คสรท. สรส.มูลนิธิผูบริโภค เครือข่ายเกษตรกร ติงการรถไฟละเลยการแก้ปัญหาด้านความปลอดภัย ส่งผลรถไฟตกรางเสียชีวิต 7 คน ผู้บริหารฉวยโอกาสเลิกจ้างสหภาพแรงงาน แทนการแก้ปัญหาด้านการบริการดูแลผู้ลบริโภค แก้ปัญหารถที่ไม่พร้อมอุปกรณืไม่ครบ หนุนสร้างระบบรถไฟรางคู่ ร้อยปีผ่านไปรถไฟควรพัฒนามากกว่านี้
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2554 ที่เขาเต่า จังหวัดประจวบคีรีขัน โดยโครงการรณรงความปลอดภัยเดินทางโดยรถไฟ ครบรอบ 2 ปีรำลึกอุบัติเหตุรถไฟตกรางที้เขาเต่า จัดโดย สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ช่วงเช้าได้มีการจัดการเลี้ยงพระทำบุญให้กับผู้เสียชีวิตทั้ง 7 คน ซึ่งมีองค์กรที่เข้าร่วมปรนะกอบด้วย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เครือข่ายเกษตรกรแห่งประเทศไทย มูลนิธิผู้บริโภค ทั้งเอกชน และรัฐวิสาหกิจ ภาคประชาชน ราว 100 คน เข้าร่วมกิจกรรม
โดยได้มีการประกาศเจตณารมณ์รำลึกถึงคนที่เสียชีวิต ร่วมกันขององค์กรภาคประชาชน โดยนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยว่า เนื่องในงานรำลึกครบรอบ 2 ปี รถไฟตกรางที่เขาเต่า ถือเป็นโศฏกรรมที่ร้ายแรงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากระบบความไม่ปลอดภัยในการเดินทางโดยรถไฟ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเสียชีวิต และทรัพย์สิน ผู้คนได้รับบาดเจ็บ เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และรวมไปถึงพนักงาน สหภาพแรงงานที่ต้องกลายเป็นคนที่ถูกลงโทษจากการที่ผู้บริหารมองว่าเป็นกลุ่มคนที่กระทำผิดร้ายแรง ขอเลิกจ้าง
ภายใต้การเดินทางโดยรถไฟนั้น ทั่วโลกมองว่าเป็นการเดินทางที่ถือว่าปลอดภัยที่สุด แต่มาวันนี้รถไฟไทยมีการดำเนินการมานับร้อยปี ยังคงไม่มีการพัฒนาให้ได้มาตราฐาน สหภาพแรงงานได้มีการเรียกร้องระบบความปลอดภัย การตรวจสอบระบบ มีการทำข้อตกลงกันระหว่างผู้บริหารกับสหภาพแรงงานเรื่องการจัดการระบบความปลอดภัย ซึ่งอุบีติเหตุที่เกิดขึ้นจำนวนมาก อาจมีทั้งเสียชีวิต และไม่เสียชีวิต ในมุมมองของสหภาพแรงงานนั้นถือว่าสามารถป้องกันได้ หากผู้บริหารมีการจัดระบบตรวจสอบป้องกัน ซ่อมแซมให้ระบบต่างๆสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย ซึ่งทางสหภาพแรงงานได้มีข้อเสนอ แนวทางการสร้างความปลอดภัยของประชาชนในการเดินทางโดยรถไฟ โดยให้รัฐบาลมีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองผุ้บริโภคในกิจการรถไฟ ให้การคุ้มครองดูแลมาตรฐานการบริการสาธารณะ และมีบทบาทในการส่งเสริมกิจการแรงงานสัมพันธ์ระหวง่างผู้บริหารกับสหภาพแรงงานฯ คณะกรรมการมาจากภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และผู้ใช้บริการร่วมด้วย และประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการความปลอดภัยของการรถไฟ รวมทั้งสร้างมาตรฐานด้านความปลอดภัยของการรถไฟแห่งประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ต้องสร้างความน่าเชื่อมั่น ต่อผู้ใช้บริการของการรถไฟแห่งประเทศไทยในด้านความปลอดภัย และการบริการที่เป็นรูปธรรมในการลดจำนวนการเกิดเหตุทางรนถไฟ พร้อมอุปกรณ์ต่างๆของรถจักร รถพ่วง ที่เกี่ยวข้องวกับความปลอดภัยจะต้องให้การได้อย่างสมบูรณ์ หากไม่สวมบูรณ์ก็ไม่ควรอนุยาตให้นำออกไปทำขบวนอย่างเด็ดขาด และต้องแจ้งข้อมูลให้ประชาชนผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้า
เนื่องจากเหตุที่เกิดรถไฟตกรางที่เขาเต่านั้นเป็นเพราะการขาดแคลนอัตรากำลังพนักงาน ที่ต้องทำงานจนไม่มีเวลาได้พักผ่อนที่เพียงพอ ทั้วงประกอบด้วยอุปกรณ์รถจักรที่มีสภาพเก่าชำรุด โดยเฉพาะระบบVigilance และ Deadman ซึ่งเป็นอุปกรณที่จะคอยเตือนคนขับ และหยุดรถอัตโนมัติเมื่อพนักงานขับรถไม่อยู่ในสภาพที่จะควบคุมขบวนรถได้ แม้ว่าผู้บริหารจะบอกว่าอุปกรณ์ดังกล่าวไม่ใช่อุปกรณที่จำเป็น แต่ในควงามเป็นจริงแล้วทั่วโลกให้ความสำคัญ และรถไฟจะต้องมีอุปกรณ์ดังกล่าวติดตั้งไว้ทุกคัน หากระบบอุปกรณ์ดังกล่าวไม่สมบูรณ์พร้อมใช้ จะไม่มีการนำรถดังกล่าวออกมาให้บริการเด๋ดขาด ฉนั้นผู้บริหารการรถไฟต้องมีการพิจารณาแก้ไขระบบความปลอดภัยของการบริการรถไฟอย่างจริงจัง พร้อมทั้งจัดหาระบบที่ดีมาให้บริการเพื่อการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้บริการดดยสารรถไฟมากขึ้นโดยปลอดภัย ทั้งนี้สหภาพแรงงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต และผู้ที่ได้รับความเสียหาย ได้รับบาดเจ็บจากการบริการรถไฟสาย 84 ที่ตกรางในวันนี้เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าผู้บริหารจะไม่รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ แม้ว่าศาลอาญาจะตัดสินให้ชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการละเลยในการที่จะดูแลระบบความปลอดภัย และยังตั้งข้อกล่าวหาว่าสหภาพแรงงานประพฤติผิดอย่างร้ายแรงเลิกจ้าง รวม 13 คน พร้อมการใช้สื่อของรัฐในการสร้างภาพให้สังคมรุมด่าว่าสหภาพแรงงานที่เรียกร้องเรื่องความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บริการ เราสหภาพแรงงานจะคงใช้สิทธิในการต่อสู้ทางศาลเพื่อหาความเป็นธรรมต่อไป และจะเรียกร้องให้ผู้บริหารการรถไฟดูแลให้ประชาชนที่ใช้บริการโดยสารรถไฟได้เดินทางอย่างปลอดภัย และได้รับการดูแลให้มากที่สุด
จากนั้นได้มีการจัดเสวนา เรื่อง “ครบรอบ 2 ปีรำลึกอุบัติเหตุรถไฟตกรางที่เขาเต่า”
นายสมศักดิ์ โกสัยสุข ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานระฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยกล่าว ในฐานะคนทำงานรถไฟว่า ได้มีมติร่วมกัน เมื่อปี 2000 มีการรรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม และต้องการให้รถไฟ เป็นรถโดยสารที่เดินทางอย่างปลอดภัย ประเทศไทยก็ได้มีการรณรงค์เรื่องความปลอดภัย สหภาพแรงงานต้องทำ เมื่อเกิดอุบัติเหตุทุกำครั้งคนที่เป็นแพะคือคนขับรถไฟ การที่มีการเดินรถไปด้วยความปลอดภัยแต่กลับต้องจบชีวิตลงถึง 7 ชีวิต
ระบบความปลอดภัยของรถไฟ มีระบบที่ซับซ้อนมาก ระบบวีซีแลนด์ เป็นระบบหนึ่งที่มีการประกาศเรื่องดิสแมนที่มีการชำรุด มีเพียงประกาศให้ระวังเท่านั้น ระบบ Vigilance และ Deadman นี้จะอยู่ที่เท้าพนักงานขับรถไฟ (พขร.) หากคนขับหยุดเท้าเหยียบเมื่อไร รถจะหยุดทันที
แต่วันนี้ พขร.ถูกสั่งติดคุก มีคนเสียชีวิต และรฟท.มีเพียงชดใช้ค่าเสียหายตามศาลสั่ง การบริการเป็นหัวใจของสหภาพแรวงงาน เนื่องจากความปลอดภัยคือหัวใจของการทำงาน การทำงานข้อตกลงมีการทำไว้แล้ว แต่เมื่อศาบมีการตัดสินให้มีการเลิกจ้างสหภาพแรงงาน โดยไม่ได้มองเรื่องของความปลอดภัยในการเดินทางที่มีการเรียบกร้อง และข้อตกลงด้านความปลอดภัยในชีวิตผู้โดยสาร ควรมีการมองเรื่องเจตนารมณ์ของการเรียกร้องของสหภาพแรงงานมากกว่าที่จะมองเรื่องผลประโยชน์ รถไฟที่ดีขึ้นก็เพราะมีสหภาพแรงงานที่คอยดูแล
การเรียกร้องด้านความปลอดภัย การที่เลี่ยงไปใช้เทคนยิคด้านความปลอดภัย ไปใช้เรื่องกระบวนการยุติธรรมเข้ามาจัดการกับสหภาพแรงงาน นี้เป็นเพียงปรากฎการหนึ่งที่มีการเรียกร้องความปลอดภัย
นางกิมอัง พงษ์นาราย เครือข่ายเกษตรกรแห่งประเทศไทย กล่าวว่า วันนี้รัฐบาลมีแต่นโยบายสร้างถนนมากกว่าการสร้างทางรถไฟ ทั้งที่รถไฟเป็นการขนส่งที่สามารถขนคนได้จำนวนมาก การเดินทางโดยรถไฟถือว่า เป็นระบบที่ปลอดภัย ซึ่งการที่เดินทางนี้ต้องปลอดภัย รวดเร็ว มีคนทึ่เป็นมิตรกัน เดินพูดคุยกันได้สร้างสัมพันรธ์กันได้ระหว่างคนกับคน
การต่อสูของคนงานรถไฟเป็นการต่อสู้เพื่อคนจำนวนมากไม่ใช่เพื่อใคร แต่เป็นเพื่อประชาชนคนโดยสารรถไฟ ไม่ได้มีเจตนาในการที่จะสร้างความเดือดร้อน จึงอยากให้มีการทำการประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้
นางสาวแววดาว เขียวเกษม มูลนิธิผู้บริโภค กล่าวว่าการบริการสาธารณะความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานยังไม่ดีพอ การบริการของรถไฟที่ไม่ได้มีมาตรฐานเพียงพอ ทั้งที่เป็นการขนส่งผู้โดยสารจำนวนมาก ซึ่งต้องดูแลทั้งชีวิตให้ได้รับความปลอดภัย สะดวก ประหยัด การเดินทางของผู้บริโภคที่ต้องเดินทางโดยรถไฟจำนวนมากเชื่อว่า รถไฟเป็นการเดินทาวงที่ปลอดภัยที่สุด แต่การเดินทางบนรถไฟแล้วต้องจบชีวิตลงที่การเดินทางบนรถไฟ
รถไฟคนที่ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นคนยากคนจน ในฐานะที่เป็นองค์กรรัฐ รัฐควรมีการดูแลด้านความปลอดภัยของทุกชีวิตที่เดินทางไม่ว่าจะเป็นการเดินทางโดยรถไฟ หรือรถยนต์
สังคมไม่ได้มองว่าผู้ว่าการรัฐวิสาหกิจเป็นใคร คนของใครทำงานเพื่อใคร เพื่อประชาชน หรือว่าเพื่อใคร หากพนักงาน รัฐวิสาหกิจสหภาพแรงงานเข้าใจก็จะได้มีการบริการที่ดี
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยกล่าวว่า เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน หรือสินค่าของภาคเอกชนนั้น จะมีการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ที่ตั้งปลอดภัย การที่จะผลิตรถยนต์หนึ่งคัน หากเกิดตำหนิ จะไม่ปล่อยให้รถคันนั้นออกไปวิ่งบนท้องถนน เพราะนั้นหมายถึงชีวิตของผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร จะเห็นได้จากการเรียกเก็บรถยนต์เมื่อเกิดปัญหาทันที
แต่เมื่อมาพูดถึงการขนส่งของรถไฟเป็นบริการที่มีคนใช้บริการจำนวนมาก การบริการเมื่อ 100 ปีที่แล้วกับวันนี้ยังคงไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก ยังคงต้องเดินทางล่าช้าเหมือนเดิม ยังล่าหลังเหมือนเดิม ไม่มีการพัฒนาระบบต่างๆทั้งการบริการ สภาพรถ หากมีการตรวจเช็คระบบรถไฟด้านความปลอดภัยคงไม่ผ่าน ด้านระบบการป้องกันด้านความปลอดภัย ผู้บริหารต้องเข้ามาดูแลด้านการบริการปรับปรุงเสียใหม่
การที่พนักงานมีการเรียกร้องให้เกิดระบบด้านความปลอดภัยในการเดินทาง และการทำงาน เพื่อลดการสูญเสียชีวิตของพนักงาน ผู้ใช้บริการ ผู้บริหารต้องเข้ามาดูแลด้านความเป็นธรรมมากกว่าการที่จะมาดำเนินการฟ้องร้อง ว่ากระทำการผิดวินัย เลิกจ้างคนงานที่เรียกร้อง หากสังคมเข้าใจ คงจะเข้ามาช่วยกันรณรงค์ และร่วมกันประณามการทำงานของผู้บริหารรถไฟที่กระทำการเลิกจ้างคนที่ต้องการเพียงความปลอดภัยในการให้บริการ
วันนี้ผู้บริหารควรมีการฉวยโอกาสหันมาร่วมกันสร้างมาตรฐานด้านการบริการที่ปลอดภัย หาระบบใหม่ๆมาให้บริการ ส่งเสริมการขายระบบที่ดีให้คนเข้ามาใช้บริการมากขึ้น และต้องมีการสร้างรถไฟรางคู่ได้แล้ว ไม่ควรรอ
การที่มีการเลิกจ้างคนรถไฟไม่ชอบธรรม เพราะการที่สหภาพแรงงานมารณรงค์เพราะเกิดเหตุการความไม่ปลอดภัยของรถไฟตกรางที่เขาเต่า และอีกหลายๆครั้งทั้งที่สูญเสียมาก และน้อยแต่ต่างกัน
นายบุญมา ป่งมา รองเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กล่าวว่า การยืนไว้อาลัยแบบนี้ในพื้นที่เขาเต่า การจัดงานรำลึกแบบนี้หรือ จะเกิดอีกกี่ครั้งอีกกี่พื้นที่ เพราะการที่เกิดปัญหาต่างๆ ด้านความปลอดภัยรถไฟตกราง นั้นสามารถป้องกันได้
ในรัฐวิสาหกิจไม่ใช่เป็นเรื่องของสหภาพแรงงานรถไฟเท่านั้น เรื่องการรณรงค์การทำงานให้ปลอดภัย ทั้งชีวิตคนทำงาน และคนใช้บริการเป็นประเด็นปัญหาของทุกรัฐวิสาหกิจที่ต้องมีการดูแล ทั้งรถเมล์ รถไฟ รถโดยสาร ฯลฯ ผู้บริโภคต้องได้รับบริการที่ดีปลอดภัย ตรงต่อเวลา ประหยัด เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องของทุกคนไม่ใช่แค่กรณีของคนงานรถไฟ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟ รัฐบาลที่ผ่านมาไม่ได้ให้ความสนใจต่อประเด็นปัญหาด้านความปลอดภัย มีความละเลย ต่อการเรียกร้องของสหภาพแรงงานทุกแห่ง การที่กรรมการสหภาพแรงงานรถไฟถูกเลิกจ้าง เป็นการถูกกระทำจากภาครัฐใช้กฎระเบียบมาจัดการ
นักสื่อสารแรงงาน โครงการการพัฒนาสื่อ รายงาน