สมาชิกสร.โซนี่มติเอกฉันท์ตั้งกองทุนฉุกเฉิน

ประธานสหภาพแรงงานโซนี่ประเทศไทยชี้แจง ถึงเวลาแล้วที่ต้องยืนด้วยขาตัวเอง ย้ำกองทุนฉุกเฉินเป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงถึงพลังของผู้ใช้แรงงาน

เมื่อวันที่ 11 กันยายน  2554  ที่ผ่านมา สหภาพแรงงานโซนี่ประเทศไทย  ได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 5/2554  ขึ้น ที่ศาลาเฉลิมพระเกียรติ ต.บางทราย อ.เมือง จ.ชลบุรี   มีสมาชิกเข้าร่วมการประชุม จำนวน  331  คน

จากจำนวนสมาชิก  600  คน  และมีแขกจากองค์กรภายนอก กว่า 20 องค์กร เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย

น.ส. มณีรัตน์    อาจวิชัย  ประธานสหภาพแรงงานโซนี่ ประเทศไทย ได้กล่าวต้อนรับสมาชิกและแขกจากองค์กรภายนอก

ที่ให้เกียรติเข้าร่วมการประชุมใหญ่ และอธิบายถึงวาระการประชุมใหญ่ในแต่ละวาระ โดยได้เน้นที่วาระการที่จะขอมติจาก

สมาชิกในการเก็บเงินค่าบำรุงสมาชิกเพิ่ม เพื่อใช้สำหรับเป็นกองทุนฉุกเฉิน หรือกองทุนนัดหยุดงาน  โดยย้ำว่า กอง

ทุนนี้ จะเป็นการแสดงถึงพลังความสามัคคีของสหภาพแรงงาน ในการนำมาใช้ในยามมีปัญหา เช่นการพิพาทแรงงาน การนัดหยุดงาน เนื่องจากการทำงานนั้นไม่แน่นอน ตอนนี้หากมีการยื่นข้อเรียกร้อง นายเองมักใช้เทคนิคส์ต่างๆที่อาจไม่เป็นธรรม เช่นหลายบริษัทที่นายจ้างมักไม่ยอมใช้ระบบแรงงานสัมพันธ์ในการเจรจา มักใช้กฎหมายที่ตีความเข้าข้างตนเองจนเกิดการพิพาทแรงงาน นัดหยุดงาน หรือปิดงาน เป็นต้น กองทุนนี้จึงมีความสำคัญในการเอามาใช้ในยามเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว

น.ส. มณีรัตน์   ได้อธิบายถึงระเบียบ ของกองทุนฉุกเฉินว่า ถ้าสมาชิกส่งเงินเข้ากองทุนครบ  5 ปี  แล้วลาออกจากงาน ก็สามารถมายื่นความจำนงขอเงินคืนที่ สหภาพฯได้เป็นจำนวนเงินถึง 1,000 บาท  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในระยะ 5 ปี  จะต้องไม่มีเหตุการณ์นายจ้างปิดงานหรือสหภาพฯนัดหยุดงาน เกิดขึ้น

ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้สหภาพฯดำเนินการตามที่ได้นำเสนอได้เลย

เมื่อการประชุมสิ้นสุดลง น.ส. มณีรัตน์    อาจวิชัย  ได้ให้สัมภาษณ์กับนักสื่อสารแรงงานสมุทรปราการว่า เป็นนิมิตรหมายอันดีที่สมาชิกเริ่มมองเห็นถึงสิ่งที่สหภาพฯได้ทุ่มเททำให้ตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา และปีนี้เองเป็นปีที่น่าจะลำบากกว่าทุกๆปี่ผ่านมาสำหรับการเจรจาต่อรองกับนายจ้าง เพราะสืบเนื่องจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทและนโยบายอื่นๆของรัฐบาลล้วนส่งผลกระทบกับการดำรงชีวิตของผู้ใช้แรงงานทั้งนั้น ถึงแม้ว่าในเขตชลบุรีมีแนวโน้มว่า จะไม่ได้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทตามที่ได้ติดตามข่าวมาก็ตาม แต่นายจ้างเขาเริ่มขยับตัวรับมือไว้ล่วงหน้าแล้ว จะเห็นได้จากการปรับเบี้ยขยันของ

ลูกจ้างเหมาค่าแรงมาเป็นค่าจ้าง ซึ่งแสดงให้เห็นว่านายจ้างไม่ได้เดือดร้อนจากนโยบายของรัฐบาลเลย เพราะสุดท้ายทุกอย่างก็ต้องจบลงที่ความเดือดร้อน ของลูกจ้างเหมือนเช่นทุกๆครั้งที่ผ่านมา

นักสื่อสารแรงงาน ศูนย์ข่าวสมุทรปราการ รายงาน