หวั่นนายทุนฉวยรวมสวัสดิการไม่ปรับค่าจ้าง 300 จริง

ผู้นำแรงงานห่วงนายจ้างไม่ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจริง แอบนำสวัสดิการต่างๆรวม กดค่าจ้างต่อไม่เคารพกฎหมาย ประกาศตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ 9 พื้นที่

นายชาลี ลอยสูงประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) แถลงว่า การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ใน 7 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม บังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2555 ส่วนในจังหวัดที่เหลือ 70 จังหวัด มีการทยอยปรับร้อยละ 40 และปรับ300 บาทเท่ากันทั่วประเทศในวันที่ 1 มกราคม 2556 ทั้งนี้ ให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของทุกจังหวัดไว้ที่วันละ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ในปี พ.ศ. 2557 และปี พ.ศ. 2558

                คสรท. มีจุดยืนสนับสนุนนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศ หากนโยบายดังกล่าวจะเป็นขั้นตอนสำคัญที่ทำให้เกิดระบบค่าแรงที่เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ทำให้ผู้ใช้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การเรียกร้องค่าแรงที่เป็นธรรมสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมโอกาสมีงานทำที่มีคุณค่า (Decent Work) ขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ที่ดำเนินการให้มีการส่งเสริมในทุกรัฐบาล องค์กรนายจ้าง และองค์กรลูกจ้าง ที่เป็นสมาชิกในการเสริมสร้างคุณค่าในแต่ละประเทศ โดยคสรท.มีจุดยืนต่อนโยบายค่าแรง 300 บาท ดังนี้

                1. ขอสนับสนุนและเรียกร้องให้รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทยดำเนินนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ตามที่ได้ให้สัญญาประชาคมไว้กับผู้ใช้แรงงานกว่า 38 ล้านคน

                2. ขอสนับสนุนและเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศ โดยคำนึงถึงความเท่าเทียมในมาตรฐานค่าจ้างขั้นต่ำ ตามหลักการตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ

                3. ขอคัดค้านมาตรการคงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2557 และ 2558 เนื่องจาก สภาวการณ์ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค สาธารณูปโภคและพลังงาน ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่เป็นค่าใช้จ่ายพื้นฐานของแรงงาน

                แต่จากนโยบายปรับขึ้นค่าจ้างดังกล่าว มีผู้ใช้แรงงานเป็นจำนวนมากยังไม่มั่นใจว่าจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ และอาจมีการละเมิดสิทธิแรงงาน ไม่จ่ายค่าจ้างตามกฎหมาย หรือมีการนำสวัสดิการต่างๆมาบวกรวมเป็นค่าจ้าง คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย จึงได้ประสานความร่วมมือองค์กรแรงงานเพื่อให้เปิด “ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนกรณีค่าจ้างไม่เป็นธรรม” เพื่อรับแจ้งการละเมิดสิทธิแรงงาน โดยจัดตั้งศูนย์ 9 ศูนย์ ได้แก่

1) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ที่มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย 503/20 ถนนนิคมรถไฟ มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์/โทรสาร 02 2513170

2) ศูนย์แรงงาน กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ย่านนิคมอุตสาหกรรมเวลโกร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทราโทรศัพท์ 038 842921 ผู้ประสานงาน นายราเล่ อยู่เป็นสุข 084 5408778

3) กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง เลขที่ 32 หมู่ 1 ถ. สุดบรรทัด ต. ตาลเดี่ยว อ. แก่งคอย จ. สระบุรี โทรศัพท์ 036 245441 ผู้ประสานงาน นายบุญสม ทาวิจิตร 0817590827

4) กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก เลขที่ 120/46 หมู่ 3 ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทรศัพท์ 038 337523 ผู้ประสานงาน นายสมพร ขวัญเนตร 0837695687

5) สมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย – TEAM เลขที่ 1/446 หมู่ที่ 14 ซอยบางแสน 2 ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โทรศัพท์ 02 7078072 ผู้ประสานงาน นายยงยุทธ เม่นตะเภา 0818282538

6) กลุ่มสหภาพแรงงานย่านอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ เลขที่ 50/32 หมู่ 6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 โทรศัพท์ 02 8125277 ผู้ประสานงาน นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย 0811787489

7) สหพันธ์แรงงานธุรกิจโรงแรมและบริการภูเก็ต เลขที่ 12/133 หมู่ 3 ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 ผู้ประสานงาน นายวิจิตร ดาสันทัด 0815351764

 8) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เลขที่ 44 ซอยวิภาวดีรังสิต 11 นิคมรถไฟ กม.11 เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02 5378973 ผู้ประสานงาน นายสาวิทย์ แก้วหวาน 0863361110

 9) สหพันธ์แรงงานธนาคารสหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02 2252166 ผู้ประสานงาน นายศักดิ์สิทธิ์ อุดมศิลป์ (เลขาธิการ) 0896977826

นักสื่อสรแรงงานโครงการการพัฒนาสื่อ รายงาน