สภาแรงงานสัมพันธ์ แถลงค้านเลิกจ้างลูกจ้างซูซูกิ

คนงาน

สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์คัดค้าน พร้อมประณามการเลิกจ้างลูกจ้างของบริษัท ซูซูกิ มอเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด แนะให้นายจ้างเคารพกฎหมายและยุติพฤติกรรมที่เป็นการละเมิดสิทธิ เสนอให้ส่งเสริมการใช้แรงงานสัมพันธ์อันดีในระบบทวิภาคี

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2556 สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ ถึงสื่อมวลชน ผู้ใช้แรงงาน และประชาชน เรื่องคัดค้านกรณีบริษัท ซูซูกิ มอเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด ประกาศเลิกจ้างลูกจ้าง พร้อมแกนนำไม่เป็นธรรม บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ที่500/121 ม.3 นิคมเหมราชอิสเทิร์นซีบอร์ด ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ และอีกสำนักงานสาขากรุงเทพ ตั้งอยู่เลขที่ 855 หมู่ 2 ถนนอ่อนนุช เขตประเวศ กรุงเทพฯ มีพนักงาน ญี่ปุ่น 46 คน และไทย 1,072 คน ประเภทกิจการ ผลิตยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์จำหน่าย โดยมีสาขาทั่วโลก

นายบุญยืน สุขใหม่ ประธานสภาฯกล่าวว่า การเลิกจ้างครั้งนี้นายจ้างอ้างเรื่องลูกจ้างชุมนุมในโรงงาน ซึ่งลูกจ้างได้ชี้แจงว่าเป็นการชุมนุมช่วงเวลาพักงาน ซึ่งตนเห็นว่าการเลิกจ้างครั้งนี้ไม่เป็นธรรมกับลูกจ้าง และเห็นว่าเป็นการใช้สิทธิในการเจรจาต่อรอง การเลิกจ้างครั้งนี้อยู่ในช่วงของปีใหม่ และบริษัทก็ปิดงานแล้ว ลูกจ้างจึงไม่ทราบว่ามีการเลิกจ้าง และมีใครถูกเลิกจ้างบ้างนอกจากแกนนำสหภาพแรงงาน ที่พึ่งจัดตั้งขึ้น จึงอยากเรียกร้องต่อนายจ้างดังนี้

1. ให้บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์(ประเทศไทย) จากัด รับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวทั้งหมดเข้าทางานต่อไป ในสภาพการจ้างเดิมขณะก่อนเลิกจ้าง โดยให้ได้สิทธิและผลประโยชน์ตามเดิมทุกประการพร้อมทั้งให้ บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์(ประเทศไทย) จากัด ชดใช้ค่าจ้างทั้งหมดในระหว่างที่ถูกเลิกจ้าง พร้อมดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าบาทต่อปี นับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันที่รับกลับเข้าทางาน

2. ห้ามมิให้บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์(ประเทศไทย) จากัด ขัดขวางการดาเนินงานของสหภาพแรงงานซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

3. ห้ามมิให้บริษัทฯ ขัดขวางการดาเนินการโดยการกลั่นแกล้งการลงโทษหรือเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นผู้แทนเจรจาและผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องและสมาชิกของสหภาพแรงงานฯ โดยไม่เป็นธรรมอีกต่อไป

4. ให้บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์(ประเทศไทย) จากัด จัดให้มีการเจรจาหาข้อยุติปัญหาการเลิกจ้างระหว่างผู้แทนของสหภาพแรงงานฯ และผู้แทนของบริษัทฯ เพื่อหาทางออกร่วมกันโดยเร็ว

แถลงการณ์
สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย
คัดค้านการเลิกจ้างพนักงานบริษัทซูซูกิมอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
27 ธันวาคม 2556

สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีสานักงานตั้งอยู่ที่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นองค์กรที่เป็นการรวมกลุ่มกันของสหภาพแรงงานในประเทศไทยและจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีสมาชิกเป็นผู้ใช้แรงงานมากกว่าหนึ่งหมื่นห้าพันคนโดยมีสหภาพแรงงานฯ ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก 40 สหภาพแรงงาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของลูกจ้าง เป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสาร และให้การศึกษาด้านการบริหารงานขององค์กรของผู้ใช้แรงงาน เพื่อช่วยเหลือเพื่อนพี่น้องผู้ใช้แรงงานและสังคม

สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย มีความเป็นห่วงอย่างยิ่งในกรณี ที่มีการเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นแกนนาในการเจรจาข้อเรียกร้องและก่อตั้งสหภาพแรงงาน ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย จำนวนกว่าสิบคน เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2556 เป็นต้นมา ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทฯ มาลูกจ้างได้ให้ร่วมมือกับทางบริษัทฯ ในการที่จะทาให้บริษัทฯ ได้มีผลกาไรอย่างสูงสุด ถึงแม้ว่าพนักงานต้องปฏิบัติงานที่ต้องเสี่ยงกับอุบัติเหตุในการทางานอย่างสูง และความปลอดภัยมีน้อย พนักงานทุกคนก็ยังเต็มใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยันหมั่นเพียรเพื่อให้งานเป็นไปตามเป้าหมายตามที่บริษัทฯ ต้องการ บริษัทฯ ได้มีรายได้เพิ่มอย่างต่อเนื่อง

ในปี 2554 มีรายได้จาการขาย 1935 ล้านบาท และปี 2555 เพิ่มเป็น 12,333 ล้านบาท และในปี 2556 ยอดการผลิตรถซูซูกิ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัว ซึ่งคาดว่าน่าจะมีรายได้จากการขายไม่น้อยกว่า 24,000 ล้านบาท แต่สภาพการจ้างและคุณภาพชีวิตของลูกจ้างยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมาก เงินเดือนเฉลี่ยพนักงานอยู่ที่ค่าแรงขั้นต่ำคือ 9,000 บาทเท่านั้นเอง เป็นการใช้ต้นทุนค่าแรงในการผลิตต่ำมาก ซึ่งเป็นการจ้างงานที่เอาเปรียบผู้ใช้แรงงานเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีสวัสดิการอื่นใด ที่จะเป็นเครื่องการันตีความมั่นคงในอาชีพ และรายได้ที่จะเพียงพอต่อการดำรงชีพในสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้พนักงานต้องออกมายื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอปรับปรุงสภาพการจ้างงานและรวมตัวเพื่อก่อตั้งสหภาพแรงงาน เพื่อต้องการความมั่นคงในการประกอบอาชีพ และต้องแบ่งปันผลกาไรจากการผลิตอย่างเป็นธรรมและเหมาะสม รวมถึงปัญหาสภาพแวดล้อมความปลอดภัยในการทางานไม่มี พนักงานเกิดอุบัติเหตุจากการทางานถึงขั้นนิ้วมือขาดแต่นายจ้างกลับเพิกเฉยไม่แจ้งต่อเจ้าพนักงาน หรือสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด จากสภาพปัญหาเหล่านี้ พนักงานจึงได้มีการรวมตัวกันเพื่อยื่นข้อเรียกร้องและจัดตั้งสหภาพแรงงาน จึงนามาสู่การเลิกจ้างผู้แทนเจรจาข้อเรียกร้องและแกนนำในการจัดตั้งสหภาพแรงงานฯ

ดังนั้น สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับข้อร้องเรียนขอความเป็นธรรมจากพนักงานบริษัท ซูซูกิ มอเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด เสมือนหนึ่งผู้ร่วมอุดมการณ์เดียวกัน จึงเรียนมายังบริษัท ซูซูกิ มอเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด ได้โปรดพิจารณาให้ความเป็นธรรมกับพนักงานและสมาชิกสหภาพแรงงานฯทุกคน และขอให้บริษัทฯ หาข้อยุติการละเมิดสิทธิแรงงานโดยด่วน

จากปัญหาต่างการเลิกจ้างผู้แทนเจรจา และแกนนำในการจัดตั้งสหภาพแรงงานฯ ที่กล่าวมาข้างต้นโดยมีผลการเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2556 แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่านายจ้างมีเจตนำที่จะละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของพนักงานในการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานฯ ซึ่งเป็นสิทธิ์ของลูกสามารถกระทำได้ ตามความมาตรา 86 และมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ 2518 ซึ่งสอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ให้ผู้ใช้แรงงานมีสิทธิ์ในการก่อตั้งสหภาพแรงงานและเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน และอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ อนุสัญญาหลักฉบับที่ 87 และ 98 ในเรื่องสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม การที่บริษัทฯ เลิกจ้างลูกจ้างในกรณีดังกล่าวนี้ จึงเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ 2518 อีกทั้งยังเป็นกำรกระทำที่ขัดต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน นอกจากนั้นการเลิกจ้างดังกล่าวยังขัดต่อมาตรา 121, 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ 2518 ซึ่งเป็นการเลิกจ้างระหว่างข้อตกลงสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ และเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 และยังเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2551 ในมาตรา 64 เรื่องสิทธิเสรีภาพในการรวมกันเป็นสหภาพฯ …… ซึ่งทุกคนจะต้องได้รับการคุ้มครอง

ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมของลูกจ้างทั้งหมด และเพื่อประโยชน์แก่องค์กรของลูกจ้างที่จัดตั้งมาเพื่อประโยชน์ของพนักงานบริษัท ซูซูกิ มอเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด ทุกคนมีสิทธิเจรจาต่อรองร่วมและเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน จึงขอเรียกร้องให้บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด ปฏิบัติตามกฎหมายและรีบดำเนินการดังต่อไปนี้

1. ให้บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์(ประเทศไทย) จากัด รับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวทั้งหมดเข้าทางานต่อไป ในสภาพการจ้างเดิมขณะก่อนเลิกจ้าง โดยให้ได้สิทธิและผลประโยชน์ตามเดิมทุกประการพร้อมทั้งให้ บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์(ประเทศไทย) จากัด ชดใช้ค่าจ้างทั้งหมดในระหว่างที่ถูกเลิกจ้าง พร้อมดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าบาทต่อปี นับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันที่รับกลับเข้าทางาน

2. ห้ามมิให้บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์(ประเทศไทย) จากัด ขัดขวางการดาเนินงานของสหภาพแรงงานซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

3. ห้ามมิให้บริษัทฯ ขัดขวางการดาเนินการโดยการกลั่นแกล้งการลงโทษหรือเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นผู้แทนเจรจาและผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องและสมาชิกของสหภาพแรงงานฯ โดยไม่เป็นธรรมอีกต่อไป

4. ให้บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์(ประเทศไทย) จากัด จัดให้มีการเจรจาหาข้อยุติปัญหาการเลิกจ้างระหว่างผู้แทนของสหภาพแรงงานฯ และผู้แทนของบริษัทฯ เพื่อหาทางออกร่วมกันโดยเร็ว

ดังนั้น สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย จึงขอประณามการเลิกจ้างลูกจ้างของบริษัท ซูซูกิ มอเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด และขอร้องเรียนมายังทุกท่านให้ดำเนินการช่วยเหลือให้สมาชิกสหภาพแรงงานฯ ได้รับความเป็นธรรมและให้นายจ้างเคารพกฎหมายและยุติพฤติกรรมที่เป็นการละเมิดกฎหมายเพื่อไม่ให้พนักงานได้รับความเดือดร้อนและเป็นการส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์อันดีในระบบทวิภาคีที่ยั่งยืนตลอดไป

จึงเรียนมาเพื่อขอความอนุเคราะห์จากท่าน
กรรมกรจงรวมกันเข้า
บุญยืน สุขใหม่
ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย