ลูกจ้างทุกข์ นายจ้างปิดกิจการเบี้ยวเงินค่าชดเชย อมค่าคอมมิชชั่น ชวดโบนัส

10563158_834202990004806_6140901053694368911_n

ลูกจ้างทุกข์ พนักงานตรวจแรงงานออกคำสั่งให้จ่ายแต่นายจ้างยังเฉย เตรียมแจ้งความจับฐานฉ้อโกง และยักยอกทรัพย์ กลุ่มผู้ใช้แรงงานอยุธยาฯ ข้องใจการทำงานของเจ้าหน้าที่สสค. หลังไม่อธิบายสิทธิอันพึงมีพึงได้แก่ลูกจ้าง 

เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2558 นายประวิทย์ ธรรมรัตน์ ประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานอยุธยาและใกล้เคียง ได้แจ้งต่อนักสื่อสารแรงงานว่า ได้พาลูกจ้างบริษัทรับจ้างขนส่งสินค้าศูนย์กระจายสินค้าของบริษัทน้ำอัดลมชื่อดัง ไปพบพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(สสค.)จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อทวงถามความคืบหน้ากรณีที่พนักงานตรวจแรงงานได้ออกคำสั่งเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2558 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตามที่ลูกจ้างร้อง ซึ่งน่าจะเลยกำหนดเวลา 30 วันแล้ว ที่นายจ้างมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ และมาเพื่อยื่นคำร้องใหม่เนื่องจากทางบริษัทฯน้ำอัดลมได้จ่ายเงินค่าคอมมิชชั่นและเงินโบนัสให้กับทางบริษัทฯเพื่อนำมาจ่ายแก่ลูกจ้างแต่ทางบริษัทฯกลับไม่ยอมนำมาจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างจะเขียนคำร้องทางเจ้าหน้าที่ผู้รับเรื่องกลับอ้างว่า ไม่สามารถทำได้จนนายประวิทย์ต้องเข้าไปอธิบายจนเจ้าหน้าที่ยินยอมรับเรื่อง

สำหรับบริษัทฯแห่งนี้เป็นบริษัทฯที่รับจ้างขนส่งและขายน้ำอัดลมให้กับบริษัทฯน้ำอัดลมชื่อดัง แต่ปี 2558 ทางบริษัทฯน้ำอัดลมได้ยกเลิกสัญญากับทางบริษัทฯและได้ว่าจ้างให้บริษัทใหม่เป็นผู้รับงานต่อ ทำให้บริษัทฯต้องประกาศปิดกิจการ แต่ไม่ยอมจ่ายเงินค่าชดเชยให้กับลูกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 ทางฝ่ายลูกจ้างจำนวน 14 คน จึงได้มาร้องทุกข์ที่สำนักงานกลุ่มผู้ใช้แรงงานอยุธยาและใกล้เคียง และนายประวิทย์ได้พามายื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2558

นายประวิทย์ ได้กล่าวกับนักสื่อสารแรงงานต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐว่า ซึ่งทำหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาต่อคนงานนั้นค่อนข้างไม่มีความชัดเจน จนลูกจ้างรู้สึกไม่ไว้วางใจจนต้องเข้าไปร้องขอให้ทางกลุ่มฯเข้ามาให้ความช่วยเหลือ คืออธิบายขั้นตอนกฎหมายไม่หมดซึ่งหากลูกจ้างที่ไม่รู้ขั้นตอนกฎหมายก็จะเสียสิทธิเพราะทางเจ้าหน้าที่ไม่ค่อยแนะนำสิทธิให้ลูกจ้างถึงเส้นทางการเข้าถึงสิทธิ หรือว่าการกระทำเช่นนี้ของนายจ้างลูกจ้างควรมีสิทธิอะไรบ้าง หากลูกจ้างไม่เท่าทัน หรือไม่รู้ และเสียงไม่ดังก็คงต้องเดินมาหลายรอบเพื่อให้แรงงานจังหวัดช่วยเหลือ อย่างในกรณีนี้ ลูกจ้างยังมีสิทธิร้องกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างได้ก็ควรอธิบายให้ลูกจ้างทราบถึงสิทธินี้ด้วยว่าเกิดสิทธิอย่างไร มีขั้นตอนดำเนินการอย่างไร และหากนายจ้างไม่จ่ายเงินค่าชดเชยตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานลูกจ้างจะต้องทำอย่างไร ซึ่งพนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจฟ้องดำเนินคดีอาญาต่อนายจ้างที่ขัดคำสั่งได้ ปัญหาทำไมถึงไม่ทำให้เกิดความชัดเจน และลูกจ้างเองก็ไม่เคยได้ยินคำอธิบายเรื่องเล่านี้จากปากเจ้าหน้าที่ แถมบางครั้งก็มักจะปัดให้ลูกจ้างไปใช้สิทธิทางศาล อีกเรื่องที่ไม่น่าจะเกี่ยวกับพนักงานตรวจแรงงานก็คือการที่ลูกจ้างจะไปแจ้งความดำเนินคดีกับนายจ้าง เจ้าหน้าที่รัฐกลับบอกลูกจ้างว่า ไปไม่ได้อ้างโน้นอ้างนี่ รอนายจ้างยังไม่ถึงเวลา กระทำไม่ได้ คำถามจากลูกจ้างแต่งานในหน้าที่ตัวเองไม่อธิบายนี่จะให้คิดว่าอย่างไร แต่ทางลูกจ้างยืนยันจะดำเนินคดีกับนายจ้างแน่นอน”

นักสื่อสารแรงงานกลุ่มอยุธยา รายงาน