อรท.ติวเข้มเครือข่าย เตรียมกดดันหลังร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมรัฐเข้าสนช.

PB040088องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย (อรท.) จัดอบรมเครือข่าย เรื่องร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมคนทำงาน และร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่..)พ.ศ. ….เข้าสู่การพิจารณาสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) หลังได้รับแต่งตั้งเป็น หนึ่งในกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายฯ เตรียมความพร้อมเครือข่ายด้านข้อมูล ดันข้อเสนอ 4 หลักการ

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 องค์การแรงงานแห่งประเทศไทยได้จัดอบรมเชิงปฏิบัตการเปรียบเทียบร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..)พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับคนทำงาน โดยการสนับสนุนจากแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่โรงแรมเบย์ สมุทรปราการ

20141104_09344920141104_100049

นายมนัส โกศล ประธานอรท.กล่าวว่า จากการเปรียบเทียบร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับรัฐบาลกับฉบับคนทำงาน จำนวน 11หัวข้อใหม่ ได้มา 4 ประเด็นหลักการครอบคลุม กรณีคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด) จากเดิมฝ่ายละ 5 คนเพิ่มเป็น ฝ่ายละ 6 คน การเลือกตั้งตัวแทนที่เครือข่ายแรงงานเสนอให้มีการเลือกตั้งโดยใช้เขตเลือกตั้ง 1 สิทธิ 1 เสียง ก็เป็นรูปแบบตั้งตัวแทน  หรือระบบสัดส่วน อายุกรรมการขั้นต่ำ 30 ปี บอร์ดต้องมีการแสดงบัญชีทรัพย์สินที่มีต่อสาธารณะเพื่อตรวจสอบให้เกิดความโปร่งใส

การเคลื่อนไหว ทางเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) ได้กำหนดร่วมกันว่าให้ตัวแทนประมาณ 10 คนจะนำข้อเสนอไปเสนอต่อทางประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ฯในวันที่ 7 พ.ย.นี้ที่รัฐสภา ด้วยคณะกรรมาธิการจะมีการเลือกประธานในวันนั้น ส่วนการอบรมวันนี้เป็นการเพิ่มทักษะให้กับแกนนำเพื่อให้การศึกษาในระดับสมาชิกต่อไป

นายกอบ เสือพยัคฆ์ ผู้เชียวชาญด้านประกันสังคมกล่าวว่า  เรื่องเจตนารมณ์ของร่างกฏหมายประกันสังคม หากมองในมิติของรัฐบาลหลังจากที่มีการรับฟังข้อเสนอของแรงงานทางเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมจะมีการนำข้อเสนอดังกล่าวไปเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

ส่วนประเด็นการเลือกตั้งตัวแทนต้องออกเป็นประกาศ ตรงนี้ตัวแทนผู้ประกันตนทุกฝ่ายต้องมีส่วนร่วมในการนำเสนอ ซึ่งตนคิดว่าร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมจะเป็นประโยชน์มาก หากขบวนการแรงงานต้องการข้อเสนอของแรงงานทั้งหมดต้องแสดงพลังมากกว่านี้ การที่เร่งให้สมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.)เร่งรัดการพิจารณาให้นำข้อเสนอมาปรับในกฏหมายลูก ประกาศ กฏระเบียบ ซึ่งร่างพ.ร.บ.ตอนนี้ได้แก้จากคำนิยามว่าลูกจ้างเป็นผู้ประกันตน เพราะผู้ประกันตนไม่ได้อยู่ในภาวะการเป็นลูกจ้าง คนที่มาเป็นบอร์ดประกันสังคมต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินเพื่อป้องกันการทุจริต

มีการแก้ไขเพิ่มเติมกรณีทรัพย์สินที่ได้มาจากกองทุนประกันสังคมเดิมจะเป็นของราชพัสดุ ต่อไปทรัพย์สินตกเป็นของกองทุนประกันสังคม ซึ่งเป็นการเพิ่มเงินกองทุน นำไปหาประโยชน์เข้ากองทุนประกันสังคมได้

ประเด็นแก้ไขมาตรา 40 กรณีการจ่ายเงินสมทบเดิทไม่ได้ออกโดยกฎหมายกำหนด เป็นเงินงบประมาณกลางของฝ่ายรัฐบาลจัดสรรเพื่อจ่ายสมทบให้ ร่างกฎหมายฉบับนี้กำหนดไว้เป็นกฎหมายแต่รัฐจะสมทบด้วยเหมือนกับกรณีผู้ประกันตนมาตรา 33 ซึ่งจะสมทบเท่าไรไปกำหนดในกฏหมายลูก

กรณีสิทธิประโยชน์ดีกว่าการใช้สิทธิประกันชีวิตใช้สิทธิได้ไม่มีการตัดสิทธิ รายละเอียด่เป็นประโยชน์คือกิจการที่ยกเว้น แก้นิยามครอบคลุมลูกจ้างตามฤดูกาล เช่นลูกจ้างภาคเกษตร ประมง การให้ความคุ้มครองผู้ประกันตนตั้งแต่อายุ 15-60 ปี

PB040092

การประกันสังคมเป็นการจ่ายเงินเพื่อที่จะได้รับสวัสดิการ ซึ่งผู้ประกันตนนั้นเป็นทั้งผู้จ่ายภาษีและจ่ายสมทบประกันสังคมเพื่อจัดสวัสดิกันเองรัฐต้องจ่ายเงินอุดหนุนด้านสวัสดิการอื่นๆน้อยลง เช่นมาตรา 40 ที่ให้การรักษาพยาบาลด้วยรัฐจ่ายเงินให้กับหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) ปัญหาระบบประกันสังคมมีคณะกรรมการ 2 ชุด ชุดแรกบอร์ดควบคลุมการบริหารจัดการ คณะกรรมการการแพทย์ที่วินิจฉัยโรค รักษาพยาบาล ซึ่งควรกำหนดว่าไม่ควรมีผลประโยชน์ซับซ้อนกับสำนักงานประกันสังคม

กรณีผู้ประกันตนมาตรา 39 ตนคิดว่ารัฐควรให้ความช่วยเหลือเพราะก็ถือว่าเป็นผู้จ่ายเงินสมทบเพื่อจัดสวัสดิการให้ตนเอง ซึ่งสิทธิเทียบเท่ากับมาตรา 33 แต่เนื่องการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมรัฐควรมีส่วนร่วม รัฐยังไม่ได้ดูแลผู้ประกันตนมาตรานี้ และผู้ประกันตนมาตรา 39 เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระเหมือนกับมาตรา 40

กรณีเจ็บป่วยมีเรื่องการส่งเสริมด้านสุขภาพและวินิจฉัยโรค คือสามารถตรวจสุขภาพได้ โดยถือว่าเป็นการป้องกันโรค

ประเด็นแรงงานข้ามชาติจะได้รับบำเหน็จชราภาพหากแรงงานไม่ได้ทำงานประสงค์กลับภูมิลำเนาและไม่กลับมาทำงานอีก หรือหากลูกจ้างต้องการกลับมาทำงานอีกก็สามารถต่อระบบได้เลย ซึ่งกรณีนี้รัฐมนตรีเห็นว่าแรงงานไทยก็ควรได้รับสิทธินี้ได้ด้วยไม่ควรรอจนกว่าอายุที่กำหนดจึงรับสิทธิ คือเลือกได้

นายวาทิน หนูเกื้อ กรรมการสายกฎหมายสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ของผู้ประกันตนคือเรื่องการใช้สิทธิประโยชน์ และการให้บริการ เคยไปใช้สิทธิบริการรักษาพยาบาลด้วยตนเอง เจอการบริการที่ไม่ดี ยาที่จ่ายมาไม่มีคุณภาพรักษาไม่หาย ต้องไปใช้ใช้บริการโรงพยาบาลที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายเงินซึ่งยาคุณภาพต่างกันจ่ายเงินหายทันที ประสบการณ์จากเพื่อนที่เป็นกรรมการบริหารประกันสังคม (บอร์ด)ไปใช้บริการ เริ่มจากการบริการที่ไม่ดี พอทราบว่าคนที่มาใช้บริการเป็นบอร์ดประกันสังคม การต้อนรับดีมาก ดูแลเป็นอย่างดี ดูแล้วมีความเหลื่อมล้ำกันในทางบริการอย่างมากสำหรับผู้ประกันตนคนอื่นๆ ซึ่งไม่ควรมีมาตรฐานที่ต่างกัน

