กลุ่มแรงงานเพื่อสังคมจับมือฝ่ายกฎหมายคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยพาลูกจ้างบุกสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานนครสวรรค์ ด้านกรรมาธิการแรงงานลงพื้นที่รับแก้ไขปัญหาให้ลูกจ้างอย่างเร่งด่วน
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมพศ2563 กรมแรงงานเพื่อสังคม กลุ่มแรงงานเพื่อสังคม จับมือฝ่ายกฎหมายคณะกรรมกรสมานฉันท์แรงงานไทย นำลูกจ้างกว่า 100 คน ขอเข้าพบ หัวหน้าสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจ.นครสวรรค์ ด้านนายสุเทพ อูอ้น ประธานกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร พาคณะลงพื้นที่รับเรื่องจากคนงานนครสวรรค์โดยตรง
นายชาญศิลป์ ทรัพย์โนนหวาย ประธานกลุ่มแรงงานเพื่อสังคม และนายมงคล ยางงาม ฝ่ายกฎหมายของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ลงพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อนำลูกจ้างกว่า 100 ชีวิต ขอเข้าพบหัวหน้าสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครสวรรค์ โดยมีนายสุเทพ อูอ้น ประธานกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ร่วมลงพื้นที่และช่วยประสานงานกับทางสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครสวรรค์ จนเวลาประมาณ 09 ฬ45 น.ทางหัวหน้าสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครสวรรค์ ได้ลงมาต้อนรับ และเปิดห้องประชุม ให้ลูกจ้างได้เข้าร่วมสอบถามความคืบหน้าจากกรณีนายจ้างผิดนัดการจ่ายค่าจ้าง และไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน
โดยนายสุเทพ อูอ้น ได้ซักถามความคืบหน้าของเรื่องดังกล่าว โดยทางหัวหน้าสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครสวรรค์ ได้ชี้แจงความคืบหน้าไว้ดังนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 ทางพนักงานตรวจแรงงานได้มีการออกคำสั่งไปแล้วทั้งหมด 4 ฉบับ คือคำสั่งตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 139 จำนวน 2 ฉบับ คือคำสั่งที่51/2563 ลงวันที่ 10 เมษายน 2563 และฉบับลงวันที่22 เมษายน 2563 ซึ่งพนักงานตรวจแรงงานได้มีการแจ้งความดำเนินคดีกับนายจ้างไปแล้ว เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 เนื่องจากนายจ้างยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง นอกจากนี้ยังได้ออกคำสั่งตามตรา 123 อีก 2 ฉบับ คือคำสั่งที่ 12/2563 ลงวันที่ 28 เมษายน 2563 และคำสั่งที่ 14/2563 ฉบับลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 รวมถึงคำสั่งที่จะออกภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 นี้
จากนั้นนายสุเทพ ได้เปิดโอกาสให้พนักงานได้สอบถามข้อสังสัยหรือสิ่งที่ยังคงติดใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่
ด้านนายชาญศิลป์ ทรัพย์โนนหวาย ประธานกลุ่มแรงงานเพื่อสังคมได้ตั้งคำถามถึงการทำงานของ เจ้าหน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครสวรรค์ที่ปฏิเสธการยื่นคำร้อง ตามมาตรา 123 ของลูกจ้างซึ่งได้รับคำตอบจากหัวหน้าสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครสวรรค์ ว่าเป็นความเข้าใจผิดกัน เนื่องจากทางเจ้าหน้าที่เห็นว่า คำสั่งตามมาตรา 139 นั้นสามารถที่จะบังคับนายจ้างได้เร็วกว่าคำสั่งตามมาตรา 123 ที่จะต้องรอนายจ้าง 30 วัน
ด้านนายมงคล ยางงาม กรรมการฝ่ายกฎหมายของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ที่ได้ตั้งคำถาม เกี่ยวกับ คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ที่ระบุให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ทุกระยะเวลา 7 วันว่า อาจจะทำให้เกิดความสับสนได้เนื่องจาก ตามกฎหมายแล้วดอกเบี้ยระบุไว้เพียงร้อยละ 15 ต่อปี และ เงินเพิ่มกรณีนายจ้างจงใจไม่จ่ายเงิน ค่าจ้างร้อยละ 15 ทุกระยะเวลา 7 วัน และเสนอให้มีการแต่งตั้งผู้แทนลูกจ้างเพื่อเป็นตัวแทนในการรับทราบผลการติดตามหรือการทำงานของสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครสวรรค์ ส่วนทางหัวหน้าสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน ขอรับเรื่องไว้เพื่อที่จะปรึกษากับทางกองนิติการกระทรวงแรงงานในเรื่องการขอออกคำสั่งเพิ่มเติมให้กับนายจ้างลูกจ้างอีกครั้ง แต่ลูกจ้างได้แต่งตั้งผู้แทนของลูกจ้างจำนวน 7 คนเพื่อคอยประสานงานกับทางเจ้าหน้าที่รัฐสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครสวรรค์
นักสื่อสารแรงงาน รายงาน