สหพันธ์แรงงานปิโตรเลียม วางแผนงานประจำปี พร้อมเรียนรู้ประวัติศาสตร์

 

สหพันธ์แรงงานปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ วางแผนงานหารายได้ เก็บค่าบำรุง การจัดการศึกษา และฟื้นฟู จัดตั้งสมาชิกเพิ่ม

วันที่ 10-11 ตุลาคม 2563 ได้จัดประชุมวางแผนงานปี2564 ของสหพันธ์แรงงานปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์แห่งประเทศไทย ที่ภูเขางาม รีสอร์ท นครนายก

นายจาตุรงค์ ไพสิงห์ ประธานสหพันธ์แรงงานปิโตรเลียม และเคมีภัณฑ์ กล่าวถึงว่า สหพันธ์แรงงานปิโตรเลียม และเคมีภัณฑ์ก็มีประวัติศาสตร์การทำงานที่ยาวนานและมีประธานหลายท่านแต่เรากับไม่ทราบเลยว่า ประวัติศาสตร์ขององค์กรมีอะไรบ้าง แรงงานและการที่ขบวนการแรงงานมีพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยมานานแต่หลายคนที่เป็นกรรมการใหม่ๆเข้ามาบริหาร หรือกรรมการเก่าบางท่านยังไม่รู้ หรือมีโอกาสเข้าไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์แรงงาน ซึ่งสหพันธ์ฯควรจะมีการจัดการอบรมศึกษาประวัติศาสตร์แรงงาน ความเป็นมาเป็นไปในขบวนการแรงงาน ประวัติศาสตร์แรงงานการต่อสู้ และยังมีความรู้อีกมากมายในพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และการที่เราจะมีการพัฒนาสวัสดิการ การทำงานในอนาคตต้องอาศัยประสบการจากอดีตมาทำงาน เราจะมีการวางแผนงานก็ต้องรับรู้ปีที่ผ่านมาด้วย

นายวิชัย นราไพบูลย์ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กล่าวว่าประวันติศาสตร์เป็นความรู้ ความเข้าใจ จิตสำนึกและความภาคภูมิใจในความเป็นตัวตน การที่แรงงานขาดประวัติศาสตร์ทำให้เราไร้ตัวตน ถูกมองว่าไม่มีคุณค่าในสังคม ทั้งที่แรงงานคือผู้สร้างทั้งผลผลิต เป็นผู้สร้างเศรษฐกิจ เป็นทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค หากแรงงานไม่มีเงินเศรษฐกิจก็มีปัยหาอย่างทุกวันนี้ ไม่มีค่าจ้าง ก็ไม่มีกำลังซื้อ ค่าจ้างถูกกำลังซื้อก้น้อย แม้ว่ารัฐบาลจะมีความพยายามในการกระตุ้นการใช้จ่ายแต่ว่า เมื่อแรงานไม่มีความมั่นคงการจะใช้จ่ายจึงยาก

ภารกิจพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ภาระกิจแรก ภาระกิจเพื่อสังคม นักศึกษา นักเรียน นักท่องเที่ยว และภารกิจที่สอง เพื่อแรงงาน ที่มีทั้งการจัดแสดงให้ความรู้ด้วนประวัติศาสตร์แรงงานที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย นอกจากนิทรรศการก็ยังมีการให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์แรงงาน ทั้งในพื้นที่ และนอกพื้นที่ที่เรียกนิทรรศการประวัติศาสตร์เคลื่อนที่ ยังมีงานด้านอื่นๆ อย่างภารกิจการสื่อสารอีกด้วย ภารกิจงานอนุรักษ์สิ่งของที่ทรงคุณค่าด้านแรงงาน เอกสารที่สำคัญ รูปภาพ ประวัติองค์กร การทำงานของแรงงานซึ่งมาจากการที่ทำงานด้านการผลิตสื่อวิดีทัศน์ประวัติองค์กรแรงงาน หรือการประชุม การขับเคลื่อนขององค์กรแรงงาน เป็นต้น

การสนับสนุนด้านสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์แรงงาน คือการรถไฟ ซึ่งได้มาจากการประสานงานของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย รายได้มาจากการระดมทุนจากองค์กรต่างๆ การบริหารจัดการองค์ประกอบจากทั้งนักวิชาการ สหภาพแรงงาน คนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ และได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ซึ่งภาครัฐโดยกระทรวงแรงงาน ได้จัดโบว์ลิ่งค์มอบเงินใน 3 แสนบาท หลังจากนั้นไม่ได้มีการสนับสนุนอีก ซึ่งตอนนี้เรื่องสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ฯก็อาจได้รับผลกระทบจากการพัฒนาพื้นที่มักกะสัน แต่ก็ยังคงต้องรอดูว่าจะมีอะไรกระทบอย่างไรบ้างคงต้องอาศัยพี่น้องขบวนการแรงงานช่วยกันดูแล

วิวัตนาการจากอดีตพัฒนาการของแรงงานสากล คือ การทำงานการเกษตร การผลิตเดิมเป็นการผลิตแบบแบ่งปัน การผลิตเพื่อการแลกเปลี่ยน จากนั้นก็มีพ่อค้าเข้ามาเพื่อการค้าขาย ซึ่งต้องการระบบที่มีเสรีภาพ ทุกการปฏิวัติการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีการขยายตัวไปทั่วโลก และกรรมกรก็ต้องเข้ามาทำงานในเมือง การเข้าสู่แรงงานของชาวนา ในยุคสมัยคือจักรไอน้ำขนาดใหญ่การทำงานค้อนข้างหนักมาก มีความไม่ปลอดภัยในการทำงานสูง จึงมีการชุมนุมประท้วงทำลายเครื่องจักรในกระบวนการผลิตด้วยมองว่าเครื่องจักรคือสาเหตุ

ด้วยสำนึกร่วมกันของกรรมกรก็มีการเรียกร้องสิทธิการเลือกตั้งโดยนำความมีสำนึกเดียวกันในการมาเลือกตั้งผู้แทนของตนเข้าไปในสภาเพื่อการเปลี่ยนแปลง ดูแลสิทธิแรงงาน มีการจัดตั้งสหภาพแรงงานแห่งแรกในอังกฤษ ในยุโรป ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานอุตสาหกรรม ไม่ใช่สหภาพแรงงานแบบแยกๆย่อย สถานประกอบการใครสถานประกอบการมันแบบทางแถบเอเชีย เพื่อต่อสู้ด้วยสิทธิสวัสดิการ และความปลอดภัยในการทำงาน จากแนวคิดการรวมตัวเชิงสังคมที่เข้ามาผสมผสานในขบวนแรงงานทำให้มีแนวคิดการตั้งพรรคการแรงงาน สมัครรับเลือกตั้ง

การทำงานของแรงงานในยุคแรกเรียกว่า 1.0 ที่มีเครื่องจักรไอน้ำ มีวิวัฒนาการเครื่องจักรมาใช้ในการผลิต และยุคที่ 2.0 ก็มีการนำเครื่องจักรที่เป็นระบบสายพานการผลิตหลังมีการพัฒนาระบบไฟฟ้า ซึ่งมีการใช้แรงงานจำนวนมาก ซึ่งการที่มีคนจำนวนมากมารวมกันการจัดตั้งทางความคิดก็ทำได้ง่าย มีความเติบโตในการรวมกลุ่มสหภาพแรงงานทั่วโลก ยุคที่ 3.0 มีการนำเครื่องจักรอัตโนมัตเข้ามาทำงานใช้คนน้อยลง ทำให้การรวมตัวลดน้อยลง เมื่อถึงยุค 4.0 การทำงานผ่านระบบไวไฟอินเตอร์เน็ตมาทำงานแทนคน การใช้แรงงานคนก็จะน้อยลง กระบวนการผลิตแทบไม่มีคนทำงานเลย ในอนาคตการทำงานสั่งการโดยเครื่องจักรกับเครื่องจักร Internet of things(IOT) เมื่ออินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อกับทุกสิ่ง

การพัฒนาการเศรษฐกิจ การเมืองเกี่ยวกับแรงงาน ผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้นจะกระทบต่อเราทุกคนแน่นอน การต่อสู้ของขบวนแรงงานต้องมองไปข้างหน้า เป็นการเรียกร้องทั้งระบบไม่ใช่เพียงบ้านใครบ้านมัน เคยได้ยินผู้นำแรงงานหลายคนบอกว่าต้องทำบ้านตัวเองให้สะอาดเรียบร้อยอยู่ได้ก่อนค่อยออกมาเรียกร้องข้างนอก หรือต่อสู้เพื่อคนอื่นๆ ตอนนี้จะทำแบบนั้นไม่ได้แล้ว เพราะองค์กรแรงงานเล็กลง สหภาพแรงงานเล็กลง ระบบการจ้างงานตลาดแรงงานมีน้อยลงสำหรับงานที่มั่นคง ฉะนั้นการต่อสู้ของขบวนการแรงงานต้องหาแนวร่วม ต้องสู้เพื่อสวัสดิการทั้งระบบ อย่างที่เรียกว่า ระบบรัฐสวัสดิการ สหภาพแรงงานต้องมีแนวคิดทางสังคม ร่วมกับองค์กรต่างๆในการขับเคลื่อนทางสังคมไม่ว่าจะเป็นประเด็นสิ่งแวดล้อม ปากท้อง อย่างอดีต ขบวนการแรงงานในยุค 14 ตุลาคม 2516 การต่อสู้ร่วม 3 ประสาน ในการเคลื่อนไหวเรื่องข้าวสารแพง ข้าวเปลือกราคาถูก ค่าแรงต่ำ เคลื่อนไหวเรื่องไม่ให้ขึ้นราคารถเมลย์ ราคาน้ำมัน เป็นต้น ซึ่งนโยบายแบบนี้กระทบต่อประชาชนทุกคน อีก 10 ปี ข้างหน้าสหภาพแรงงานจะเป็นอย่างไร กรรมการเก่ามีกี่คน กรรมการใหม่จะพร้อมทำงานหรือไม่ อำนาจการต่อรอง การงานที่ทำอยู่เชื่อได้ไหมว่า เรายังมีงานทำหรือไม่

ทั้งนี้ นายวิชัย ยังบรรยายถึงประวัติศาสตร์แรงงานไทย ตั้งแต่ยุคไพร่ ทาส การพัฒนาประเทศยุคแรกเป็นแรงงานข้ามชาติ แรงงานจีนเป็นแรงงานกลุ่มใหญ่ที่ได้รับค่าจ้าง และเสียภาษี การปฏิรูปประเทศมีการยกเลิกระบบไพร่ ทาส จากนั้นแรงงานไทยจึงเข้าสู่ระบบการจ้างงาน ยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 การตรากฎหมายแรงงาน สิทธิการรวมตัว ซึ่งแน่นอนว่าสิทธิและเสรีภาพมากับระบบทุนที่เข้ามาในประเทศด้วยไม่ใช่ว่าเราจะรับเพียงการลงทุนโดยไม่มีเรื่องสิทธิการรวมตัว เจรจาต่อรอง การก่อเกิดองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) การรวมตัวขององค์กรแรงงาน ในรูปแบบสหอาชีวิกรรมกร รวมเอาทุกสาขาอาชีพมาร่วมกันผลักดันระบบสวัสดิการต่างๆ การเรียกร้องกับภาครัฐ การต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 กรรมกร 16 หน่วย แม้ว่าระบบรัฐเผด็จการจะเข้ามาจัดการสลาย และแทรกแซงขบวนการแรงงานหลายครั้งแต่การรวมตัวของแรงงานในอดีต แต่ก็มีความพยายามในการที่จะรวมตัวกันขององค์กรแรงงานเสมอมา การเรียกร้องต่อรองทางการเมือง แม้ว่าจะมีการจับกุมคุมขังผู้นำแรงงาน การอุ้มหาย และผู้ที่เห็นต่างกับรัฐในยุคมืด หลังสงครามโลกครั้งที่สอง การต่อสู้ของขบวนการแรงงานในอดีตเป็นการต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ การได้มาซึ่งระบบประกันสังคม ค่าจ้างขั้นต่ำ การลาคลอด 90 วันซึ่งตอนนี้เพิ่มเป็น 98 วัน มาจากการรวมตัวเรียกร้องต่อรองไม่ใช่รัฐจัดให้ และความพยายามเข้าสู่เส้นทางการเมือง

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มีความพยายามที่จะทำงานเชิงสถาบัน เพื่อการจัดการศึกษา อบรม งานวิจัยข้อมูลด้านแรงงาน เพื่อให้เห็นถึงข้อมูลเพื่อให้แรงงานได้ใช้ประโยชน์ หากทุกคนเข้าใจ รู้ว่ารากเหง้าตัวตนเป็นใคร วันนี้มองว่าเรามีสส.ของแรงงาน แต่หากดูว่า พรรคการเมืองที่เขาสังกัดนั้นมีนโยบายเพื่อแรงงานหรือไม่ เราเคยมีบทเรียนจากอดีตที่มีผู้นำแรงงานได้เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร ในหลายรูปแบบทั้งในแบบแต่งตั้ง และเลือกตั้ง แต่อาจไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันให้กับผู้ใช้แรงงาน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายคุ้มครองแรงงาน อย่างมาตรา 11/1 การจ้างงานเหมาค่าแรงยังคงอยู่ และแรงงานยังคงไม่ได้รับความเท่าเทียมกันด้านสิทธิ จึงบอกไม่ได้ว่ากฎหมายดี เพราะกฎหมายไม่ได้คุ้มครองแรงงานอย่างแท้จริง

วันนี้เราอาจมีสส.แรงงาน หลายคนเข้าสู่สภาฯแต่หากพรรคที่สังกัดไม่ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นแรงงาน ซึ่งต้องใช้อำนาจต่อรอง นั้นคือคะแนนเสียงของแรงงานกับพรรค ซึ่งในอดีตผู้นำแรงงานที่เข้าไปในพรรคการเมืองหลายพรรคเมื่อได้รับเลือกตั้ง กลับต้องหาบหอม หาบลำไยเข้าสภาฯแทนการหอบปัญหาแรงงานเข้าไปเพื่อแก้ไขเป็นต้น เรามีพรรคแรงงานของเราหรือยัง แล้วที่มีอยู่นั้นจะทำอย่างไรให้ได้รับประโยชน์มากขึ้นให้ได้ หากเทียบตัวเลขของจำนวนสมาชิกสหภาพแรงงานในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการ จำนวนสมาชิกแรงงานมีจำนวนมาก และมีพรรคการเมืองของแรงงาน หรือองค์กรแรงงานมีความเข้มแข็งมีอำนาจต่อรองสูงกับพรรคการเมือง ซึ่งส่วนขององค์กรแรงงานในประเทศไทยมีองค์กรจำนวนมาก แต่จำนวนสมาชิกน้อยลงกว่าอดีตอย่างมาก ฉะนั้นการทำงานของแรงงานจะต้องทำงานเพื่อหาแนวร่วมกับกลุ่มอื่นๆ และต้องมองสังคมให้มากขึ้น

นายปรุง ดีสี ที่ปรึกษาสหพันธ์แรงงานปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ฯ กล่าวว่า การวางแผนงานการที่เราไม่ยอมพัฒนาตัวเอง เราไม่ได้ใช้ศักยภาพนั้นเลย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ การเอาเยี่ยงอย่างโครงสร้างองค์กรต่างประเทศมา เราต้องนำหลักการบริหารจัดการมาด้วยหรือไหม เรามีความพร้อมแค่ไหน การเติบโตแบบคนมากลากไป หรือว่า เราต้องการคนที่มีศักยภาพมาทำงาน จะพัฒนาคนต้องพัฒนาตนเองก่อนด้วย การประสานงานกับกลุ่มต่างๆ องค์กรต่างๆเพื่อการทำงานร่วมสร้างความมั่นคง และเข้มแข็ง ต้องสร้างความยอมรับให้เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานของเรา องค์กรที่ทำงานต้องเป็นปากเป็นเสียงแทนสมาชิกได้

การวางแผนงานประจำปี ต้องดูรายรับ รายจ่าย ซึ่งข้อมูลมีความสำคัญมากในการที่จะทำงาน และวางแผนงานต่อไป ซึ่งการขับเคลื่อนแผนงานมีทั้งค่าบำรุงสมาชิก เงินช่วยเหลือ และเงินที่มาจากการบริจาคด้วย โดยสรุปให้เห็นสถานการณ์การเงินตั้งแต่ปี 2559-2562 ซึ่งปี 2562 มีรายรับจากค่าบำรุง และการทำเสื้อเพื่อหารายได้ และค่าช่วยเหลือการจัดกิจกรรม การอบรมสัมมนา เนื่องจากรายได้ส่วนอื่นไม่สามารถที่จะเป็นรายได้ที่สามารถทำให้อยู่รอดได้ มีหลายองค์กรที่จัดทอดผ้าป่าด้วย แต่นี่ก็ไม่ได้ถือว่า เป็นรายได้ที่มั่นคง และแน่นอน สิ่งที่เป็นรายได้ที่มั่นคงควรมาจากทางไหน ในอนาคต การดำเนินกิจกรรมแผนงานต้องสัมพันธ์กันกับองค์กรพันธมิตรเครือข่าย และองค์กรเราขึ้นตรงกับใครบ้าง และจะได้ดูว่าค่าบำรุงที่เก็บมาแล้วจ่ายให้กับองค์กรที่เราเป็นสมาชิกจะได้มีความสัมพันธ์กัน

จากนั้นเป็นการวางแผนงานร่วมกัน โดยประกอบ้วย กิจกรรมหางบประมาณ กิจกรรมแรกจัดยิงปืน กิจกรรมที่ 2 สนุกเกอร์ กิจกรรมที่ 3 โยนเปตอง กิจกรรมที่ 4 จัดทำเสื้อรณรงค์ขององค์กร กิจกรรมที่ 5 ตกปลาหารายได้ คาดว่า จะมีรายได้ ราวแสนกว่าบาท และเก็บค่าบำรุงได้มา 2 แสนกว่าบาท มีรายจ่ายค่าบำรุง ให้กับองค์กรที่เราเป็นสมาชิก และสนับสนุนพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยด้วย

ฝ่ายกิจกรรม ซึ่งจะมีการทำงานจัดตั้งหาสมาชิกเพิ่ม และฟื้นฟูสหภาพแรงงานที่ตอนนี้ขาดหายการมีส่วนร่วมกับทางสหพันธ์แรงงานไป ซึ่งกำหนดไว้ 4 แห่ง

โครงการกิจกรรมในการดำเนินการขับเคลื่อนสร้างสุขลดทุกข์ จากสภาพเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง ก็มีการดำเนินกิจกรรมร่วมกันกับอีกหลายองค์กร โดยจะมีการทำการสำรวจ และดูว่าต้องการที่จะพัฒนาอบรมอาชีพ โดยจะไปขอความร่วมมือจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในการจัดอบรมให้ เป้าหมายสมาชิก 3 สหภาพแรงงาน เพื่อให้สมาชิกใช้ประกอบอาชีพได้จริง

ฝ่ายการศึกษา การอบรมความเข้มแข็งทางกฎหมายเพื่อการสร้างความรู้ในการที่จะนำความเข้าใจความรู้ด้านกฎหมายไปใช้ในองค์กร รูปแบบการจัดเป็นรูปแบบอบรมสัมมนา มีการลงทะเบียน และทางสพันธ์ฯ สนับสนุนด้วย การลงทะเบียนร่วมด้วย โดยจะมีวิทยากรที่เชียวชาญมาอบรมให้ มีการประเมินความรู้ทั้งก่อนเข้าและหลังเข้าอบรม เพื่อทดสอบความเข้าใจ ที่ประชุมเสนอเพิ่ม แผนการศึกษา เรื่องประวัติศาสตร์แรงงาน โดยการดูงานที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และการจัดเวทีเรื่องรู้ประวัติศาสตร์แรงงานกับการเมืองด้วย

ทั้งนี้ในการประชุมดังกล่าวพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ได้มีการนำนิทรรสการประวัติศาสตร์แรงงานมาจัดแสดงเพื่อการให้การศึกษากับผู้เข้าร่วมประชุมอีกด้วย

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน