องค์การแรงงานเสนอปลัดกระทรวงแรงงาน เร่งปฏิรูป และบังคับใช้กฎหมาย

Untitled-1-copy

10 กรกฎาคม 2557 องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย (อรท.) นำโดยนายมนัส โกศล ประธานฯได้เข้ายื่นหนังสือถึงนายนายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ท่านปลัดกระทรวงแรงงาน เรื่อง “ขอให้บังคับประกาศใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อย่างเป็นธรรม และปรับปรุง พระราชบัญญัติประกันสังคมให้คุ้มครองสิทธิของคนทำงานทุกคนที่มีรายได้”

องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย 7 สภาองค์การลูกจ้าง กับสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ได้ตระหนักถึงความไม่เป็นธรรมผู้ใช้แรงงานที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างหรือนายทุน ที่หวังเข้ามากอบโกยได้ผลประโยชน์จากการจ้างงาน คือแม้จะมีกฎหมายแรงงานออกมาบังคับใช้แต่นายจ้างเหล่านั้นก็ไม่ยอมปฏิบัติ มักจะหาช่องว่างของกฎหมายมาใช้กับลูกจ้างผู้ขาดอำนาจต่อรอง ในประเทศไทยมีการจ้างงานหลายรูปแบบแต่ที่มากที่สุดคือ การจ้างงานรับเหมาค่าแรง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 11/1 โดยการให้บุคคลหรือนิติบุคคลจัดหาคนเข้าไปทำงานตามสถานประกอบการต่างๆ ที่มีความต้องการคนงาน เพราะสถานประกอบการส่วนใหญ่จะไม่รับลูกจ้างโดยตรง แต่จะรับผ่านบริษัทรับเหมาค่าแรงเกือบทั้งหมด

บริษัทรับเหมาค่าแรงส่วนใหญ่ จะมีเพียงสำนักงานเอาไว้เพื่อรับคนงาน แล้วนำพาคนงานที่รับมาส่งตามบริษัทหรือสถานประกอบการต่างๆ ที่ต้องการ บริษัทรับเหมาค่าแรงก็จะได้กินหัวคิว หรือค่านายหน้าจากบริษัทโดยคิดจากค่าตัวต่อคน เพราะบริษัทผู้ผลิตสินค้าต่าง ๆ ที่รับลูกจ้างรับเหมาค่าแรงจะจ่ายเงินค่าจ้างผ่านบริษัทเหมาค่าแรงทุกคน บริษัทรับเหมาค่าแรงจะได้เงินค่าหัวคิวมากน้อยเท่าไรนั้น แล้วแต่สัญญาข้อตกลงระหว่างบริษัทผลิตสินค้ากับบริษัทรับเหมาค่าแรง ในการจ้างงานแบบนี้องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย เห็นว่า เป็นการค้ามนุษย์ จึงเอาเปรียบลูกจ้างเสมือนทำนาบนหลังคน เพราะเมื่อลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่เข้าไปทำงานในสถานประกอบการของผู้ผลิตสินค้ามีปัญหาจะถูกนายจ้างบริษัทผู้ผลิตส่งกลับบริษัทรับเหมาค่าแรงต้นสังกัด บริษัทรับเหมาค่าแรงจะนำลูกจ้างเหล่านี้ส่งไปยังบริษัทผู้ผลิตรายอื่นต่อไป ทำให้ลูกจ้างไม่มีอำนาจการต่อรอง ขาดความมั่นคงในการทำงาน ในส่วนสวัสดิการต่าง ๆ ที่บริษัทผู้ผลิตสินค้าให้กับลูกจ้างประจำ เช่น โบนัส เบี้ยขยัน ค่ากะ ค่าเช่าบ้าน และรถรับ-ส่ง รวมทั้ง แบบฟอร์มพนักงาน ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงจะไม่ได้รับ

Untitled-2-copyUntitled-3-copy

เมื่อสมัยรัฐบาล พลเอก สรยุทธ จุลานนท์ ท่านได้แก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 (3) แก้ไขเป็นมาตรา 11/1 โดยให้สิทธิลูกจ้างที่อยู่ในขบวนการผลิตเดียวกันได้รับสิทธิเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ แต่นายจ้างรับเหมาค่าแรงทั้งหมดร่วมกัน นายจ้างผู้ผลิตไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงบางส่วนทนสถานการจ้างไม่ไหว ได้นำเรื่องไปฟ้องต่อศาลแรงงาน และศาลแรงงานได้พิพากษาฎีกาลงมาแล้ว ตามคดีเลขที่ 22326-22404/2555 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2555 ให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ ข้อความในฎีกานั้น อาจจะถูกแปลความไปตามความความประสงค์ นายจ้างที่ไม่ต้องการให้ลูกจ้างได้รับสิทธิเท่าเทียมกันอีกครั้ง

องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย เล็งเห็นถึงความสำคัญในสิ่งเหล่านี้ องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย จึงขอฝากความหวังของผู้ใช้แรงงานทั้งประเทศให้ท่านช่วยพิจารณาโดยเฉพาะ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 11/1 ให้นายจ้างทุกสถานประกอบการผลิต ได้ปฏิบัติต่อลูกจ้างทุกคนเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่กล่าวอ้างตามกฎหมายต่อลูกจ้างทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน จะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อผู้ใช้แรงงานทั้งประเทศ เป็นการลดการค้ามนุษย์อีกรูปแบบหนึ่งได้อย่างถาวร และลูกจ้างก็จะมีความมั่นคงในการทำงานตลอดไป

อีกประการหนึ่ง ขอให้มีการปฏิรูประบบประกันสังคม เพราะปัจจุบันนี้เป็นกองทุนที่มีเงินมากที่สุดในประเทศถึง 1.1 ล้านล้านบาท ขาดความโปรงใสในการบริหารจัดการ การเข้าถึงสิทธิของผู้ประกันตนตามมาตรา 33, 39,และ40 สิทธิคุ้มครองไม่เหมือนกัน ทั้งที่ผู้ประกันตนมีศักยภาพการจ่ายเงินสมทบแต่ติดขัดทางกฎหมาย และที่มาของคณะกรรมการประกันสังคม จากปัญหาดังกล่าวสมควรแก้ไขปรับปรุงกฎหมายประกันสังคมให้คุ้มครองสิทธิประโยชน์ให้กับคนทำงานที่มีรายได้ ตั้งแต่อายุ 15 – 60 ปี มีรายละเอียดและหลักการแก้ไขดังนี้

1. หลักคุ้มครองคนทำงานที่มีรายได้ ซึ่งได้รับสวัสดิการส่วนใหญ่ไม่เท่ากับกฎหมายประกันสังคม
สาระสำคัญของหลักการนี้ คือ
(1.1) คนทำงานทุกคนบนผืนแผ่นดินไทยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป และมีรายได้จากการทำงานต้องมีหลักประกันทางสังคมคุ้มครอง ทั้งในรูปแบบการบังคับและรูปแบบสมัครใจ
(1.2) “คนทำงาน” หมายถึง กลุ่มคนทำงานที่มีนายจ้างร่วมสมทบ ผู้ที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการองค์กร หรือบริษัท/ร้านค้าต่าง ๆ และกลุ่มคนทำงานที่ไม่มีนายจ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระในทุกประเภทงาน เช่น เกษตรกร คนขับรถบริการสาธารณะ กลุ่มอาชีพ OTOP แม้ค้าหาบเร่ มัคคุเทศก์ ศิลปิน นักแสดง นักเขียน เป็นต้น
หมายเหตุ : ถ้าสามารถทำให้เป็นระบบบังคับสำหรับคนทำงานทุกคนได้ โดยมีนโยบายและระบบการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังจากแหล่งอื่น ๆ มาช่วยสนับสนุน เช่น ระบบการจัดเก็บภาษี

2. หลักเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข
สาระสำคัญของหลักการนี้ คือ
(2.1) ทุกคนในสังคมมีส่วนร่วมในการจ่ายเงินสมทบในอัตราที่เหมาะสม
(2.2) การร่วมจ่ายเงินสมทบ เป็นไปตามหลักความสามารถในการจ่าย โดยคำนึกถึงรายได้ของผู้ประกันตนเป็นสำคัญ
(2.3) มีระบบการบริหารจัดการที่เอื้อต่อการลดเงื่อนไขหรือข้อจำกัดของผู้ประกันตน ที่ไม่สามารถจัดการเรื่องเงินสมทบได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การว่างงานชั่วคราว เงื่อนไขทางสุขภาพและสังคมหรือเศรษฐกิจ โดยมีการกำหนดเกณฑ์/แนวทางสำหรับการปฏิบัติ
3 หลักการมีส่วนร่วม สาระสำคัญของหลักการนี้ คือ
(3.1) การร่วมจ่ายตามหลักความสามารถในการจ่าย
(3.2) การบริหารจัดการกองทุน เช่น การคัดเลือกกรรมการ การรับฟังความคิดเห็น สัดส่วนที่มาของกรรมการ
(3.3) การตรวจสอบเพื่อความโปร่งใสและประสิทธิภาพ ประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุน

4. หลักความครอบคลุมและเป็นธรรม สาระสำคัญของหลักการนี้ คือ
(4.1) ผู้ประกันตนทุกคนจะได้ประโยชน์ทดแทนขั้นพื้นฐานที่เท่ากับ 7 ประการ ตามพ.ร.บ.ประกันสังคม
(4.2) สิทธิประโยชน์ที่ได้รับตามประโยชน์ทดแทน จะมี ๒ แนวทาง คือ สิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับเท่าเทียมกัน และได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นตามความสามารถในการจ่าย (โดยมีการกำหนดเกณฑ์และแนวทางการเพิ่มสิทธิประโยชน์ที่พิจารณาอย่างรอบด้าน)
5. หลักความยืดหยุ่น ทันสมัย สอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจและสังคม
สาระสำคัญของหลักการนี้ คือ
(5.1) ความเป็นสมาชิกในแต่ละมาตราสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม โดยผู้ประกันตนมีทางเลือกในการปรับย้ายความเป็นสมาชิกในแต่ละมาตราได้ ทั้งมาตรา 33, 39 และ 40
(5.2) ประโยชน์ทดแทนสามารถปรับเปลี่ยนได้/เพิ่มเติมได้/มีทางเลือกที่หลากหลาย ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด โดยคำนึงถึงสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม และสถานะของกองทุน

6. หลักการบูรณาการ สาระสำคัญของหลักการนี้คือ
(6.1) เชื่องโยงและประสานสิทธิประโยชน์ ร่วมกับระบบสวัสดิการอื่น ๆ เช่น ระบบสุขภาพระบบบำนาญ หรือ กองทุนเงินทดแทน เป็นต้น
(6.2) การเชื่อมโยงระบบการบริหารจัดการ เช่น ระบบการชำระเงิน, ระบบฐานสมาชิก
(6.3) การกำหนดมาตรฐานการให้บริการ เช่น ช่องทางการให้บริการ เพดานการจ่ายเงิน เกณฑ์ในการจ่างเงิน
(6.4) การบูรณาการหรือการปรับปรุง/เพิ่มสิทธิประโยชน์/การกำหนดมาตรฐานตามกฎหมายประกันสังคม ร่วมกับกฎหมายอื่น ๆ ต้องพิจารณาถึงการไม่ลิดรอนสิทธิประโยชน์ที่คนทำงานพึงได้รับตามกฎหมายนั้น ๆ
7. หลักความเป็นอิสระ
(7.1) เป็นหน่วยงานอิสระภายใต้การกำกับของรัฐ
(7.2) มีการออกแบบโครงสร้างคณะกรรมการใหม่ตามความเหมาะสมกับการบริหารงานกองทุนประกันสังคม
(7.3) ผู้บริหารกองทุนประกันสังคมต้องมาจากการสรรหา ที่ไม่ใช่ข้าราชการประจำ (มีความเป็นมืออาชีพมีการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะด้าน)

ท้ายที่สุดนี้ องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย ขอสนับสนุนและเป็นกำลังใจให้กับท่าน ได้ขจัดสิ่งที่ไม่ดีไม่มีความเป็นธรรมในสังคมให้หมดไปและลดความเหลี่อมล้ำของคนในชาติให้ดีขึ้น จึงขออวยพรให้ท่านประสบความสำเร็จตามที่ท่านปรารถนาทุกประการ

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน