สถานการณ์โควิด-19 เป็นแรงเร่งปรับเทคโนโลยี ทำแรงงานตกงาน

คสรท.ตั้งวงคุยสถานการณ์การจ้างงานหลังโควิด-19 เร่งกระบวนการปรับเทคโนโลยีใหม่ งานใหม่ใช้แรงงานน้อยลง เสนอขบวนแรงงานต้องทบทวนบทเรียนนโยบายของรัฐ เพื่อหนุนพรรคการเมืองของแรงงาน ด้านนักวิชาการเสนอธนาคารแรงงานที่สนองต่อผู้ประกันตนในยามยาก

โครงการเสวนา “สถานการณ์การจ้างงานหลังโควิค-19” และการประชุมใหญ่-วางแผนงานประจำปี วันที่ 3-4 เมายน 2564 ที่ศูนย์ฝึกอบรมบางปะกง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จ.ฉะเชิงเทรา จัดโดยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร่วมกับ โซลิดาลิตี่ เซนต์เตอร์ โดยวันที่ 3 เมษายน ได้มีเวทีเสวนา สถานการณ์ การจ้างงานหลังโควิด-19  ดำเนินรายการโดยนายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) โดยสรุปได้ดังนี้

รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรปรเสริฐ คณบดีสถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ตอนนี้ที่เกิดผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากกรณีโควิด-19 และถึงแม้จะไม่มีโควิดระบาดก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน คือ การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในอดีตในประวัติศาสตร์ คือการเปลี่ยนแปลงด้วยการนำเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงาน ตอนนี้มีการใช้มือถือสั่งที่ไหนในการทำงาน เป็นระบบอินเตอร์เน็ตออฟติง ซึ่งเกิดขึ้นทุกวัน ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนการจ้างงานใหม่ อาจไม่ใช่การว่างงาน แต่จะมีคนที่สูญเสียงาน และเกิดงานใหม่ อย่างโรงงานที่เปิดใหม่จะใช้ระบบดิจิตอลมาทำงานแทนแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม งานธนาคารใช้ระบบฟิลเทรค เปิดเงิน ถอนเงินไม่ต้องไปธนาคาร ทนายความก็ไม่ต้องใช้แล้วใช้คอมพิวเตอร์ไม่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญแล้วในการผ่าตัด ห้าง ร้านค้าไม่จำเป็นต้องมีพนักงานประจำ ใช้ระบบเทคโนโลยีมาใช้ควบคุมระบบแทน และภาครัฐก็มีการส่งเสริมให้มีการใช้นระบบเทคโนโลยี และใช้หุ่นยนต์ในการทำงานในกระบวนการผลิตมากขึ้นโดยลดภาษี

 

 

ผลกระทบการจ้างงานคนตกงานจำนวนมาก แต่มีงานแบบใหม่ เช่นการค้าออนไลน์ที่เปิดตลาดทำให้เทคโนโลยีส่งเสริมอาชีพกลุ่มหนึ่งมาแต่ทำให้งานของคนบางกลุ่มหายไป โอกาสจึงอยู่ที่คนที่มีอาชีพอิสระ ซึ่งในตะวันตกก็มีการจ้างงานอาชีพอิสระเพิ่มขึ้น ที่เรียกว่าGig Economyทำให้เศรษฐกิจเติบโตซึ่งคงหยุดระบบนี้ไม่ได้  อย่างเช่น รถยนต์จะเปลี่ยนจากน้ำมันเป็นรถไฟฟ้า ด้วยอุตสาหกรรมไทยยังผลิตรถแบบเก่าส่งออกซึ่งยังไม่ใช่รถไฟฟ้า คนทำงานในรถยนต์ต้องเตรียมปรับตัวซึ่งการอิงอาชีพใหม่ที่เกิดขึ้น อาจเป็นการเกษตรยุคใหม่ ซึ่งประเทศไทยต้องปรับตัวซึ่งเกษตรกรรมเป็นทางออก เช่นยาสมุนไพร อาหารคือทางออก อาชีพอิสระ Gig Economy และเกษตรสมัยใหม่เป็นทางออก

