สภาผู้แทนลงมติเห็นชอบวาระ 3 ร่างพ.ร.บ. กองทุนการออมแห่งชาติแล้ว

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23ปีที่ 4 ครั้งที่ 3(สมัยสามัญทั่วไป) ณ ตึกรัฐสภา นายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ทำหน้าที่ประธานการประชุม ซึ่งในวันนี้ที่ประชุมมีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ…โดยสาระสำคัญ คือ ให้กระทรวงการคลังตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. เพื่อให้ประชาชนทั่วไปที่มีอายุระหว่าง 20 – 60 ปี ซึ่งไม่ได้อยู่ในระบบราชการหรือได้รับบำเหน็จบำนาญและสวัสดิการในระบบ เข้าร่วมการจ่ายเงินสมทบแบบการออม และรัฐจะจัดสมทบให้อีกส่วนหนึ่งจนครบอายุ 60 ปี และจ่ายคืนเป็นบำนาญไปจนกระทั่งเสียชีวิต โดยให้ครอบคลุมแรงงานที่ยังไม่มีระบบการคุ้มครองประมาณ 24 ล้านคน (รายงานของคณะกรรมาธิการกองทุนการออม)

สำหรับการอภิปรายเป็นรายมาตราในวาระ 2 นั้น สมาชิกสภาผู้แทน

ราษฎรทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านส่วนใหญ่ได้ติดใจเนื้อหาในมาตรา 14 (4) ที่กำหนดให้ข้อห้ามไม่ให้ข้าราชการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการ

เมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นหรือกรรมการที่ปรึกษา

หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง ห้ามดำรงตำแหน่งกรรมการให้กอช. โดยสส.เห็นว่าควรมีการกำหนดระยะเว้นวรรคก่อนถึงจะสามารถมาดำรงตำแหน่งได้ หลังจากที่ลาออกจากตำแหน่งตามมาตราดังกล่าวแล้ว และการเขียนถ้อยคำในลักษณะนี้อาจเป็นช่องว่างให้เกิดปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะบุคคลสามารถลาออกจากตำแหน่งดัง

กล่าวเพื่อมารับตำแหน่งกอช.ได้ทันที ด้านนายกรณ์ จาติกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ชี้แจงว่า ต้องการเปิดโอกาสให้อดีตผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสามารถเข้ามาทำหน้าที่นี้ได้ เนื่องจากเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในการทำงาน แต่เมื่อเสียงส่วนใหญ่ติดใจ

 ก็จะแก้ไขให้มีการกำหนดระยะเวลาเว้นวรรค 1 ปี จึงจะสามารถเข้ามาทำหน้าที่เป็นกรรมการ กอช. ได้

ขณะที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว สส.น่าน พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ทำไมมาตรา 39 ในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวรัฐบาลถึงไม่จ่ายเงินสมทบในกรณีที่สมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติยังมีสถานะเป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือเป็นสมาชิกกองทุนหรืออยู่ในระบบบำนาญอื่นตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวงตาม เพราะการเขียนในลักษณะนี้จะไม่เป็นการสร้างแรงจูงใจให้มีประชาชนเข้ามาออมมากขึ้น เพราะไม่ได้ดอกผลอะไรจากการที่รัฐบาลไม่จ่ายเงินสมทบตามมาตราดังกล่าว แล้วแบบนี้รัฐบาลจะมีมาตรการอะไรเข้ามาทดแทน ด้านนายกรณ์ จาติกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ชี้แจงว่าตามมาตรา 39 นั้น หากรัฐบาลยังจ่ายสมทบกับบุคคลที่มีการประกันตนอยู่จะเป็นการสร้างภาระให้กับรัฐบาลมากเกินไป แต่ที่เขียนมาตรา 39 นี้ ก็เพื่อไม่ให้ปิดโอกาสการออมของสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติที่เมื่อครั้งเข้ามาเป็นสมาชิกโดยไม่ได้อยู่ในระบบประกันตน แต่เมื่อเวลาผ่านไปได้ทำงานในองค์กรที่มีระบบประกันตนก็ยังสามารถออมเงินผ่านกองทุนการออมแห่งชาติได้ และก็ไม่ได้ปิดโอกาสหากจะถอนเงินดังกล่าวออกจากกองทุนตามสัดส่วนที่ได้ส่งเข้ากองทุน

จากนั้นหลังการอภิปรายที่ประชุมมีมติ 324 ต่อ 1 เสียง เห็นชอบกับร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ทั้ง 69 มาตราในวาระ 3 ก่อนส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป

///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////