วันกรรมกรสากล 2 ขบวนแรงงาน เรียกร้องนายก ให้สัตยาบันสัญญา ILO ฉบับ87 และ98

P5010303

2 ขบวนแรงงาน ชูข้อเรียกร้องนายกให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87และ98 หวังเสรีภาพในการจัดตั้งองค์กร และการเจรจาต่อรองร่วม ในวันที่ 1 พ.ค 56 แรงงานนอกระบบร่วมดันให้เปิดรับสมาชิกกฎหมายกองทุนการออมแห่ง และมีส่วนร่วมเป็นกรรมการบริหารประกันสังคม นายก รับมีหลายประเด็นที่ต้องติดตาม และเฝ้าระวังแก้ปัญหาผลกระทบของคุณภาพชีวิตผู้ใช้แรงงาน เช่นความเสี่ยงของการถูกเลิกจ้างในช่วงครึ่งปีแรก การปรับเพิ่มของค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ย 39.5 เปอร์เซ็นต์ พร้อมด้านสุขภาพรัฐบาลได้มีการบูรณาการ 3 กองทุนสุขภาพเข้าด้วยกัน เพื่อให้กองทุนสวัสดิการของราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้ดูแลคนไทยทุกคนอย่างเสมอภาค หนุนลงทะเบียนแรงงานนอกระบบ เพื่อที่จะร่วมกันช่วยเหลือ เพื่อให้มีหลักประกัน ลดความเหลื่อมล้ำ

P5010323P5010322

ขบวนที่ 1 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ประกอบด้วย สหพันธ์แรงงาน แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ ขบวนการนักศึกษา คนไร้บ้าน องค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน ได้จัดงานวันกรรมกรสากล เพื่อรำลึกถึงประวัติศาสตร์การต่อสู้ เฉลิมฉลองวันกรรมกรสากล 123 ปี  แห่งความทุกข์ยากของกรรมกรในอดีตจนถึงปัจจุบัน การสะท้อนปัญหาและเจตนารมณ์ข้อเรียกร้องของกรรมกรจากทุกภาคส่วน

1 พฤษภา วันกรรมกรสากล หรือ “วันเมย์เดย์” (May Day) วันที่ต้องระลึกถึงวันแห่งความสามัคคี วันแห่งการยืนหยัดต่อสู้ ของชนชั้นกรรมาชีพและประชาชนผู้ใช้แรงงานทั่วโลก

P5010419

ในทศวรรษที่ 80 แห่งศตวรรษที่ 19 ได้กำเนิดการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพในยุโรปและอเมริกา ในยุคของ “การปฏิวัติอุตสาหกรรม” จากสังคมเกษตรไปสู่สังคมอุตสาหกรรม ส่งผลให้ผู้คนอพยพจากการผลิตภาคเกษตรกรรมไปเป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรม ลัทธิทุนนิยมแห่งอเมริกาได้ขยายตัวอย่างกว้างขวางซึ่งกรรมกรต้องถูกกดขี่ขูดรีดจากนายทุนโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ถูกบังคับให้ใช้แรงงานเยี่ยงทาส ต้องทำงานหนักถึงวันละ 14-16 ชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุด ไม่มีสวัสดิการและมาตรฐานคุ้มครองความปลอดภัยในการทำงาน  ขบวนการของกรรมกรอเมริกาและยุโรป ที่มีการรวมตัวกันขึ้นเป็นองค์การที่จัดตั้งอย่างเข้มแข็ง และเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้การกดค่าจ้างแรงงานและให้ลดชั่วโมงการทำงาน แนวความคิดนี้ได้ขยายไปในหลายประเทศทั้งยุโรป อเมริกา ลาติน อเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย

P5010445P5010448

วันที่ 1 พฤษภาคม 2429 กรรมกรในเมืองชิคาโกประเทศอเมริกาและในประเทศแคนาดา ได้นัดหยุดงานครั้งใหญ่ จัดการชุมนุมเดินขบวนเพื่อเรียกร้อง “ระบบสามแปด” คือ ทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และการศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง การต่อสู้ครั้งนั้นอำนาจรัฐนายทุนได้ใช้กำลังเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง  สหพันธ์คนงานแห่งอเมริกา ได้ฟื้นการต่อสู้เรียกร้องระบบสามแปด โดยมีมติให้เดินขบวนทั่วประเทศ ในช่วงนั้นแนวคิดจากกรรมกรในหลายประเทศแถบยุโรป ที่จะประกาศวันที่แน่นอนให้เป็นวันสามัคคีต่อสู้ของขบวนการกรรมกรทั่วโลก ที่ประชุมของสภาสังคมนิยมสากล ณ กรุงปารีส ฝรั่งเศส  จึงมีมติให้วันที่ 1 พฤษภาคม 2433 เป็นวันเดินขบวนแสดงพลังของชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลก เรียกร้องให้ลดชั่วโมงทำงานเป็นวันละ 8 ชั่วโมง มติดังกล่าวได้แพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง จากการยืนหยัดต่อสู้ของคนงานชิคาโกและคนงานทั่วโลกอย่างพร้อมเพรียงกัน ทำให้นายทุนต้องลดชั่วโมงการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง และกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น “วันกรรมกรสากล” เป็นสัญลักษณ์แห่งการสามัคคีต่อสู้เพื่อปลดปล่อยชนชั้นกรรมกร ในทั่วโลกจะจัดให้มีการชุมนุมเดินขบวน เพื่อระลึกถึงและสร้างวัฒนธรรมการต่อสู้ในการปลดปล่อยจากการกดขี่ขูดรีดของระบบทุนนิยม

P5010268P5010274

วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี จึงถือเป็นการจัดงานรำลึกถึงกรรมกรที่เสียสละ กล้าต่อสู้อย่างมีศักดิ์ศรี และเป็นการสะท้อนการต่อสู้ทางชนชั้นของขบวนการกรรมกรทั่วโลกในยุคทุนนิยม มิใช่วันแรงงานแห่งชาติที่มีความหมายเพียงแค่วันหยุดประจำปีที่รัฐบาล สถานประกอบการจัดให้แก่ผู้ใช้แรงงานเท่านั้น นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า อุดมการณ์ของชนชั้นกรรมาชีพ ต้องรวมพลังกันให้เหนียวแน่น เพื่อปกป้องผลประโยชน์ร่วมกันต่อสู้ผลักดันให้รัฐดำเนินการปกป้อง คุ้มครองสิทธิของกรรมกร ผู้ใช้แรงงานทั้งในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ และภาคบริการสาธารณะอย่างจริงจัง โดยร่วมกันผลักดันให้รัฐดำเนินการตามข้อเสนอในวันกรรมกรสากล ปี 2556

P5010376

นายชาลี ลอยสูง ยังกล่าวอีกว่า ได้มีการยื่นข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีเรื่องการจัดงานวันกรรมกรสากล ไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2556 โดยมีข้อเรียกร้องเร่งด่วน รวม 4 ข้อ ดังนี้

1. รัฐต้องให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง เพื่อสร้างหลักประกันในสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง รวมทั้งการเร่งรัดการพิจารณาร่างพระราชาบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ (ฉบับที่..)พ.ศ. …. ที่นายชาลี ลอยสูง กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 12,130 คน เป็นผู้เสนอ ซึ่งรอการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร

P5010299P5010285

2. รัฐต้องยุตินโยบายและกฎหมายที่ละเมิดสิทธิแรงงาน กรณีผู้นำสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย 13 คน และแรงงานใ นภาคเอกชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งขัดต่ออนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ ฉบับที่ 98

3. รัฐต้องสร้างระบบสวัสดิการสังคม มีมาตรการควบคุมราคาสินค้า ค่าบริการสาธารณูปโภค ลดค่าครองชีพ สร้างหลักประกันในการเข้าถึงการศึกษา สาธารณสุข การบริการสาธารณะ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมทางสังคม

4. รัฐต้องยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจหรือการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบ จัดตั้งกองทุนพัฒนารัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในการให้บริการประชาชน และยุติการแทรกแซงการบริหารงานรัฐวิสาหกิจ โดยขาดความเป็นธรรมและขาดธรรมาภิบาล

P5010355P5010362

5. ขอคัดค้านสภาผู้แทนราษฏรที่ลงมติไม่รับหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. ….ที่นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 14,264 คนเป็นผู้เสนอ และสภาผู้แทนราษฎรต้องนำหลักการกองทุนประสังคม ที่ต้องเป็นอิสระ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และการมีส่วนร่วมของผู้ประกันตน รวมทั้งสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่กรรมาธิการวิสามัญร่างกฎหมายประกันสังคมต้องมีสัดส่วนผู้เสนอกฏหมาย1ใน 3 ของคณะกรรมาธิการ

P5010280

และมีข้อเรียกร้องที่ต้องติดตามรวม 7 ข้อ ดังนี้
1. รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน โดยกำหนดนิยามค่าจ้างขั้นต่ำให้เป็นค่าจ้างแรกเข้าที่มีรายได้พอเพียงเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวอีก 2 คน ตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ทั้งนี้ โครงสร้างค่าจ้างของแรงงานให้มีการปรับค่าจ้างทุกปี โดยคำนึงถึงค่าครองชีพ ทักษะฝีมือ และลักษณะงาน ทั้งนี้ รัฐจะต้องทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554 ที่ให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ในปี พ.ศ. 2557 และปี พ.ศ. 2558

2. รัฐต้องแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานที่ทำงานในเขตพื้นที่สถานประกอบการใดๆ ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป มีสิทธิเลือกตั้งและลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่นั้น ๆ เพื่อให้สะท้อนถึงเจตนารมณ์ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่

3. รัฐต้องเร่งรัดให้มีการพัฒนากลไกการเข้าถึงสิทธิ์ การบังคับใช้ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 อย่างจริงจัง ภายใต้การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน

P5010472 P5010530

4. รัฐต้องจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงจากการลงทุน โดยให้นายจ้างและรัฐบาลสมทบเงินเข้ากองทุน เพื่อเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิแรงงาน เมื่อมีการเลิกจ้างหรือเลิกกิจการไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ผู้ใช้แรงงานควรมีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากกองทุน รวมทั้งการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างได้

5. รัฐต้องสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กหรือศูนย์พัฒนาเด็กให้แก่ผู้ใช้แรงงาน ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมหรือสถานที่ทำงาน

6. รัฐต้องเร่งรัดให้มีการพัฒนากลไกการคุ้มครองสิทธิแรงงานและสวัสดิการสังคมของแรงงานนอกระบบ และแรงงานข้ามชาติ

7. รัฐต้องยกเว้นภาษี กรณีเงินก้อนสุดท้ายของคนงานผู้เกษียณอายุ

P5010284P5010282

ส่วนขบวนที่ 2 ประกอบด้วยสภาองค์การลูกจ้าง 13 แห่ง และ 1 สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลในการจัดงานวันแรงานแห่งชาติ 1 พ.ค.56 จำนวน 6 ล้านบาท เพื่อจัดงานวันแรงงาน ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค แยกเป็นจัดงานในเขตกรุงเทพฯ 4 ล้านบาทละอีก 2 ล้านใช้จัดงานในต่างจังหวัดทั้ง 4 ภาค โดยมีนายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย ที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานจัดงานวันแรงงานในปีนี้ เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งในส่วนกลางมีการจัดงานทางพิธีสงฆ์ช่วงเช้า แล้วตั้งริ้วขบวนเคลื่อนไปตามถนนราชดำเนิน เพื่อไปยื่นข้อเรียกร้องกับนายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ท้องสนามหลวง

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลมีหลายประเด็นที่ต้องติดตาม และเฝ้าระวังแก้ปัญหาผลกระทบของคุณภาพชีวิตผู้ใช้แรงงานในหลายส่วนได้แก่ 1. ความเสี่ยงของการถูกเลิกจ้างในช่วงครึ่งปีแรก การปรับเพิ่มของค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ย 39.5 เปอร์เซ็นต์ โดยส่วนนี้ผู้ใช้แรงงานต้องหมั่นฝึกฝนฝีมือแรงงานในการพัฒนาคุณภาพให้มากขึ้น รวมถึงประสิทธิภาพในการทำงานที่จะเป็นเกราะป้องกันตัวเป็นอย่างดีในการทำงานต่อไป ซึ่งกระทรวงแรงงานมีโครงการที่จะเสริมคุณภาพให้กับผู้ใช้แรงงาน

P5010346P5010349

2. การเร่งพัฒนาฝีมือแรงงานให้ดีขึ้นอย่างเป็นลำดับ เพื่อให้ทันกับเศรษฐกิจที่เติบโต และให้ทันกับทิศทางต่าง ๆ ซึ่งมีการเสริมในการเร่งฝึกฝีมือแรงงาน รวมถึงการที่เราจะเปิดประคมอาเซียน เพราะทุกประเทศต้องการฝีมือแรงงานของคนไทย ที่มีความรับผิดชอบในการทำงาน มีวินัย และฝีมือคุณภาพแรงงานที่ดี ซึ่งเป็นจุดแข็งที่จะพัฒนายกระดับแรงงานไปสู่แรงงานที่มีฝีมือในอนาคต

3. การทบทวนข้อมูลด้านการจ้างงาน การว่างงาน หรือฤดูการทำงาน รวมถึงวิธีการทำงานต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป และมีเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามา โดยรัฐบาลอยากได้ข้อมูลของพี่น้องผู้ใช้แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ เพื่อภาครัฐจะร่วมกันบูรณาการ เสริมสร้างคุณภาพความเข้มแข็ง และที่สำคัญจะได้เป็นข้อมูลในการตอบโจทย์ข้อเรียกร้องต่าง ๆ ของผู้ใช้แรงงานที่ยังคงมีปัญหาอยู่ และจะได้นำมาบูรณาการแก้ไขทั้งระบบอย่างถูกวิธี โดยข้อมูลทั้งหมดนี้จะนำมาพิจารณาประกอบกับสภาวะต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งทิศทางความต้องการการใช้แรงงานของประเทศในอนาคต ที่จะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐในโครงการใหญ่ ๆ ของประเทศที่ต้องการผู้ใช้แรงงานในหลาย ๆ สาขาอาชีพ โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูง หรือโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งจะกระจายการใช้แรงงานทั่วประเทศ รวมถึงการเร่งพัฒนาฝืมือแรงงาน ภาษาอังกฤษ การสื่อสารกับประเทศเพื่อนบ้าน ตั้งคณะทำงานร่วมกันบูรณาการความต้องการปัญหาแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ และสวัสดิการต่าง ๆ ให้ทำงานอย่างใกล้ชิด

P5010368P5010370

เรื่องการพัฒนาทักษะฝีมือนั้น รัฐบาลได้ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้ต่อวันไม่น้อยกว่าวันละ 300 บาททุกพื้นที่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ซึ่งถือว่าเป็นความจำเป็นเพียงพอต่อขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้เชื่อว่าถ้าแรงงานได้พัฒนาฝีมือจะทำให้ค่าแรงต่าง ๆ สูงตามไปด้วย ซึ่งรัฐบาลอยากเห็นทิศทางการปรับปรุงคุณภาพต่าง ๆ ให้เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นภาครัฐมีมาตรการดูแลช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดูแลสวัสดิการของผู้ใช้แรงงานควบคู่กันไปด้วย เช่น การลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม การเพิ่มขีดความสามารถของ SMEs หรือโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ มาตรการทางการเงินในเข้าถึงแหล่งเงินทุน มาตรการภาษีต่าง ๆ รวมถึงการตั้งคณะทำงานที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการ

พร้อมกันนี้ ด้านสุขภาพรัฐบาลได้มีการบูรณาการ 3 กองทุนสุขภาพเข้าด้วยกัน เพื่อให้กองทุนสวัสดิการของราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้ดูแลคนไทยทุกคนอย่างเสมอภาคและมีมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะกรณีที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน เพราะถือว่าการเจ็บป่วยของประชาชนมีความสำคัญต้องได้รับการดูแลรักษา โดยเฉพาะกรณีที่เจ็บป่วยถึงแก่ชีวิตที่ต้องรักษาชีวิตเป็นอย่างแรก และรัฐบาลได้ตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 เป็นศูนย์ one stop service จำนวน 20,000 กว่าศูนย์ที่จะช่วยเหลือประชาชน เช่น เด็ก สตรี ผู้ใช้แรงงาน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ที่ตั้งครรภ์ ที่ได้รับการดูแลอย่างไม่เป็นธรรม และได้รับการกระทำความรุนแรงต่าง ๆ โดยศูนย์นี้จะบูรณาการอย่างครบวงจร เพื่อช่วยเหลือประชาชนทุกคน

P5010364P5010387

นอกจากนี้ รัฐบาลอยากได้ข้อมูลการลงทะเบียนแรงงานนอกระบบ เพื่อที่จะร่วมกันช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานนอกระบบ ให้สามารถมีหลักประกันในการดำเนินชีวิต และลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาครัฐไม่เคยมองข้าม ขณะที่แรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ รัฐบาลจะเร่งช่วยเหลือ เรื่องการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย มาตรฐานสำคัญต่าง ๆ สินเชื่อสำหรับแรงงานที่จะเดินทางไปต่างประเทศ และรวมถึงการร่วมกันการประสานความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐ เพื่อความปลอดภัยและการลดค่าใช้จ่ายที่จะไปทำงานในต่างประเทศด้วย ทั้งนี้ รัฐบาลขอรับขอเสนอทั้งหมด โดยจะนำไปประสานงาน เพื่อให้สวัสดิการแก่แรงงาน พร้อมติดตามข้อเสนอต่าง ๆ ทั้งหมด ร่วมกันทำงานกับกระทรวงแรงงานและคณะกรรมการ เพื่อเป็นแกนกลางในการประสาน ประโยชน์ ความสุข สวัสดิการและคุ้มครองผู้ใช้แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ

P5010389

นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทยได้ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อให้รัฐบาลแก้ปัญหาโดยเร่งด่วนจำนวน 11 ข้อ ได้แก่

1.ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98

2. ออกกฎหมายตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้แก่ลูกจ้างที่ตกงานเพราะโรงงานปิดกิจการ โดยไม่จ่ายค่าชดเชย

3. ให้รัฐบาลยกเว้นการเก็บภาษีเงินได้กรณีค่าชดเชยของลูกจ้างเอกชน และเงินตอบแทนของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ

4. ขอให้รัฐบาลเร่งแก้ไข พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานกรรมการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2550 ให้มีมาตรฐานเดียวกับข้าราชการพลเรือน

P5010569

5. ผลักดันกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจและยุติการแปรรูปหรือยุบเลิกรัฐวิสาหกิจ

6. ให้รัฐบาลเร่งตรา พ.ร.ฎ.สถาบันความปลอดภัยฯ

7. ปฏิรูประบบประกันสังคมและเพิ่มสิทธิประโยชน์ รวมทั้งยกระดับสำนักงานประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระ

8.จัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็ก และศูนย์เก็บน้ำนมแม่ในโรงงาน โดยผู้ที่เข้าร่วมโครงการ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้

9. แก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 59 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อตรวจรักษาสุขภาพก่อนคลอดบุตร และคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 90 วัน และให้ลูกจ้างซึ่งเป็นชายมีสิทธิลาเพื่อดูแลภรรยาในการคลอดบุตรได้ 15วันโดยได้รับค่าจ้าง และมาตรา 118 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างเป็น 2 เท่าจากเดิมที่บัญญัติไว้

10. ออก พ.ร.ฎ. การจัดเก็บเงินสะสม และเงินสมทบ เพื่อเป็นกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง และ

11.ตั้งคณะทำงานติดตาม และประสานงานข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติปี พ.ศ. 2556

ทั้งนี้มีหลายข้อเรียกร้องที่คล้ายกับทางคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจยื่นก่อนหน้านี้เช่น ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 เป็นต้น

P5010432P5010484

ในโอกาสนี้ศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบแห่งชาติ และ เครือข่ายศูนย์ประสานงานทุกภูมิภาคและกรุงเทพฯ ในฐานะตัวแทนของแรงงานนอกระบบ 24.6 ล้านคน ขอนำเสนอข้อเรียกร้องจำนวน 3 ข้อ ต่อฯพณฯนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์   ชินวัตร เพื่อขอให้ฯพณฯนายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาข้อเรียกร้อง พร้อมเร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบดำเนินการโดยด่วนต่อไป โดยมีข้อเรียกร้องดังนี้

1.ในเรื่องกองทุนการออมแห่งชาติ รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังต้องเร่งดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย2550 มาตรา 84 (4) คือ จัดให้มีการออมเพื่อการดำรงชีพในยามชราภาพแก่ประชาชน และ เจ้าหน้าที่รัฐอย่างทั่วถึง และให้ประชาชนจำนวนมากที่ไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญใดๆมีโอกาสออมเงินสะสมไว้เป็นหลักประกันในยามสูงวัย ทั้งนี้กระทรวงการคลังต้องจัดการดำเนินการเปิดรับสมัครสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

P5010430P50104292.ขอให้คณะกรรมการบริหารประกันสังคม ต้องมีตัวแทนแรงงานนอกระบบเข้าเป็นคณะกรรมการบริหาร เช่นเดียวกับสมาชิกที่เป็นแรงงานในระบบ(มาตรา 33)

3.กระทรวงแรงงาน ต้องเร่งออกประกาศกฎกระทรวงตามพรบ.คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน

4.รัฐต้องพัฒนากลไกระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้มีเรื่องอาชีวอนามัยคุ้มครองแรงงานนอกระบบอย่างทั่วถึง

 แรงงานนอกระบบขอเรียนว่าข้อเรียกร้องทุกข้อมีความสำคัญต่อการทำงาน การดำรงชีวิต และการคุ้มครองด้านสิทธิประโยชน์ของแรงงานนอกระบบซึ่งเป็นประชาชนคนไทยที่มีความมุ่งมั่นในการสัมมาอาชีพ และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไปในอนาคต

P5010345P5010354

ในวันกรรมกรสากล หรือวันแรงงานแห่งชาติ ปีนี้ได้มีการเดินรณรงค์แจกแถลงการณ์ข้อเสนอหลายกลุ่ม เช่น สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย เพื่อปากท้องของทุกคน  ในแนวทางที่เป็นประชาธิปไตย กรรมกรต้องสร้างอำนาจประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นคืออำนาจประชาธิปไตยทางการเมือง อำนาจประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ อำนาจประชาธิปไตยทางด้านวัฒนธรรม

อำนาจประชาธิปไตยทางการเมือง

– นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง    รัฐสภาต้องมาจากการเลือกตั้ง

– องค์กรอิสระต้องปฏิบัติหน้าที่ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างเที่ยงธรรม

– ในการเลือกตั้ง ผู้ใช้แรงงานต้องได้ใช้สิทธิเลือกตั้งในสถานประกอบการ

 อำนาจประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ

 – ต้องมีหลักประกันคุณภาพชีวิตการทำงานในสถานประกอบการ

– สิทธิการจัดการหลักประกันสังคมต้องตอบสนองต่อผู้ใช้แรงงานทุกกรณีตั้งแต่แรกเกิดจนเสียชีวิต

– ค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรม ในสถานประกอบการประเภทเดียวกันต้องมีบรรทัดฐานเดียวกัน

   อำนาจประชาธิปไตยทางวัฒนธรรม

– รัฐต้องจัดการศึกษาฟรีทุกระด –รัฐต้องส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ – รัฐต้องส่งเสริมวันประเพณีท้องถิ่นทุกประเภท เพื่อต้องการสร้างสังคมและคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงาน ตามหลักการ สิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

P5010366P5010423

เรียกร้องให้ดำเนินการเพื่อความเป็นธรรมแก่คนงาน ลูกจ้างบริษัทลินฟ๊อกซ์ ทรานสปอร์ตแห่งประเทศไทย นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สถานการณ์ปัญหาคนงานลินฟ๊อกซ์ถูกเลิกจ้าง สืบเนื่องจากที่ลูกจ้างบริษัทลินฟ๊อกซ์ ทรานสปอร์ตแห่งประเทศไทย จำนวน 50 คน ในฐานะสมาชิกสหภาพแรงงานขนส่งแห่งประเทศไทยได้ถูกเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นต้นมา ภายหลังจากที่ลูกจ้างได้รวมตัวกันหยุดงาน เพื่อเจรจาให้บริษัทมีการจัดสวัสดิการ วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดประจำปี 13 วัน ให้แก่พนักงาน รวมถึงขอให้มีการจ่ายเงินค่าทำงานในวันหยุดให้แก่พนักงานที่ต้องทำงานด้วย แต่ทางบริษัทไม่ได้ตอบรับข้อเรียกร้องดังกล่าว แต่กลับแจ้งบอกเลิกสัญญาจ้างพนักงานที่มารวมตัว ทั้งๆที่ในข้อเท็จจริงแล้วลูกจ้างต้องเผชิญกับสภาพการทำงานที่เลวร้าย ทั้งค่าแรงและสวัสดิการต่ำ นี้ไม่นับความไม่ปลอดภัยในการจ้างงานที่พนักงานต้องขับรถส่งสินค้าทั่วประเทศยาวนานกว่า 12 ชั่วโมงโดยไม่ได้หยุดพัก ไม่มีวันหยุดใดๆทั้งสิ้นตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แต่บริษัทก็ไม่ได้ตระหนักถึงสภาพการทำงานดังกล่าว อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้เรื่องดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนใดๆจากทางบริษัทฯในการหารือร่วมกับคนงานเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว และทางกระทรวงแรงงานก็ไม่มีมาตรการในการจัดการต่อกรณีดังกล่าวแต่อย่างใด

ดังนั้นลูกจ้างบริษัทลินฟ๊อกซ์ ทรานสปอร์ตแห่งประเทศไทย จึงเรียนมามายัง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะผู้บริหารประเทศ เพื่อเรียกร้องให้มีการดำเนินการและมีมาตรการที่ชัดเจนจากกระทรวงแรงงานเพื่อสร้างให้เกิดความเป็นธรรมแก่คนงาน โดยเฉพาะการให้ทางบริษัทฯต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) มาตรา 6 และมาตรา 22 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 รวมทั้งในส่วนข้อเรียกร้องให้เป็นไปตามขั้นตอนการเจรจาต่อรองตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน