรรจ่ายให้สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯใช้ในการทำงานตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่

2. ในมาตรา 38 ให้มีคณะกรรมการแพทย์ ฯ ซึ่งที่ผ่านมาให้รัฐมนตรีแต่งตั้ง  จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพเวชกรรมสาขาต่างๆ

ที่ผ่านมามีปัญหาอุปสรรคของการเข้าถึงสิทธิกองทุนเงินทดแทนของลูกจ้างมาโดยตลอด 17 ปี ตั้งแต่มีการบังคับใช้กฎหมาย เพราะเวลาลูกจ้างได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแผนปัจจุบันชั้น 1 แล้วว่าคนงานเป็นโรคหรือประสบอันตรายเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ผลการวินิจฉัยของกองทุนเงินทดแทนความเห็นของคณะกรรมการแพทย์(ที่ไม่ได้วินิจฉัยตรวจรักษาลูกจ้างตั้งแต่แรก)กับออกมาขัดแย้งกับการวินิจฉัยของแพทย์ที่รักษาคนงานทำให้คนงานเสียสิทธิเสียเวลาในการอุทธรณ์หรือต่อสู้คดีกับกองทุนเงินทดแทนและทำให้ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลตั้งแต่ต้น จนทำให้สุขภาพการเจ็บป่วยเรื้อรังยากแก่การรักษาให้ดีขึ้นและกลับเข้าทำงานได้ ยังรวมถึงการถูกมองจากนายจ้างว่าคนงานไม่เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานและอาจถูกเลิกจ้างได้

ทั้งนี้จึงเสนอให้คณะกรรมการแพทย์ได้มาจากการสรรหาจากองค์กรต่างๆที่มีความเป็นกลางและควรมีแพทย์อาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
    
3.ขอให้ท่านประธานกรรมาธิการได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ มาชี้แจงเพิ่มเติมดังนี้
    – รองศาสตราจารย์ ดรเฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล
    – ดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล  อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต
    – รศ.สราวุธ สุธรรมาสา สาขาวิทยาศาสตร์สุขภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
    – นพ.อดุล  บัณฑกุล  หัวหน้าคลินิกแพทย์อาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม รพ.นพรัตน์ราชธานี
    – คุณฐาปบุตร  ชมเสวี นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยแห่งประเทศไทย

ความคืบหน้าการประชุมกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.เงินทดแทน (ฉบับ …)พ.ศ. ….

ในวันเดียวกัน (9 ก.พ. 54) ได้มีการประชุมกรรมาธิการวิสามัญร่าง พระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ณ.ห้องประชุมกรรมาธิการ ห้อง 3701รัฐสภา 3 โดยมี มีเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานและเครือข่ายอาชีวอนามัยมายื่นหนังสือ นายสุกิจ อัถโถปกรณ์ เป็นกรรมาธิการฯ พอสรุปได้ดังนี้
มาตรา 14  ให้สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนดชนิดของโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะของงาน

มาตรา 15 กรณีลูกจ้างต้องการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานภายหลังการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานของลูกจ้างตามความจำเป็นแต่ไม่เกินอัตราหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด

มาตรา 18 เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย หรือสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตาม มาตรา 20 แล้วแต่กรณี เช่น จากเดิม (1) ร้อยละ 60 แก้ไขใหม่เพิ่มเป็นร้อยละ 80 ของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานตั้งแต่ ซึ่งเดิมกำหนดไว้ 3 วันขึ้นไป แก้ไข  ใหม่คือ 1 วันขึ้นไป โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างไม่สมารถทำงานได้ไปจนตลอดระยะเวลาที่ไม่สมารถทำงานได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปี

(2) เดิมกำหนดที่ร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน  แก้ไขใหม่เป็นร้อยละ 80 ของค่าจ้างรายเดือน สำหรับกรณีลูกจ้างต้องสูญเสียสมรรถภาพโดยจ่ายตามประเภทของการสูญเสียอวัยวะและร้อยละของการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงาน ตามระยะเวลาการจ่ายที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด แต่ต้องไม่เกินสิบปี

(3) เดิมกำหนดร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน สำหรับทุพพลภาพ แก้ไขใหม่เป็นร้อยละ 80 ของค่าจ้างรายเดือน โดยจ่ายตามประเภทของการทุพลภาพและตามระยะเวลาที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด ของเดิมไม่เกินสิบห้าปี แก้ไขใหม่ แต่ต้องไม่น้อยกว่าสิบห้าปี

(4) ร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน แก้ไขใหม่เป็นร้อยละ 80 ของค่าจ้างรายเดือน สำหรับลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือสูญหาย กำหนด ของเดิม แปดปี แก้ไขใหม่เป็นสิบสองปี..