20141104_10331420141104_110458

บทบัญญัติกฎหมายประกันสังคมมีปัญหาการบัญญัติที่ไม่ครบถ้วน กรณีประกันสังคมการว่างงาน กรณีเกษียณอายุ ทางประกันสังคมไม่จ่าย แต่ให้รับในส่วนของบำเหน็จหรือบำนาญเพียงอย่างเดียว คิดว่าไม่ชอบธรรมเพราะเขาจ่ายสมทบกรณีนี้มาแต่เมื่อตกงานจากการเกษียณอายุก็ไม่ได้รับสิทธิ เมื่ออายุ 50 ปีเกษียณอายุต้องรอสิทธิเมื่ออายุ 55 ปีจึงได้รับสิทธิได้ และอายุ 55 ปีไม่ต้องจ่ายเงินสมทบกรณีว่างงานงดจ่าย

ปัญหาการตีความกฎหมายของเจ้าหน้าที่ประกันสังคมที่ตีความกีดกันสิทธิผู้ประกันตน ซึ่งควรตีความแบบเป็นคุณกับตีความแบบเป็นโทษ การที่ต้องใช้เวลารอนานอาจส่งผลผู้ประกันตนลืม ก็เสียสิทธิ มาร้องเพื่อขอรับสิทธิกำหนดให้ภายใน 1 ปีต้องมาร้องเพื่อขอรับสิทธิ แต่เมื่อรออายุครบ 55 ปีมารับเลยไปหลายปีเจ้าหน้าที่บางท่านตีความว่าหมดสิทธิอีก ซึ่งก็มีการฟ้องศาลเพื่อให้ศาลตัดสิน ซึ่งศาลฎีกาได้ตัดสินให้สำนักงานประกันสังคมจ่าย แต่ความจริงจะให้ผู้ประกันตนต้องไปฟ้องร้องต่อศาลทุกคนใช้เวลานานก็จะได้รับสิทธิ ตามจริงสำนักงานประกันสังคมต้องออกเป็นแนวปฏิบัติให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อไม่ให้เกิดการตีความแบบไม่เป็นคุณต่อผู้ประกันตน

ส่วนประเด็นการแก้ไขกฎหมาย ควรต้องมีการตรวจสอบเพื่อให้มีการระดมสมองและสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย

นายบรรจง บุญรัตน์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทสไทย กล่าวว่า ส่วนที่ลูกจ้างไม่สบายใจก็สามารถที่จะยื่นต่อสำนักงานประกันสังคมเพื่อให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในกฎระเบียบ ประกาศซึ่งข้อเสนอเรื่อง ประเด็นที่หนึ่งคือ กรณีการที่ไปใช้สิทธิถอนฟัน อุดฟันทำไมผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินด้วย และเบิกค่าทำฟันก็น้อยมาก ต่างกับสิทธิหลักประกันสุขภาพ(สปสช.) ที่ไม่ต้องจ่ายแม้แต่บาทเดียว

ประเด็นที่สองกรณีประกันสังคมกรณีคลอดบุตร การเหมาจ่าย ผู้ประกันตนที่ตั้งครรภ์ต้องจ่ายเงินก่อนล่วงหน้า การเบิกจ่ายควรได้รับสิทธิตั้งแต่การไปตรวจครรภ์ ควรได้รับการดูแลทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด ไม่มีเงินคลอดลูกไม่ได้ ต้องจ่ายแล้วถึงกลับมาเบิกกับประกันสังคม

ประเด็นที่สาม การย้ายฐานการผลิต กรณีที่ร่างกฎหมายประกันสังคมของรัฐบาลที่เข้าสู่การพิจารณาสนชงกำหนดว่า หากลูกจ้างลาออกจากงานไม่ได้รับสิทธิกรณีว่างงานนั้น เป็นการลดสิทธิของผู้ประกันตนที่เคยได้ให้ต่ำกว่าเดิม และขัดกับมาตรา 120 กฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ให้ลูกจ้างสามารถบอกเลิกสัญญาจ้างได้ดยนายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้ตามกฎหมาย ซึ่งตรงนี้ลูกจ้างต้องเขียนใบลาออกแบบไม่เต็มใจ แต่ต่อไปลูกจ้างจะไม่ได้รับสิทธิกรณีว่างงานร้อยละ 30 เป็นการตัดสิทธิ ปัญหาการตั้งสหภาพแรงงานก็มาจากการบังคับ ซึ่งเสียงต่อการที่นายจ้างจะให้ออกจากงาน โดยใช้การบีบบังคับให้ลาออก การลาออกของลูกจ้างไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็ถือว่าเป็นการว่างงาน ควรต้องได้รับสิทธิประกันสังคมกรณีว่างงานตามที่เขาได้จ่ายเงินสมทบไป ไม่ใช่มาตัดสิทธิเขาในฐานะผู้ประกันตน

ประเด็นที่สี่ คือยามดีใช้ยามไข้ไล่หนี ประเด็นเมื่อสุขภาพดีลูกจ้างอยู่ในระบบประกันสังคม ได้สิทธิครบทุกกรณี แต่เมื่อเจ็บป่วยเรื้อรัง ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ มีเพดานการรักษาพยาบาลถูกตัดสิทธิอีก ต้องลาออกไปใช้สิทธิสปสช. และกรณีเกษียณอายุแล้วก็เช่นกันเมื่อเจ็บป่วยต้องเข้าสู่การรักษาในระบบสปสช. อีก ซึ่งทำไมช่วงที่ร่างกายแข็งแรงเขาทำงานส่งเงินสมทบมาตลอดควรดูแลเขาจนกว่าจะตาย ดังเช่นคำของอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่กล่าวถึงระบบรัฐสวัสดิการที่ต้องดูแลตั้งแต่เกิดจนตาย ประกันสังคมเปรียบหมือนระบบรัฐสวัสดิการ ไม่ใช่ดูแลช่วงที่เป็นหนุ่มสาวเท่านั้น ยังมีประเภทที่เจ็บป่วยบางโรคแพทย์รักษาไม่ได้ให้ไปหาทางรักษาเองอีก

ประเด็นที่ห้า กรณีการขาดส่งเงินสมทบประกันสังคม ผู้ประกันตนมาตรา 39 และ 40 ที่อาจมีการหลงลืมส่งเงินสมทบแล้วทางประกันสังคมมีการตัดสิทธิสร้างความเสียหายให้กับผู้ประกันตนอย่างมาก ซึ่งบางคนถึงกลับให้ออกจากระบบประกันสังคม ซึ่งจริงแล้วสำนักงานประกันสังคมควรมีระบบเตือน และติดตาม เพื่อคงความเป็นผู้ประกันตนต่อไปด้วย

ประเด็นสุดท้าย กรณีการเปิดเสรีทางการค้าอาเซี่ยน (AEC) การจ้างงานภายในประเทศมีความเปลี่ยนแปลง การใช้แรงงานข้ามชาติในประเทศมีความหลากหลายภาษี และร่างกฎหมายฉบับใหม่มีความครอบคลุมแรงงานข้ามชาติด้วย จึงควรมีการปรับเรื่องภาษาที่จะมารองรับแรงงานข้ามชาติที่เข้าสู่ระบบประกันสังคมอย่างทั่วถึงด้วย ไม่ใช่ให้เขาเข้าสู่ระบบเก็บเงินแต่ไม่ดูแลให้เขาสามารถเข้าใจ และเข้าถึงสิทธิประโยชน์ที่มีได้

20141104_11403020141104_095954

นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ นักวิชาการมูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน กล่าวว่าความต้องการแก้ไขปัญหาของหลายเรื่อง ต้องไปแก้ที่กฎระเบียบ ประกาศกฎกระทรวง หรือต้องออกเป็นแนวปฏิบัติ ซึ่งร่างกฎหมายประกันสังคมที่กำลังพิจารณาของสนช.นั้นก็ไม่ใช่ร่างกฎหมายใหม่เพราะร่างมาตั้งแต่ปี 2548-2549 ช่วงนั้นผู้ประกันตนยังน้อยประมาณ 7-8 ล้านคน ปัจจุบันผู้ประกันตนกว่า 10 ล้านคนแล้ว ขบวนการแรงงานได้มีการเสนอร่างกฎหมายประกันสังคมฉบับคนทำงานไปหลายครั้งแต่ไม่ได้รับการพิจารณาร่วม เพราะเป็นร่างกฎหมายที่สนช.กับคสช. (คณะความมั่นคงแห่งชาติ)ไม่ให้ความสนใจ จากการเปรียบเทียบร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับด้านสาระสำคัญของกฎหมาย กรณีขอบเขตการคุ้มครองการบังคับใช้กฎหมายมาตราแรกพูดถึงการบังคับใช้กฎหมายและการบริหารจัดการกองทุน ว่าการคุ้มครองครอบคลุมใครบ้าง และกฎหมายยกเว้นการคุ้มครองคือใครบ้าง โโยจะมีการออกเป็นกฤษฎีกามบังคับอีกครั้ง

ร่างกฎหมายประกันสังคมคนทำงานของเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) อยากที่จะเปลี่ยนรูปแบบความครอบคลุมคนทำงานทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นคนทำงานในทุกองค์กรที่มีการจัดสวัสดิการต่ำกว่าระบบประกันสังคมจัดโดยมีการนำสวัสดิการที่ทางองค์กรจัดให้มาตรวจสอบว่าสวัสดิการดีกว่าจริงหรือไม่ หากไม่ดีจริงต้องเข้าสู่ระบบประกันสังคม โดยไม่มีข้อยกเว้น ซึ่งครอบคลุมถึงองค์กรมหาชนที่ออกกฎหมายยกเว้นการคุ้มครองในกฎหมายแรงงาน ต่อไปไม่ยกเว้น เว้นแต่จัดสวัสดิการดีแล้ว ซึ่งปัจจุบันองค์การมหาชนมีราว 20 แห่ง แม้แต่ลูกจ้างที่องค์กรให้ไปทำงานต่างประเทศก็ต้องมีการแสดงหลักฐานการคุ้มครองดูแลด้านสวัสดิการด้วยเช่นกัน

เรื่องที่มาองค์ประกอบของผู้เกี่ยวข้องในแง่คณะกรรมการบอร์ดประกันสังคมที่เพิ่มจากเดิม 5 คนเป็น 6 คนตามสัดส่วน ก็ยังไม่รู้ว่าดีกว่าเดิมอย่างไร หากระบบการได้มาไม่เปลี่ยน เพราะปัจจุบันผู้ประกันตนในส่วนของมาตรา 39 และมาตรา 40 มีจำนวนมากขึ้น และเมือรวมกับมาตรา 33 ผุ้ประกันตนทั้งหมาดราว 12 ล้านคน ซึ่งกฎหมายมอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นผู้ออกกฎระเบียบเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวแทนผู้ประกันตน กรณีที่คปค.เสนอให้มีการเลือกตั้งตัวแทนจากพื้นที่ ใช้ระบบ 1 สิทธิ 1 เสียง เลือกเข้ามา และมีเลือกกันอีกครั้ง เหมือนกับเลือกสมาชิสภาผู้แทน และเลือกคณะรัฐมนตรีมาบริหารเป็นต้น ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะได้รับการพิจารณาหรือไม่

เรื่องคุณสมบัติต้องห้าม เพื่อที่จะให้เกิดความโปร่งใสตรวจสอบได้ การเพิ่มเติมคุณสมบัติทั่วไป และคุณสมบัติเฉพาะคือ ผู้สมัครต้องไม่เป็นคู่สัญญา หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับสำนักงานประกันสังคม ต้องเข้าใจว่าเงินในกองทุนประกันสังคมปัจจุบันโตขึ้นมาก ตอนนี้กว่า 1.1 ล้านล้านบาทแล้ว เพื่อลดปัญหาการตั้งบริษัทมาทำมาหากินกับประกันสังคม ไม่ว่าจะเป็นตัวของบอร์ด หรือลูก เมีย การตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน การแสดงบัญชีทรัพย์สินเป็นส่วนหนึ่ง กฎหมายไม่กำหนดเรื่องอายุและองค์ประกอบของบอร์ด ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษา ต้องดูการได้มา และอำนาจหน้าที่ การดำรงตำแหน่งบอร์ด 2 ปี ได้ 2 วาระ ส่วนร่างของคปค. ให้ดำรงตำแหน่ง 4 ปี เป็นได้ 2 วาระ และกลับมาเป็นอีกไม่ได้ ปัญหาประเด็นปัญหาเรื่องสิทธิ การใช้สิทธิเป็นเรื่องรวมๆที่เป็นผลกระทบของผู้ประกันตน

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการกำหนดให้มีการลงให้การจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพสมาชิกเรื่องร่างกฎหมายประกันสังคม และในวันที่ 7 พ.ย.ให้ตัวแทนเข้าร่วมยื่นหนังสือต่อประธานกรรมาธิการแรงงานที่รัฐสภา

รายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..)พ.ศ. …. ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ไดมีการประชุมพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่..)พ.ศ. …. พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่..)พ.ศ. ….จำนวน 18 คน ประกอบด้วย

1. นายโกวิท สังจวิเศษ
2. นายประเวศ อรรถศุภผล
3. นายสุรเดช วสีอิทธิกุล
4. นายเจตน์ ศิรธรานนท์
5. พลเอกธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษธำรง ทัศนาญชลี
7. นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์
8. พลเอกมารุต ปัชโชตะสิงห์
9. พลเอกสิงห์ศึก สงห์ไพร
10. นายสุพันธุ์ มงคลสุธี
11. นายอิสระ ว่องกุศลกิจ
12. นายมนัส โกศล ผู้แทนลูกจ้าง
13. นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ ผู้แทนองการเอกชน
14. นายศุภชีพ ดิษเทค ผู้แทนองค์การเอกชน
15. นายสุชาติ โอวาทวรรณสกุล ผู้แทนองค์การเอกชน
16. นางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้แทนองค์การเอกชน
17. นายอนุชา รัตนสินธุ์ ผู้แทนองค์กาคเอกชน
18. นางสาวอรุณี ศรีโต ผู้แทนองค์การเอกชน

ต่อมา ในวันเดียวกัน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยได้เข้าร่วมประชุมกับเครือข่ายภาคประชาชน ในการประชุมร่วมเวที เสียงประชาชนที่ต้องการปฏิรูป ที่ไทยพีบีเอส เพื่อนำเสนอแนวทางการปฏิรูปแรงงาน โดยได้มีการเสนอเรื่องการว่างกรอบแก้ไขรัฐธรรมของแรงงาน และการเสนอเรื่องการปฏิรูประบบประกันสังคมด้วย ซึ่งภาคประชาชนจะมีการจัดเวทีเสนอกรอบรัฐธรรมนูญในวันที่ 24 พ.ย. และทางสมาชิสภาปฏิรูปแห่งชาติจะมีการเปิดรับกรอบข้อเสนอในวันที่ 21 ธ.ค. รวบรวมภายใน 45 วัน และร่างให้แล้วเสร็จภายใน 180 วันจากนั้นจะมีการนำเสนอร่างเพื่อประชาพิจารณ์ ในส่วนของเวที เสียงประชาชนที่ต้องปฏิรูปจะมีการจัดเวทีหลังจากมีการจัดเวทีมาแล้ว 5 ภูมิภาค หลายจังหวัด ในวันที่ 10 ธ.ค.ที่ไทยพีบีเอส

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน