รายงานพิเศษ AEC ผลกระทบต่อสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตแรงงานไทย

นางปรัชญาณี  พราหมพันธ์   ผู้อำนวยการกลุ่มความร่วมมืออาเซียน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้กล่าวถึง ความหมายของตราสัญลักษณ์อาเซียน คือ รวงข้าว 10 ต้น 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว เนื่องจากประเทศในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศอาหารหลักคือ ข้าว วงกลม  แสดงถึงความเป็นเอกภาพ วันอาเซียน  8 สิงหาคม ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 45 ปีที่แล้ว เกิดขึ้นในประเทศไทยโดยรับรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศคนแรกของอาเวียน คือนายอามัด คอมัน ซึ่งสมาชิกผู้ก่อตั้งปี 1967 มีทั้งหมด 5 ประเทศ ประกอบด้วยประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ อีกเกือบ 20 ปีต่อมา ได้มีประเทศบรูไน ดารุสซาลาม

ปี 1984 และอีก 10 ปี ได้เพิ่ม เวียดนาม ปี 1995 ลาว ปี 1997 พม่า ปี 1997 และกัมพูชา ปี 1999 การที่ 5 ประเทศบวกบรูไน หมายความว่า 6 ประเทศนี้มีการพัฒนาระดับเศรษฐกิจค้อนข้างใกล้เคียงกัน และ 4 ประเทศหลังคือประเทศลาว เวียดนาม กัมพูชา เรียกว่า CLMV ย่อมาจาก Country Profiles การที่มีการแบ่งเช่นนี้เนื่องจากการที่จะพัฒนาใดๆทางเศรษฐกิจ หากมีความเติบโตทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันมากๆจะทำให้การพัฒนาเป็นไปได้ล่าช้า การพัฒนาหากไม่ไปด้วยกันจะเกิดการลากกันจึงต้องมีการแบ่งเป็นกลุ่มประเทศซึ่งจะมีแบ่ง ฉะนั้นจะมีเส้นแบ่งภาษี เป็น 0% ซึ่งในความจริงประเทศไทยนั้นเก็บภาษี 0 % มาตั้งแต่ปี 2553แล้ว ซึ่งได้กำหนดว่าปี 2558 ประเทศ CLMV ที่เหลือจะลดภาษีเหลือ 0% เช่นกัน ในส่วนของธงชาติของประเทศพม่ามีการเปลี่ยน ซึ่งธงชาติของแต่ละประเทศหมายถึงเกียรติภูมิ และศักดิ์ศรีจึงเป็นข้อควรระมัดระวัง หากต้องมีการจัดประชุมหรือทำอะไรที่ต้องตั้งธงชาติของแต่ละประเทศต้องเปลี่ยนไปตามที่เขากำหนดใหม่

อาเซียนรวมกันเพื่ออะไร ซึ่งคงเคยยินเรื่องทฤษฎีโดมิโน กรณีภัยคุกคามคอมมิวนิสต์หากประเทศไทยไม่ทำอะไรหลายประเทศก็จะกลายเป็นโดมิโนล้มตามกันตั้งแต่จีน จนถึงสิงค์โปร จึงคิดว่าการรวมตัวกันก็เพื่อป้องกันการถูกคุกคาม รวมทั้งครอบครองได้ยาก จึงได้รวมตัวกันใน 5 ประเทศแรก

วัตถุประสงค์คือ การส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิก ธำรงสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคง เสริมสร้างเศรษฐกิจและความอยู่ดีกินดีของประชาชน พัฒนาสังคมและวัฒนธรรม ส่งเสริมความร่วมมือกับภายนอก และองค์การระหว่าง ประเทศต่างๆ เพราะอาเซียนจะไม่อยู่โดดเดี่ยวในโลก ยังมีความร่วมมือจากภายนอกด้วย

หลังวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ก็เริ่มจากอาเซียน ลุกลามไปทั่วโลก ทั่วโลกจึงเริ่มหันมาสนใจเรื่องการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน การที่ประชาคมโลกไม่สนใจอาเซียน เนื่องจากการที่อาเซียนมีการรวมตัวกันแบบหลวมๆหรือไม่ ต่อเนื่องจากมีการใช้ค่าเงินยูโร มีเอเป็ค มีเป้าหมาย ปี 2020ได้มีการตั้งวิสัยทัศน์อาเซียนในการประชุมที่บารี่ ปี 2002 มีอียู เอเป็คที่กำหนดเป้าหมายในปี 2015 ประเทศในอาเซียนจึงต้องมีเป้าหมายร่วมกัน มีการกำหนดกรอบอาเซียนโดยถือเป็นทะเบียนสมรสร่วมกันคือกฎบัตรอาเซี่ยน หรือกรอบอาเซียนชาร์เตอร์ เป็นกติกาในการรวมตัวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีผลบังคับใช้ในปี 2551

กฎบัตรอาเซียนที่มีความเกี่ยวข้องกับสังคมประกอบด้วย เคารพสิทธิมนุษยชน เสรีภาพขั้นพื้นฐาน ต้องดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนรุ่นหลังมีทรัพยากรไว้ใช้ มีการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดี การดำรงชัวิต สวัสดิการของประชาชน มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพราะอมื่อรวมกันแล้วต้อดูแลกันด้วย

ในปี 2020 จะมีประชาคมสามประชาคมที่เรียกว่าสามเสาหลัก หนึ่งคือการเมืองกับความมั่นคง สอง เศรษฐกิจ และสามคือสังคมและวัฒนธรรม ประชาคมเศรษฐกิจคือ เออีซี ประชาคมการเมืองและความมั่นคงคือ เอพีเอสซี ประชาคมที่สาม เน้นทั้งเศรษฐกิจ และสังคม คือ เอเอสซีซี เร่งรัดเข้าสู่ในปี 2558 หนึ่งวันวิชั่นหมายถึง 10 รวมเป็นหนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ร่วมกัน และ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

นางชลิดา ทาเจริญศักดิ์  มูลนิธิศักยภาพชุมชนกล่าวว่า ภาคประชาชนได้มีการจัดเวทีคู่ขนานในการจัดกับภาครัฐซึ่งจะมีการจัดเวิร์กช็อป การประชุมปฏิบัติการเล็กๆทีกลุ่มต่างๆมาร่วมเสนอประเด็นของตัวเองออกมา เช่น ปัญหาที่ดิน ปัญหาแรงงาน  ปัญหาเก เลตเบี่ยล คนพิการ เพื่อทำข้อเสนอแล้วนำเสนอต่อรัฐเป็นการพบกันก่อนการประชุมอาเซี่ยน เป็นการเสนอแต่ไม่ผลปฏิบัติกลับออกมาเหมือนการทำเป็นพิธีเท่านั้น รัฐไม่ได้นำข้อเสนอของภาคประชาชนมาปฏิบัติเลย ยกตัวอย่างของรัฐกับภาคประชาชนต่างกันมาก

ในแผนของสังคมวัฒนธรรมได้มีการกล่าวถึงการคุ้มครองทางสังคม แต่พอกลับไปดูในโรดแมบที่รัฐเขียนไว้ในหนังสือ รัฐจะทำเรื่องลดความอยากจน ความปลอดภัยทางสังคม ความมั่นคงทางอาหาร สุขภาพและชีวิต ควบคลุมโรคระบาด เขตปลอดยาเสพติด และต้องการดูแลเรื่องภัยพิบัติ นี้ คือ ความหมายของรัฐในเรื่อง social protection (การคุ้มครองทางสังคม) ซึ่งภาคประชาชนที่เสนอในการประชุมเรื่องการคุ้มครองทางสังคม ไม่ได้เป็นอย่างที่รัฐนำเสนอการคุ้มครองทางสังคมที่ภาคประชาชนนำเสนอเป็นสิทธิประชาชนในการมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ฉะนั้นรัฐต้องมีการสร้างหลักประกัน เรื่องอยู่อาศัย เรื่องสาธารณสุข น้ำไฟต้องมี และมีเรื่องสุขภาพ เรื่องการศึกษาทุกอย่างที่รัฐจัดให้ต้องเป็นเพื่อส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยต้องให้กับทุกกลุ่มทุกคน ไม่มีการเลือกปฏิบัติ คนของประชาชนอาเซียนต้องเป็นสากล ฉะนั้นคนที่ไม่ได้เป็นประชาคมอาเซี่ยน เช่น ผู้หลี่ภัย ผู้ผลัดถิ่น ชนกลุ่มน้อยหรือคนไร้รัฐซึ่งอยู่ใน 10 ประเทศของอาเซี่ยนต้องได้รับการคุ้มครองเหล่านี้ด้วย ตอนนี้ภาคประชาชนยังมีการร่วมกลุ่มกันสร้างเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนเรียกร้องสิทธิต่าง ซึ่งคงต้องใช้เวลา กว่าจะมีการรวมกันได้ก็ใช้เวลาหลายปี ตอนนี้ต้องมีการศึกษาเรื่องทิศทาง และเป้าหมายของรัฐซึ่งต้องค่อยเป็นค่อยไปใช้เวลา และตอนนี้เครือข่ายก็กำลังเติบโตและเข้มแข็ง

นายศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการแรงงาน กล่าวว่า AECคือประชาคมอาเซี่ยน มีสามเสา แต่จะกล่าวถึงเพียงเสาเดียวคือเสาทางเศรษฐกิจที่มีการตั้งงบไปที่การส่งเสริมการลงทุนทางAEC รัฐเน้นเพียงการส่งเสริมทางเศรษฐกิจการลงทุน ลืมกล่าวถึงเสาอื่นๆซึ่งเป็นสองเสาที่สำคัญ การที่เป็นเช่นนี้ หากย้อนไปดูปูมหลังการเกิดขึ้นของประชาคมอาเซี่ยนนั้นเกิดขึ้นในยุคของสงครามเย็นเป็นยุคของความหวาดกลัวคอมมิวนิสต์ และต้องการที่จะให้อเมริกาเข้ามาหนุนหลัง 5 ประเทศที่มารวมกลุ่มกันก็ให้ยึดหลักเสรีนิยม คือให้รัฐถอนตัวทางบทบาททางสังคม ให้ภาคธุรกิจเอกชนเดินไปด้วยตัวเอง ส่งเสริมให้เกิดกลไกตลาดเสรีอย่างเต็มที่ โดยกำเนิดรากฐานเป็นเช่นนั้น

เมื่อสงครามเย็นยุติลงหลังกำแพงเบอร์ลินถูกทำลาย โซเวียตหล่มลง ในประเทศต่างทั่วโลกเหมือนกับยอมสยบให้กับโลกเสรีนิยมนี่คือชัยชนะของโลกทุนนิยมเป็นผู้ประกาศชัยชนะ ในภูมิภาคต่างๆพยายามที่จะมีการรวมตัวกันอย่างกว้างขวาง ในแถบเอเชียก็มีความพยายามที่จะเปิดเสรีทางการค้า เศรษฐกิจเสรีที่เรียกว่าอาฟต้า เกิดเพื่อประกาศชัยชนะของทุนนิยมว่ามีชัยชนะเหนือฝ่ายสังคมนิยมแล้ว และทำให้ระบบความคิดความเชื่อของระบบเป็นไปได้ มีความมั่นคงไม่ใช่เพียงระดับประเทศแต่เป็นระดับภูมิภาค เป็นแนวคิดเศรษฐกิจเสรีที่เป็นปฏิญาที่ล้มเหลวที่ประเทศฝ่ายทุนพยายามที่จะเข้าไปครอบคลุมWTO และพยายามใช้เป็นเครื่องกำหนดกติกา แต่เมื่อถูกต่อต้านก็ได้ลงมาในระดับทวิภาคี พาหุภาคีหรือภูมิภาคที่ตนสามารถกำหนดกลไกต่างๆได้ ท้ายที่สุดอาฟต้าก็พัฒนามาเป็นAEC ตอนที่มีการเคลื่อนไหวที่จะเปิดเศรษฐกิจเสรีอาเซี่ยนเพื่อประกาศชัยชนะใหม่ของทุนนยมใหม่ เสรีนิยมใหม่ หลังรีแกน กับเทสเชอร์

ขบวนการแรงงานในภูมิภาคนี้แม้ว่าจะอ่อนแอ แต่ก็ลุกขึ้นมาตั้งคำถามกรอบที่จะมีกับประชาชน 600 ล้านคนที่ต้องยึดถือต้องปฏิบัติตามนั้นหรือไม่ มีทางเลือกอื่นๆในการดูแลหรือไม่ ทั้งที่จริงมี แต่เขาก็บอกว่าโลกทั้งโลกไม่มีทางแก้ไขมีเส้นทางเดียวที่ไปได้คือเสรีนิยมใหม่ ลดอุปสรรค์ของการค้าการลงทุนให้ฝ่ายทุนสามารถเคลื่อนย้ายทั้งสินค้าการลงทุนต่างๆได้อย่างเต็มที่ลอข้อจำกัดต่างๆรวมถึงมาตรการภาษีต่างๆเพื่อให้ทุนได้ประโยชน์สูงสุดจากการที่จะเคลื่อนย้ายไปในภูมิภาคต่างๆนี่คือปัชญาของระบบทุนเสรีนิยมใหม่ เมื่อเข้าใจปัชญาของระบบนี้จะทำให้รู้ว่าเป็นเรื่องยากที่จะทำให้เกิดความยุติธรรม คำว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เป็นศูนย์กลางของการกดขี่ขูดรีด ซึ่งกรอบนี้เป็นการส่งเสริมระบบทุนให้เข้มแข็ง และคิดว่าการที่มีการแยกเสาต่างๆออกจากกันเป็นการทำให้ขาดการเชื่อมโยงกันเพราะจริงแล้วการพัฒนาเศรษฐกิจต้องมีเรื่องของสังคมด้วย ต้องมีการพัฒนาไปร่วมกัน

หากจำได้ว่าการต่อต้านWTOมีการเรียกร้องเรื่อง social costs (ต้นทุนทางสังคม)คือ การค้าต้องคำนึงถึงประเด็นทางสังคม คำนึงถึงสิทธิ เรื่องแรงงาน สิทธิความเป็นธรรมทางสังคม สิ่งแวดล้อมต้องเป็นเงื่อนไขสำคัญ แต่วันนี้ถูกจับแยกหมดและทำภาพว่ามีเรื่องของวัฒนธรรม เรื่องของสังคม และแรงงาน แท้จริงแล้วเสาที่มีการสนับสนุนจริงจะทำให้เกิดความแข็งแกรงได้ หากมีการจับแบ่งเช่นนี้จะทำให้มีความหวังอะไรจากการเปิดAEC ก็เป็นเพียงความหวังลมๆแร้งๆ เราจะยอมจำนนท์ให้ใครก็ไม่ทราบที่มากำหนด ตัวแทนที่เข้าไปประชุมคือใคร คือรัฐ และรัฐเป็นตัวแทนของใคร เป็นรัฐที่ผ่านระบบเผด็จการมานาน เป็นรัฐที่ฝ่ายทุนมีอำนาจมาเนินนาน แบบเด็ดขาด และตัดสินใจแทนเป็นรัฐที่สะท้อนถึงผลประโยชน์ของทุนเป็นส่วนใหญ่

จาก 10 ประเทศก็จะพบว่าทุนที่เติบโตเป็นทุนในยุคสงครามเย็นทั้งนั้น และมีวัฒนธรรมจารีตแบบสงครามเย็น คือไม่ยอมรับแรงงาน ไม่ยอมรับสิทธิ การมีปากมีเสียงร่วมเพราะว่าเคยชินกับระบบทุนที่มีกลไกรัฐเข้าไปสนับสนุนเผด็จการ มีมาตรการผ่านรัฐเพื่อให้ได้กฎเกณฑ์กติกาด้วยกรอบแบบนี้คงไม่อาจหวังอะไรได้ หากหวังก็คงเพียงตั้งคำถามว่าเวทีคู่ขนานที่หลายคนเข้าร่วมกลายเป็นเพียงปาร์หี่หลอกลวงการมีส่วนร่วมทั้งที่การมีส่วนร่วมจริงๆไม่มี เมื่อกล่าวถึงAEC มักจะถูกเปรียบเทียบกับECในยุโรป ซึ่งเพิ่งได้รางวัลย์โนเบลด้านสิทธิไป ซึ่งเทียบกันไม่ได้เพราะECกล่าวถึงสังคม สิทธิและให้คนในส่วนต่างๆมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และมีขบวนการส่วนร่วมในการตัดสินใจ แต่ในภูมิภาคนี้อาเซี่ยนเป็นก่ารปิดประตูตีแมว ไม่เคยเปิดให้ผู้ใช้แรงงานมีสิทธิมีเสียงมีส่วนร่วมในโลกแห่งความเป็นจริงเพราะมีผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกันระหว่างระบบทุนกับแรงงานโดยธรรมชาติคือต้องมีฝ่ายหนึ่งได้ และอีกฝ่ายต้องเสียประโยชน์ อีกฝ่ายได้มาก อีกฝ่ายก็เสียมาก การที่จะปล่อยให้อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิมีเสียงมีอำนาจในการต่อรอง แรงงานจะหวังอะไรในภูมิภาคนี้

หากดูประสบการณ์ของรัฐเผด็จการในภูมิภาคอาเซียนก็จะมีกลุ่มประเทศเหล่านี้จะไม่ยอมรับเรื่องสิทธิแรงงานมีเพียง 3 ประเทศที่ให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การระหว่างประเทศฉบับที่ 87 และ 98 ที่เหลืออีกหลายประเทศยังไม่ได้ให้สัตยาบัน บางประเทศก็ให้เป็นบางฉบับ ประเทศไทยก็เป็นตัวอย่างที่ไม่ได้มีการให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ

ภาพสะท้อนของรัฐนี้ ในภูมิภาคนี้ไม่เคารพสิทธิ ในระดับอาเซียนก็คงสะท้อนไปในทิศทางเดียวกันจึงเชื่อว่าจะหวังอะไรไม่ได้กับการเปิดเสรีอาเซียน ตนเคยมีส่วนร่วมกับกลุ่มแรงงาน เพื่อให้เกิดเป็นกฎบัตรทางสังคม ก่อนกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)ก่อนนี้ขบวนการแรงงานก็ได้มีการเคลื่อนไหว เป็นขบวนเล็กๆเคลื่อนไหวผลักดัน เกิดเป็นเสา 3 เสา แต่ไม่ได้หล่อด้วยคอนกรีต ไม่ได้เสริมเหล็ก ทำให้เสากวงหมด แล้วจะไปอย่างไรต่อ หากเต้นไปตามเขา เพราะเขาต้องการที่จะลดทอน และส่งเสริมการลงทุนได้ประโยชน์สูงสุด หากทุนเข้มแข็งผลประโยชน์ก็จะตกอยู่กับประชาชน แต่ข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น เพราะปัจจุบันนี้ช่องว่างมันห่างกันมากขึ้น บนความเชื่อของการสร้างทุนระบบเสรีแล้วจะทำให้ประชาชนได้ประโยชน์ แต่ความจริงคือทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยมากขึ้น ที่จะเกิดประโยชน์การประชาชนมากขึ้นภายใต้กลุ่มทุนที่มีการรวมตัวกันเข้มแข็งเป็นเอกภาพมากขึ้น

ภาคแรงงานเองก็ต้องมีการรวมตัวจับมือกันมากขึ้น ทั้งระดับประเทศ และภูมิภาค ถึงแม้จะยังไม่เข้มแข็งมากนักแต่ก็มีการรวมตัวกันหนาแนนมากกว่ากลุ่มอื่นๆมีการสร้างเครือข่ายกันบ้างแม้ว่าจะไม่เข้มแข็งนัก คิดว่าวันหนึ่งคงจะเข้มแข็ง หากอยากจะเปลี่ยนภายใต้กรอบที่เขากำหนดคงไม่ได้ ประโยชน์จะตกกับชนชั้นแรงงาน แต่จริงแล้วผลประโยชน์จะตกอยู่กับทุนที่กดขี่แรงงานมากขึ้น หากจะให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้แรงงานคงต้องเข้าไปเปลี่ยนกรอบเอง ต้องมีการดูแล และผนึกกำลังกันทั้งระดับชาติ และระดับภูมิภาค ซึ่งขณะนี้มีองค์กรแรงงานรวมกันบ้างแล้วเช่น เอเชียตุ๊ก โดยคุณชัยสิทธิ์ สุขสมบูรณ์ เป็นประธานคนแรกขององค์กรแรงงานนี้ โดยมี 3 องค์กรใหญ่ของแรงงาน คือ ยูเอ็นไอ บีดับบิวไอ คนงานก่อสร้างและพีเอสไอ โดยการสนับสนุนของเอฟอีเอส เป็นการทำงานต่อเนื่องจากการเคลื่อนไหวอาเซี่ยนซาตร์เตอร์ พยายามที่จะเข้าไปเจรจาจนได้มีการจดทะเบียนเป็นองค์กร แต่ก็ยังไม่ได้มีการเปิดโอกาสในการเข้าไปเป็นตัวแทนมีส่วนในการตัดสินใจร่วม

สุดท้ายสำหรับพี่น้องผู้ใช้แรงงาน AECที่เขาพยายามให้รับรู้ แต่ไม่เห็นว่าจะให้เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ผู้ใช้แรงงานก็ต้องพยายามที่จะเข้าไป เพราะว่าระบบนี้มีผลกระทบกับเรา เรียนรู้และเข้าไปปรับเปลี่ยน คิดว่าคงหนีไม่พ้นโลกาภิวัตน์ที่มีทั้งระดับภูมิภาค และระดับโลก แต่ว่าโลกาภิวัตน์หากได้เข้าไปปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ มีแนวคิดในการที่จะทวนคืนกลับไปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ขบวนการแรงงาน ขบวนการภาคประชาชนที่เข้มแข็งเพื่อที่จะได้มีส่วนร่วมกำหนดเพื่อที่จะได้ไม่ยอมจำนนท์กับกรอบที่เขากำหนดไว้ เชื่อและปฏิบัติตาม แรงงานคงต้องมีการรวมตัวกันไม่มีทางอื่น ตั้งแต่ระดับชาติ และโลก

ในโอกาสครบรอบ 19 ปีพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม 2555 ทางมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้จัดเสวนาในหัวข้อ AEC ผลกระทบต่อสังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิตแรงงานไทย ณ ห้องประชุมศุภชัย ศรีสติ, พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มักกะสัน