ศูนย์แรงงานภูเก็ตอบรมสมาชิก:การทำงานให้ปลอดภัย

ศูนย์แรงงานภูเก็ตอบรมสมาชิก : การทำงานให้ปลอดภัย

วันที่ 21กันยายน 2553 ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในระบบภูเก็ต ได้จัดอบรมเรื่องด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานณ.คาติน่า ภูเก็ตทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในระบบ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน สำนักงานกองทุนสนับสนุนเสริมสร้างสุขภาพ (สสส) ซึ่งได้มีการแบ่ง4 กลุ่ม มีคณะกรรมการศูนย์ จำนวน 4คนประกอบด้วย นายจำรัส ทอดทิ้ง นายวารินทร์ สังข์คง นายประสม สมถวิล และนายพงษ์พิชน์ น้อมประวัติ เข้าประจำกลุ่มๆละ 1 คน และให้โจทย์กลับผู้เข้าร่วมอบรม 3 ข้อ โดยได้ข้อสรุปดังนี้

1. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกับข้อมูลความรู้ที่ได้รับ และจะนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างไรเพื่อให้บรรลุผลอย่างไรบ้าง   จากสถานการณ์ปัญหาด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อท่านมีความคิดเห็นต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างไรบ้าง

จุดเสี่ยง

ผลที่อาจะเกิดต่อผู้ทำงานในพื้นที่

แนวทางแก้ไข

1.เสียง/ฝุ่น/ความร้อน

2. เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

3. บริเวณเก็บถังแก๊ส

4. พื้นที่ลื่นไหล ลาดชัน

5. ท่าทางการทำงาน

6. วัตถุไวไฟ (แอลกอฮอล์)

7. เครื่องมือชำรุดและไม่เหมาะสมกบการใช้งาน

8. สุขภาพร่างกายไม่พร้อม

9. ความรู้/ความประมาทของคนทำงาน

10. น้ำยาเคมี/สารเคมี

11. สถานที่เก็บอุปกรณ์ไม่เหมาะสม

12. กระจกใส

13. ดาดฟ้า

1. บาดเจ็บ

2. เจ็บป่วยเรื่อรัง

3. พิการ/สูญเสียอวัยวะ

4. เสียชีวิต

1. แกนนำหรือคณะกรรมการต้องมีความรู้และเป็นแบบอย่าง

2. ให้ความรู้ความเข้าใจการใช้/การแก้ไขเบื้องต้น

3. นายจ้างจัดอบรมและประสานงานกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง

4. จัดหาอุปกรณ์/ข้อบงชี้การใช้/การบำรุงรักษา

5. มีการรณรงค์จัดนิทรรศการและตู้รับความคิดเห็น

6. มีการตรวจสุขภาพ

7. มีคณะกรรมการรับผิดชอบและออกระเบียบและกฎบังคับใช้

8. ให้ทุกคนในสถานประกอบการตระหนักในด้านอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

2. หากจะขยายผลหรือเผยแพร่ความรู้และการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานให้กับสมาชิก รวมทั้งนำไปสู่การปฏิบัติในสถานประกอบการ ต้องมีกลไกอย่างไร และวิธีการแบบไหนสรุปได้ดังนี้ กลไกคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยในสถานประกอบการต้องเป็นผู้กำหนดนโยบายและผลักดันร่วมกับฝ่ายบริหารหรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจโดยการร่วมประชุมจัดการระบบการทำงานด้านอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม จัดสัปดาห์ความปลอดภัยภายในสถานประกอบการปีละ 2-3 ครั้ง

3. เพื่อการรวมตัวเป็นเครือข่ายแรงงานด้านความปลอดภัยฯจะมีขั้นตอนในการดำเนินการอย่างไรให้เกิดรูปะธรรมและประโยชน์สูงสุดโดยสรุปคือ ควรจะจัดการอบรมเสวนาให้ความรู้และความเข้าใจบ่อยขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาซึ่งกันและกันควรมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง รายงานรับ – ส่งข่าวสารกับกลุ่มแกนนำเป็นประจำ

รายงานโดย นายวิเชียร ตนุมาตร ศูนย์แรงงานภูเก็ต