สมานฉันท์แรงงานหนุน ตั้งธนาคารแรงงาน

2015-09-04 12.06.43

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ยื่นหนุนตั้งธนาคารแรงงาน โดยเสนอร่างพ.ร.บ.ธนาคารแรงงาน พ.ศ. …. ฉบับแก้ไขโดยรศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ ด้านตัวแทนแรงงาน ย้ำรู้สึกผิดหวังต่อแนวคิดแก้ปัญหาลดความเหลื่อมล้ำของแรงงาน

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2558 คณะกรรมาธิการปฏิรูปการแรงงาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.)ได้จัดสัมมนา เรื่อง “คณะกรรมาธิการปฏิรูปการแรงงานรายงานประชาชน” ที่ห้องประชุมกองทัพอากาศ ถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ

พลเอกเดชา ปุญญบาล ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการแรงงาน สภาปฏิรูปแห่งชาติกล่าวว่า การทำงานได้ใช้การศึกษา และรับฟังข้อเสนอทั้งส่วนสถานศึกษา นักวิชาการ และประชาชน พบปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาทัรพยากรบุคคลของประเทศในหลายมุม คือแรงงานยังขาดการพัฒนาฝีมือแรงงาน และการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุน การมีวินัยทางการเงิน รวมถึงค่าตอบแทนที่ไม่สัมพันธ์กับทักษะฝีมือ ด้านการศึกษาที่พัมนาคนไม่สอดคล้องกับตลาดแรงงาน การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างจำนวนประชากรที่กลายเป็นสังคมผู้สูงวัยมากขึ้นทำให้ประเทศต้องพึงพาแรงงานข้ามชาติจำนวนมากและนำไปสู่ปัยหาการค้ามนุษย์

เป้าหมายในการศึกษาได้มีการเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติและกำหนดไว้ในวาระที่ 37 เพื่อผลักดันให้มีการปฏิรูปการแรงงานอย่างเป็นธรรมและชัดเจน เพื่อเป็นกลไกหลักประกันความมั่นคงทางรายได้ โดยมีการบริหารจัดการ คน งาน และเงินอย่างสมดุลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานให้เป็นผู้มีศึกยภาพทางอาชีพ โดยมีข้อเสนอ 3 ด้าน

2015-09-04 12.08.11

เรื่องที่ 1. การปฏิรูปการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยนำระบบคุณวุฒิวิชาชีพ มาตรฐานอาชีพมาร่วมขับเคลื่อนระบบการศึกษา การัมนาฝีมือแรงงานอย่างบูรณาการ โดยการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศในการพัฒนาคน เตรียมความพร้อมโดยมีเปาหมายการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากร ทั้งด้านการศึกษา การเรียนรุ้ในสาขาอาชีวศึกษา การพัฒนาทักษะอาชีพที่มีการเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ เช่นต้องรู้ว่าสถานประกอบการต้องการคนทักษะแบบไหน เรียนจบแล้วต้องมีงานทำ สาขาไหนขาด เช่นทักษะเชิงช่าง อาชีวต้องเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ต้องมีการพัฒนาทักษะความสามารถให้ผุ้รู้ทำงานได้จริง อาจไปฝึกหรือพัฒนาในสถานประกอบการจริง จบมามีงานทำ

เรื่องที่ 2 คือการปฏิรูปการบริหารจัดการการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติเชิงรุกอย่างเป็นระบบ มีการจัดทำฐานข้อมูล และพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อได้รู้ว่าแรงงานข้ามชาติจริงแล้วมีจำนวนเท่าไร ด้วยปัจจุบันมีแรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองมาเท่าไร มีแต่ตัวเลขประมาณการว่า 3-4 ล้านคน อยุ่ที่ไหนบ้าง และทำอาชีพอะไร ตอนนี้แรงงานข้ามชาติที่เข้ามาต้องมีการจัดการให้เข้าสู่ระบบการเสียภาษี ด้านการสาธารณสุขตอนนี้โรคระบาดที่ประเทศไทยไม่มีแล้ว แต่กลับมาระบาดอีกครั้งในตอนนี้  การจัดทำข้อมูลเพื่อการประเมินผล เพื่อดูการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติ เพื่อการปราบปรามป้องกันการค้ามนุษย์ จัดทำข้อตกลงกับประเทศต้นทาง การตรวจสัญชาติ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อจัดตั้งสำนักงานจัดหางานในประเทศต้นทาง เป็นการลดกระบวนการค้ามนุษย์ ต้อมีการจัดโซนที่อยู่อาศัยของแรงงานข้ามชาติ เพื่อป้องกันอาชญากรรม เพราะปัจจุบันอยู่กันอย่างกระจัดกระจายยากต้องการควบคุมดูแล ต้องกำหนดแหล่งที่พักแน่นอนโดยต้องมีความรวมมือทั้งเอกชน และภาครัฐ มีการจัดทำบัตรประจำตัวแรงงานข้ามชาติ ต้องมีการเรียกเก็บค่าธรมเนียมแรงงานข้ามชาติจากนายจ้าง

เรื่องที่ 3 การจัดตั้งธนาคารแรงงาน และการจัดทำฐานข้อมูล เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงินและเป็นการร่างพระราชบัญญัติธนาคารแรงงาน พ.ศ. …. เป็นธนาคารของผู้ใช้แรงงานแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารอื่นๆของรัฐ เป็นการส่งเสริมการออม การมีวินัยทางการเงิน และพัฒนาตนเองของผู้ใช้แรงงาน ให้เป็นกลไกยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานให้พ้นจากความยากจนนำไปสู่ความมั่นคงทางรายได้แบบยั่งยืนเป็นการลดความเหลื่อมล้ำของคนในชาติ ลดภาระการช่วยเหลือดูแลจากรัฐพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้แรงงานมีสิทธิเข้ามาเป็นเจ้าของผ่านการซื้อหุ้นของธนาคารได้

ในช่วงเริ่มต้นให้จัดตังดำเนินการในรูปของกองทุนพัมนาคุณภาพชีวิตแรงงานเป็นหน่วยงานสังกัดธนาคารแรงงาน โดยในระยะ 3 ปีแรกหากผลประกอบการกองทุนดีมีประสิทธิภาพให้คณะกรรมการธนาคารแรงงานพิจารณาดำเนินกิจการธนาคารแรงงานได้ และเมื่อมีการจดทะเบียนเพื่อทุนของธนาคารให้ผู้ใช้แรงงานมีสิทธิซื้อหุ้นธนาคารก่อน

“การร่างพระราชบัญญัติธนาคารแรงงาน พ.ศ. …. ฉบับนี้ได้มีการปรับปรุงมาจากร่างของรศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ ที่ได้มีการนำข้อเสนอเพื่อตั้งธนคารแรงงานให้กับหลายรับบาลแล้วแต่ไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้เนื่องจากต้องเข้าใจด้วยว่าคนรวยเจ้าของธนคารต่างๆที่มีเงินหมุนเวียนในธนาคารก็มาจากผู้ใช้แรงงานที่เข้าไปใช้บริการทั้งฝาก ทั้งกู้ หากมีธานาคารแรงงานแล้วแรงงานกว่า 40 ล้านคนแห่มาใช้บริการธนาคารแรงงานหมดธนาคารของเขาก้คงแย่ข้อเสนอของอาจารย์ณรงค์จึงไม่สำเร็จ แต่หลังจากที่ได้พูดคุยและฟังข้อเสนอทางคณะกรรมาธิการฯได้มาปรับเพื่อให้ทุกฝ่ายรับได้ จึงได้ร่างเป็นกฎหมาย และบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย” พลเอกเดชา ปุญญบาล กล่าว

2015-09-04 12.05.57

ต่อมาคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)นำโดย นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ประกอบด้วยตัวแทนสหพันธ์แรงงาน กลุ่มสหภาพแรงงานย่านต่างฯ เข้ายื่นหนังสือต่อ พลเอกเดชา ปุญญบาล ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการแรงงาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ ถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อขอสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติธนาคารแรงงาน พ.ศ. …. ฉบับปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมโดยรศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ โดยขอแสดงความชื่นชมที่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่สภาปฏิรูปแห่งชาติกำลังจะลงมติในวันที่ 6 กันยายน 2558 ที่จะถึงมีบัญญัติให้รัฐต้องสนับสนุนการจัดตั้งธนาคารแรงงานเพื่อเป็นกองทุนการเงินของผู้ใช้แรงงานในการส่งเสริมการออม และพัฒนาตนเองอันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากการตั้งธนาคารแรงงาน หรือสถาบันการเงินถือเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานได้อย่างยั่งยืนโดยให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้อย่างเป็นธรรม เพราะลูกจ้างแรงงานปัจจุบันกว่า 16.9 ล้านคนมีลูกจ้างร้อยละ 60 มีรายได้ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาท และมักต้องกู้ยืมเงินนอกระบบที่มีดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 20 บาทต่อเดือน แรงงานปัจจุบันเป็นหนี้สูงเฉลี่ยครัวเรือนละ 106,000 บาทต้องผ่อนชำระโดยเฉลี่ยเดือนละ 7,400 บาทจึงตกอยู่ภายใต้วงจรความยากจน การจัดตั้งธนาคารแรงงานจึงถือว่าเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของแรงงาน อีกทั้งแรงงานยังสามารถถือหุ้นในธนาคาร หรือกองทุนนี้ได้ พร้อมทั้งเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารเงินได้เช่นเดียวกัน เพราะหากเกิดธนคารแรงงานได้จริงจะมีข้อดีเช่น เงินของแรงงานไม่ต้องถูกนำไปใช้นอกระบบ มีดอกเบี้ยตามมาตรฐานสากล แรงงานมีสิทธิกู้ยืมได้ ไม่ต้องไปกู้นอกระบบ เนื่องจากธนาคารอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ฉะนั้นการนำเงินไปดำเนินการในเรื่องต่างๆต้องผ่านการตรวจสอบจากธปท.จึงมั่นใจได้ว่าไม่เกิดความหละหลวมจนกลายเป็นปัญหากับธนาคารในอนาคต

ปัจจุบันแรงงานเป็นกำลังหลักในการสนับสนุนภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆแต่มีรายได้น้อย และไม่มีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนเนื่องจากไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเมื่อจะทำธุรกรรมทางการเงิน โดยเฉพาะการกู้ยืม เมื่อรับบาลมีนโยบายให้เกิดธนาคารแรงงาน ซึ่งคาดว่าจะเกิดมาสำหรับผู้ใช้แรงงานโดยเฉพาะ จึงทำให้คนเหล่านี้น่าจะเข้าถึงแหล่งทุน หรือเงินกู้ยืมเงินเพื่อไปประกอบอาชีพหรือลงทุนต่างๆได้ง่ายขึ้นกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไป

2015-09-04 15.01.45

นายปณิธิ ศิริเขต อนุกรรมาธิการปฏิรูปการแรงงานสปช. กล่าวรายงานว่า การร่างพระราชบัญญัติธนาคารแรงงาน พ.ศ. …. ฉบับนี้นั้น การกำกับ การควบคุมและการจัดการธนาคารแรงงานในมาตรา 16 ให้มีการตั้งคณะกรรมการธนาคารจำนวนไม่เกิน 15 คนที่ประกอบด้วย 1. ประธานที่มาจากรับมนตรีแต่งตั้ง  2. ผู้แทนกระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน  กระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงอุตสาหกรรมหน่วยงานละ 1 คน 3. ผุ้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกิน 4 คน โดยแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน ด้านแรงงาน ด้านกฎหมายอย่างน้อยด้านละ 1 คน 4. กรรมการซึ่งเลือกตั้งจากผู้ถือหุ้นจำนวนไม่เกิน 5 คน และ5. กรรมการผู้จัดการเป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการอาจแต่งตั้งพนักงานของธนาคารจำนวนไม่เกิน 3 คน เป็นผุ่ช่วยเลขานุการก็ได้

วัตถุประสงค์ คือให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ใช้แรงงานสำหรับการประกอบอาชีพแรงงานหรืออาชีพที่ใช้แรงงาน หรือประกอบอาชีพอย่างอื่นเพื่อเพิ่มรายได้  นำเงินมาพัฒนาคุรภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน ให้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ การบริหารจัดการแก่บุคคล กลุ่มบุคคล นิติบุคคล ผู้ประกอบการ กองทุนผุ้ใช้แรงงาน องค์กรใดๆที่ตั้งขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนการประกอบอาชีพของผู้ใช้แรงงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพแรงงานให้มีประสิทธิภาพทั้งด้านความรู้ ทักษะฝีมือเพื่อการประกอบอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ใช้แรงงาน ซึ่งตรงนี้หากสถานประกอบการใดต้องการที่จะมีการพัฒนาทักษะฝีมือให้กับลูกจ้าง ก็สามารถที่จะมาขอกู้เงินตรงนี้ได้ และสนับสนุนการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการจัดทำฐานข้อมูลแรงงานไทย และแรงงานข้ามชาติ การดำเนินโครงการที่เป็นการส่งเสริม หรือสนับสนุนการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นการดำเนินการร่วมกับผุ้ประกอบการ เพื่อสวัสดิการแรงงาน ทำหน้าที่ประสานความร่วมมืออันเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการเชื่อมโยงการทำงานกับสำนักงานประกันสังคมและผู้ใช้แรงงาน

ธนาคารมีหน้าที่อำนาจในการให้สินเชื่อ ให้เงินกู้ ค้ำประกัน จัดหาทุน รับฝากเงินซื้อหลักทรัพย์ของรับบาล เก็บดอกเบี้ย ร่วมทุน ให้สินเชื่อนายจ้างเพื่อชดเชยความเสียหายแก่ผุ้ใช้แรงงานกรณีภาวะฉุกเฉินในการประกอบอาชีพ เช่นการจ่ายค่าชดเชยแก่แรงงานเป็นต้น

การถือหุ้น กำหนดทุนเรือนหุ้นของธนาคารไว้ 2 พันล้านบาท แบ่งเป็น 20 ล้านหุ้นมีมูลค่าหุ้นละ 100 บาท โดยให้กระทรวงการคลัง สถาบันการเงิน แรงงานหรือบุคคลอื่นๆ หรือกองุทนอื่นของรัฐตามที่คณะกรรมการธนาคารเห็นชอบ ผู้ใช้แรงงาน หรือบุคคลอื่นเป็นผู้ถือหุ้น

ด้านนายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ กล่าวในฐานะตัวแทนของผู้ใช้แรงงานว่า ผู้ใช้แรงงานถือว่าเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ การที่ผู้ใช้แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบจนทำให้เกิดแนวคิดในการปฏิรูปแรงงานเพื่อการลดความเหลื่อมลำสร้างความเป็นธรรมดังที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรับมนตรีกล่าวถึงว่าต้องการแก้ปัญหาที่มีอยู่ ซึ่งเมื่อฟังคณะกรรมาธิการปฏิรูปการแรงงานรายงานประชาชนถึงแนวการปฏิรูปแรงงานว่าไม่มีความจำเป็นที่ต้องรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง เนื่องจากมีการกำหนดกฎหมายเพื่อการให้สิทธิเสรีภาพดีอยู่แล้ว โดยไม่ได้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่แรงงานถูกละเมิดสิทธิเช่นกรณีกรรมการสหภาพแรงงานการบินไทยที่ถูกนายจ้างฟ้องร้องเรียกร้องค่าเสียหายเนื่องจากการชุมนุมด้านสิทธิสวัสดิการ หรือกรณีคนงานเอ็น ที เอ็น ที่ได้มีการนำเรื่องไปร้องเรียกกับทางคณะกรรมาธิการฯแล้ว

ทำไมขบวนการแรงงานถึงได้เรียกร้องให้รับบาลรับรองอนุสัญญาILO ทั้ง 2 ฉบับด้วยเพื่อการที่ทำให้เกิดการลดความเหลื่อมล้ำ และเกิดการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างอำนาจต่อรองที่ทำให้เกิดความเท่าเทียม แบ่งปัน ทำให้คนที่ถูกเอาเปรียบมีพื้นที่และกล้าที่จะพูดคุยเจรจากันได้อย่างมีศักดิ์ศรี จึงเสนอว่าการปฏิรูปต้องฟังเสียงของผู้ใช้แรงงาน เพื่อการตอบสนองการแก้ปัญหาที่ตรงจุด

2015-09-04 12.03.28

ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการเงิน แนวคิดการตั้งธนาคารแรงงาน ก็อาจต้องดูเรื่องการมีส่วนร่วมขององค์กรแรงงาน ซึ่งหากดูที่มาตรา 17 ก็จะเห็นถึงแนวคิดการบริหารจัดการแนวทางกองทุนว่าจะมีทิศทางตอบสนองผู้ใช้แรงงานหรือไม่ สถานการณ์ปฏิรูปประเทศขบวนการแรงงานสนับสนุนการตั้งธนาคารแรงงาน เพื่อที่จะได้ส่งเสริมให้แรงงานมีการออม หรือมีปัญหาก็พึ่งพาได้ในการจัดการความมั่นคงของชีวิต การเข้าถึงแหล่งเงินได้ง่ายมากขึ้น แต่ก็ต้องดูเรื่องการมีส่วนร่วมของตัวแทนแรงงาน การบริหารจัดการที่ขาดการมีส่วนร่วมอาจเกิดการบิดเบือนวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งธนาคาร การเข้าถึงบริการสาธารณะ การเข้าถึงด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข และรัฐวิสาหกิจที่มีการตั้งบรรษัทเข้ามาจัดการปฏิรูปรับวาสาหกิจ ซึ่งมีแนวคิดจัดการกับสหภาพแรงงานมีการกำหนดว่าไม่ให้มีสหภาพแรงงานอย่างนี้เป็นต้น

หลังจากลงเวทีนายสาวิทย์ แก้วหวาน ได้เชิญสหภาพแรงงานต่างฯ ที่มาร่วมเวทีเข้าร่วมประชุมเพื่อกำหนดท่าที จากนั้นผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่พากันเดินทางกลับพร้อมกันในช่วงบ่าย

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน