รูปแบบการจ้างงานในอนาคตกับการคุ้มครองทางสังคม

 

The Future Of Work and Social Protection :  รูปแบบการจ้างงานในอนาคตกับการคุ้มครองทางสังคม รัฐต้องปรับตัว ปฏิรูปกฎหมายแรงงานใหม่ จัดระบบข้อมูลเพื่อการทันต่อสถานการณ์รูปแบบการจ้างงาน การปลดออกเลิกจ้างคุ้มครองสัญญาจ้างและค่าจ้าง การจัดเก็บภาษี เพื่อความเป็นธรรม รวมถึงประฏิรูประบบประกันสังคม สร้างแรงจูงใจเพื่อดึงคนเข้าสูระบบ

วันที่ 11 ธันวาคม 2562 สำนักงานประกันสังคม ได้จัดการประชุมนักวิชาการประกันสังคมประจำปี 2562 เรื่อง The Future Of Work and Social Protection :  รูปแบบการจ้างงานในอนาคตกับการคุ้มครองทางสังคม ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดยมีเวทีเสวนาเรื่อง The Future of Work กับมุมมองธุรกิจ ในช่วงเช้า

นายกวิน สุวรรณตระกูล ผู้แทนจากการเงิน กล่าวว่า หากย้อนอดีตธุรกรรมทางการเงินต่างๆต้องเดินทางไปที่ธนาคาร และสาขาต่างๆเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ ต่อมาการทำธุรกรรม จ่ายธุรกรรมต่างๆผ่านระบบอินเตอร์เน็ต  เมื่อมีสมาร์ทโฟนก็มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้านการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยไม่ต้องไปที่ธนาคาร ทำให้มีการยุบสาขาธนาคารจำนวนมากและความจำเป็นของตู้ATMก็น้อยลง เป็นการลดต้นทุนด้านค่าจ้าง การจ้างแรงงาน นี่คือการนำเทคโนโลยีมาทำงานแทนคน รวมถึงการขายประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ ตอนลดการใช้ตัวแทนการขายประกัน ผู้ที่ต้องการทำประกันสามารถค้นหาบริษัทประกันที่ตอบสนองความต้องการของผู้เอาประกันได้ทั้งเพจเกตประกัน การส่งเบี้ยสามารถเปรียบเทียบได้ และหากต้องการรายละเอียดค่อยสอบถามคนขายประกัน หรือคนขายประกันก็สามารถที่จะแพลตฟอร์มต่างๆในการสื่อสารหาลูกค้าๆด้อีก

บล็อกเชน เทคโนโลยีเข้ามาเชื่อมในการปรับตัวครั้งใหญ่ทางการเงิน การที่ต้องใช้เทคโนโลยีนี้ถูกต้องเป็นประโยชน์ การพัฒนาให้เกิดข้อมูลที่ดีขึ้น การนำมาซึ่งความน่าเชื่อถือ การคัดกรองหุ้น การถือหุ้น ขายหุ้นผ่านระบบมือถือสมาร์ทโฟนเราไม่ต้องผ่านโบรกเกอร์ การประสานงานน้อยลงเป็นต้น

ผศ.กันต์ธกรณ์ เขาทอง ผู้แทนภาคยานยนต์ กล่าวว่า การเข้ามาของยานยนต์เริ่มจากรถยนต์แบบไอน้ำ และหายไปต่อเมื่อรถยนต์แบบสันดาบใช้น้ำมันเข้ามา ตอนนี้เริ่มการพัฒนารถยนต์แบบปลั้กอิน ซึ่งเริ่มพบที่ในปั้มชาร์ทแบตเตอรี่รถยนต์ ซึ่งเป็นระบบ EV และในอนาคตการใช้รถยนต์ที่มีเพียงแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียว เป้นการลดมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งตรงนี้หากถามเรื่องการจ้างงานของแรงงานในประเภทกิจการยานยนต์ในปัจจุบัน ในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์หนึ่งคันใช้ชิ้นส่วนราว 4-5 หมื่นชิ้น หากว่าเป็นระบบEV จะเหลือชิ้นส่วนเพียงราว 4-5 พันชิ้น แน่นอนรถยนต์EV ไม่มีถังน้ำมัน ไม่มีท่อส่งน้ำมัน ระบบสูบ ท่อไอเสีย ชุดเกียร์ เมื่อชิ้นส่วนที่ไม่จำเป็นถูกตัดออกไป ย่อมกระทบต่องานที่จ้างแรงงานตรงนี้แน่ แต่ภาครัฐเองก็มีความพยายามที่จะรักษาการจ้างงานไว้บ้างโดยกำหนดให้ยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคตต้องมีการผลิตชิ้นส่วน และประกอบในประเทศไทย โดยมีบริษัทผลิตรถยนต์ฎฮในอนาคตเข้ามาคุยกับทางภาครัฐแล้วอย่าง โตโยต้า ฮอนด้า เป็นต้น

“มีคำถามเกี่ยวกับความพร้อมด้านพลังงานไฟฟ้า ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้มีการลงทุนเพื่อดึงกระแสไฟฟ้าจากประเทสเพื่อนบ้านอย่างประเทศลาวมาใช้ และตอนนี้พลังงานในประเทศไทยยังมีอยู่เพียงพอ และได้มีบริษัทอย่างน้อย 2 แห่งที่เริ่มลงทุนในการสร้างปลั้กอินเพื่อการทดลอง ซึ่งมีการปรับตัวของปั้มน้ำมันในการสร้างปลั้กอินหากสำเร็จ โดยตรงนี้ต้องมีพื้นที่ในการเข้าสถานีปลั้กอิน สิ่งที่ห่วงคือในเมืองปั้มน้ำมันที่มีพื้นที่ถูกนำไปสร้างเป็นคอนโดหมดแล้ว”

เรื่องการปรับตัวด้านเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อการจ้างงาน แรงงานต้องมีการปรับตัว ประเทศไทยมีอาจารย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีน้อยมาก น่าเป็นห่วงสุด คือผู้ใช้แรงงานที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป การปรับตัวเพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีค้อนข้างน้อยมาก เพราะอยุ่กับเทคโนโลยีเก่ามานาน ทำให้สถานประกอบการต่างๆมองการพัฒนาด้านแรงงานไปที่แรงงานรุ่นใหม่อายุ 20 ปีเข้ากระบวนการเทรนนิ่งให้กับพนักงาน โดยสหภาพแรงงาน องค์กรแรงงานต้องเรียกร้องให้ภาครัฐ และนายจ้างมาพัฒนาทักษะฝีมือเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ซึ่งทักษะที่สำคัญต้องเรียนรู้ในการเอาตัวรอดเมื่อมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามา ให้สามารถปรับตัวได้ ใช้เทคโนโลยี หรือว่าจะเดินหนีอนาคตเมื่อไลน์การผลิตจะปรับเป็นฟฟ้าทั้งหมด เราปรับตัวการเทรนนิ่งใหม่ในมหาวิทยาลัยได้ หากปรับตัวได้ไม่มีปัญหา