แรงงานจึงจำเป็นต้องมีทุนขนาดใหญ่ โดยแรงงานต้องมีธนาคารของตนเอง อย่างกองทุนประกันสังคมที่มีถือหุ้นธนาคารเอกชน ใหญ่ๆอยู่แต่ว่าผู้ประกันตนกับกู้เงินธนาคารที่ประกันสังคมถือหุ้นไม่ได้เพราะเหตุใด ทางคสรท.จึงได้มีการเสนอให้มีการตั้งธนาคารแรงงานตามที่อาจารย์ณรงค์ เพชรประเสริฐ เสนอซึ่งตอนนี้มีการพูดคุยกัน และเริ่มมีความเป็นจริงมากขึ้นโดยมีการเสนอให้มีการนำเงินมาตั้งเป็นกองทุนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตลูกจ้าง ก่อนที่จะเป็นธนาคารแรงงาน ซึ่งเป็นเงินก้อนหนึ่งไปไว้ในธนาคารออมสิน หรือธนาคารของรัฐ โดยให้รัฐคำประกันเงินกู้ 3 พันล้านบาท  โดยให้คนที่ต้องการกู้ต้องไม่เกิน 3 เท่าของเงินเดือน โดยคนกู้ต้องออมไว้ 10 เปอร์เซ็นต์เป็นเงินฝากประจำ ดอกเบี้ย10 เปอร์เซ็นต์ จ่ายให้กองทุนประกันสังคม 3 เปอร์เซ็นต์ อีก 3 เปอร์เซ็นต์ให้ธนาคาร 1.5 เปอร์เซ็นต์เป็นค่าจ้างคนทำงาน .5 เปอร์เซ็นต์นายจ้างในการย้ายบัญชีธนาคาร อีก .5เปอร์เซนต์  อีก 1 เปอร์เซ็นต์ เงินค้ำประกันให้รัฐบาล และที่เหลือตั้งเป็นกองทุนในการจัดการศึกษา อบรม เป็นกองทุนเพื่อการพัฒนาแรงงาน 1 เปอร์เซนต์ ซึ่ง การที่กองทุนประกันสังคม มีการนำเงินไปลงทุนจำนวนมากซึ่งเงินหายไปจำนวนมากตอนนี้แต่ไม่พูด ซึ่งว่าขาดทุนเป็นแสนล้านบาทในการลงทุน ซึ่งคงต้องช่วยกันในการขับเคลื่อนไม่ว่าจะอยู่ในสีเสื้อใด ต้องมาช่วยกันในการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดขึ้นได้จริง

Mr.David Welsh ผู้อำนวยการโซลิดาริตี้ เซ็นเตอร์ประเทศไทย (SC)  เล่าวว่าวันนี้สหรัฐอเมริกามีประธานาธิบดีใหม่แล้ว มีการแก้ปัญหานำกฎหมายที่อนุมัติเงินออกมาเพื่อใช้ในการสร้างงานสร้างการศึกษาและระบบสวัสดิการให้กับชาวอเมริกา ประธานาธิบดีโจ ไบเดนเดิมเข้าไม่ถึงตัวแรงงาน แต่หากนโยบายนี้เป็นจริงก็จะสามารถเข้าถึงคนงานได้จำนวนมาก ด้วยทรัมป์เป็นนายทุนที่ไม่ได้มองคนข้างล่าง และผู้คนบนโลกใบนี้ ผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจล้ม แต่หากมองว่า โควิดเป็นทางเลือกในการที่จะเปลี่ยน หากมองว่าผู้ปกครองไม่ได้มองผู้ใช้แรงงานอย่างเท่าเทียมและไม่ให้คุณค่าแรงงานจึงต้องมองการเมืองแบบใหม่ในการที่จะเลือกการเมืองแบบใหม่ในระบบผู้แทนของแรงงานมากขึ้นเพื่อชีวิตที่ดีกว่านี้ รวมทั้งการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน เพื่อระบบประชาธิปไตยของแรงงาน และการที่จะให้แบร์นในบรรษัทต่างๆ มารับผิดชอบด้านสิทธิ สวัสดิการที่เป็นธรรมของแรงงาน การต่อสู้ของสหภาพแรงงานที่จะให้เกิดการยอมรับของแบร์นเหล่านี้ได้ ต้องมีการรวมตัวที่เข้มแข็งการมีส่วนร่วมและการที่จะเรียกร้องต่อสู้ให้ได้มา ซึ่งจะเรียกร้องหรือร้องขอให้รัฐมาคุ้มครองคงไม่ได้หากไม่มีความเข้มแข็งพอของแรงงาน

นางอภันตรี เจริญศักดิ์ รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) กล่าวถึงการระบาดของโควิด-19ที่ยาวนานว่า มามีแรงงานหญิงตกงานมากกว่าแรงงานชาติที่ ร้อยละ80 จากการที่มีการรับเรื่องราวร้องทุก และแรงงานหญิงเหมาค่าแรงร้อยละ 70 ที่ไม่สามารถเข้าถึงค่าชดเชยการเลิกจ้างตามกฎหมาย และแรงงานหญิงที่ตั้งครรภ์ 100 กว่าคนที่ยังมีปัญหาถูกเลิกจ้างจากการเลือกปฏิบัติในการเลิกจ้างเพราะตั้งครรภ์ ได้มีการร้องต่อณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (วลพ.) แต่ยังไม่ได้รับคำตอบ และกฎหมายแรงงานยังบังคับให้แรงงานได้รับการคุ้มครอง ขบวนการแรงงานเรียกร้องอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) หลายฉบับ เพื่อให้เกิดการคุ้มครอง แต่ยังไม่ได้มีการรับรองอนุสัญญาILO เลย งานใหม่ที่จะเกิดขึ้นภายใต้เทคโนโลยีใหม่ยังไม่สามารรถรองรับแรงงานได้ เด็กจบใหม่ก็ยังไร้งานทำ จำเป็นมากที่แรงงานจะต้องมีอาชีพที่สองให้กับตนเองเพื่อหารายได้ ด้วยรัฐไม่ได้แก้ปัญหาแรงงานด้านสวัสดิการ แม้จะมีระบบประกันสังคมก็ยังมีข้อจำกัด หากรัฐบาลไม่หันมารับรองอนุสัญญาเพื่อให้การคุ้มครองสิทธิการรวมตัวเจรจาต่อรอง ฉบับที่ 87 และ98  ผู้หญิงเรียกร้องให้เกิดการคุ้มครองแรงงานหญิงที่ตั้งครรภ์ให้รัฐรับรองอนุสัญญาILO ฉบับที่183 และ190 ก็เพื่อต้องการที่จะให้การคุ้มครองแม่และเด็กที่จะเกิดมาอย่างมีคุณภาพและมีอนาคต เพื่อประเทศชาตินี้ด้วย รวมถึงการที่หลายองค์กรออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลได้ยินเสียงความต้องการการเยียวยาประกันสังคมมาตรา33 ในระบบประกันสังคม โครงการม.33 เรารักกัน

คสรท.ยังต้องเรียกร้องติดตามข้อเสนอการปฏิรูประบบประกันสังคม การจัดตั้งธนาคารแรงงาน เงินค้างจ่าย การจะเรียกร้องให้รัฐบาลมาเยียวยาคงยากหากอยู่ภายใต้พรรคนายทุน แรงงานต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับพรรคการเมืองของแรงงาน คือพรรคสังคมประชาธิปไตยไทย ภายในเดือนกันยายน2564 จะต้องมีสมาชิก 1 หมื่นคน วันนี้เรามีพี่น้องแรงงานเข้าไปสู่สภาผู้แทนราษฎรได้บางส่วน แต่ว่ายังมีน้อยอยู่จึงต้องมีผู้แทนของแรงงานเข้าไปให้มากกว่านี้เพื่อแก้ไขปัญหาของผู้ใช้แรงงานมากขึ้น

นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ที่ปรึกษาคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า แรงงานต้องสำนึกภายใต้ทฤษฎีทางชนชั้น ต้องมีความสามัคคีกันไว้ทั่วโลก เพราะนายทุนเขาก็คิดแบบทุนคือแสวงหากำไรสูงสุด แรงงานก็ต้องรวมตัวกันเพื่อปกป้องสิทธิเรียกร้องให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ว่าจะมีการระบาดของโรคหรือไม่แรงงานในอนาคตก็มีสภาพเดียวกัน ทุนมีการปรับเปลี่ยนตัวเอง มีการปรับด้านเทคโนโลยี การจ้างงานลดลง เพราะกระบวนการผลิตปรับเทคโนโลยีใหม่ การระบาดของโควิด เป็นเพราะโลกเปลี่ยน ทำให้ทุกอย่างในเศรษฐกิจปรับตัวเร็วขึ้น นายทุนปรับตัว แรงงานตกงานจำนวนมาก ตกงานแบบสะสม การที่มีค่าจ้างสูงมีโบนัสวันนี้พอมีการระบาดของโควิด-19 ทุกกลุ่มเท่ากันตกงานเหมือนกัน แรงงานก็ต้องปรับตัวชาวบ้านบอกโควิดทำให้ได้เงินจากภาครัฐไม่ว่าจะติดหรือไม่ติดโควิด-19รัฐบาลกู้เงินมาให้ การระบาดโควิด-19 ทำคนตกงานเร็วขึ้น จากเดิมจะมีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีใหม่อยู่แล้ว โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ทำงานที่หนักเพื่อช่วยให้แรงงาน ทำให้ผู้ใช้แรงงานทำงานเบาขึ้น ซึ่งต้องมีการเรียกร้องให้มีการส่งเสริมเทคโนโลยีที่ช่วยให้แรงงานทำงานน้อยลง และต้องได้ค่าแรงสูงขึ้น ไม่ใช่เรียกร้องทำงานโอทีมากขึ้น เรียกร้องทำงานมากๆเพื่อจะได้เงินมากขึ้น ขบวนการแรงงานควรต้องเรียกร้องแบบไหน เพื่อให้ลูกหลานมีงานทำมีชีวิตที่มีคุณภาพมีงานทำมีค่าแรงที่เพียงพอ

หากกล่าวถึงระบบประชาธิปไตย โลกนี้ระบบประชาธิปไตยไม่มีจริงทั้งโลก แต่ประเทศไทยหนักที่สุด เป็นประชาธิปไตยเงินสด การเลือกตั้งที่ผ่านมากาได้เพราะมีเงิน ในทางการเมืองพรรคการเมืองของแรงงาน การเรียกร้องทางนโยบายเรื่องเด็ก เรื่องมารดาของแรงงานไม่ใช่เด็กหรือแม่ของทุนหรือรัฐเขาไม่สนใจ ทุกอย่างคือเรื่องการเมือง โควิด-19 ทำให้เห็นถึงความเดือดร้อน เรียกร้องให้รัฐบาลมาดูแลก็ต้องรู้ว่ารัฐบาลของใคร ผู้ใช้แรงงานนักสหภาพแรงงานต้องรู้ว่า จะปรับเปลี่ยนทางการเมืองเพื่อให้แรงงานอยู่รอดอย่างไร ต้องเขาใจว่าการแก้ปัญหาในทางนโยบายต้องผ่านระบบการเมืองต้องมองให้ออกและเข้าใจด้วยเพื่อที่จะให้เห็นระบบ หากรัฐเป็นของเราการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้จริง

การที่สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) มีมติในการที่สนับสนุนพรรคสังคมประชาธิปไตยไทย ซึ่งมีสมาชิกจำนวนมากซึ่งคนที่เห็นด้วยก็มา คนที่ไม่มากับเราก็ถือว่าไม่ใช่พวกเรา การที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส.)ที่เป็นผู้นำแรงงานก็มีมาแล้ว แต่กลายพันธุ์ไปแล้ว การมีพรรคการเมืองของแรงงานต้องสนับสนุนอย่างจริงจัง

ทั้งนี้ในวันที่ 4 เมษายน 2564 คระกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ ซึ่งนายสาวิทย์ แก้วหวาน ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานคณะกรรมการบริหารชุดใหม่