สหภาพฟูจิทรานส์ ร้องกระทรวง เหตุเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

1420865814201

สหภาพแรงงานฟูจิทรานส์ (ประเทศไทย) ป้องสมาชิก -อนุกรรมการกรรมการ ร้องกระทรวงแรงงาน อ้างเหตุนายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรม หลังนายจ้างเลิกจ้างแล้วราว 50 คน ทั้งลูกจ้างแหลมฉบัง และรังสิต ข้อหาประสิทธิภาพการทำงานไม่ได้มาตรฐานกำหนด วินัยและโทษทางวินัย เช่น ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ขยันหมั่นเพียรเสียสละอดทน และมีความตั้งใจจริง

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2558 สหภาพแรงงานฟูจิทรานส์ (ประเทศไทย) ได้เข้ายื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อให้กระทรวงฯช่วยเหลือพนักงานกรณีถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จากการที่บริษัทฟูจิทรานส์ (ประเทศไทย)จำกัด ได้เลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงานที่โรงงานแหลมฉบังจังหวัดชลบุรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2557 จำนวน 42 คน และโรงงานที่รังสิต จังหวัดปทุมธานี วันที่ 23 ธันวาคมจำนวน 8 คน

14208658382901420865842127

โดยทางบริษัทอ้างว่า ทำงานไม่มีประสิทธิภาพทำงานไม่ได้ตามมาตรฐานกำหนด ไม่สอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับบริษัทฯ คือ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ขยันหมั่นเพียร เสียสละ และมีความตั่งใจจริง ซึ่งเมื่อทางสหภาพแรงงานฯสอบถามวิธีการตรวจสอบมาตรฐาน ทางบริษัทบอกว่า เป็นดุลยพินิจ ซึ่งทางสหภาพแรงงานฯไม่เข้าใจ ด้วยสมาชิกที่ถูกเลิกจ้างนั้นบางคนทำงานมากว่า 10 ปี และได้รางวัลพนักงานดีเด่น ทำงานไม่ขาดไม่สายทำงานดีมาโดยตลอด บางคนได้เลื่อนตำแหน่งใหม่เมื่อปีที่ผ่านมาด้วย และมีเพียง 2 คนที่บริษัทฯอ้างเรื่องตรวจพบสารเสพติดในร่างกาย ซึ่งทางซึ่งพนักงานได้บอกว่าแจ้งกับทางหัวหน้างงานแล้วว่าวันนี้กินยาแก้แพ้อากาศมา แต่เมื่ออ้างว่าตรวจร่างกายพบสารเสพติด ทางลูกจ้างก็แสดงความบริสุทธิ์ด้วยการเสนอให้เหน้าที่ตรวจเพื่อแยกซ้ำ แต่บริษัทยืนยันเลิกจ้างโดยไม่ฟังเหตุผล

ทั้งนี้ ทางกรรมการสหภาพแรงงานฯได้ให้ข้อมูลเพิ่มว่า หลังจากที่สหภาพแรงงานฯได้ยื่นข้อเรียกร้องประจำปีต่อบริษัทฯเมื่อ28 เมษายน 2557 และมีการเจรจาต่อรองหลายครั้งแต่ไม่สามารถตกลงกันได้ และมีการพิพาทแรงงานในเดือนพฤศจิกายน 2557 และมีการประนอมข้อพิพาทไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตกลงกันได้เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 และวันที่ 4 ธันวาคมบริษัทฯมาเลิกจ้างสมาชิก และอนุกรรมการสหภาพแรงงานรวม 50 คน แม้ว่าส่วนหนึ่งจะยอมรับค่าชดเชย แต่สหภาพแรงงานมองว่าการเลิกจ้างครั้งนี้เป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจากสหภาพแรงงานมีสมาชิกรวม 900 คน ซึ่งเป็นลูกจ้างที่อยู่ในโรงงานแหลมฉบัง และโรงงานรังสิต ซึ่งเป็นอนุกรรมการและสมาชิกที่เป็นตัวแทนจากสมาชิกที่เข้ามาช่วยกรรมการสหภาพแรงงานฯในการดูแลสมาชิกในโรงงาน เพราะกรรมการสหภาพแรงงานฯทั้งหมดอยู่ที่โรงงานแหลมฉบัง จึงไม่สามารถดูแลสมาชิกได้ครอบคลุมทุกโรงงานจึงแต่งตั้งอนุกรรมการเข้ามาทำหน้าที่แทนกรรมการฯ การเลิกจ้างครั้งนี้ของนายจ้างจึงเป็นการตัดแขนตัดขาสหภาพแรงงานฯที่จะเข้าไปดูแลคุ้มครองสมาชิกอย่างทั่วถึง ทางสหภาพแรงงานฯจึงได้มาร้องเพื่อให้กระทรวงแรงงานเข้าไปไกล่เกลี่ย เพื่อให้ลูกจ้างได้รับความเป็นธรรมกลับเข้าไปทำงาน และขอยืนยันว่าความเป็นธรรมไม่ใช่การได้รับค่าชดเชย เพราะลูกจ้างยังคงรักและผูกพันมีความพร้อมต้องการที่จะกลับเข้าทำงานช่วยนายจ้างพัฒนาธุรกิจและด้านแรงงานสัมพันธ์ให้ก้าวหน้าเพื่อผลกำไร และสวัสดิการที่เป็นธรรม ซึ่งทางกระทรวงแรงงานได้ให้ทางเจ้าหน้าที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่เกี่ยวข้องมารับเรื่อง ซึ่งได้มีการลงไปไกล่เกลี่ยแล้วครั้งหนึ่ง และจะลงไปเป็นคนกลางเพื่อไกล่เกลี่ยอีกครั้งในสัปดาห์หน้า

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน