อีสานกับการพัฒนาความเร็วสูง

นักวิชาการย้ำการพัฒนาอีสานความเร็วสูง บนพื้นที่เป็นการเอื้อให้ทุนแย้งชิงทรัพยากรประชาชน เอาเปรียบทั้งชุมชน แรงงานด้วย

วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน 2560 ณ ห้องประชุมแม่น้ำของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม โครงการสืบสานประวัติศาสตร์แรงงานอีสาน โดยมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันทิศทางไท ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ได้จัดเสวนา “อีสานความกับการพัฒนาความเร็วสูง”

เริ่มโดยบทเพลงประวัติศาสตร์ โดยวง “ภราดร” เป็นการบอกเล่าเรื่องราวของผู้ใช้แรงงาน ต่อด้วยวิดีทัศน์ “แนะนำพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย” ซึ่งเป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์แรงงาน

เวทีเสวนา “อีสานกับการพัฒนาความเร็วสูง” ดำเนินรายการโดย อาจารย์ วชิราภรณ์ วรรณโชติ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน) คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า หากมองเรื่องความเร็วสูงหลายคนอาจมองเห็นเรื่องรถไฟความเร็วสูง เน็ตความเร็วสูง แต่ตนมองอีสานความเร็วสูงแบบหมุนติ่ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องแรงงานอย่างเดียว แรงงานในภาคอีสานนั้นไม่ใช่เพียงแรงงานในโรงงานเท่านั้น แต่มีเกษตรกร ที่เป็นแรงงานในไร่นาของตนเอง และยังมีคนอีสานที่เป็นแรงงานกลับมาจากเมือง มาทำงานที่บ้าน มาเป็นผู้ประกอบกิจการของตนเอง

การกล่าวถึงอีสานความเร็วสูง ก็คืออีสานภายใต้ระบบโลกาภิวัฒน์ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่ปี 2535 ซึ่งมีการพัฒนาเร็วมาก จึงต้องเข้าใจเรื่องแนวคิดทางทฤษฎี ที่เป็นระบบเสรีนิยมใหม่ ที่เดวิด ฮาร์วี่ เขียนไว้ และมีหนังสือจักรวรรดินิยมใหม่ ซึ่งเป็นความจงใจของระบบทุนในการที่สะสมทุนในการผลิตสินค้าแล้วขาย ด้วยวิธีการที่ค้นพบ คือ การแก้ซ่อมเชิงพื้นที่ เป็นการหาพื้นที่ในการลงทุนใหม่ ที่เกิดขึ้นสมัยนายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัน ที่เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า ที่ทุนไทยเริ่มขยายออกไปนอกพื้นที่ เข้าไปในประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศลาว กัมพูชา พม่า ต่อมาการแก้ซ่อมเชิงเวลาเป็นการเร่งเวลามากขึ้นในการพัฒนาย่นระยะเวลาในการขนสินค้า เช่นการพัฒนารถไฟความเร็วสูง เพื่อการขนส่ง หรือขนผักจากจีน ด้วยถนนเส้นทางสายR3A ที่อาจดูช้าไป จริงหรือไม่เดี๋ยวก็จะเห็นกัน ตอนนี้ประเทศลาวได้สร้างรถไฟความเร็วสูงเสร็จแล้ว การใช้แรงงานข้ามชาติราคาถูก การขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ การไล่คนออกจากพื้นที่ และการละเมิดสิทธิแรงงาน สิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง อย่างแรงงานกูยที่ได้เรียนรู้กันไปแล้ว

 

ลัทธิเสรีนิยมใหม่ คือ รัฐในบังเหียนทุน และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่มีการแปรรูปแบบเรื่อยๆ ถูกทำให้ทุกอย่างเป็นสินค้า การนำวัฒนธรรมเป็นสินค้า จากเดิมอาจเป็นวัฒนธรรมชุมชน ตอนนี้เป็นการท่องเที่ยว และเสรีนิยมใหม่รัฐจะจัดสรรความมั่งคั่งให้กับทุนมากกว่าคนจน ทรัพยากรตกอยู่ในมือนายทุนไม่กี่กลุ่ม และไม่มีใครคาดคิดว่าลำน้ำโขง แม่น้ำที่เคยล่อเลี้ยงผู้คนด้วยความอุดมสมบูรณ์จะมีสภาพแบบนี้ เดี๋ยวแล้ง เดี๋ยวน้ำท่วมความดั่งเดิมความหลากหลายหายไป ปลาหายไป คนจนมีเพิ่มขึ้น ภายใต้ลัทธินี้กฎหมายถูกละเมิดมากขึ้น EIA การทำประชาพิจารณ์รับความคิดเห็นไม่ต้องทำ ผังเมืองถูกยกเลิก เป็นการใช้อำนาจรัฐในปัจจุบันเพื่อเอื้อให้นายทุน

เกิดอะไรขึ้นที่อีสาน ตอนนี้มีการเชื่อมต่อกับอินโดจีน มีการสร้างสนามบินนานาชาติที่จังหวัดอุบลราชธานี ช่องทางอีนโดจีนที่ช่องเม็ก และมีความเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานก๊าซ เหมืองแร่โปร์แตช เกษตรกรรมกลายเป็นอุตสาหกรรมเกษตรพันธสัญญา มีอุตสาหกรรมน้ำตาลขนาดใหญ่ ในขณะที่เรากำลังงงกับการมาของรถไฟรางคู่ การพัฒนาต่อด้วยรถไฟเร็วสูง ที่มาเร็วมาก และทำให้เกิดคนไร้บ้านเพิ่มขึ้น ด้วยการไล่รื้อชุมชนริมทางรถไฟ ทำให้คนที่เคยมีบ้านตอนนี้ไม่มีบ้านอยู่อาศัย คนเหล่านี้เป็นแรงงานของการรถไฟเอง และเมื่อเกษียณยังไม่มีบ้านอยู่ และอาศัยพื้นที่รถไฟ เมื่อรถไฟความเร็วสูงมากคนเหล่านี้ก็ต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน

ต่อไปถึงพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษที่ชายแดน ซึ่งจะเจอที่จังหวัดมุกดาหาร และหนองคาย การมีเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษทำให้เกิดการเหยื่อแย้งทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน มีการเข้าไปยึดพื้นที่ชุมชน ป่าชุมชนที่เป็นพื้นที่ส่วนรวมไปเป็นของทุนเพื่อสร้างโกงดัง พื้นที่กว่า 2 แสนไร่ ที่มีความขัดแย้งระหว่างชาวบ้าน และรัฐมากขึ้น ที่จังหวัดนครพนม ถึงกับมีการจับกุมชาวบ้านแม้ว่า จะมีเอกสารสิทธิ์ เขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ มีการเอื้อต่อทุนในลดหย่อนภาษี ปลอดกฎหมาย ปลอดสิทธิแรงงาน และใช้แรงงานข้ามชาติ ซึ่งขูดรีดได้ง่าย ซึ่งในเวลาปกติก็มีการเอาเปรียบแรงงานข้ามชาติ แล้วทำไมจะไม่เกิดเมื่อมีเขตเศรษฐกิจพิเศษ

ต่อมาก็การให้สัปทานก๊าซ ซึ่งในพื้นที่อีสานมีก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก จึงมีการให้แปลงสัมปทานก๊าซจำนวนมาก เป็นการให้สัมปทานไม่มีการสอบถามชาวบ้าน หรือชุมชนแล้วไม่ทราบว่าบ้านใครที่จะโดนบ้าง มีเพียง 2 จังหวัดที่ไม่โดน คือ จังหวัดหนองคายกับ จังหวัดเลย เพราะสองจังหวัดดังกล่าวโดนเรื่องเหมืองโปแตซกับในส่วนของเหมืองทองคำแล้ว จังหวัดกาฬสินเริ่มมีการขุดเจาะก๊าซแล้วเมื่อ 3 ปี  แถวนี้มีก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งอันตรายมาก จนมีชาวบ้านเจ็บป่วย เป็นไปได้ว่าการขุดเจาะก๊าซใช้ความเร็วสูงด้วยการสูบขึ้นมา ซึ่งในยุโป อเมริกามีการประท้วงการขุดเจาะแบบระเบิดหินดินดาล ซึ่งน้ำที่ใช้อยู่จะเป็นก๊าซที่เป็นอันตราย

เรื่องเหมืองแร่ที่ให้สัมปทาน เร่งบริหารจัดการแร่ 20 ปี การจัดการครั้งนี้ไม่มีการจัดการรับฟังความคิดเห็น แร่ทองคำที่ใหญ่ที่สุดที่จังหวัดเลย และพิจิตรเป็นอันดับต่อมา ซึ่งเหมื่องแร่ทองคำ ทำให้คนเจ็บป่วยและมีบางรายที่เสียชีวิตแล้วด้วยผลตรวจเลือดที่มีสารไซยาไนด์ เรื่องแร่โปแตซที่มีอยู่ในจังหวัดสกลนครด้วย และประเทศไทยยังมีการผลิตน้ำตาลทราย และการผลิตอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายนั้น เป็นระบบโควต้าอ้อย ซึ่งจะเห็นว่าเจ้าของไร่อ้อยไม่ได้รวยเลยทั้งที่น้ำตาลมีการส่งออก สร้างผลกำไรจำนวนมาก และในโรงงานน้ำตาลยังมีโรงงานไฟฟ้าชีวมวลด้วย ต่อความก็เกษตรพันธสัญญาที่มีความเร็วสูงมากในการผลิต ซึ่งเกษตรกรเป็นผู้ผลิตภายใต้เจ้าของกิจการไร่นา แต่จริงแล้วเขามีความสัมพันธ์เป็นอย่างไร และจากการทำงานวิจัยเขาคือลูกจ้างในไร่นาของตนเอง หากว่าบริษัททำเองอาจถูกชาวบ้านประท้วงเรื่องมลพิษในสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก ด้วยเป็นชาวบ้านทำจึงไม่มีการประท้วง

สุดท้ายเรื่องประชารัฐ ซึ่งมีการเร่งการพัฒนาต่างๆ สิ่งที่พบแนวคิดที่จะไปให้พ้นกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ประชารัฐจะมี 2 คำ คือไม่มีประชา มีแต่รัฐกับทุนเป็นหลัก ซึ่งคนที่ได้ประโยชน์จากแนวนโยบายประชารัฐ คือทุนขนาดใหญ่ ซึ่งการปลูกพืชแปลงใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในภาคอีสาน โดยมองว่า น่าจะเป็นการปลูกอ้อยที่จะเกิดขึ้น และกลุ่มที่ได้คือทุนอย่างโรงงานน้ำตาล นโยบายที่มาน่าจะเป็นเรื่องเกษตรกรรม ซึ่งคนอีสานกลัวที่สุดคือพ.ร.บ.ชุมนุมในพื้นที่สาธารณะ การดำเนินคดีเพื่อปิดปากทั้งการคัดค้านเหมืองแร่ทองคำ โรงงานน้ำตาล เกิดชาวบ้านโพสต์อะไรก็อาจถูกฟ้องพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ข้อกล่าวหาหมิ่นประมาท ตอนนี้มีการใช้มากที่สุด คือ 2 พ.ร.บ.ดังกล่าวนี้ในภาคอีสาน ชาวบ้านยังถูกคุกคามในรูปแบบอื่นๆอีก และอีสานถูกมองจากภาครัฐเป็นอาณานิคมภายในการมองแบบนี้คือการที่รัฐส่งคนมาปกครอง และมีการเอาทรัพยากรไปใช้ โอกาสที่คนอีสานจะได้ปกครองอีสานจึงยากมาก ทัศนคติแบบนี้ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิ การยึดที่ดินคนอีสานบ่อยๆ ซึ่งประเด็นแบบนี้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ภูมิภาคอื่นๆด้วย เช่น ภาคใต้ จึงทำให้คนที่อยู่ตามภูมิภาครู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมจากนโยบายรัฐ

ดร.พงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสหกิจ บริษัท ทีโอที (มหาชน) เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิตสัมพันธ์ (สรส.) กล่าวว่า ในสังคมวันนี้คนใช้บริการรัฐวิสาหกิจน้อยลง ไปใช้บริการเอกชนมากขึ้น การเสื่อมสลายของลัทธิคอมมิวนิตส์ทำให้ระบบทุนเติมโตมากขึ้น และวันนี้ภาพของรัฐบาลผูกขาดจะเห็นแนวคิดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แม้ว่าจะมีรูปร่างบรรษัทก็ตาม ซึ่งเรื่องการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจให้ดีขึ้นนั้น คนรัฐวิสาหกิจเห็นด้วยแต่ต้องไม่ใช่การขาย หรือให้ทุนเข้ามาถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจที่หากถือครองหุ้นจำนวนเกินร้อยละ 50 ก็จะทำให้รัฐวิสาหกิจเป็นระบบเอกชนทันที โดยทุนที่เข้ามาตอนนี้คงไม่ใช่ทุนไทยแต่เป็นทุนข้ามชาติ การพัฒนาก็จะไม่มีเพราะทุนต้องการกำไรและนำกำไรออกไปต่างประเทศ ซึ่งการเข้ามาของระบบเทคโนโลยีที่เข้ามาทำให้เกิดสังคมเสมือนจริงในการพูดคุยกันกับเพื่อน หรือว่าต้องการอ่านหนังสือไม่ต้องไปซื้อ หรือเดินทางไปหาแล้ว สามารถที่จะดูจากมือถือ ระบบเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปเรื่อยทำให้เกิดการผลิตสินค้า สร้างผลิตภัณฑ์ที่มากขึ้น และเป็นตลาดทุนเสรี มีการใช้แรงงาน จากนั้นก็เป็นเทคโนโลยี มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ และมีการย่อโลกไว้ในมือ ทุกอย่างเริ่มพัฒนาเล็กลง และมีนวตกรรมใหม่ๆขึ้นมา และการเข้ามาของเทคโนโลยีดิจิตอล และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มากขึ้น ซึ่งความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมีความไวมาก ซึ่งไม่แน่ใจว่า จะเปลี่ยนคนได้ตามเทคโนโลยี รัฐวิสาหกิจเองก็มีการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ซึ่งมีการกล่าวถึงบริการผลิตภัณฑ์รัฐวิสาหกิจเชิงคุณค่าในการพัฒนาเพื่อให้ประชาชนได้เขาถึงสวัสดิการที่เป็นพื้นฐาน เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิตอล ซึ่งมีอินเตอร์เน็ตที่จะเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงการบริการต่างๆในโลกดิจิตอล ซึ่งการที่จะเข้าถึงโครงข่ายเหล่านี้หากว่า ทุนเป็นผู้ลงทุนระบบเทคโนโลยีทั้งหมด หากว่า เครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่อยู่ในมือรัฐแล้ว ประเทศจะเป็นอย่างไรหากโครงข่ายอินเตอร์เน็ตระบบสารสนเทศเทคโนโลยีอยู่ในมือเอกชนทั้งหมด เช่น สตาร์ทอัพนั้นประเทศในบยุโรปเกิดขึ้นไปแล้วกว่า 10 ปี แต่ประเทศไทยเดิมต้องไปจดทะเบียนที่มาเลเซียแล้วมาขายให้ประเทศ กำไรก็ส่งออก แต่การเกิดขึ้นของแนวคิดไทยแลนด์ 4.0 ทางรัฐบาลได้มอบให้ทีโอทีในการวางโครงข่ายอินเน็ตประชารัฐ ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐต้องจัดการพื้นฐานด้านโครงข่ายอินเตอร์เน็ตให้กับประชาชน ชุมชน ซึ่งควรใช้ในการสื่อสารข่าวสาร ข้อมูล คืดว่าจะเป็นประโยชน์ มีการเชื่อมต่อในชุมชน

 

กรณีการสร้างรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นการขนส่งมวลชนที่สามารถขนคนได้มากๆ ซึ่งในความคิดในการสร้างรถไฟทางคู่ดีกว่าการสร้างรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะหยุดป้ายน้อยมาก คิดว่ารถไฟรางคู่จะมีประโยชน์กัประชาชนมากกว่าหากดูจากขนาดของประเทศ รางคู่จะตอบโจทย์การพัฒนามากกว่า และมีเทคโนโลยีหลายตัวที่มีความสำคัญในการที่จะพัฒนาประเทศ การที่รัฐวิสาหกิจมีการสร้างมานาน และมีเอกชนมาเป็นคู่แข่ง และมีการพัฒนาที่เร็วมาก การที่รัฐวิสาหกิจมีการบริหารแบบระบบราชการทำให้การเปลี่ยนแปลงช้ากว่าเอกชน การที่รัฐมาตั้งบรรษัท เพื่อการบริหารก็ไม่ใช่อย่างที่ต้องการบริหารจัดการเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งเรามองว่ารัฐต้องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจมากกว่าการที่จะปฏิรูปให้ดีขึ้น และรัฐบาลไม่สนใจในการที่จะจัดบริการประชาชนด้วยการใช้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศอย่างอดีต ทำให้รัฐบาลประชารัฐใช้การบริหารแบบรัฐบวกกับทุน มีการจำกัดให้รัฐวิสาหกิจเล็กลง ทำให้ระบบทุนโตขึ้น ซึ่งมีการลดบทบาทรัฐวิสาหกิจ อยากให้สังคมมองรัฐวิสาหกิจเป็นของประชาชน และประชาชนต้องลุกขึ้นมาบอกรัฐให้นำรัฐวิสาหกิจมาสร้างประโยชน์ให้กับประชาชน มาตอบสนองประชาชนในการบริการ ไม่ใช่ให้เป็นเอกชนในการบริการประชาชน ซึ่งทุนต้องการประโยชน์สูงสุดคือกำไร

คุณภารดีธิดา ธนสารสกุลชัย ตัวแทนภาคเอกชน กล่าวว่า ทำธุรกิจร้านอาหารและคาราโอเกะมา 10 ปี ซึ่งมีช่วงที่ทำเงินได้มาก และต่ำสุดก็มี สิ่งที่ค้นพบคือ ค่าความเสี่ยงอยู่ที่การบริหารจัดการ การบริหารที่ยากที่สุดคือคน ธุรกิจเชิงเดี่ยวคือทำคนเดียว ธุรกิจร่วมรัฐ คือภาครัฐเอื้อประโยชน์ต่อกัน ธุรกิจร่วมรัฐ เอกชนและเครือข่าย อันนี้เป็นยุคปัจจุบัน ซึ่งก็เชื่อมกับการใช้แรงงาน การที่เราจบแล้วก็คือการได้งานที่ดี หรืออาจไม่ได้ทำงานเพราะภาวะปัจจุบันคนที่เก่งมีความสามารถก็ชนะ คนที่มีแนวคิดทำงานไปวันๆก็อาจมีปัญหาได้หากคิดแบบนี้ต้องทบทวน การที่เราทำงานในภาคธุรกิจแค่บริหารอยู่ก็ได้รับผลกระทบกับผู้ใช้แรงงาน ในปัจจุบัน กลุ่มคนที่จะอยู่ในวัยใช้แรงงานตอนนี้หาไม่ค่อยพบแล้วในชุมชน ตอนนี้ใครก็ต้องการที่จะไปทำงานต่างถิ่น การจ้างงานแรงงานตอนนี้ก็ใช้แรงงานข้ามชาติ ซึ่งเขาก็ต้องการรายได้ ขยันมาก แต่มาดูคนอีสานก็ทำงานสุดตัวเช่นกัน ขยันแต่การที่ไปทำงานต่างถิ่นแม้จบปริญญาตรีก็ยังไม่ได้ค่าจ้าง 15,000 บาท การทำธุรกิจนวดสปา ที่มีการฟื้นมาจากการทำธุรกิจร้านอาหาร ร้านนวดถือเป้นธุรกิจด้านสุขภาพ ที่มหาสารคามมีร้านนวดจำนวนมาก แต่ร้านมหาสารคามนวดเพื่อสุขภาพนั้นมีการดูแล มีการใช้ระบบเทคโนโลยีมาใช้ในการโฆษณาแต่ว่าด้วยหมอนวดมีน้อยแต่ทางร้านจะดูแลมีแบบฟอร์มให้ใส่ ค่าจ้างแบ่งกันร้อยละ 50 หมอนวดจะได้ค่าจ้างเดือนละ 20,000 บาทต่อเดือนถามว่า เราต้องการเพิ่มแรงงานแต่ไม่มีแรงงานฝีมือตรงนี้ในการรองรับ การที่แรงงานภาคอีสานที่ออกไปทำงานต่างถิ่นรายได้หากหักการเดินทางและค่าใช้จ่ายในต่างถิ่นแล้วเหลือหรือไม่ทำไมแรงงานจึงไม่ทำงานในบ้านถิ่นทั้งที่รายได้ไม่ต่างกันแล้วกับการไปทำงานต่างถิ่น การใช้เครื่องมือสื่อสารระบบโซเซียลมิเดียต้องใช้ให้เป็นเพื่อการสร้างธุรกิจสร้างรายได้ให้กับตัวเองได้ ต้องใช้แรงงาน แรงสมองให้เกิดเประโยชน์มากที่สุด