อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ฝึกแกนนำแรงงานรับมือวิกฤติด้านสิทธิแรงงาน

P1131192

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.)ร่วมกับกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ โดยการสนับสนุนจากมูลนิธิเอเชียได้จัดเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 เรื่อง”แนวทางการให้ความช่วยเหลือแรงงานที่ประสบวิกฤติอุทกภัย เพื่อการเข้าถึงและคุ้มครองสิทธิแรงงาน” วันที่ 13 มกราคม 2556 ที่พนาศรม รีสอร์ท ตำบลบางใหญ่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

 

P1131412P1131203

นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่าปัญหาด้านสิทธิแรงงานที่เกิดขึ้นกับคนงานที่ได้รับผลกระทบด้านสิทธิแรงงานเช่น กรณีน้ำท่วม การเลิกจ้าง ไม่ได้รับค่าจ้างหรือจากวิกฤติต่างๆที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อคนงานซึ่งส่งผลทำให้คนงานเข้าไม่ถึงสิทธิ เช่นกรณีอุทกภัยน้ำท่วมที่ผ่านมา คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยจึงได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆรวมทั้งการสนับสนุนจากมูลนิธิเอเชียซึ่งมีทั้งสิ่งของ งบประมาณ โดยครั้งนี้เป็นการสนับสนุนอบรมด้านการกฎหมายข้อมูลต่างๆ วันนี้จึงต้องมีการทบทวนสรุปบทเรียนโดยพาะการให้ความรู้ให้เข้าถึงสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และเพื่อการที่จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือคนงานด้วยกันให้ได้รับสิทธิเป็นต้น

P1131243P1131265

นายบุญสม ทาวิจิตร เลขาธิการคณะกรรมการสมานแนท์แรงงานไทย นำเสนอว่า ประเด็นการถูกละเมิดสิทธิแรงงานของคนงานเกิดจากการที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ละเมิดสิทธิแรงงาน เรื่องวิกฤติอุทกภัยที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากน้ำท่วม หรือวิกฤติอื่นๆเช่นวิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤติการเลิกจ้าง แม้แต่วันนี้ที่มีการประกาศบังคับใช้ค่าจ้าง 300 บาทแล้วมีวิกฤตการที่นายจ้างอ้างเกิดผลกระทบแล้วเลิกจ้างคนงาน สหภาพแรงงานอันนี้ก็ถือว่าเกิดผลกระทบต่อสิทธิแรงงาน หากได้รับการอบรมด้านกฎหมายครั้งนี้แล้วจะทำให้รู้ช่องทางในการที่จะเข้าถึงสิทธิ

P1131205P1131342

นางสาวธนพร วิจันทร์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี กล่าวว่า การเกิดอุทกภัยต่างๆก็มีผลกระทบกับคนงานหลายส่วนทั้งคนงานในระบบ นอกระบบ ข้ามชาติ เกษตรกรพันธสัญญา เกษตรกร สถานประกอบการ ผู้หญิง เด็ก ฯลฯ แต่การที่ไม่รู้สิทธิทำให้คนงานได้รับผลกระทบโดยการถูกละเมิดสิทธิจากนายจ้าง และภาครัฐ การที่จะทำให้คนงานเข้าถึงสิทธิได้นั้นการรู้กฎหมายและมีการดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดก้ไม่ได้ตอบโจทย์การเข้าถึงสิทธิเพียงทางเดียว การที่จะทำให้คนงานเข้าถึงสิทธิยังมีช่องทางอื่นๆด้วย เช่น การรวมตัวกันของคนงาน เพื่อที่จะต่อรองกับนายจ้างด็ได้ด้วยเช่นกัน

P1131395P1131252ต่อมาได้มีการแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่มโดยแบ่งหัวข้อแลกเปลี่ยนผลกระทบ และสภาพปัญหา

1. ประเด็นปัญหาและผลกระทบต่อแรงงานในระบบ แรงงานเหมาค่าแรง แรงงานรับเหมาช่วง สรุปได้ดังนิ้

1.1 นายจ้างมีการปิดกิจการซึ่งบางรายก็จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย แต่ก้มีบางสถานประกอบการไม่จ่ายค่าชดเชย และค่าจ้างค้างจ่าย

1.2 นายจ้างบางส่วนไม่มีความชัดเจนในการที่จะปิดหรือเปิดดำเนินการต่อไปหรือไม่ทำให้คนงานไม่สามารถที่จะเข้าถึงสิทธิการหางานทำ หรือสิทธิประกันสังคมกรณีว่างงาน

1.3 รัฐมักออกมาตราการดูแลนายจ้างมากกว่าแรงงาน คือไม่สนว่าแรงงานจะถูกเลิกจ้างไม่ได้รับค่าชดเชย –ค่าจ้าง หรือได้รับค่าชดเชยต่ำกว่ากฎหมาย

1.4 ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรับท้องถิ่นเนื่องจากมองว่าเป็นประชากรแฝง ไม่มีทะเบียนบ้านในเขตพื้นที่ทำทำงานอยู่

1.5 บางสถานปรพะกอบการน้ำไม่ท่วมเพราะมีการป้องกันได้ ไม่ประกาศปิดกิจการ สั่งให้แรงงานมาทำงานตามปกติ ปัญหาคือ บ้านของแรงงานน้ำท่วมทำให้เดินทางมาทำงานลำบาก หากไม่มาทำงาน ซึ่งมีบางส่วนต้องถูกเลิกจ้างเนื่องจากไม่มาทำงานตามที่นายจ้างสั่งโดยไม่ได้รับค่าชดเชย

1.6 แรงงานที่ไม่มีสหภาพแรงงานไม่รุ้สิทธิทำให้เข้าไม่ถึงสิทธิแรงงานตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ไม่ได้รับค่าจ้าง ค่าชดเชย และสิทธิประกันสังคม

1.7 นายจ้างใช้มาตรา 75 สั่งหยุดงานชั่วคราว จ่ายค่าจ้างร้อยละ 75 มีการย้ายฐานการผลิตไปจังหวัดอื่นๆ หรือพื้นที่อื่น ทำให้แรงงานไม่สามารถเดินทางไปทำงานได้ เพราะไกลที่พัก ทำให้นายจ้างหาเหตุเลิกจ้าง และแรงงานไม่ได้รับค่าชดเชย

P1131287P1131207

2. ประเด็นปัญหาและผลกระทบต่อแรงงานนอกระบบ สรุปได้ดังนี้

2.1  มีผลกระทบด้านอาชีพ รายได้ เครื่องมือการประกอบอาชีพ เช่น คนขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ตัดเย็บเสื้อผ้า ฯลฯ ไม่สามารถประกอบอาชีพได้

2.2  กรณีเกษตรพันธสัญญา หรือเกษตรกรได้รับผลกระทบความเสียหายทำให้สัตว์ที่เลี้ยงต้องสูญหาย ล้มตาย พืชที่ปลูกต้องเสียหายจำนวนมาก

2.3  บ้านพักได้รับความเสียหาย การได้รับความช่วยเหลือด้านค่าชดเชยความเสียหายจากภาครัฐ หรือได้รับก็ไม่เพียงพอต่อความเสียหายที่มีจำนวนมาก

P1131187

3. ประเด็นปัญหาและผลกระทบต่อแรงงานข้ามชาติ สรุปได้ดังนี้

3.1 ไม่ได้รับค่าจ้าง ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ เพราะแรงงานบางส่วนเข้ามาทำงานแบบผิดกฎหมาย หรือถูกนายจ้างยึดเอกสาร และหนังสือเดินทาง ทำให้ไม่ได้กล้ามาขอรับความช่วยเหลือ กลัวถูกตำรวจจับ ถุกส่งกลับประเทสต้นทาง

3.2  มีปัญหาเรื่องการสื่อสารด้านภาษาทำให้เข้าไม่ถึงสิทธิ และไม่รู้สิทธิ

3.3 ปัญหาเรื่องเด็กที่เป็นลูกแรงงานข้ามชาติได้ได้รับการดูแลเรื่องนม อาหาร การเข้าไม่ถึงสิทธิการรักษาพยาบาล

4. ประเด็นปัญหาและผลกระทบต่อแรงงานหญิง สรุปได้ดังนี้

4.1 แรงงานหญิงงต้องแบกรับภาระครอบครัวเรื่องค่าใช้จ่ายที่ค้อนข้างสูงกว่าปกติ การดูแลบุตร นม บางส่วนครอบครัวแตกแยก ถูกเลิกจ้างระหว่างตั้งครรภ์ นายจ้างประกาศปิดกิจการ เข้าไม่ถึงระบบประกันสังคมเพราะนายจ้างไม่จ่ายเงินสมทบประกันสังคม ไม่ได้รับการดูแลจากภาครัฐเท่ที่ควร

4.2 การเดินทางมีอันตรายเนื่องจากสรีระของผู้ญิงอาจทำให้ติดเชื้อทางช่องคลอดได้ เมื่อออกมารับบริจาคอาหาร

ทั้งนี้ได้มีการอบรมกฎหมายแรงงานที่ระบุถึงสิทธิแรงงานรวม 6 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจาณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2552 พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 พระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ. 2537 และประมวลกำหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) ซึ่งในการอบรมครั้งนี้เป็นเพียงพื้นฐาน และในครั้งต่อไปจะมีการฝึกอบรมโดยศึกษาจากกรณีศึกษาผู้ได้ผลกระทบจากน้ำท่วมถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

   นักสื่อสารแรงงาน รายงาน