มาตรา19 ในกรณีที่นายจ้างจ่ายค่าทำแทนตามมาตรา 18(2) หรือ (3) และต่อมาลูกจ้างถึงแก่ความตายโดยมิใช่เนื่องจากากรทำงาน และยังได้รับค่าทดแทน ไม่ครบระยะเวลาตามสิทธิ์ดังกล่าวให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ต่อไปจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาตามสิทธิ แต่ทั้งนี้ ระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนรวมกันต้องไม่เกินสิบสองปี ของเดิมแค่แปดปี

วาระที่ 3   เรื่องพิจารณามาตราที่แขวนไว้ มาตรา20 แก้ไขวรรคสุดท้ายที่แขวนไว้  เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้บุคคลที่แสดงหลักฐานหรือพิสูจน์ ได้ว่าเป็นพ่อ แม่ หรือลูกของลูกจ้าง มีสิทธิดังเช่นบิดา มารกดา หรือบุตรตามวรรคหนึ่ง มีผู้เสนอแก้ไขว่า ได้ว่าเป็นพ่อ แม่ตามความเป็นจริง  มติยืนตามร่างเดิม มาตรา 10 คณะกรรมการมีอำนาจจัดสรรเงินกองทุนเงินทดแทนไม่เกินร้อยละ ยี่สิบสอง ร่างที่สภารับรองร่างเสนอ คณะกรรมการมีอำนาจจัดสรรเงินกองทุนเงินทดแทนไม่เกินร้อยละสามสิบ
แต่กรรมาธิการยังหาข้อสรุปไม่ได้เนื่องจาก  กรรมาธิการกำลัง พิจารณาตามข้อเสนอของ เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน กลุ่มแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก สภาแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย กลุ่มผู้ใช้แรงงานรังสิตและใกล้เคียง

กลุ่มผู้ใช้แรงงานอยุธยาใกล้เคียง เครือข่าย ปปส.กลุ่มแรงงานนอกระบบ กทม. สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย สมัชชาคนจน และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ที่จะขอให้ระบุว่าให้ นำเงินกองทุนเงินทดแทน และดอกผลของกองทุนมาให้สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่จะตั้งตาม พระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาแวดล้อมในการทำงาน ซึ่ง นายสมศักดิ์ คุณเงิน กรรมาธิการวิสามัญฯเสนอว่า น่าจะนำดอกผลกองทุนเงินทดแทนจากร่างเดิม ร้อยละสามสิบ เพิ่มเป็นร้อย ละห้าสิบ  เพื่อนำมาบริหารจัดการด้านส่งเสริมความปลอดภัย ตามร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยที่ต้องนำเงินกองทุนเงินทดแทนมาไว้ในกองทุนความปลอดภัยที่ได้ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาแล้วที่ประชุมมีการลงมติเห็นด้วย 10 เสียงและไม่เห็นด้วย 8 เสียง แต่แล้วที่ประชุมมีข้อเสนอใหม่ว่าขอให้เชิญอธิบดีกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานมาชี้แจงในครั้งหน้า วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 13.30 น.ณ.ห้องประชุมกรรมาธิการ รัฐสภา และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 1 ท่าน ตามข้อเสนอของเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตฯลฯ

มาตรา 11 งบการเงินตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการเสนอต่อรัฐมนตรี และให้รัฐมนตรีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ ที่ประชุมยังแขวนไว้ ด้วยว่าต้องเสนอ คณะรัฐมนตรีด้วยหรือ

มาตรา 13 พิจารณาเรื่องที่ค้างไว้ กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2 )มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปี
(3 )เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ในด้านแรงงาน
(4 )ไม่เป็นบุคลล้มละลาย..
(5 )ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษา ถึงที่สุด เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือมีความผิดระหุโทษ
(6 )ไม่เคยไม่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล..
(7)ไม่เคยถูกไล่ออกปลดออก หรือเลิกจ้างจากหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนเพราะทุจริตต่อหน้าที่
(8)ไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับประกันสังคม

ครั้งที่แล้วมีกรรมาธิการ ให้ค้างไว้ดู ใน(5)และ(7) เสนอให้ไปดูว่าจะมีเงื่อนเวลาบ้างหรือไม่ เช่นเมื่อพ้น 5 ปี แต่มติวันนี้มีผู้ชี้แจงว่าไม่มีใน พ.ร.บ.อื่น ที่ประชุมจึงยืนตามร่างที่เสนอมา

มาตรา 15 ให้มีคณะกรรมแพทย์คณะหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการอื่นมีจำนวนรวมกันไม่เกิน 15 คนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง
คณะกรรมการแพทย์ตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความเชียวชาญในวิชาเวชกรรมสาขาต่างๆ ที่ประชุมพิจารณาตามข้อเสนอจากเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต เครือข่ายอาชีวอนามัยฯ มีการอภิปรายกันมากมาย และมีข้อสรุป ว่ากรรมการแพทย์ให้มีการสรรหาจากกรรมการกองทุนเงินทดแทน ซึ่งมีไตรภาคีอยู่ด้วยแล้ว จะทำให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

ที่ประชุมพิจารณามาตราต่อมาจนถึงมาตรา 19 นายจ้างผู้ใดไม่จ่ายเงินสมทบภายในกำหนดเวลาหรือจ่ายสมทบไม่ครบจำนวนตามที่จะต้องจ่าย ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละสองต่อเดือน ซึ่งของเดิมนายจ้างผู้ใดไม่จ่ายเงินสมทบภายในกำหนดเวลาหรือจ่ายสมทบไม่ครบจำนวนตามที่จะต้องจ่าย ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละสามต่อเดือนของเงินสมทบ ทั้งนี้เงินที่เพิ่มที่คำนวนได้ต้องไม่เกินจำนวนเงินสมทบที่นายจ้างต้องจ่าย มีกรรมาธิการมีความเห็น ให้ตัดหวังหลัง และมีความเห็นว่าทำไมต้องลดลงจากร้อยละสามเหลือร้อยละสอง

สมบุญ สีคำดอกแค สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงาน รายงาน