นายกรพัฒน์ บุญอินทร์ ผู้แทนจากภาคค้าปลีก กล่าวว่า กลุ่มธุรกิจเปลี่ยนแปลงด้วยการปรับไลน์การทำงาน ตอนนี้ตลาดก้เปลี่ยนวิธีการ พฤติกรรมของลูกค้าก็เปลี่ยนมีทั้งระบบออฟไลน์ และระบบออนไลน์ เราตอบโจทย์ลูกค้าแบบครบวงจรไม่ว่าจะซื้อผ่านระบบไหน หรือว่าต้องการเดินตลาด ห้างสรรพสินค้า หรือโปร์แกรมที่ใช้ผ่านแพลตฟอร์ม เป็นการคำนวณและวิเคราะห์การซื้อขาย ถาม่ากระทบไหมต่อการจ้างงาน ซึ่งตอนนี้มีแรงงานเข้าระบแพลตฟอร์มนี้ราว 3.6 แสนคน เป็นการปรับตัวกับธุรกิจดีเบล  การช้อปปิ้งในห้างมีการปรับตัวมากทำไมเราถึงเห็นห้างลดขนาดเล็กลงมีสาขาทั่วประเทศ แต่ลูกค้าไม่ได้หายไปไหน การซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ ผ่านระบบแพลตฟอร์ม โดย ค่าจัดส่งสินค้า ซึ่งจะเห็นถึงประสิทธิภาพของการส่งสินค้าได้อย่างรวดเร็วนั่นคือวัตถุประสงค์ของการที่มีคลังสินค้า หรือสาขาทั่วประเทศ และจะเห็นรถส่งไปรษณีย์ เพิ่มมากขึ้น หรือว่าการจัดส่งผ่านแพลตฟอร์มอื่นๆ โดยกำหนดระยะทางและเวลา เป็นการปรับเปลี่ยนทรานฟอร์ม ค่าจัดส่งถูกสุดคือไปรษณีย์ไทย  หรือจัดส่งกับรถสีส้ม สีน้ำเงินมีบริการส่งทางเครื่องบินได้ด้วย เป็นการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า อาชีพใหม่เกิดขึ้น อาชีพเก่าหายไป อาชีพใหม่เข้ามา

อย่างกรณีธุรกิจการเงิน การใช้AI เข้ามาทำงานทำให้การจ้างงานลดลง แต่ว่าเราก็ไม่สามารถที่จะทำให้หยุดการพัฒนาด้านเทคโนโลยีได้ แต่ต้องมีการปรับตัว อย่างบางงานอาจใช้เทคโนโลยีใหม่ หรือบางงานอาจใช้เครื่องจักร ต้องทำให้ทุกคนยังมีงานทำ ต้องปรับเปลี่ยนด้านพฤติกรรมการบริโภค การจ้างงาน ซึ่งการจ้างงานในระบบแพลตฟอร์มมีถึงราว 4 แสนคน การปรับตัวจะไม่ทำให้เราต้องสูญสิ้นไปอย่างยุคไดโนเสาร์อย่างแน่นอน

ต่อมาเป็นการบรรยาย เรื่อง Platform Workers and Social Protection Intemational Experience โดยผุ้แทนจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ

นายนูโน่ คุนย่า ตัวแทนจากองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) กล่าวว่า สิ่งที่ ILO จับตา เน้นคือการเพิ่มกลุ่มผู้ประกันตนให้กว้างมากขึ้น ด้วยลักษณะ ตลาดแรงงาน ที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะ การสร้างอาชีพผ่านแอป ทำงานผ่านระบบออนไลน์ ระบบดิจิทัล ซึ่งไม่ใช่กระแสแค่ในประเทศไทย แต่เป็นกระแสโลกที่เปลี่ยนด้วย ซึ่งในภูมิภาคอาเซียน การศึกษาขั้นแรกคือ ต้องมีคำจำกัดความ ของคำว่า “Platform Worker” เพราะในกลุ่มนี้ มีทั้งงานขายของ ขายแรงงาน ทางออนไลน์ ซึ่งมาในรูปแบบงานที่ใหม่ไม่คุ้นเคย เป็นการทำงานชั่วคราว ที่ไม่ใช่ทำงานประจำ หรืองานอาชีพเสริม เป็นงานอิสระ หรือบางคนเรียกว่าเป็นนายตัวเอง เช่น ขับGrab ทั้งส่งคน ส่งอาหาร ส่งของ อยากทำตอนไหนก็ได้มีอิสระ ผู้ว่าจ้างไม่ใช่นายจ้าง ดังนั้น สิ่งที่หลายประเทศพูดคุย คือ ใครจะเป็นนายจ้าง และใครจะรับผิดชอบ ดูแลกลุ่ม Platform Worker และดูแลอย่างไร

จากการจ้างงานแบบเดิมที่เรียกว่า แรงงานในระบบ 14 ล้านคน แรงงานนอกระบบ 24 ล้านคน รวมจากกำลังแรงงาน 38 ล้านคน คนทำงานที่บ้านที่เรียกว่าแม่บ้านทำงานแบบไหน อาชีพจะแบ่ง แยกอย่างไร ตามอาชีพ หรือระบบรายได้ที่ได้รับเพื่อการคุ้มครองดูแลในระบบประกันสังคม ซึ่งประกันสังคมทั่วโลก ประสบปัญหานี้ เพราะตอนแรกทำประกันสังคมเพื่อรองรับลูกจ้างที่อยู่ในระบบ แต่ปัจจุบัน มีลูกจ้างนอกระบบ ซึ่งมีจำนวนมากกว่าที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบคุ้มครอง ดังนั้น อยากให้หาข้อมูลให้มาก และทำความเข้าใจว่าใครเป็นกลุ่มที่อยากจะดึงเข้ามาในระบบ โดยกำหนดระบบประกันสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ILOให้ความสำคัญกับระบบตลาดแรงงาน ตอนนี้ที่ชัดเจนคือการจ้างงานแบบGig การจ้างงานผ่านPlatform  คนขับGrab ส่งของ ส่งอาหาร ส่งคน มีจำนวนเพิ่มขึ้น บางคนมีการใช้บริการเป็นประจำ

Platform Worker มีรูปแบบทั้งงานประจำ งานเป็นครั้งคราว งานเป็นบางเวลา ซึ่งไม่ใช่รูปแบบการจ้างงานปกติในรั่วโรงงาน ที่มีลูกจ้าง นายจ้าง แบบเดียว แต่เป็นรูปแบบการจ้างแบบหลากหลายคนหนึ่งคนสามารถทำงานได้มากกว่า 1 หรือ 2 Platform ใครคือนายจ้างคงต้องดูให้ละเอียดมากขึ้น หรือว่าการจ้างงานแบบนี้มีอยู่แต่เดิมแล้ว แต่ว่านำมาพัฒนาใหม่ หรือว่าเป็นงานใหม่กันแน่ เป็นงานเช่นเดิมแต่แตกต่างไปในทางปฏิบัติ เมื่อมีGrab เข้ามาจัดระบบข้อมูลให้เห็นภาพที่ชัดขึ้น  หากจะรวมเข้าระบบ ตัวระบบต้องปรับขนานใหญ่ เพื่อให้เห้นภาพชัดมากขึ้น อย่างคนที่เข้ามาอยู่ ต้องดูเรื่องรายได้ คนที่ทำงานขับ Grab มีกี่คน สัดส่วนการแบ่งรายได้เป็นอย่างไร รวมถึงกำหนดกรอบกฏหมายให้ชัดเจน โดยเฉพาะลูกจ้างและนายจ้าง เช่น Grab ควรจะได้รับการจ่ายสมทบหรือไม่

การปรับตัวของระบบประกันสังคม เพื่อจูงใจให้คนเข้าสู่ระบบกว้างขึ้น อย่างเรื่องรายได้อาจใช้ขั้นต่ำ เพื่อให้คนทำงานนอกระบบเข้ามาสู่ระบบมากขึ้น รัฐจ่ายเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ระบบดูแล ระบบประกันสังคมไม่ใช่แค่รัฐต้องมีการ ด้วยการจ้างงานแบบพาสไทม์ที่มีการจ้างงานอยู่ปัจจุบันมีความหลอกหลาย ต้องให้นายจ้าง หรือPlatform ช่วยในเรื่องข้อมูล ในการจัดเก็บเงินเพื่อสมทบกองทุนประกันสังคม เป้นการนำคนเข้าสู่ระบบ ใช้รูปแบบดึงจากเงินจากการจ้างงานให้ทาง Grab ตัดเงินจ่ายสมทบเข้าระบบประกันสังคมโดยอัตโนมัติ

ส่วนคนที่ทำงานแบบเป็นครั้งคราว รายได้ต่ำไม่สามารถเข้าสู่ระบบได้ แก้ปัญหา คือ ปรับเกณฑ์การเข้าสู่ระบบประกันสังคม การจ้างงานผ่านระบบ Platform คนที่ทำงานผ่าน Grab เป็นการจ้างงาน หรือว่าจะเป็นคนที่สั่งซื้อของผ่านการสั่งอาหารซื้อของแบบนี้ ในชีวิตประจำวัน

