ลูกจ้างถูกน้ำท่วมบุกกระทรวงแรงงานทวงสัญญา

วิไลรรณ แซ่เตีย รองประธานคสรท. นำแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม-น้ำลด ร้องกระทรวงแรงงาน ช่วยแก้ไขปัญหาด่วน หลังผ่านเทศกาลปีใหม่แล้ว ยังไร้วี่แววที่นายจ้างจะติดต่อกลับทำงาน -จ่ายค่าจ้าง ทำให้ลูกจ้างขาดความชัดเจนเรื่องอนาคตการทำงาน ลูกจ้างจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสมุทรสาคร ลูกจ้างจึงพากันเข้าไปที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของเขตในจังหวัดที่ลูกจ้างทำงานอยู่ เพื่อขอความช่วยเหลือ 

วันที่ 5 มกราคม 2555 ลูกจ้างบริษัทไดนามิค โปรโมชัน จำกัด จังหวัดสมุทรสาคร และลูกจ้างจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยน้ำท่วม นำโดยนางสาว วิไลวรรณ  แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) เพื่อขอความช่วยเหลือต่อ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้ช่วยดำเนินการแก้ปัญหากรณีสถานประกอบกิจการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง และปิดกิจการเป็นการชั่วคราว โดยไม่มีความชัดเจนในวันที่จะเปิดทำการ

นางบุญแต่ง  กาฬภักดี     นายสมชาย   กาฬภักดี  นายชวน  เนตรทิพย์นายมานิต  ว่องวิการนายสุวิชัย  จันทร์ลอย  นางวิลัยรัตน์  อินทรทัศน์  เป็นลูกจ้างของบริษัท ซีดี คาร์ตอน  ไม่ได้รับค่าจ้างตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554  และทางบริษัทไม่ให้ความชัดเจนเกี่ยวกับอนาคตการทำงาน และนายจ้างยังบอกอีกว่าถ้าจะให้เข้าทำงาน จะลดค่าจ้าง และสวัสดิการ  ซึ่งลูกจ้างกลุ่มนี้ ได้เข้าไปทำเรื่องร้องเรียนผ่านกรมสวัสดิการแล้ว แต่ยังไม่ได้รับคำตอบจากนายจ้าง เพียงบอกว่า หลังปีใหม่จะคุยกันอีกที  ซึ่ง ณ ตอนนี้ ลูกจ้างมีความลำบากอย่างมาก จึงขอความกรุณาท่านอธิบดีกระทรวงแรงงานให้ดำเนินการเรื่องอนาคตของลูกจ้างกลุ่มนี้ด้วย  ซึ่งเป็นหนังสือที่ทางลูกจ้างได้มายื่นให้  กับอธิบดีกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน  เพื่อจะให้ช่วยเหลือเรื่องอนาคตการทำงานลูกจ้างกลุ่มนี้

นางบุญแต่ง  กาฬภักดี  ลูกจ้างของบริษัทซีดี คาร์ตอน ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง และไม่ได้รับความชัดเจนว่านายจ้างจะรับกลับเข้าทำงานหรือไม่ ทำให้จำเป็นต้องกลับไปรับจ้างตัดอ้อยที่จังหวัดอุทัยธานี เพราะไม่มีเงินชำระค่าห้องพัก และค่าใช้จ่ายในการรอความชัดเจนของนายจ้าง

 นางสาววิไลวรรณ แว่เตีย รองประธานคสรท.จากสภาพปัญหาที่ลูกจ้างไดรับผลกระทบตั้บแต่น้ำท่วมจนน้ำแห้ง ซึ่งมีจำนวนมากที่ที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง และไม่ชัดเจนเรื่องการเปิดทำงาน จึงได้มาขอพบรัฐมนตรีว่าการกระแรงงาน เพื่อให้เร่งรัดให้สถานประกอบกิจการประกาศวันเปิดการทำงานให้แน่ชัดว่าจะรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานเมื่อไร และการหาความชัดเจนเรื่องค่าจ้างที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง เนื่องจากลูกจ้างแต่ละรายต้องใช้จ่ายเป็นค่าครองชีพและเลี้ยงครอบครัว ซึ่งที่ผ่านมามีลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบมาลงชื่อกับทางตน 5,000 กว่าคน ในส่วนของจังหวัดสมุทรสาคร และนครปฐม นนทบุรี และกรุงเทพฯ แต่ขณะนี้ได้กลับเข้าทำงานบ้างแล้ว ยังคงเหลืออีกประมาณ 600 คน ที่ไม่ได้กลับเข้าทำงาน  และจากการที่รัฐมนตรีว่ากระทรวงแรงงาน จะไม่ให้พูดถึงข้อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 75 ที่มีนายจ้างประกาศใช้กันในช่วงที่วิกฤติน้ำท่วมใหญ่ โดยให้ลูกจ้างหยุดงานชั่วคราวแล้วจ่ายค่าจ้างร้อยละ 75 ของค่าจ้าง ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ แต่ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ในช่วงที่ยังไม่เข้าทำงานนั้น หากไม่ใช่การบังคับใช้กฎหมายแล้ว ใช้หลักอะไรในการประกาศให้นายจ้างกระทำการจ่ายค่าจ้างเพียงร้อยละ 75

ทั้งนี้ ลูกจ้างบริษัทไดนามิค โปรโมชั่น จำกัด มีพนักงานทั้งหมด  535  คน ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่ออธิบดีกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ด้วยบริษัทไดนามิค โปรโมชั่น จำกัด อยู่ที่เลขที่  83/1  หมู่  10  ถนนพุทธมณฑลสาย 4  ตำบลอ้อมน้อย  อำเภอกระทุ่มแบน  จังหวัดสมุทรสาคร  ประกอบกิจการประเภทผลิตของใช้ในครัวทำด้วยพลาสติก  มีนายทวีสิน  จารุวงศ์ขจร  เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ ให้ลูกจ้างหยุดงาน  เนื่องจากเหตุได้รับผลกระทบน้ำท่วม  ตั้งแต่วันที่  2  พ.ย.2554  โดยไม่ได้ประกาศกำหนดวันเปิดดำเนินกิจการ

ปัญหานายจ้างยังคงไม่จ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างในช่วงที่หยุดน้ำท่วม  อัตราร้อยละ 75 ของค่าจ้าง  คงมีแต่การให้เงินช่วยเหลือลูกจ้างคนละ  2,000  บาท  พร้อมให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในเอกสารว่าเป็นเงินค่าจ้างที่จ่ายให้กับลูกจ้างตั้งวันที่สั่งหยุดงานจนถึงวันที่เปิดดำเนินกิจการ  ลูกจ้างยินดีรับและไม่ติดใจเรียกร้องเงินอีก  ขณะนี้น้ำที่ท่วมพื้นที่โรงงานๆ แห้งมาตั้งแต่วันที่  20  ธันวาคม 2554  แต่นายจ้างยังคงสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่ได้แจ้งวันเปิดดำเนินการให้กับลูกจ้างได้รับทราบ  จากปัญหาดังกล่าวทำให้ลูกจ้างไม่มีเงินค่าจ้างมาเพื่อยังชีพตนเองและครอบครัว  ไม่มีเงินจ่ายค่าเทอม  ค่าเช่าบ้านต้องอาศัยอยู่กับญาติหรือบุคคลอื่น  ฯลฯ  ทำลูกจ้างได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก จึงขอให้กระทรวงแรงงานดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้

1.ขอให้ท่านเร่งรัดให้นายจ้างดำเนินการจ่ายค่าจ้าง  อัตราร้อยละ  75  ของค่าจ้าง  นับตั้งแต่วันที่  2  พ.ย. 2554  จนถึงวันที่  31  ธ.ค. 2554  ให้กับลูกจ้างทุกคน

2.ขอให้ท่านเร่งรัดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง  เต็มตามอัตราค่าจ้างของลูกจ้างแต่ละคน  ตั้งแต่วันที่  1  ม.ค. 2555  เป็นต้นไป  ให้กับลูกจ้างทุกคน  เนื่องจากโรงงานของนายจ้างสามารถที่จะดำเนินการป้องกันน้ำท่วมได้  และพ้นจากการประสบปัญหาน้ำท่วม  สามารถที่จะเปิดดำเนินกิจการแล้ว  แต่ยังไม่เปิดดำเนินกิจการโดยไม่แจ้งเหตุผลและวันเปิดดำเนินการให้ลูกจ้างได้รับทราบ

3.ขอให้ท่านดำเนินการให้นายจ้างประกาศกำหนดวันเปิดดำเนินกิจการให้กับลูกจ้างทุกคนได้รับทราบ

นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า ลูกจ้างที่มาในวันนี้เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยน้ำท่วม และนายจ้างสถานประกอบกิจการไม่มีการดูแล และไม่ได้มีการเข้าร่วมกับโครงการของกระทรวงแรงงาน เช่นโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน รวมถึงโครงการชะลอการเลิกจ้าง โดยรัฐช่วยจ่ายค่าจ้าง 2,000 บาท เป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน แต่นายจ้างต้องไม่มีการเลิกจ้างลูกจ้างของสถานประกอบกิจการ ซึ่งทำให้เรื่องยังเป็นปัญหาต่อเนื่องเรื่อยมา ดูพฤติกรรมของสถานประกอบการแล้วเหมือนนายจ้างเลิกจ้าง จึงขอให้ลูกจ้างได้มาร้องทุกข์กับเจ้าหน้าที่ เพื่อออกคำสั่ง ทั้งเรื่องการจ่ายค่าจ้างและค่าชดเชย แต่หากนายจ้างไม่มีเงินจ่ายให้ได้ทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานก็จะใช้เงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อบรรเทาไปก่อน แต่หากลูกจ้างไม่มีการร้องทุกข์ทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานก็ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการให้ได้

                จำลอง ชะบำรุง นักสื่อสารแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายงาน