อ่วมพิษโควิด-19 ทำแรงงาน ผู้ประกอบการภูเก็ต ย้ำยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ

 

พิษไวรัสโควิด-19 ทำภูเก็ตปิดเมือง กระทบเกลี้ยงแรงงานภาคบริการทั้งในระบบ แรงงานนอกระบบ ถึงข้ามชาติ นายจ้างลูกจ้างหนักพอกัน หวั่นเดือดร้อนยาวเพราะเข้าไม่ถึงมาตรการเยียวยาใดเลยทั้งประกันสังคมและ 5 พันของรัฐ

วันที่ 11 เมษายน 2563 เนื่องจากปัญหาไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่กระทบกับธุรกิจภาคบริการ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรมขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ผู้ค้าของที่ระลึกที่มีลูกจ้าง คนร้านนวด คนขับรถรับจ้างนักท่องเที่ยวฯลฯ

นายจำรัส ทอดทิ้ง รองเลขาธิการสหภาพแรงงานกิจการโรงแรมและบริการคลับเมด กล่าวว่า สถานการในจังหวัดภูเก็ตขณะนี้เป็นการปิดจังหวัดตามที่ประกาศ บางตำบลไม่สามารถที่จะข้ามไปหากันและกันได้แล้ว ซึ่งส่งผลกระทบหมดไม่ว่าจะเป็นแรงงานกลุ่มไหน รวมถึงชาวประมงด้วย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นสถานประกอบการขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่กระทบกันทั่วหน้า โดยในประเภทกิจการโรงแรมที่ทำอยู่เนื่องจากเป็นโรงแรมขนาดใหญ่และมีสหภาพแรงงาน จึงมีการปรึกษาหารือกันระหว่างสหภาพแรงงานกับนายจ้าง ซึ่งนายจ้างเองก้กระทบหนักอยู่เหมือนกันเนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยวมาพักเลย หลังจากปรึกษาหารือกับทางสหภาพแรงงานฯ โดยแรกๆนายจ้างเสนอจ่ายค่าจ้างร้อยละ 50 ทางสหภาพแรงงานฯจึงบอกว่ารับไม่ได้ และผิดกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยทางสหภาพฯเองก็เข้าใจถึวผลกระทบจึงเสนอกันที่เดือนแรกนายจ้างจ่ายค่าจ้างร้อยละ 60 และเดือนที่ 2 ให้นาจ้างจ่ายร้อยละ 70 ตอนนี้มีมาตรการปิดเมือง แรงงานที่ทำงานส่วนหนึ่งกลับบ้านไม่ได้ นายจ้างเปิดที่พัก และอาหารให้กินทั้งสามมื้อเลย ตอนนี้จึงมาพักอยู่ที่โรงแรม

นายจำรัส ยังกล่าวติดตลกว่า “ เราเป็นคนทำงานโรงแรมแต่ไม่เคยได้นอน ได้กินอาหารดีๆในโรงแรมวันนี้ก็ถือเป็นโอกาสที่นายจ้างให้เราได้นอน และกินอาหารดีๆนั้นด้วย  ”

นายจำรัส กล่าวอีกว่า ใจจริงเป็นห่วงทั้งนายจ้าง และแรงงานจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นแรงงานในภาคบริการ อย่าง ร้านค้าขายของที่ระลึก โรงแรม หรือรีสอร์ทขนาดกลาง ขนาดเล็ก แรงงานข้ามชาติ ตอนนี้ถึงว่าตกงานกันทุกคน และนายจ้างบางคนก็จ่ายค่าจ้างบ้างเล้กน้อย หรือไม่จ่ายเลยให้ไปรับสิทธิประกันสังคมกรณีว่างงาน แต่เท่าที่ทราบยังไม่มีใครได้รับสิทธิ หรือเข้าถึงสิทธิที่ภาครัฐประกาสช่วยเหลือเยียวยาเลย ซึ่งนายจ้างเองแน่นอนว่าภาครัฐบาลมีงบในการสนับสนุนเยียวยาในอนาคต เพื่อฟื้นฟู แต่ถึงวันนั้นไม่ทราบว่า จะยังมีลูกจ้างเหลืออยู่หรือไม่ เพราะตอนนี้ไม่มีจะกินกัน ตกงานกันจำนวนมาก โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับนักท่องเที่ยว รวมถึงรถเช่าด้วย อยากให้ภาครัฐมีการออกมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการเพื่อให้เขายังคงจ้างงานแรงงานต่อด้วย โดยกำหนดเงื่อนไขตรงนี้ให้นายจ้างปฏิบัติด้วย เชื่อว่าหากไวรัสโควิด-19 หายไปการต้องเที่ยวก็ยังคงทำเงินให้ประเทศไทย แต่ตอนนี้ขอให้คนทำงานรอดชีวิตไปทำงานในอนาคตด้วย เพราะเขายังเข้าไม่ถึงสิทธิอะไรเลย ทั้งร้านนวด ร้านขายของที่ระลึกมาตรการรัฐ 5,000 บาทก็ยังไม่ได้รับสิทธิ

ทั้งนี้ในส่วนของมาตรการรัฐต่อผู้ประกันตนมาตรา 33 ได้ประกาศเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2563 ประกาศล่าสุด  ตกงาน ว่างงาน จากโควิด-19 มีดังนี้

1.ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน ประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย อัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน

2.กรณีหน่วยงานภาครัฐ มีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว ประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย ร้อยละ 62 ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน

การลดอัตราเงินสมทบนายจ้างในอัตราร้อยละ 4 เและ ผู้ประกันตนมาตรา 33 ในอัตราร้อยละ 1 ส่วน ผู้ประกันตนมาตรา 39 จ่ายเงินสมทบเดือนละ 86 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน พร้อมขยายกำหนดเวลาการนำส่งเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 สำหรับงวดค่าจ้างเดือนมีนาคม, เมษายน และ พฤษภาคม 63 ออกไปอีก 3 เดือน ดังนี้

งวดค่าจ้างเดือนมีนาคม 63 ให้นำส่งเงินภายใน 15 กรกฎาคม 63

งวดค่าจ้างเดือนเมษายน 63 ให้นำส่งเงินภายใน 15 สิงหาคม 63

งวดค่าจ้างเดือนพฤษภาคม 63 ให้นำส่งเงินภายใน 15 กันยายน 63

4.เพิ่มเงินทดแทนการขาดรายได้แก่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ดังนี้

เงินทดแทนว่างงานจากกรณีลาออก ในร้อยละ 45 ของค่าจ้าง (จากเดิมร้อยละ 30 ของค่าจ้าง) เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน

เงินทดแทนว่างงานจากกรณีเลิกจ้าง ในร้อยละ 70 ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน (จากเดิมร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน)

แต่อย่างไรก็อัตราของค่าจ้างจะคิดจากฐานเงินสมทบสูงสุด 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น

เงินเดือน 10,000 บาท จะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงานจากเลิกจ้าง เดือนละ 7,000 บาท เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน

เงินเดือน 20,000 บาท จะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงานเลิกจ้าง เดือนละ 10,500 บาท (คิดจากฐานเงินสมทบสูงสุด 15,000 บาท) เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน

ช่องทางรับ สิทธิประกันสังคม กรณีได้รับผลกระทบจากโควิด-19

ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ ตกงาน เลิกจ้าง ว่างงาน จากผลกระทบของโควิด-19 สามารถยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย ให้ยื่นแบบคำร้องได้ที่  www.sso.go.th หัวข้อขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน online โดยผู้ประกันตนกรอกแบบขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย

คนตกงาน เลิกจ้าง ว่างงาน ยังใช้ สิทธิประกันสังคม ในการรักษาพยาบาลได้ไหม

ผู้ประกันตนมาตรา 33 ถูกเลิกจ้างหรือลาออกเอง และไม่ได้ส่งเงินสมทบ ยังสามารถใช้ สิทธิประกันสังคม ได้เหมือนเดิมต่ออีก 6 เดือน หลังจากลาออก ไม่ว่าจะเจ็บป่วย (ครอบคลุมถึงการเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด-19) ทุพพลภาพ คลอดบุตร และเสียชีวิต ซึ่งหลังจาก 6 เดือน หากยังไม่ได้เริ่มงานที่ใหม่ก็สามารถเปลี่ยนมาเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 หรือ 40 ก็ได้

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน