สภาผู้แทน แจ้งคสรท.ที่เสนอนโยบายแรงงาน-รัฐธรรมนูญ

20141214_221034

สำนักงานประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งหนังสือถึงนายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.กรณี ข้อเสนอนโยบายแรงงานต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่

โดยหนังสือแจ้งว่า ตามที่นายชาลี ลอยสูง ได้ยื่นหนังสือต่อประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อให้นำเสนอความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และสาระสำคัญเกี่ยวกับการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ความละเอียดแจ้งแล้วนั้น สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่ สำนักงานเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้นำความกราบเรียนประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อทราบแล้วได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาดำเนินการต่อไปแล้ว

Screenshot_2014-12-14-20-54-08

ข้อเสนอนโยบายแรงงานต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) (ข้อมูลณ.วันที่19 พ.ย. 57)

สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา

(1) บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าปริญญาตรีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

(2) ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น

(3) การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ

(4) การสมัครรับเลือกตั้งทุกระดับ ไม่จำจัดวุฒิการศึกษา

สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ

(1) บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

(2) บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

(3) บุคคลต้องเข้าถึงบริการด้านอาชีวอนามัยเพื่อสุขภาพของคนทำงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการซึ่งการเข้าถึงมี 3 ด้านคือ การป้องกัน การส่งเสริมความปลอดภัย และการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และการวินิจฉัยโรค ขณะเดียวกันเนื่องจากรัฐบาลไทยยังไม่ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฯฉบับที่ 155 ว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน และอาชีวอนามัย คศ.1981 (พ.ศ.2524)ฉบับที่ 161 ว่าด้วยการบริการอาชีวอนามัย ค.ศ.1985 (พ.ศ.2528)ฉบับที่ 187 ว่าด้วยกรอบงานส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย ค.ศ.2006 (พ.ศ.2549)จึงให้ตรากฎหมายรองที่เกี่ยวข้อง ยังไม่ครอบคลุมและสอดคล้องกับข้อตกลงของนานาประเทศและส่งผลให้ขาดแรงจูงใจที่จะทำให้รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานเรื่องการบริการอาชีวอนามัยอย่างเต็มที่

(4) บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ (ให้เพียงพอต่อการดำรงชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการ เช่น ที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาล บำนาญชราภาพ )

(5) รัฐต้องจัดหาที่อยู่อาศัยให้บุคคลที่ไร้ที่อยู่อาศัย และช่วยเหลือค่าครองชีพอย่างเหมาะสม

(6) รัฐต้องจัดให้คลินิกโรคจากการทำงานที่มีอยู่ทั่วประเทศ 82 แห่งให้มีให้ครบทุกพื้นที่ที่มีอุตสาหกรรม และต้องมีแพทย์อาชีวเวศศาสตร์และคลินิคโรคจากการทำงานต้องอยู่ในระดับมาตรฐานเดียวกัน

เสรีภาพในการชุมนุม

บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธโดยรัฐต้องอำนวยความสะดวกและจะต้องได้รับการความคุ้มครองจากรัฐ

เสรีภาพในการรวมกัน

บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สมาพันธ์ สภา สหกรณ์กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่น โดยได้รับการส่งเสริมสนับสนุนและได้รับการคุ้มครองจากรัฐ และต้องไม่ถูกคุกคามทุกรูปแบบ

ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีสิทธิ เสรีภาพในการรวมกลุ่มเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง จะกระทำมิได้

เสรีภาพในจัดตั้งพรรคการเมือง

บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองตามเจตนารมณ์ทางการเมืองได้อย่างเสรีโดยปราศจากการแทรกแซงจากรัฐ และเพื่อดำเนินกิจกรรมในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้นตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้

การจัดองค์กรภายใน การดำเนินกิจการ และข้อบังคับของพรรคการเมือง ต้องสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง กรรมการบริหารของพรรคการเมือง หรือสมาชิกพรรคการเมืองตามจำนวนที่กำหนดในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งเห็นว่ามติหรือข้อบังคับในเรื่องใดของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกอยู่นั้น จะขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีสิทธิร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติหรือข้อบังคับดังกล่าวขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้มติหรือข้อบังคับนั้นเป็นอันยกเลิกไป

นโยบายด้านเศรษฐกิจ

(1) รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง โดยเน้นตลาดภายในประเทศ ให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

(2) รัฐต้องพัฒนาปรับปรุงรัฐวิสาหกิจ อันเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่มีความจำเป็นของประชาชนต่อการดำรงชีพ ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อความมั่นคงของรัฐและประชาชนในทางเศรษฐกิจ โดยเน้นการบริการ โดยไม่หวังกำไร ห้ามไม่ให้รัฐแปรรูปและใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมราคาสินค้า

(3) คณะกรรมการใน บีโอ ไอ ควรมีตัวแทนของผู้ใช้แรงงานเข้าไปเป็นกรรมการบอร์ด

(4) ให้รัฐบาลกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศที่คำนึงถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ควบคู่ไปกับการคำนึงถึงสุขภาพ ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิต ของคนงาน ตลอดจนประชากรวัยสูงอายุที่เกษียณจากการทำงาน โดยให้รัฐบาลประกาศ เป็นนโยบายที่สำคัญที่จะต้องดำเนินการตามทิศทางดังกล่าวโดยทันทีรัฐต้องควบคุม และยกเลิกอุตสาหกรรมที่สกปรกเป็นอันตรายต่อสุขภาพคนไทย

นโยบายด้านแรงงาน

รัฐต้องดำเนินตามนโยบายด้านแรงงาน ดังนี้

1. การคุ้มครองแรงงาน

(1) รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนวัยทำงานมีหลักประกันในการทำงานอย่างมั่นคง

(2) รัฐต้องดำเนินการให้แรงงานทุกสาขาอาชีพได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายโดยเท่าเทียมกัน

(3) รัฐต้องคุ้มครองแรงงานเด็ก สตรี คนชรา และคนพิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญิงมีครรภ์ ให้ได้รับสิทธิ และโอกาสที่เท่าเทียมและเป็นธรรม แรงงานหญิง ชาย ต้องมีสภาพการจ้างที่เท่าเทียมกันไม่เลือกปฏิบัติ

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน