สหภาพไทยเรยอน เลือกกรรมการชุดใหม่ สมาชิกโหวตคนเก่าร่วงเกินครึ่ง

20140225_181917

สมาชิกสหภาพแรงงานไทยเรยอน ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการใหม่เข้าวินเพี้ยบ หวังเปลี่ยนแปลงการบริหารงาน หลังชุมนุมนัดหยุดงานหลายเดือน อ้างเหตุไม่พอใจข้อตกลง ฐานไม่ชี้แจงสมาชิกก่อนตกลง ผลกรรมการชุดเก่าสอบตกเกินครึ่ง กรรมการเก่าที่ได้ส่วนใหญ่ทำกิจกรรม ชี้แจง จัดบอร์ดในที่ชุมนุม

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557 สหภาพแรงงานไทยเรยอนได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2556 ในวาระครบรอบ 35 ปีที่สโมสรพนักงาน บริษัทไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) การประชุมครั้งนี้ที่มีการดำเนินการล่าช้ามานั้นเหตุเพราะการเกิดข้อพิพาทแรงงานระหว่างสหภาพแรงงานฯ กับบริษัทฯ จนเป็นเหตุให้มีการนัดหยุดงาน และนายจ้างปิดงานเกิดขึ้น ทั้งนี้กรรมการชุดเก่าได้หมดวาระลง จึงมีการจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่เข้ามาบริหารสหภาพแรงงานฯ ซึ่งผู้สมัครครั้งนี้มีทั้งกรรมการชุดเก่า และสมาชิกที่ต้องการเข้ามาเป็นกรรมการ โดยเปิดให้มีการลงคะแนนเสียงตั้งแต่ในช่วงเช้า

20140225_19100520140225_181909

นางสาวไข่มุกข์ จันทโคตร์ อดีตรองประธานสหภาพแรงงานไทยเรยอน กล่าวว่าก ารเปิดรับสมัครหลังกรรมการชุดเก่าหมดวาระครั้งคึกคักมากมีการลงแข่งขันกันหาเสียงระหว่างกรรมการชุดเก่าและชุดใหม่ จากบริษัทฯที่อ่างทองจำนวน 25 คน และสระบุรีไม่มีผู้สมัคร และมีการลงคะแนนเสียงการเลือกตั้งในเช้าวันที่ 25 ก.พ. 57 ซึ่งผลการเลือกตั้งปรากฏว่ามีคนเก่าได้รับการเลือกตั้งจำนวน 4 คน ประกอบด้วยนางสาวนัฐริญา อนุสิ นายพีระภัทร ลอยละลิ่ว นายสุวัฒน์ แก้วเฮียง นางสาวพรรษพร แสงประพาส และเป็นกรรมการใหม่ จำนวน 11 คน และแต่งตั้งในส่วนตัวแทนของสระบุรี 1 คน

ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ที่ออกมา ก็สร้างความตกใจให้กับกรรมการชุดเก่าเป็นอย่างมาก แต่ก็ต้องยอมรับด้วยเป็นระบบประชาธิปไตย มีกรรมการเลือกตั้งที่เป็นอิสระเข้ามาดูแลการเลือกตั้ง นับคะแนน ซึ่งที่แปลกใจ คือคนเก่า เช่น ประธาน รองประธาน เลขานุการ เหรัญญิก คุ้มครองแรงงาน ฯลฯ สอบตกหมด ซึ่งหลายคนเป็นกรรมการมาหลายสมัย และทำงานมาโดยตลอด

20140225_18195020140225_165014

จากการที่ได้พูดคุยกับสมาชิกก็ได้รับคำตอบว่า สมาชิกมีความไม่พอใจกรรมการหลังจากที่มีการทำข้อตกลง ด้วยวันที่เจรจาระหว่างนายจ้าง สหภาพแรงงาน และมีผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เจ้าหน้าที่สวัสดิการจังหวัดเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ย ช่วงนั้นไม่มีใครทราบว่ากรรมการมีความเครียดขนาดไหน สมาชิกก็มีการชุมนุม จนปิดล้อมเพื่อกดดันเพื่อให้มีการเจรจาตกลงกัน ซึ่งทางผู้ว่าฯก็ไกล่เกลี่ยหากวันนี้ตกลงกันไม่ได้ นายจ้างก็จะไม่เจรจา และหากยังยืนยันตัวเลขเดิมนายจ้างเองก็อ้างความเสียหายจำนวนหลายสิบล้านที่เกิดขึ้น หากตกลงตามนั้นคงต้องมีการเลิกจ้างคนงานบางส่วนที่ดูแรงและปฏิปักษ์กับนายจ้าง และอาจมีการดำเนินคดีต่อคนที่กล่าวร้ายฯลฯ และสมาชิกบางส่วนก็มีการทยอยกลับเข้าทำงาน หรือบ่นว่า ไม่ไหวไม่มีเงินใช้จ่าย เพราะชุมนุมมาหลายเดือน และความสูญเสียชีวิตสมาชิกในที่ชุมนุม เป็นความเสียใจของทุกคน ซึ่งทำให้กรรมการตัดสินใจทำข้อตกลง ซึ่งสร้างคงวามไม่พอใจให้กับสมาชิกที่ชุมนุมรออยู่ข้างล่าง โยสมาชิกมองว่าควรมีการมาปรึกษาสมาชิกก่อนที่จะทำการตกลงกับนายจ้าง เป็นเพียงหนึ่งข้อที่สมาชิกไม่พอใจ จึงส่งผลให้ตัดสินใจเลือกคนใหม่ๆเข้ามาเป็นกรรมการ

20140225_18184620140225_173301

อีกประเด็นสำหรับตนเอง คะแนนมาเป็นอันดับที่ 16 ทำให้สอบตกนั้นเป็นเพราะมีสมาชิกบางคนที่ไม่เข้าใจกันกรณีที่สอบถามเรื่องเงินเบี้ยเลี้ยงกองทุนนัดหยุดงาน ด้วยสมาชิกที่มาชุมนุมจะได้เบี้ยเลี้ยงเล็กน้อยเป็นค่าใช้จ่ายช่วงนั้น แล้วปัญหาคือสมาชิกคนดังกล่าวถูกทางสหกรณ์หักเงินไปจนแทบไม่เหลือ จึงมาขอความชัดเจนที่ตน ซึ่งช่วงนั้นต้องขอโทษจริงๆให้ในภาวะที่เครียดมาก จึงใช้อารมณ์ตอบไป ซึ่งก็เลยถูกเอาไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียทำให้สมาชิกอื่นๆเห็นก็ไม่พอใจ มีการพูดคุยกัน ซึ่งเราก็อาจทำไม่ถูกก็ได้ที่ใช้อารมณ์ แต่การชุมนุมที่ยาวนาน จริงแล้วกรรมการทุกคนก็มีภาระไม่ต่างกับสมาชิก ไม่ว่าค่าจ้าง สวัสดิการอื่นๆ สมาชิกได้เท่าไรกรรมการก็ได้เท่ากัน และก็ไม่ใช่ว่า กรรมการไม่อยากได้ กรรมการอยากมีสวัสดิการดีๆเช่นเดียวกัน การตัดสินใจในข้อตกลงครั้งนี้ ถึงแม้สมาชิกจะยังไม่พอใจว่าได้โบนัสน้อย ไม่ตรงตามข้อเรียกร้อง แต่กรรมการรู้สึกว่า การที่เราทุกคนได้กลับเข้ามาทำงานพร้อมกันอีกครั้งโดยที่ไม่มีใครต้องอกจากงาน ถูกเลิกจ้างไป และสามารถทำให้องค์กรสหภาพนของเราดำรงอยู่ และเติบโตโดยไม่มีความสูญเสีย เพื่อทำหน้าที่ปกป้องสิทธิให้กับสมาชิกต่อไป ถือว่าประสบผลสำเร็จแล้ว

การที่สมาชิกตัดสินใจเลือกคนใหม่ๆเข้ามาเป็นกรรมการนั้น ก็เป็นความคาดหวัง ซึ่งคงต้องให้กำลังใจกันในการทำงาน ส่วนกรรมการเก่าที่ได้รับการเลือกตั้ง เป็นคนที่ทำกิจกรรมในที่ชุมนุม เช่น จัดบอร์ด จับไมค์เป็นโฆษก ชี้แจงผลการเจรจาในที่ชุมนุม ถ่ายรูป เป็นคนที่ติดอยู่กับที่ชุมนุมพูดคุยกับสมาชิกตลอดเวลา

20140225_16324720140225_163304

นางสาวนัฐริญา อนุสิ หนึ่งในกรรมการชุดเก่าที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นกรรมการชุดที่ 19 กล่าวว่า ต้องขอบคุณสมาชิกที่ไว้วางใจให้กลับเข้ามาทำงานสหภาพแรงงานอีกครั้ง และรู้สึกเสียใจที่กรรมการชุดเก่าหลายท่าน ซึ่งคนทำงานให้องค์กรมานานต้องสอบตกไม่ได้รับเลือกตั้งเข้ามา ซึ่งก็อยากให้มีการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาเข้ามาร่วมกันทำงาน และขอแสดงความดีใจกับกลุ่มคนใหม่ที่จะเข้ามาช่วยกันทำงานให้กับสมาชิกสหภาพฯ เป็นความต้องการเปลี่ยนแปลงของสมาชิกทุกคนก็ยอมรับการตัดสินใจของสมาชิก

ส่วนกรรมการชุดเก่ามีประสบการณ์ทำงานมาหลายปี อยากให้มาช่วยกันทำงาน ซึ่งไทยเรยอนยังไม่เคยมีการตั้งอนุกรรมการ จะใช้เป็นตัวแทนแผนกเข้ามาร่วมประชุมด้วยกับกรรมการ แสดงความคิดเห็นเสนอแนะได้ แต่ยังไม่รู้ว่ากรรมการเก่าจะมาร่วมหรือไม่อยากให้ใช้ประสบการมาช่วยกันทำงานด้วย

นายกฤษณชัย สินธุประสิทธิ์ กรรมการใหม่ชุดที่ 19 กล่าวว่า ตนเคยเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน และไม่ได้ลงสมัครเข้าเป็นกรรมการมาราว 10 ปีแล้ว การตัดสินใจลงสมัครอีกครั้งเป็นเพราะกรรมการเก่าชวนกันเข้ามาสมัครเพื่อช่วยกันทำงานมากขึ้น เพราะแม้ว่า เดิมไม่ได้เป็นกรรมการ แต่ก็เข้ามาช่วยกันทำงานตลอด โดยเมื่อช่วงที่ชุมนุมอยู่ก็เข้ามาเป็นโฆษกในที่ชุมนุม เพื่อช่วยกันชี้แจงกับสมาชิก และช่วยกันดำเนินกิจกรรมเป็นช่วงๆตลอดเวลา

เมื่อเพื่อนชวนให้ลงสมัคร เพราะกรรมการเก่าบางคนก็ไม่ลง แต่พอได้เข้ามาทำงานกรรมการชุดเก่าสอบตกไม่ได้เข้ามาเป็นกรรมการจำนวนมาก สมาชิกตัดสินใจเลือกชุดใหม่เข้ามาทำงาน ก็คงเป็นความรู้สึกที่ต้องการทดลองให้คนใหม่ๆมาทำงานบ้างเท่านั้น รวมทั้งความไม่พึงพอใจข้อตกลงที่อาจไม่ได้เป็นไปตามความต้องการ ซึ่งตอนเองมองว่า สมาชิกเองก็ต้องเข้าใจคนที่ทำหน้าที่เจรจาด้วย คนที่อยู่ตรงนั้นมีความกดดันมากทั้งจากรัฐ นายจ้าง และสมาชิก การที่สามารถรักษาไม่ให้มีการเลิกจ้างเพื่อลดต้นทุน จากความสูญเสียของนายจ้างระหว่างที่ลูกจ้างชุมนุม ด้วยการเลิกจ้างนั้นเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องแล้ว แต่เป็นการดีที่มีคนใหม่ๆมุ่งมั่นมีใจที่จะเข้ามาทำงานสหภาพแรงงาน ไม่ต้องใช้วิธีดันหลัง หรือฉุดดึงกันเข้ามา

ส่วนกรรมการเก่าที่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง คงต้องขอให้มาช่วยกันทำงานอย่างแน่นอน เรื่องความไม่พอใจของสมาชิกต่อผลการเจรจาคงต้องมีการชี้แจง และต้องให้กำลังใจกันทั้งอดีตกรรมการและสมาชิกด้วย อย่างไรเราได้กลับมาอยู่ร่วมกันพรอมหน้า พร้อมตาดีที่สุด ช่วงนั้นมีคนที่ต้องการกลับเข้าทำงานจริง นายจ้างเขาก็รู้ เราก็ต้องยอมรับว่าการต่อสู้สายป่านแรงงานไม่ยาวพอ เมื่อเศรษฐกิจ ครอบครัวเริ่มมีปัญหาก็ต้องหาเงิน ซึ่งความอดทนแต่ละคนก็ต่างกัน ฉะนั้นกรรมการชุดใหม่คงต้องช่วยกันทำความเข้าใจ เรายังต้องอยู่ร่วมกันกับนายจ้าง และเราคือเพื่อนๆกัน ต้องสามัคคี มีวินัย สำนึกหน้าที่ เป็นคำขวัญที่เราอยู่ร่วมกันมา

ทั้งนี้ ในที่ประชุมยังมีการแสดง และแขกมาร่วมแสดงความยินดีกับการประชุมใหญ่รวมทั้งวงดนตรีภราดรที่ไปช่วยเป็นกำลังใจให้ด้วย

20140225_18211620140225_164245

 

คณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงานไทยเรยอน ชุดที่ 19 มีดังนี้ (รายชื่อ-คะแนนตามลำดับ)

1. นายกฤษณชัย สินธุประสิทธิ์ ได้คะแนน 455
2. นายรวิพงษ์ ศุภศรี ได้คะแนน 353
3. นายสุทัศน์ เอี่ยมแสง ได้คะแนน 346
4. นายศุภกิตติ์ ทิพย์สิงห์ ได้คะแนน 339
5. นายฐิติพงษ์ รักวงษ์วาน ได้คะแนน 309
6. นายสุวัฒน์ แก้วเฮียง ได้คะแนน 306
7. นายพีระภัทร ลอยละลิ่ว ได้คะแนน 302
8. นายพยุง สุคันธรส ได้คะแนน 268
9. นายณัฐภูมิ สุวรรณวงศา ได้คะแนน 267
10. นายสมยศ นันตาวัง ได้คะแนน 266
11. น.ส.ณัฐริญา อนุสิ ได้คะแนน 263
12. นายราเยส เดียวซิงค์ ได้คะแนน 263
13. น.ส.พรรษพร แสงประพาฬ ได้คะแนน 259
14. นายพรชัย ปั้นคำ ได้คะแนน 241
15.นายอรรถพล พูลทอง ได้คะแนน 236
16. นายสมโภชน์ รักษ์วงษ์วาน คณะกรรมการจากสระบุรี

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน