เครือข่ายพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอให้งดใช้ผลิตภัณฑ์แร่ใยหิน

Untitled-3

สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ในฐานะเครือข่ายT-BAN เข้าพบท่านดร.นายแพทย์พรเทพ  ศิริวนารังสรรค์  อธิบดีกรมควบคุมโรค เสนอให้ยกเลิกการนำเข้าและงดใช้ผลิตภัณฑ์แร่ใยหิน ตามมติ ครม.12 เมษายน 2553   ตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3  และทราบว่าเรื่องแผนการยกเลิกได้ถูกส่งมาให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการ รวมทั้งยังต้องติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4 การเข้าถึงบริการอาชีวอนามัยเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของคนทำงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 ตั้งแต่เวลา 10.00-12.30 น. ห้องประชุม 2  ชั้น 2 ตึกกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข ,88/21 ถนน ติวานนนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000  ทำไมต้องเข้าพบรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข เพราะเครือข่าย T-BAN  ได้ไปรณรงค์และติดตามกับกระทรวงอุตสาหกรรมมาแล้วเกี่ยวกับให้ยกเลิกการนำเข้าและงดใช้ผลิตภัณฑ์แร่ใยหิน ตามมติ ครม.12 เมษายน 2553   ตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3  และทราบว่าเรื่องแผนการยกเลิกได้ถูกส่งมาให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการ รวมทั้งยังต้องติดตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4 การเข้าถึงบริการอาชีวอนามัยเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของคนทำงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ  และอีกหลายเรื่อง ซึ่งสภาเครือข่ายฯได้มีผู้นำเครือข่ายสุขภาพร่วมเข้าพบเสนอปัญหา และตัวแทนกระทรวงสาธารณสุข ด้วยดังนี้

Untitled-1Untitled-2

นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดี

นพสมเกียรติ สริริรัตนพฤกษ์ ผอ.สำนักโรคจากการประกอบอาชีพ

สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ในฐานะเครือข่าย T-BAN สังคมไทยไร้แร่ใยหิน ได้พาผู้นำเครือข่ายสุขภาพเข้าพบท่านอธิบดี ดังนี้

1.สมบุญ สีคำดอกแค         ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย

2.อุดม ไกรยราช           ประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานอยุธยาและใกล้เคียง

3.เสน่ห์ ชุ่มหฤทัย          ประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานรังสิต-ปทุมธานีและใกล้เคียง

4.สุรินทร์ พิมพา             ผู้ประสานงานกลุ่มอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่

5.คนิต ชวดตระกูล         สหภาพแรงงานไทยเรยอน

6.อักษร อรรคติ              ผู้ป่วยจากการทำงาน

7.สมนึก สร้างเขต           ผู้ป่วยจากการทำงาน

8.วิชาญ  ชูเชิด               ผู้ป่วยจากการทำงาน

9.ไทนน้อย จันสิงห์        ผู้ป่วยจากการทำงาน

10.สมนฤมล สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานฯ

11.ลิขิต ศรีลาพล  ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานฯ

12.ธฤต มาตกุล    ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานฯ

ก่อนอื่น นพ.สมเกียรติ ขอให้คุยกันว่ามาเรียกร้องอะไร

            ให้กระทรวงสาธารณสุข

1) ให้ยกเลิกแร่ใยหิน รวมทั้ง ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายแรงงาน เครือผู้บริโภค เครือข่ายนักวิชาการ และเอกชน ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อศึกษา และดำเนินการค้นหามาตรการ รูปแบบ วิธีการในการส่งเสริม ป้องกัน และการแก้ไขปัญหาสุขภาพด้วยโรคที่เกิดจากแร่ใยหินที่เหมาะสม ที่เป็นรูปธรรม และนำสู่การปฏิบัติได้จริง

2)  ดำเนินการตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4  มติ 6 และมติ ครม.26 พฤษภาคม 2555  การเข้าถึงบริการอาชีวอนามัยเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของคนทำงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ

3) พัฒนาศักยภาพระบบกลไกของการจัดบริการด้านสุขภาพ สำหรับ ผู้ใช้แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ ผ่าน การจัดบริการคลินิกโรคจากการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มบุคคลกรทางการแพทย์ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ งบประมาณ ที่เพียงพอต่อการจัดบริการ รวมถึงการสร้างกลไกการมีส่วนร่วมระหว่างคลินิกโรคจาการทำงาน กับ ผู้ใช้แรงงาน และสถานประกอบการ ในการกำหนดช่องทางร่วมในการให้บริการที่สอดคล้องกับบริบทของผู้ใช้แรงงานในแต่ละพื้นที่

4) พัฒนาระบบการคัดกรองโรค การวินิจฉัยโรคที่เกิดจากการทำงาน อย่างแม่นยำ  และระบุในใบรับรองแพทย์ มีมาตรฐานเดียว รวมถึงการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อบุคคลกรทางการแพทย์ ที่มีต่อผู้ใช้แรงงาน กรณีที่สงสัยอาการเจ็บป่วยว่าจะเกิดขึ้นด้วยโรคที่เกิดจากการทำงานหรือไม่ และหรือไปใช้บริการด้านสุขภาพในสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน

5) สร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับ ผู้ใช้แรงงาน และสถานประกอบการ ในเรื่องของปัจจัยเสี่ยง โรคจากการทำงาน รวมทั้งขั้นตอน วิธีการในการเข้ารับบริการคลินิกโรคจากการทำงานอย่างทั่วถึง ที่จะนำไปสู่การลดภาวะเสี่ยงภัยที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพในอนาคต

6) พัฒนางานอาชีวอนามัย (อาชีวเวชศาสตร์) เป็นหน่วยงานระดับกรม และเป็นนโยบายระดับชาติ และให้ติดอันดับ1 ใน 5 ของประเทศในแถบเอเชีย

7) พัฒนาหรือจัดทำระบบฐานข้อมูล              แรงงานที่เจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน ให้เป็นฐานข้อมูลปัจจุบันโดยบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

8) กรณีคนงานเจ็บป่วยสืบเนื่องจากการทำงาน ,เรื้อรัง เมื่อพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยรักษาต่อเนื่อง ควรพิจารณาออกใบรับรองแพทย์ให้สามารถลาหยุดงานเพื่อพักรักษาตัวต่อเนื่อง ไม่ใช่ให้ใบรับรองแพทย์เพียงวันเดียวในวันที่ไปตรวจวินิจฉัยและรักษา

ช่วงแรกที่นำเสนอปัญหากับ นพ.สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์  นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดี  เข้าใจปัญหาที่ทางเครือข่ายนำเสนอ ทางสำนักโรค กำลังขยายงานสำหรับคลินิกโรคจากการทำงานอีก 15 จังหวัด  ให้สามารถมีแพทย์ระดับ รพ.นพรัตน์ราชธานี จำนวน 50แห่งให้ครอบคลุม รพ.ชุมชน  และพัฒนาบุคลากรโดยจะอบรมแพทย์ พยาบาล มหาวิทยาลัยในระยะสั้น เรื่องของการมีส่วนร่วมมีคณะกรรมการอาชีวอนามัยประจำจังหวัดโดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานและมีส่วนร่วมจากองค์กรหน่วยงานต่างๆ

เครือข่ายเสนอว่าปัญหามากขณะนี้จะทำอย่างไรเมื่อแพทย์จากคลินิกโรควินิจฉัยคนงานแล้ว แพทย์ในประกันตนกลับไม่วินิจฉัยตามทำให้คนงานเสียสิทธิ์ รวมทั้งแพทย์ทั่วไป    ที่มีใบประกอบวิชาชีพแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งจะวินิจฉัยและให้ใบรับรองแพทย์สำหรับคนงานที่เป็นโรคจากการทำงาน  จะทำให้คนงานไม่ต้องมีปัญหา

รวมทั้งแพทย์ท่านยังมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อคนงานที่เจ็บป่วย เช่นเป็นโรคปวดหลังกระดูกทับเส้นประสาทแพทย์กลับให้หยุด 1 วันหรือ 2 วันบ้างทำให้อาการปวดกระดูกยังไม่ทุเลาก็ต้องกลับเข้าทำงาน  ทำให้อาการทรุดลงอีก กระทรวงสาธารณสุขน่าจะมีนโยบายให้ชัดเจน

เวลา 11.00 น.ท่านนพ.ดร.นายแพทย์พรเทพ  ศิริวนารังสรรค์  อธิบดีกรมควบคุมโรค  มาถึงห้องประชุมขอโทษที่มาช้าเพราะติดเป็นคณะกรรมการอยู่ในประกันสังคมและมีแพทย์เพียงท่านเดียวจึงต้องอยู่ประชุมชี้แจง

เครือข่ายถามเรื่องโดยบายกระทรวงสาธารณสุขว่าจะยกเลิกงดใช้ผลิตภัณฑ์แร่ใยหินอย่างไรบ้าง  ท่านก็ท่านอธิบดีฯ บอกว่าเราต้องมีข้อมูลให้เพียงพอ  เพราะถ้าดูจากสถิติกองทุนเงินทดแทนไม่มีคนป่วยด้วย

โรคนี้เลย งานนี้จะเกี่ยวพันกับคดี ความกับแพทย์ เวลามีใครถามว่ามะเร็งปอดประเทศไทยมีคนตายด้วยมะเร็งปอดมีไหม ? มันเป็นเรื่องนโยบายจริงๆ มันไม่ง่ายเหมือนโรคติดต่อ แต่โรคไม่ติดต่ออย่างมะเร็งปอด  เยื่อหุ้มปอด มันมีปัจจัยอื่นมาแทรกด้วยเช่น การสูบบุหรี่ สารเคมี ในที่สุดก็จะอยู่กลุ่มฝุ่น

เครือข่ายฯ  มีข้อมูลจากต่างประเทศจำนวนมากแล้ว น่าเชื่อถือได้ว่ามันอันตรายจริง  การหาไม่เจอไม่ใช่หมายความว่า โรคไม่มีคนไม่ได้ตายจากแร่ใยหิน แต่คนงานมีใครรู้บ้างว่าอันตรายแร่ใยหินมันแค่ไหน และระยะเวลาอย่างทำงานอยู่ไปอีก 20-30 ปีถึงเป็นมะเร็งเสียชีวิต คงไม่มีใครมีโอกาสนึกว่ามาจากการทำงานกับแอตเบสตอส  เราเครือข่ายอยากให้ฝ่ายกระทรวงยืนอยู่ข้างคนงานและประชาชนที่ยากจนเมื่อป่วยเจ็บต้องทนทุกข์ทรมานอย่างหนัก อย่างประกาศโรคของกองทุนเงินทดแทนมีกว่า 80 โรคยังวินิจฉัยเจอโรคจริงๆแค่ 2-3 ชนิดเท่านั้น

ท่านอธิบดีถ้าทางวิชาการผมเห็นด้วย แต่คงไม่ใช่เราเป็นคนตัดสิน ผมอยู่ในคณะกรรมการอุทธรณ์ประกันสังคมพอมีการเจ็บป่วยบาดเจ็บจากงานเถียงกันมากมาย ผมรับมอบหมายจากท่านรัฐมนตรีมาพบพวกเราเครือข่ายและการเรียกร้องให้ปฎิบัติตามมติ ครม. จึงต้องระวังเพราะมีในส่วนของอุตสาหกรรมมาร้องเรียนด้วยเช่น   กัน รวมทั้งสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สช.ดังนั้นเราต้องมีหลักฐานให้ชัดเจน ประจักษ์ในฐานะที่เราดูแลพี่น้องประชาชน โรคก่อตัวนาน เราต้องช่วยๆกันหลายมือ

ส่วนเรื่องการตั้งกรมตามข้อ 6 ผมเห็นว่ามันสำคัญและเข้ากับนโยบายของเราจะเรียกว่า กรมเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมมันสั้นๆเรียกง่ายดี  รวมทั้งการสร้างมาตรฐาน การวินิจฉัย รักษา ผมขอกองทุนเงินทดแทนให้สามารถผลิตปีละ 150 คนผ่านมา 3ปีแล้ว ปัจจุบันนักอาชีวอนามัย และสุขภาพจิตชุมชนมีการเปิดสอนเสาร์อาทิตย์รวมแล้วเป็น 1000 คน ดูแลสุขภาพจิตยังไม่มีจึงทำหลักสูตร สั้นๆ 1 เดือน ถึง 3 เดือนส่วนกรมจะมี 6หน่วยงาน จะมีแล๊ป มีโรงพยาบาลโรคจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมโดยตรง  จะพัฒนาจากศูนย์ฟื้นพระประแดง สมุทรปราการก่อน  ส่วนรพ.นพรัตน์ราชธานีอีกหน่อยจะสังกัดโอนมาในกรมนี้จะได้ท่าเทียมกับต่างประเทศ แต่ทั้งนี้ต้องเอาเข้า ครม.ก่อน……..

สำหรับวันนี้ทางผมต้องขอขอบคุณเครือข่ายเป็นอย่างมาก

สำเนาคู่ฉบับ

คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่2039/2555

เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน

เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้แร่ใยหินในกระบวนการผลิตทางภาคอุตสาหกรรม และมีข้อบ่งชี้ว่าจะมีผลกระทบต่อสุขภาพ รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554 เห็นชอบตามมติสมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 3/2553 เรื่องมาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน โดยห้ามนำเข้าแร่ใยหินไครโซไทล์ และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบ โดยมอบให้กระทรวงสาธารณสุขรับไปศึกษาผลกระทบของแร่ใยหินที่มีต่อสุขภาพของผู้ใช้แรงงานเพื่อกำหนดมาตรการต่อไป

ในการนี้กระทรวงสาธารณสุข จึงแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน โดยมีองค์ประกอบดังนี้

1. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข  ประธาน

2. นายชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกะรทรวงสาธารณสุข  รองประธาน

3. อธิบดีกรมควบคุมโรค  รองประธาน

4. อธิบดีกรมการแพทย์ กรรมการ

5. อธิบดีกรมอนามัย กรรมการ

6. อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์หรือผู้แทน  กรรมการ

7. เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้แทน กรรมการ

8.  นายกสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย กรรมการ

9.  นายกสมาคมอุรเวชแห่งประเทศไทย  กรรมการ

10.  นายกสมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน กรรมการ

11. นายกสมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน กรรมการ

12. นายกสมาคมพยาบาลอาชีวอนามัย หรือผู้แทน  กรรมการ

13.นายคำนวณ อึ้งชูศักดิ์ นายแพทย์ทรงวุฒิ กรมควบคุมโรค กรรมการ

14.  นายบุญเลิศ ศักดิ์ชัยนานนท์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค กรรมการ

15.   นายพจน์ จิรวุฒิกุล ที่ปรึกษากฎหมาย กรรมการ

16.   นายนพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กรรมการและเลขานุการ

17.    ผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม  กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

//////////////////////////////////////

สมบุญ  สีคำดอกแค

ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย

ติดต่อประสานงาน :  มือถือ. ๐๘๑-๘๑๓๒๘๙๘

เวปไซด์ wept.org อีเมล wept_somboon@hotmail.com

ผู้สรุป/เรียบเรียง