ลูกจ้างทำงานบ้านร้องอยากเข้าประกันสังคม พร้อมให้รัฐจริงจังการบังคับใช้กฎกระทรวงฉบับใหม่

10 มีนาคม 2556 ที่โรงแรมเจ้าพระยาปารค์ กรุงเทพมหานคร ได้มีการจัดประชุมเกี่ยวกับกฎกระทรวงว่าด้วยแรงงานทำงานบ้าน จัดโดยกระทรวงแรงงาน มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ ร่วมกับองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)ซึ่งมีกลุ่มคนทำงาน้บานราว 100 คนเข้าร่วมประชุม

นายอนุสรณ์ ไกรวัฒน์นุสรณ์ ผู้ช่วยรับมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกล่าวว่า การทำงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานนั้นทำงานไม่ใช่แรงงานนอกระบบ หรือคนทำงานบ้าน นโยบายแรงงานในระบบ กรณีประกาศปรึบขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน และแรงงานนอกระบบคนทำงานบ้าน ก็ได้ประกาศกฎกระทรวงว่าด้วยแรงงานคนทำงานบ้าน ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2555 ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 อันเกี่ยวด้วยการให้ “ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย” (ซึ่งก็คือ คนรับใช้ตามบ้านหรือแม่บ้าน) ให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานบางส่วนนั้น โดยให้มีสิทธิในการลา และวันหยุดประจำสัปดาห์ 1 วัน วันหยุดนักขัตฤกษ์ แม้ว่ากฎกระทรวงที่ออกมาอาจไม่ได้ถูกใจที่แรงงานกลุ่มคนทำงานบ้านต้องการทั้งหมด

OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ประเด็นคนทำงานบ้านอยากได้ค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน แต่ยังไม่คุ้มครองนั้น เพราะคนทำงานบ้านไม่ต้องเดินทางไปทำงานเหมือนคนงานที่ทำงานในโรงงาน คนทำงานบ้านมีที่พัก อาหาร ไม่ต้องเสียค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าเช่าบ้าน แต่เท่าที่ทราบก็มีนายจ้างใจดีที่จ่ายค่าจ้างให้ตามค่าจ้างขั้นต่ำ คือ 300 บาท และการที่มีกฎกระทรวงฯก็ส่งผลให้ลูกจ้างบางคนก็สามารถต่อรองกับนายจ้างเรื่องค่าจ้างเพื่อให้ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทได้ด้วย เพราะหากไม่ได้ก็ไม่ทำ จริงแล้วเรื่องค่าจ้างเนื่องจากคนทำงานบ้านส่วนใหญ่ก่อนที่จะมีการว่าจ้างกันกับนายจ้างเพื่อตกลงทำงาน นายจ้างก็จะบอกว่ามาทำงาน มีที่พัก อาหารให้ฟรี โดยจ่ายค่าจ้างเท่านี้ เมื่อตกลงได้ก็ทำงานด้วยกันซึ่งส่วนใหญ่ที่พบจเห็นว่าทำงานร่วมกันมานานจนเปรียบเหมือนญาติดูแลทุกข์สุขกันและกัน เพราะเป็นผู้ดูแลบ้าน อาหาร ลูก ครอบครัวของนายจ้าง บางรายจึงอยู่ด้วยกันนับสบปี

ส่วนเรื่องการประกันสังคม คนทำงานบ้านอาจยังไม่สามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมมาตรา 33 ที่มีนายจ้างได้ แต่ก็สามารถสมัครเข้าประกันสังคมมาตรา 40 ซึ่งก็มีหลายแพ็กเกต จ่ายสมทบ 100,150 บาทได้รับสวัสดิการที่แตกต่างกันไป  วันนี้คนทำงานบ้านก็ได้รับการคุ้มครองตามกฎกระทรวงฯแล้ว ซึ่งกฎกระทรวงนี้คุ้มครองแรงงานทุกกลุ่มไม่ว่าจะชาติไหน แต่หากมาไม่ถูกฎหมายก็เป็นปัญหาที่แรงงานที่โดนละเมิดสิทธิจะไม่กล้าที่จะมาร้องทุกข์ เพราะตัวคนงานจะถูกส่งกลับเนื่องจากกระทำผิดพระราชบัญญัติตรวจคนเข้าเมือง นี้ก็เป็นปัญหาที่ทำให้แรงงานข้ามชาติไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน วันนี้ต้องทำให้ถูกกฎหมาย เพื่อการเข้าถึงการคุ้มครองทางกฎหมาย และกาการที่คนทำงานอยากมีอนาคตที่ดีขึ้นต้องมีการพัฒนาทักษะ พัฒนาภาษาซึ่งความสามารถที่ถูกพัฒนาการจะไปทำงานที่ได้ค่าจ้างที่สูงกว่าในต่างประเทศก็เป็นไปได้

OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA

นางเนลีน ฮาสเปลส์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านมิติหญิงชาย องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) กล่าวว่าอนุสัญญาILOว่าด้วยแรงงานทำงานบ้านฉบับที่ 189 และข้อเสนอแนะประกอบอนุสัญญาฉบับที่ 201 ในเดือนพฤศจิกายน 2555 ประเทศไทยได้ออกกฏกระทรวงว่าด้วยลูกจ้างทำงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย ซึ่งในความคุ้มครองแก่ลูกจ้างทำงานทุกคนในประเทศไทย กฎกระทรวงดังกล่าวฉบับนี้กำหนดให้ลูกจ้างทำงานบ้านทุกคนได้รับสิทธิ วันหยุดสัปดาห์ละหนึ่งวัน วันหยุดตามประเพณี/นักขัตฤกษ์จานวน 13 วัน ทุกปี ค่าจ้างสาหรับการทางานล่วงเวลาในกรณีทางานในวันหยุด และสามารถลาป่วยโดยได้รับค่าจ้าง นอกจากนี้แรงงานยังมีสิทธิได้รับเงินกรณีเลิกจ้างอีกด้วย อนึ่ง กฎหมายห้ามจ้างบุคคลที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปีทางาน

องค์ประกอบของกฎกระทรวงข้างต้นนี้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยแรงงานทางานบ้าน ฉบับที่ 189 (มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศฉบับนี้เป็นที่ยอมรับ/รับรองว่าเป็นเอกสารกฎหมายที่สำคัญฉบับหนึ่ง ในการคุ้มครองลูกจ้างทำงานบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง และแรงงานทำงานบ้านจำนวนมากเป็นแรงงานย้ายถิ่นฐานซึ่งทำงานในสถานที่ซึ่งโดยปกติบุคคลทั่วไปจะสามารถเห็นความเป็นไปได้โดยง่าย อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่189 กำหนดว่าลูกจ้างทำงานบ้านทั่วโลกที่ดูแลครอบครัวและครัวเรือนของนายจ้างจะต้องได้รับสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานประการเดียวกันกับแรงงานประเภทอื่นๆ

การที่รัฐบาลต้องคุ้มครองคนงานทำงานบ้านอย่างมีคุณค่า เพราะคนทำงานกลุ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการสร้างเศรษฐกิจ ดูแลครอบครัว ทำงานบ้าน ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ เด็ก และคนพิการที่ทำงานหนักแทนนายจ้าง และทำให้นายจ้างสามารถออกไปทำงานนอกบ้านได้

การที่รัฐบาลออกกฎกระทรวงมาคุ้มครองคนทำงานบ้านบ้างแล้ว แต่ยังไม่เพียงพอจึงควรต้องมีการยกระดับในการคุ้มครองคนทำงานเหล่านี้ให้เพิ่มมากขึ้น ให้เขาได้รับสิทธิอย่างแท้จริง เพราะยังมีการละเมิดสิทธิในการใช้แรงงานเด็ก แรงงานข้ามชาติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายอยู่ด้วย

เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมามีข่าวเด็กชาวกะเหรี่ยงถูกทรมานจากนายจ้าง และเมื่อไม่นานก็มีข่าวเด็กถูกขังเหมือนทาสไว้ใช้งานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร คนที่ช่วยกรณีดังกล่าวเป็นชาวบ้าน สื่อมวลชน การที่กล้าที่นำเรื่องเหล่านี้มาเผยแพร่ต่อสาธารณะให้รับรู้ว่ายังมีการจ้างงาน หรือใช้แรงงานเด็ก เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดา หรือว่า เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ และควรมีการยุติลง สังคมต้องช่วยกันคิดและตั้งคำถาม และคนที่ทำเช่นนี้ควรได้รับโทษ การป้องกันดังกล่าวอย่างไรติดคุกหรือไม่

กฎกระทรวงควรกำหนดว่า การกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย และต้องคุ้มครองเด็กจนถึงอายุ 18 ปี กฎกระทรวงดังกล่าวที่กำลังให้สิทธิเรื่องวันหยุดนักขัตฤกษ์ การลาป่วย วันหยุดประจำสัปดาห์ การลานั้นต้องได้รับค่าจ้าง และเงินเดือนต้องได้รับทุกเดือน โดยจ่ายเป็นเงินสด รวมทั้งหากมีการเลิกจ้างก็ควรได้รับเงินเดือน และค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานภายใน 3 วันเช่นกัน และคนงานหญิง คนงานชายต้องได้รับค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน ไม่มีการเลือกปฎิบัติ

ในการป้องกันการละเมิดสิทธิ คือ ห้ามนายจ้างยึดทรัพย์สิน หรือเงินค้ำประกัน โดยอ้างกรณีหากลูกจ้างทำความเสียหายแล้วจะยึด กฎกระทรวงนี้ยังห้ามนายจ้างละเมิดทางเพศ การคุ้มครองที่ว่ามานั้นหากกระทำผิดจะได้รับโทษเหมือนกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎกระทรวงนี้ถือว่าเป็นความก้าวหน้าในการคุ้มครอง เพราะคนทำงานบ้านถือว่า เป็นการทำงานที่มีศักดิ์ศรีเหมือนกับงานเหมือนกับงานอื่นๆเช่นกัน และแนวโน้มคนทำงานบ้านจะเพิ่มขึ้น อาชีพคนที่ทำงานบ้านมาจากแรงกดดันทางเศรษฐกิจ และต้องมาทำหน้าที่ดูแลประชากรที่มีแนวโน้มสูงขึ้น การพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศจำเป็นต้องมีการพัฒนาให้ครอบคลุมมากขึ้น และกฎกระทรวงที่มีเป็นการเริ่มต้นเท่านั้น หากเทียบกับกฎหมายคุ้มครองแรงงานต้องพัฒนาได้อีกมาก  เช่นการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ ค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา การกำหนดช่วงเวลาทำงาน การเข้าสู่ระบบประกันสังคม และลาคลอดบุตร และต้องการที่จะมีการพัฒนาทักษะตนเองของกลุ่มคนทำงานบ้านเพิ่มด้วย ซึ่งทราบมาว่ากระทรวงแรงงานได้ร่วมกับนายจ้างพัฒนาทักษะฝีมือบ้างแล้ว

นางสมร พาสมบูรณ์ คนทำงานบ้านคนไทยกล่าวว่า การทำงานบ้านทำตั้งแต่ 07.00-22.00 น. ทำงานหนักมาก ไม่มีงานล่วงเวลา ค่าจ้างก็ยังต่ำกว่ากฎหมายคุ้มครองแรงงาน เช้าไปถึงต้องทำอาหาร ส่งเด็กไปโรงเรียน กลับมาทำงานบ้าน ซักผ้า ทำความสะอาด เตรียมอาหารเย็น และต้องรับเด็ก การทำงานของคนทำงานบ้านนั้นไม่เป็นเวลา แม่ว่ากฎหมายจะบังคับใช้แล้ว อยากให้มีการกำหนดให้ชัดเจนกว่านี้เรื่องเวลาการทำงาน เพราะว่ามากเกินไป หากต้องการให้ทำเพิ่มก็ให้จ่ายเป็นค่าล่วงเวลา และการที่จะให้คนทำงานบ้านที่มีนายจ้างไปเข้าสู่กฎหมายประกันสังคมมาตรา 40 ซึ่งเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ คิดว่ายังไม่เป็นธรรมเพราะเราทำงานมีนายจ้างชัดเจน ต้องแก้ให้ตรงจุด ควรได้เข่าสู่ระบบมาตรา 33 ได้สวัสดิการ 7 กรณีเช่นเดียวกับคนทำงานในโรงงาน เพื่อความเป็นธรรม

OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA

นางสาวเมย์ คนทำงานบ้านแรงงานข้ามชาติ ชาวพม่า กล่าวว่า กฎกระทรวงฉบับนี้ทำให้ชีวิตการทำงานเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ในส่วนที่คนทำงานบ้านรู้ภาษา และนายจ้างยอมทำตามกฎหมายก็ให้หยุดงาน อีกอย่างที่เปลี่ยนคือคำเรียกจากคนรับใช้เป็นคนทำงานบ้าน ดูมีศักดิ์ศรีมากขึ้น  แต่ที่แรงงานพม่ามีปัญหาคือส่วนใหญ่อ่านภาษาไทยไม่ได้ คำว่ากฎกระทรวงคืออะไร เรายังไม่รู้ รัฐช่วยทำให้ไม่รู้ด้วยว่า กฎกระทรวงนี้คุ้มครองอะไรแรงงานพม่า บางคนยังต้องทำงานไม่มีวันหยุด ทำงานเกือบ 24 ชั่วโมงทำทุกอย่างที่นายจ้างสั่ง แลได้รับค่าจ้างต่ำแค่เดือนละ 5,000 บาท  ซึ่งยังไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎกระทรวงที่พูดถึงกัน ที่มีการบังคับใช้ผ่านมา 4 เดือน อยากให้มีการคุ้มครองระยะเวลาการทำงานบ้าง หากไม่ได้วันละ 8 ชั่วโมง ก็ขอทำงานบ้านวันละ 9-10 ชั่วโมงก็ยังดี แม้รัฐไม่สามารถที่จะบังคับให้นายจ้างให้เราทำงานวันละ 8 ชั่วโมงได้จริง เพราะทุกวันนี้การทำงานบ้านของพวกเรากลัวไม่ทันนายจ้างกลับมาบ้างก็ทำงานไปกินข้าวไปไม่ได้นั่งกินสบายๆเหมือนนายจ้างที่เราจัดให้ทุกวัน

OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA

นายอุกฤษ กาญจนเกตุ สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาองค์กรนายจ้างรูปแบบสมาชิกเป็นสมาคมนายจ้าง ทำงานร่วมกับองค์กรแรงงานในระบบ และนายจ้างตามสถานประกอบการ ไม่ได้ดูแลทำงานกับนายจ้างตามบ้าน สภาฯจะทำงานร่วมกับรัฐ และองค์กรลูกจ้างแรงงานในระบบ ตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 ตอนนี้ได้มีการทำงานร่วมกับILO เรื่องแรงงานนอกระบบ คนทำงานบ้านมากขึ้น ได้มีการจัดอบรม และยกระดับอบรมให้ความรู้ด้านวิชาชีพ ครบ 60 ชั่วโมง การทำงานเป็นแม่บ้าน เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน การอบรมมีเนื้องาน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เรียนรู้ภาษาอังกฤษเบื้องต้น

กฎกระทรวงที่ออกมา ทางสภาองค์การนายจ้างได้มีการประชาสัมพันธ์ ก็มีความพยายามในการที่จะดูแล ให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายที่ออกมาบังคับ การที่นายจ้างละเมิดสิทธิได้ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเพราะอาจเป็นความเคยชิน และความสมยอมกันของลูกจ้างกับนายจ้าง และความไม่รู้กฎหมาย การทำงานในบ้านอยู่ด้วยกันมาตั้งแต่อายุ 14 ปีจนสูงอายุ ความผูกพันกันจนเหมือนญาติสนิทการดูแลความเจ็บป่วยกันและกัน ซึ่งต่างกับทางต่างประเทศที่เดินทางไปกลับไม่ได้อยู่ประจำ การปฏิบัติจึงต่างกับคนทำงาสนบ้านในประเทศไทย กระทรวงแรงงานต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้หลังจากที่มีการบังคับใช้กฎกระทรวงมาแล้ว 4 เดือนแต่นายจ้าง และลูกจ้างส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่ามีกฎกระทรวงในการคุ้มครองสิทธิคนทำงานบ้าน และการกำหนดเวลาทำงาน หากไปกลับก็คงต้องดูให้เป็นค่าจ้างขั้นต่ำตามกำหมายคุ้มครองแรงงาน แต่หากอยู่ด้วยกับนายจ้าง ก็ต้องดูว่ามีการตกลงกันอย่างไรระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง สิ่งที่น่าห่วงกลัวคนทำงานบ้านเกษียณอายุแล้วจะไปไหน เขาควรมีเงินบำนาญเมื่อเกษียณอายุด้วย

ทั้งนี้กฎกระทรวงว่าด้วยแรงงานคนทำงานบ้าน ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2555 ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 นั้นได้ให้ความคุ้มครอง 7 ข้อหลักดังนี้ 1.ลูกจ้างคนทำงานบ้านต้องมีวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 2.นายจ้างต้องกำหนดวันหยุดตามประเพณีปีละไม่น้อยกว่า 13 วัน ซึ่งรวมถึงวันแรงงานแห่งชาติด้วย และหากวันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ให้ลูกจ้างหยุดเป็นวันหยุดชดเชยเพิ่มอีก 1 วัน 3.ลูกจ้างที่ทำงานครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีหรือลาพักร้อน ปีละไม่เกิน 6 วันทำงาน 4.ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยตามที่ป่วยจริงได้ และหากลา 3 วันขึ้นไป นายจ้างสามารถขอใบรับรองแพทย์ยืนยันจากลูกจ้างได้ 5.กรณีลูกจ้างเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่เด็กโดยตรง 6.ลูกจ้างที่ทำงานในวันหยุดต้องได้รับเงินค่าทำงานในวันหยุดด้วย และ 7.ลูกจ้างต้องได้รับค่าจ้างในวันที่ลาป่วยโดยไม่เกิน 30 วันทำงาน หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงจะมีโทษตามกฎหมาย เช่น หากนายจ้างไม่กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ หรือไม่ให้ค่าจ้างคนรับใช้ในวันที่ลาป่วย จะมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และหากนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้คนรับใช้ที่ทำงานในวันหยุดมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน