อเมริกาดันรับรองอนุสัญญา ILO 87-98 แลกสิทธิภาษีศุลกากร GSP

87-98

น.ส.บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ นักวิชาการอิสระด้านแรงงาน รายงานความคืบหน้ากระบวนการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ฉบับที่ 87 และ 98 ของรัฐบาลไทยว่า

ในวันนี้ 22 สิงหาคม 2557 กระทรวงแรงงานจะมีการประชุมหน่วยงานต่างๆในกระทรวง ทั้งนี้วาระหนึ่งที่จะถูกนำเข้าพิจารณา คือ รายงานความคืบหน้ากระบวนการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ 98

สรุปสาระสำคัญมี 2 ส่วนคือ (1) รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2553-2557 (2) แนวทางการดำเนินงานในช่วง คสช. บริหารประเทศ

(1) รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2553-2557
– 14 ธันวาคม 2553 คณะรัฐมนตรีสมัยนั้นได้เห็นชอบอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ และเห็นชอบเรื่องการแก้ไขพรบ.แรงงานสัมพันธ์ และพรบ.แรงงานรัฐวิสาหกิจ ให้สอดคล้องกับอนุสัญญา

– อดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขอถอนอนุสัญญาออกจากการพิจารณาของรัฐสภา เนื่องจากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190

– มิถุนายน – กรกฎาคม 2555 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น ผลการจัดเวที 80 % เห็นด้วยให้รับอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับนี้

– 5 เมษายน 2556 กรมสวัสดิการฯได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องการให้สัตยาบันไปก่อน โดยไม่ต้องรอให้รัฐสภาผ่านร่างพรบ.ทั้ง 2 ฉบับที่เกี่ยวข้อง

– เลขาธิการ ครม.แจ้งงว่า หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สภาความมั่นคงแห่งชาติ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงต่างประเทศ ยังมีความเห็นไม่ตรงกัน ทำให้รัฐมนตรีเฉลิม อยู่บำรุง จึงได้จัดให้มีการประชุมในเรื่องนี้เมื่อ 15 สิงหาคม 2556 ผลการประชุม คือ ควรรอให้แก้กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ให้เสร็จก่อนจึงให้สัตยาบัน

– อดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร สั่งการให้คณะกรรมการกฤษฎีกาเร่งแก้ไขกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีโดยไว แต่เมื่อมีการยุบสภาเมื่อ 9 ธันวาคม 2556 การเสนอเรื่องนี้จึงตกไป

– ธันวาคม 2556-มีนาคม 2557 กรมสวัสดิการฯจัดสัมมนาให้ความรู้ความข้าใจเรื่องหลักการของอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ แก่ผู้นำแรงงานในระบบและนอกระบบ รวม 541 คน ใน 5 ครั้ง

– 22 พฤษภาคม 2557 คสช. รัฐประหาร

– 29 พฤษภาคม 2557 กรมสวัสดิการฯมีหนังสือขอความร่วมมือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้เร่งพิจารณาร่างพรบ.แรงงานสัมพันธ์และพรบ.แรงงานรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้ทันการเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

– 9 กรกฎาคม 2557 กระทรวงพาณิชย์มีหนังสือถึงกระทรวงแรงงาน เรื่องสหรัฐอเมริกาจะทบทวนการให้สิทธิ GSP สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศไทย เพื่อกดดันให้ประเทศไทยให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ทั้ง 2 ฉบับ ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์มีข้อสังเกตว่า ควรดำเนินการในเรื่องนี้ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนพฤศจิกายน 2557 เพื่อส่งผลเชิงบวกต่อกระบวนการพิจารณาของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถ้าประเทศไทยถูกตัดสิทธิ จะเสียหายถึง 3,500 ล้านบาท ส่งผลต่อแรงงานในภาคอุตสาหกรรม 1.5 ล้านคน และเกษตรกรอีก 17 ล้านคน

– 22 กรกฎาคม 2557 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ส่งร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับให้กระทรวงแรงงาน เพื่อให้ยืนยันความเห็นเกี่ยวกับร่างพรบ.ที่แก้ไขแล้วกลับไป

– 30 กรกฎาคม 2557 พลเอกวิลาศ อรุณศรี ที่ปรึกษารองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. จึงได้มอบหมายให้กรมสวัสดิการฯจัดประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง แต่ที่ประชุมไม่สามารถหาข้อยุติได้ ดังนั้นกรมสวัสดิการฯจึงเสนอให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องได้นำเสนอความเห็นและให้ตอบกลับมาภายใน 14 สิงหาคม 2557

(2) แนวทางการดำเนินงานในช่วง คสช. บริหารประเทศ
– กรมสวัสดิการฯจัดประชุมเพื่อสรุปความเห็นของหน่วยราชการ และเสนอต่อรองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. เพื่อขอความเห็นชอบให้นำเรื่องเข้าสู่การประชุมของคณะรัฐมนตรี

– หากครม.ให้ความเห็นชอบแล้ว จะนำเรื่องเสนอ สนช. ตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557

– เมื่อกระบวนการให้ความเห็นชอบเสร็จสิ้น กระทรวงแรงงานแจ้งกระทรวงการต่างประเทศเพื่อดำเนินการต่อไป

1.͹ØÊÑ­­Ò ILO.87-98

2.͹ØÊÑ­­Ò ILO.87-98