เครือข่ายบำนาญประชาชนค้านยกเลิกกฎหมาย กอช.ชี้ละเมิดสิทธิประโยชน์ปชช.


ข่าวค่ำ Thai PBS ออกอากาศวันที่ 22 สิงหาคม 2556
หนังสือด่วนส่งถึงนางสาวอรุณี ศรีโต ประธานเครือข่ายบำนาญประชาชน ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติยกเลิกการออมแห่งชาติหรือ กอช. ที่ลงนามโดยนางสาวกรรณิการ์ เอกเผ่าพันธุ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ปฏิบัติราชการแทนเศรษฐกิจการคลัง สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนส่วนที่มองว่ารัฐบาลไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะออกกฎหมายยกเลิกการออมแห่งชาติ ทั้งที่ยังไม่มีการดำเนินขึ้นตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

ค้านยกเลิกการออมแห่งชาติ (1)    ค้านยกเลิกการออมแห่งชาติ (3)

อรุณี ศรีโต ประธานเครือข่ายบำนาญประชาชน กระทรวงการคลังโดยเฉพาะรัฐบาลไม่มีเหตุผลพอที่จะมายกเลิก เพราะว่าถ้าเขาเลิกเราก็ต้องรณรงค์ทั่วประเทศว่ารัฐบาลยังมีความชอบธรรมในการบริหารบ้านเมืองต่อไปหรือไม่ กฎหมายดีๆ อย่างนี้ไม่มีเหตุมีผลที่จะมาเลิกและยังไม่ได้บังคับใช้เลยแล้วจะมีเหตุผลอะไรมาซึ่งไม่ถูก

อรุณี ศรีโต  ค้านยกเลิกการออมแห่งชาติ (4)

การส่งหนังสือรับฟังความคิดเห็นถึงนางสาวอรุณี เพียงคนเดียวโดยให้เวลาตัดสินใจไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ อีกทั้งยังไม่มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นเป็นสิ่งที่เครือข่ายประชาชนมองว่าการดำเนินงานดังกล่าวขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานนอกระบบ 24 ล้านคน ที่ไม่มีสิทธิรับรู้การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

อรุณี ศรีโต ประธานเครือข่ายบำนาญประชาชน เราในฐานะเป็นเครือข่ายพี่น้องประชาชน เราก็ต้องทำภารกิจประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจพี่น้องประชาชนและก็นักการเมือง เราคิดว่าเขามาแล้วก็ไปและถ้าพรรคไหนทำดีและใส่ใจผลประโยชน์พี่น้องประชาชนโดยรวมเราก็จะเชียร์

ขณะที่คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายหรือ คปก. เห็นว่าการยกเลิกกฎหมายดังกล่าวอาจเป็นการลิดรอนสิทธิประโยชน์ของประชาชน และไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญที่มีการพิจารณาตามบทรัฐสภา จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะยกเลิกกฎหมายฉบับนี้

สุนี ไชยรส (2)  ค้านยกเลิกการออมแห่งชาติ (5)

สุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย คปก. มีจุดยืนว่าการปฏิรูปกฎหมายต้องปฏิรูปบนฐานทั้งระบบ และบนฐานที่ว่ามีส่วนร่วมบนฐานสิทธิมนุษยชน ยกตัวอย่างอย่างนี้ เพราะฉะนั้นทั้งหมดทั้งปวงจึงเป็นเหตุผลสนับสนุนว่าไม่สามารถที่จะไปยอมรับได้ว่าควรจะไปยกเลิกอย่างไม่มีเหตุผล มันมีกฎหมายเก่าแก่ล้าหลังเยอะแยะที่ควรเร่งรัดในการยกเลิกไปทำตรงโน้น แต่ว่าตรงนี้มันดีอยู่แล้ว

การอ้างเหตุผลเพราะความซ้ำซ้อนกับการสนับสนุนการออมผ่านมาตรา 40 ของกฎหมายประกันสังคมทำให้ต้องยกเลิกกฎหมายการออมแห่งชาตินั้น นางวรวรรณ ชาญด้วยวิทย์  นักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยมองว่า เป็นการทำลายการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนโดยการเสนอกฎหมายฉบับนี้ แม้แต่พรรคเพื่อไทยสมัยเมื่อครั้งเป็นฝ่ายค้านและเป็นการละเมิดการมีส่วนร่วมของประชาชนกว่า 40 ล้านคน ที่จะต้องถูกโอนไปอยู่ในมาตรา 40 โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องเสียสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพ เพราะระเบียบกำหนดไว้ว่าต้องไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานรัฐ แต่สำนักงานประกันสังคมเป็นหน่วยงานของรัฐทางออกในเรื่องนี้นักวิชาการเสนอว่าต้องแก้ไขกฎหมายการออมแห่งชาติและกฎหมายประกันสังคมในบางมาตรา โดยให้ประชาชนทั้งหมดที่ต้องการออมอยู่ภายใต้กฎหมายการออมแห่งชาติ และให้กองทุนการออมแห่งชาติมีสถานะเป็นนิติบุคคลไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ และสุดท้ายให้ผู้ประกันตนสามารถโอนย้ายเงินออมของตนออกจากกองทุนประกันสังคมมาไว้ที่กองทุน กอช. ได้ และทางกลับกันคนทำอาชีพอิสระอยากเป็นลูกจ้างสามารถโอนเงินจากกองทุน กอช. ไปออมกับประกันสังคมได้

รายงานโดย สถาพร ด่านขุนทด Thai PBS