อุปสรรคแรงงานอิเล็คทรอนิคส์กับการรวมกลุ่ม

เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2554 ณ.ห้องทับทิมโรงแรมรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ เครือข่ายกู๊ด อิเล็คทรอนิคส์ประเทศไทย ได้จัดเวทีนำเสนอผลการศึกษา ปัญหาอุปสรรค์ในการรวมกลุ่มของแรงงานผู้เข้าร่วมกลุ่มแรงงานอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคส์ และกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนินกรุงเทพฯ
 
นายสกเดช ศิลาพงค์ ประธานเครือข่ายกู๊ด อิเล็คทรอนิคส์ประเทศไทย กล่าววัตถุประสงค์การนำเสนอผลการศึกษา ปัญหาอุปสรรค์ในการรวมกลุ่มของคนงานในอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคส์เพื่อศึกษาการละเมิดสิทธิแรงงานของนายจ้าง ว่า มีสาเหตุปัจจัยอะไรบ้างด้านกฎหมาย บทบาทกลไกรัฐ ด้านนายจ้าง ด้านลูกจ้าง และหาข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา ในการรวมกลุ่มของลูกจ้าง 
 
นางสาวมณีรัตน์  อาจวิชัย ประธานสหภาพแรงงาน โซนี่ ประเทศไทย นำเสนอผลการเก็บข้อมูลปัญหาอุปสรรค์ในการรวมกลุ่มยังมีการจ้างงานหลากหลาย การเลิกจ้างแกนนำในการก่อตั้งสหภาพแรงงาน การใช้ มาตรา 75 ของนายจ้างคณะกรรมสวัสดิการไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ข้อจำกัดทางกฎหมาย เจ้าหน้าที่รัฐ และมีการเลิกถอนทะเบียนสหภาพแรงงาน สมาชิกขาดความเข้าใจบทบาทหน้าที่ มีการเหมาค่าแรง นายจ้างไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง สหภาพแรงงานไม่ขยายกลุ่ม
 
หลังจากนั้นมีการร่วมวิเคราะห์ผลการเก็บข้อมูลโดยมี อาจารย์ เกรียงศักดิ์ โกวิทขจร นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า ช่องว่างทางกฎหมาย การจ้างงานแบบเหมาช่วง มีการจ้างงานเป็นช่วง ประสบการณ์การต่อสู้ของลูกจ้างแบบเหมาช่วงไม่มี สหภาพแรงงานต้องมีการต่อรองกับนายจ้างในกรณีจ้างงานแบบเหมาช่วงไม่เช่นนั้นสหภาพแรงงานก็จะอ่อนแอ ไม่มีอำนาจต่อรอง ข้อเสนอแนะ ให้สหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องกรณีการจ้างงานแบบเหมาช่วงด้วย
 
นายเจษฎา โชติกจิภิวาทย์ นักวิชาการอิสระด้านแรงงาน กล่าว แรงงานจะฝ่าวิกกฤตนี้ไปได้อย่างไรการรวมของแรงงานส่วนใหญ่นายจ้างไม่ยอมให้มี องค์กรแรงงาน ถ้ามีต้องมีแบบแผนเป้าหมายเป็นระยะต้องว่างงานให้ชัดเจนแก้ไขสิทธิในการรวมกลุ่ม สร้างผู้นำเป็นกลุ่ม องค์กรไม่ได้จบที่เก่าต้องมีอุสาหกรรมต่อรอง และต้องมีสหพันธ์แรงงานคอยสนับสนุน ต้องคิดค้นวิธีการแบบใหม่ 
 
นายศิโรฒน์  คล้ามไฟบูลย์  นักวิชาการอิสระกล่าวต่อว่า สถานการณ์เปรียบเทียบ ระหว่างอุตสาหกรรมสิ่งทอกับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิคส์ สิ่งทอมีการต่อรองด้านสิทธิสวัสดิการ ความต้องการเชิงประโยชน์น้อยลง อิเล็กทรอนิคส์ยังมีอนาคต นักลงธุรกิจข้ามชาติมาลงทุนฐานการผลิตภายในประเทศ แต่ความสามารถในการรวมกลุ่มการใช้สิทธิของแรงงานในกรณีต่างๆนายจ้างมักจะนำมาใช้ในการเลิกจ้างคนงาน และมีวิธีการแก้ไขกฎหมายแบบใหญ่มาคุ้มครอง คนงานอิเล็กทรอนิคส์ ต้องมีเทคนิคการต่อสู้แบบใหม่ต้องเอาคนงานซับคอลเเท็กมาเป็นคนงานประจำให้ได้ เพิ่มอำนาจในการต่อรอง แรงงานไทยยังทำได้ หลายประเด็นที่ผ่านมา แรงงานต้องสร้างประวัติศาสตร์ของตนเอง อย่างเช่น กระทรวงแรงงาน ต้องมากราบไหวแรงงานเพราะแรงงานเรียกร้องให้ตั้งกระทรวงมา
 
ส่วนนางเรณู สังข์ทองจีน นักวิชาการแรงงาน 7ว. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กล่าวให้กำลังใจในงานวิจัย ว่า กระทรวงแรงงานจะสนับสนุนการรวมกลุ่มแบบสหภาพแรงงานให้ได้ทุกจุด และจะพัฒนาของการเปลี่ยนแปรงกฎหมายใหม่ด้วย มีหลายบริษัทที่นายจ้างไม่ยอมให้มีสหภาพแรงงาน นายจ้างเองยังไม่รู้บทบาทหน้าที่ของการมีสหภาพแรงงาน ยังไม่รู้ไม่เข้าใจถึงประโยชน์ และเห็นชอบในตัวของสหภาพแรงงานของผู้ใช้แรงงาน
 
จากนั้นนาย Robert Pajkovski ผู้อำนายการโซลิดาตี้เซ็นเตอร์ ประเทศไทย กล่าวรูปแบบการจัดตั้งสหภาพแรงงาน ว่า การจ้างงานแบบรายเหมาทำให้แรงงานอ่อนแอไม่สามารถต่อรองกับนายจ้างได้ กฎหมายไทยต้องให้รัฐออกรูปแบบในโครงสร้างที่แรงงานต้องการ ต้องจัดตั้งแรงงานให้มีองค์กรสหภาพแรงงานมากขึ้น กฎหมายไทยต้องไม่ไห้มีการจ้างงานแบบเหมาค่าแรง แรงงานต้องปกป้องสหภาพแรงงาน ไม่ให้มีการจ้างงานแบบเหมาซับช้อน และไม่ให้มีการทำเช่นนี้กับแรงงานข้ามชาติด้วย
 
ทั้งนี้ในเวทียังมี ข้อเสนอเพื่อการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรค ในการรวมกลุ่มของคนงาน ดังนี้
 
ในปัจจุบันมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานหลายฉบับได้แก่ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ที่เนื้อหาส่วนใหญ่มุ่งเน้นเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การยื่นข้อเรียกร้อง การเจรจาต่อรอง เรื่องการรวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงาน การตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง การกระทำไม่เป็นธรรม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2551 ที่พูดถึงเรื่องงการคุ้มครองแรงงานในประเด็นต่าง ๆ ประราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีแรงงานและการจัดตั้งศาลแรงงาน ที่พูดถึงเรื่องการดำเนินคดีในศาลแรงงาน พระราชบัญญัติประกันสังคม ที่พูดถึงเรื่องการดูแลเมื่อคนงานเจ็บป่วยนอกงาน และพระราชบัญญัติกองทุนเงินทดแทน ที่พูดถึงเรื่องการคุ้มครองกรณีที่คนงานเจ็บป่วยในการทำงาน
 
แต่จากการเก็บข้อมูลที่แสดงให้เห็นในบทที่ผ่านมา เราจะเห็นถึงปัญหาการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้นกับลูกจ้างก็ยังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ไม่น้อยลงกว่าเดิม แต่กลับจะมากขึ้นซะด้วยซ้ำ รูปแบบการละเมิดสิทธิแรงงานก็มีความสลับซับซ้อน แยบคาบ มากยิ่งขึ้น ในขณะที่การรวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงานของคนงานก็มีความยากลำบากที่ไม่แตกต่างไปจากเดิม มีข้อจำกัดทั้งที่เป็นตัวบทกฎหมายที่ไม่ได้มีการแก้ไขให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน หรือแก้ไขให้มีการส่งเสริมการรวมกลุ่มของแรงงานมากขึ้น ประกอบกับกฎหมายบางฉบับที่เก่าแก่ล้าสมัยก็ยังเป็นอยู่เช่นเดิม รัฐบาลไม่มีความจริงใจการในการรับรองอนุสัญญาไปแอลโอที่นำมาสู่การปรับปรุงกฎหมายที่เป็นคุณแก่ลูกจ้างมากกว่านี้ ประกอบกับพฤติกรรม หรือทัศนคติของทั้งนายจ้าง และเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่ได้ส่งเสริมการรวมกลุ่มของคนงาน ทำให้การรวมกลุ่มของคนงานเป็นไปได้อย่างยากลำบาก และถึงแม้ว่าคนงานจะมีการรวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงานแล้วก็ตาม แต่ก็ยังพร้อมที่จะถูกจัดการโดยนายจ้างเพื่อทำการล้มสหภาพแรงงาน หรือทำให้สหภาพแรงงานมีความอ่อนแอ
 
จากการสุ่มตัวอย่างคนงานที่ตอบแบบสอบถามและการสนทนากลุ่มทั้งหมดเห็นด้วยกับการมีสหภาพแรงงาน โดยมองว่าการมีองค์กรสหภาพแรงงานจะช่วยเรียกร้องและต่อรองกับนายจ้างในเรื่องค่าจ้างสวัสดิการต่าง ๆ ให้ดีขึ้น รวมถึงการที่จะเข้ามาช่วยเหลือลูกจ้างในกรณีที่นายจ้างละเมิดสิทธิ และเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งได้มีข้อเสนอโดยภาพรวมเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของการรวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงาน โดยแยกเป็นข้อเสนอต่อบริษัทหรือนายจ้าง และข้อเสนอต่อรัฐบาลเพื่อนำมาสู่การปรับปรุงแนวทางในการส่งเสริมระบบอุตสาหกรรมที่เห็นแก่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนงานควบคู่ไปด้วย และเพื่อการพัฒนากฎหมายเพื่อให้ส่งเสริมการรวมกลุ่มของคนงาน ดังนี้
 
1. ให้นายจ้างปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางการค้า (Code of Conduct) ปฏิบัติตามกฎบัตรของกลุ่มประเทศ OECD Guind line และอนุสัญญาหลักขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ(Core convention)
 
2. ให้รัฐบาลมีแนวทางที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาการจ้างงานแบบยืดหยุ่น เนื่องจากส่งผลให้เกิดการจ้างงานในรูปแบบที่หลากหลายและเอาเปรียบแรงงานได้ง่ายมากขึ้น โดยอาจให้เริ่มมีการศึกษาอย่างจริงจังถึงผลกระทบจากการจ้างงานในรูปแบบที่หลากหลาย ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในการทำงาน และผลกระทบต่อการรวมกลุ่มของคนงาน
 
3. รัฐบาลต้องให้การรับรองอนุสัญญาฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคม และฉบับที่ 98 ว่าด้วยการรวมตัวและสิทธิในการเจรจาต่อรองร่วม ซึ่งเป็น 2 ใน 8 ของอนุสัญญาหลักของ ILO ที่ถือกันว่าเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ทุกประเทศจะต้องเคารพและดูแลให้ มีการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพราะสิทธิดังกล่าวเป็นประตูด่านแรกของการที่จะทำให้คนทำงานทั้งหลายสามารถ เข้าถึงสิทธิอื่น ๆ ได้จริง และจะสามารถทำให้สิ่งที่เรียกว่า งานที่มีคุณค่า และเป็นธรรมเกิดขึ้นจริง เพื่อนำมาสู่การแก้ไขกฎหมายเรื่องการรวมกลุ่ม และการเจรจาต่อรองให้สอดคล้องกับสถานการการจ้างงานในปัจจุบันของประเทศไทย และเพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน
 
4. รัฐบาลต้องมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้แรงงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์การจ้างงานในปัจจุบัน โดยกระบวนการแก้ไขกฎหมายต้องเน้นการมีส่วนร่วมจากผู้ใช้แรงงานในทุกระดับ
 
5. รัฐต้องให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานอย่างครอบคลุม ทั่วถึง และในขณะเดียวกันก็ต้องมีมาตรการในการจัดการกับนายจ้างที่อาศัยช่องว่างทางกฎหมาย หรืออาศัยช่องว่างที่ลูกจ้างไม่รู้กฎหมาย มาเป็นเครื่องมือในการเอาเปรียบหรือละเมิดสิทธิผู้ใช้แรงงาน
เกศแก้ว  ทะเบียนธง  นักสื่อสารแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ รายงาน