ในแง่กรณีมีการออมหลายสวัสดิการ เช่นกองทุนประกันสังคม กองทุนการออมแห่งหชาติ เป็นการออมเพื่อบำนาญในอนาคต เงื่อนไขการเข้าสู่ระบบทำให้เกิดการปรับตัว หรือว่าหากมีการปรับสถานะของคนทำงานเหล่านี้ก็สามารถถ่ายโอนได้เพื่อให้เกิดการปรับตัวของแรงงาน เป็นลักษณะทำงานแบบแชร์ข้อมูล กัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบร่วมกัน ด้วยรูปแบบการจ้างงานที่เปลี่ยนไป จากการจ้างงานผ่านระบบ Platform แล้วอีกกลุ่มเป็นแบบการจ้างงานกันเอง ทั้งรูปแบบชมรม สหกรณ์แบบแท็กซี่ ซึ่งสามารถรวมกันเองเพื่อจัดสวัสดิการในกลุ่ม อยากให้มีการจัดทำข้อมูลที่ชัดเจนมีประสิทธิภาพเพื่อการนำคนเข้าสู่ระบบเดียวกัน เป็นการเพิ่มจำนวนคนในระบบ เสนอว่าสำนักงานประกันสังคมต้องมีการปรับตัว

ต่อมาช่วงบ่ายได้มีการเสวนา เรื่อง ภาครัฐปรับตัวอย่างไรกับรูปแบบงานที่เปลี่ยนไป โดย นางสาวโกมล มุทุกันต์ ผู้แทน Platform Workersนายอิทธิพร สาธุธรรม ผู้แทนจากผู้ประกอบอาชีพอิสระ (นักแสดง) นางนิยดา เสนีย์มโนมัย ผู้อำนวยการ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 9 และ นางสาวกานดา ชูเชิด ผู้แทนจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ

นางสาวโกมล มุทุกันต์ กล่าวถึงรูปแบบการจ้างงานมีการลดกำลังคน มีการจ้างงานแบบรับเหมาช่วงงานไปไม่มีระบบดูแลด้นประกันสังคม แรงจูงใจในการที่จะให้คนเข้าสู่ระบบประกันสังคมคืออะไร เมื่อมีการเข้าสู่ระบบประกันสังคม คนต้องจ่ายเงินสมทบเข้าระบบ ซึ่งตนเองก้อยากเสนอว่าหากผุ้ประกอบการมีปัญหาสามารถที่จะกู้เงินสนับสนุนการลงทุนได้หรือไม่

นายอิทธิพร สาธุธรรม กล่าวว่า ในฐานะนักแสดงก็อยากเห็นข้อเสนอที่มากกว่านี้ ซึ่งตนเองไม่เคยทราบเรื่องแนวการประกันสังคม ว่ามีการคุ้มครองดูแลอย่างไร ระบบประกันสังคมจะดูแลครอบครัวได้หรือไม่เนื่องจากตนมีลูกและเด็กป่วยง่ายป่วยบ่อย การซื้อระบบประกันชีวิตแพงมาก ค่ารักษาพยาบาลสูงจึงอยากให้ระบบประกันสังคมมาคุ้มครองดูแลตรงนี้ ซึ่งคาดว่าเป็นแรงจูงใจให้คนเข้าสู่ระบบประกันสังคมอีกอยากมากทีเดียว

นางสาวกานดา ชูเชิด กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงงาน และอาชีพ ค่าจ้างโตไม่ทันผลิตภาพ ประสิทธิภาพงาน บัณฑิตจบใหม่ไม่มีงานทำ ความเหลื่อมล้ำสูงขึ้น รูปแบบการจ้างงานก็เปลี่ยนเป็นการจ้างงานที่ไม่ปกติอีกต่อไป มีความหลากหลายมากขึ้น งานไม่การัยตีรายได้ ค่าจ้างไม่มั่นคง ไม่มีสวัสดิการ อำนาจการต่อรองมีน้อย จนไม่มีหลักทรัพย์ในการค้ำประกันเพื่อทำอะไรต่างๆ สภาพัฒนาฯได้ศึกษาว่า ส่วนใหญ่ไม่ได้มีทางเลือกในการทำงานประเภทรายได้มีตั้งแต่ 1 บาท/เดือนขึ้นไป

โดยงานที่เปลี่ยนแปลงไปไม่ใช่โอกาสสำหรับทุกคน สุดท้ายงานที่ทำไม่มีอยู่แล้ว DIGITAL DISRUPTION การเปลี่ยนแปลงไปของประเภทของงาน/อาชีพ งานที่ถูกทดแทนอย่างเช่น ทำงานร่วมกับเครื่องจักร  งานที่ทดแทนไม่ได้ด้วยเครื่องจักร และอาชีพสายงานใหม่ๆ ซึ่งทำให้ ค่าแรงชะงัก ส่วนแบ่งรายได้ของแรงงานลดลง อัตราการเข้าร่วมกำลังแรงงานลดลง โดยมองว่า อัตรการว่างงานที่ต่ำ ไม่ใช่เพราะมีงานใหม่เกิดขึ้น แต่เพราะแรงงานหมดกำลังใจ ออกจากกำลังแรงงานไปต่างหาก และงานใหม่เกิดน้อยลง ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวแบบไร้งาน การว่างงานระยะยาว ความเหลื่อมล้ำทะยานสูง บัณฑิตจบใหม่ รายได้น้อยลงและต้องทำงานต่ำระดับ และการแบ่งขั้ว (Job market polarization) และงานpart time

การทำงาน 89.3% เป็นกลุ่มทำงานไร้ฝีมือ ที่ไม่มีทางเลือกในงาน มีการรับงาน มากว่า 1 งานอยู่ที่ 10.7% เป็นการสำรวจจากผู้ทำงาน 4,300 คน ร้อยละ 67% เป็นการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบงาน กลุ่มNEXTGEN WORK อายุ 18-39 ปี โดย 70.4% ทำงานรูปแบบทั่วไป 29.6% ทำงานรูปแบบ NEXTGEN WORK คือทำงานมากกว่า 1 งาน/อาชีพ 36%  รายได้ประมาณ 1,000-10,000 บาทต่อเดือน รับจ้างอิสระ 43% รายได้ประมาณ 1,100-300,000 บาทต่อเดือน ลูกจ้างสัญญาจ้าง 25% รายได้ประมาณ 1,500-260,000 บาทต่อเดือน และค้าขายรายได้ประมาณ 6,000-30,000 บาท เป็นต้น

NEXTGEN WORK Definition กลุ่มรับจ้างอิสระ เป็นฏลุ่มที่สามารถจัดสรรวิธีการ เวลาและสถานที่ทำงานได้ด้วยตัวเอง มักทำงานเป็นโปร์แจ็ค มีสัญญาการทำงานเป็นลายลักษณ์อักษร หรือสัญญาปากเปล่า ได้รับค่าจ้างตามงาน และต้องจัดการจ่ายภาษีด้วยตัวเอง นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่ทำงานประจำแต่รับงานอิสระเพื่อหารายได้เสริม กลุ่มที่หารายได้จากแหล่ง และกลุ่มที่รับงานอิสระมา แต่ก็ไปจ้างผู้รับจ้างอิสระคนอื่นๆมาร่วมกัน

กลุ่มที่ทำงานคล้ายพนักงานประจำ แต่ไม่มีสวัสดิการรองรับ อาที ลูกจ้างชั่วคราวที่ทำงานกับผู้ว่าจ้างเจ้าเดียว ลูกจ้างสัญญาจ้าง ลูกจ้างที่ทำงานแบบไม่เต็มเวลา รวมทั้งผู้รับจ้างอิสระที่ผันตัวมาเป็นพนักงาน ทีสัญญาแน่นอน แบละทำงานเหมือนพนักงานประจำ แต่ไม่มีสวัสดิการ ซึ่งอยู่ภายใต้กฎระเบียบ การกำกับดูแล ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่ผู้ว่าจ้างกำหนด

กลุ่มรับจ้างบนแพลตฟอร์อมออนไลน์ ตามความต้องการของลูกค้า โดยมีเว็บไซต์ เป็นสื่อเชื่อมโยงกับผุ้ที่ต้องการรับบริการ อาทิ การขนส่งการบริการช่างซ่อม แม่บ้าน ฯลฯ

จากการสำรวจของFast work พบว่า แรงงานไทยมีลักษณะการทำงานแบบ NEXTGEN WORK ประมาณ 2 ล้านคน และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในอนาคต

แนวโน้มของประเทศไทย คาดว่าในปี 2028 ระบบอัตดนมัติ และปัญญาประดิษฐ์จะถูกนำมาใช้ในการผลิต และกระบวนการทำงานมากขึ้น และแรงงานอายุ 40-59 ปี มีการศึกษาประถมการศึกษา หรือต่ำกว่า ที่เป็นแรงงานที่มีทักษะต่ำ ทำงานในลักษณะ routine work จะถูกทดแทนด้วยระบบอัตโนมัติ และหุ่นยนต์ได้โดยง่าย ในอนาคตจะต้องมีการวางระบบสวัสดิการรองรับกับกลุ่มคนที่จะว่างงานมากขึ้น โดยไม่ก่อให้เกิดภาระกับงบประมาณในระยะยาว และภายในปี 2573 งานที่หายไปมากที่สุดอยุ่ใน 3 อุตสาหกรรม ได้แก่เกษตร 1.7 ล้านตำแหน่ง ในอุตสาหกรรมการผลิต 840,000 ตำแหน่ง การค้าส่ง และการค้าปลีกอีกด้วย

จึงต้องมีการวิเคราะห์ Foresight และเตรียมพร้อมรองรับ โดยปัจจุบันการวางแผนอยุ่บนภาพของปัจจุบัน ขณะที่ Technology disruption อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างค่อนข้างมาก จึงควรมีการวิเคราะห์ และจัดทำภาพอนาคตจากการคาดการณ์แนวโน้มที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในทุกรูปแบบด้วย หาแนวทางตั้งรับไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ และติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด การปรับปรุงแก้กฎหมายแรงงาน ในส่วนแรงงานนอกระบบมีข้อเรียกร้องไว้หลายประการอาที การกำหนดมาตรฐาน ราคากลางของงานแต่ละประเภท การจัดทำระบบสัญญาจ้างในกลุ่มทำงานอาชีพอิสระ การกำนดชั่วโทงการทำงาน การปรับเงินหรือให้ผุ้ว่าจ้างจ่ายเงินชดเชยหากมีการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม กรือละเมิดสัญญาการว่าจ้างที่ไม่เป็นธรรม หรือการละเมิดสัญญา

การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบอาชีพอิสระ เพื่อควบคุมการทำงานของกลุ่มชีพอิสระ ให้อยุ่ในกรอบกฎหมายพร้อมมีระบบการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน ด้านประกันสังคม ต้องสร้างแรงจูงใจ ปับปรุงเพื่อรองรับสิทธิและสวัสดิการสำหรับแรงงานนอกระบบ หรือผุ้ประกอบอาชีพอิสระมากขึ้นเป็นต้น

สุดท้ายภาคธุรกิจไม่ได้บอกว่าจะมีการปลดออก เลิกจ้างเท่าไร รัฐต้องทำงานเชิงรุกด้านข้อมูลแล้วแจ้งว่าจะมีคนตกงานเท่าไร เพื่อจัดประกันสังคมรองรับ การปรับปรุง หรือปฏิรูปใหม่ หากกฎหมายยังคงรูปแบบเดิมอาจแก้ปัญหาในการรองรับอนาคตไม่ได้ ด้วยรูปแบบการDisruption ทำให้ต้องดีไซน์ใหม่ เพื่อให้ครอบคลุมทุกคนในสังคม เป็นการช่วยเหลือ ป้องกัน และส่งเสริม การจัดทำข้อมูลรายบุคคล เพื่อให้เกิดข้อมูลทั้งระบบ

นางนิยดา เสนีย์มโนมัย กล่าวว่า ทางรัฐบาลมีสวัสดิการที่ใช้เงินจากภาษ๊มาจ่ายระบบนี้เรียกว่ารัฐสวัสดิการ แต่ก้มีบางประเทศ เช่นประเทศไทยที่ใช้ระบบประกันสังคม เป็นการประกันความเสี่ยงจากการขาดรายได้ ยามเจ็บป่วย ช่วงแรกมุ่งในการดูแลแรงงานในระบบตามกฎหมายประกันสังคม มาตรา 33 ซึ่งเป็นการจัดเก็บเงินสมทบ 3 ฝ่าย คือลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐ ให้สิทธิในปี 2537 ซึ่งน้อยมาก ปี 2554 มีระบบประกันสังคมโดยสมัครใจ คือทุกคนไม่ว่าอาชีพใดสามารถสมัครเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้โดยผ่านมาตรา 40  แต่การทำความเข้าใจค้อนข้างยาก จึงมีคนเข้าสู่ระบบน้อยตอนนี้มีเพียง 3 ล้านคน เป็นปัญหาด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความรับรู้ ต่อมาคือสิทธิประโยชน์ที่ตอบแทนอาจยังไม่เพียงพอที่จะสร้างแรงจูงใจให้คนเข้าสู่ระบบหากจะดูจากกลุ่มอาชีพอย่าง การจ้างงานผ่านแพลตฟอร์มจะเข้าสู่ระบบประกันสังคมมาตรา 40 จะมี 3 ทางเลือก ดังนี้ ือลัได้ ยามเจกันสังคมรองรับ การปรับปรุงใหม่กขึ้น กลุ่มที่หารายได้จากแหล่ง และกลุ่มที่รับงานอิสระมา แ

ทางเลือกที่ 1 จ่ายสมทบเดือนละ 70 บาท รับสิทธิประโยชน์ 3 กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีทุพพลภาพ และตาย (ค่าทำศพ)

ทางเลือกที่ 2 จ่ายสมทบ 100 บาทต่อเดือน รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเป็น 4 กรณี เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีทุพพลภาพ ตาย (ค่าทำศพ) ชราภาพ (รับบำเหน็จ)

ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาทต่อเดือน รับสิทธิประโยชน์ 5 กรณี เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีทุพพลภาพ ตาย (ค่าทำศพ) ชราภาพ (รับบำเหน็จ) สงเคราะห์บุตร

ซึ่งรัฐบาลจะจ่ายสมทบร่วมด้วย การจ่ายเงินสมทบสามารถจ่ายผ่านร้านสะดวกซื้อ ธนาคาร หรือว่าสำนักงานประกันสังคมในแต่ละพื้นที่ได้ หากเป็นแรงงานในระบบทางสำนักงานประกันสังคมจะเก็บจากรายได้ร้อยละ 5 โดยนายจ้างจะเป็นผุ้หักและนำส่งเข้าสู่ระบบ ซึ่งตอนนี้มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิต 4 หมื่นบาท เป็น 5 หมื่นบาท โดยมีการพัฒนาเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตน ผ่านคณะกรรมการประกันสังคทม (บอร์ดสปส.) โดยมาจากผุ้แทนทั้งสามฝ่าย นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐ หากถามเรื่องข้อมูลของภาครัฐตัวเลขการปลดออกเลิกจ้างส่วนของสำนักงานประกันสังคม มีข้อมูลอยู่ เพราะนายจ้างจะแจ้งมาที่สำนักงานฯ แต่อาจไม่สามรรถที่จะเผยแพร่ได้ การเชื่อมโยงข้อมุลภายในองค์กรต่างๆของภาครัฐยังเป็นประเด็นปัยหาเป็นข้อจำกัด ตนเข้าใจว่ามีข้อมูลแต่ไม่ได้เชื่อมกันอย่างแท้จริง

(สรุปโดยวาสนา ลำดี )