รายการ บ้านฉันวันนี้ : มักกะสันมีประวัติศาสตร์แรงงานไทย(2)

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย (2)  พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย (3)

โมเดลจำลองแรงงานสร้างเจดีย์ เล่าเรื่องแรงงานยุคไพร่ ทาส ก่อนเข้าสู่แรงงานจีนที่อพยพมาทำงานในประเทศไทย นี่อาจนับได้ว่าเป็นแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยยุคแรก ขณะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 แรงงานเชลยสงครามมีส่วนสำคัญในการสร้างสะพานและทางรถไฟ ภาพของแรงงานยุคต่อมาเริ่มชัดเจนมากขึ้นกับการเมื่อระบบอุตสาหกรรมเข้ามา  แต่ปัญหาที่ตามติดก็คือความไม่เป็นธรรมของค่าแรง  สวัสดิการ  ปัญหาเรื่องความปลอดภัย  รวมทั้งการบังคับใช้อย่างทารุณกับแรงงานเด็ก นี่คือเรื่องเล่าในพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยริมถนนมักกะสัน  ที่มีผู้มาเยี่ยมชมศึกษาอย่างต่อเนื่อง

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย (5) snapshot8

ลาเร่  อยู่เป็นสุข // ประธานสหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์

“วันนี้มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยก็เพื่อให้คณะกรรมการได้เรียนรู้…………….”

ประวัติศาสตร์ถูกถ่ายทอดออกไปครั้งแล้วครั้งเล่า  ขณะที่วันนี้พิพิธภัณฑ์ของเหล่าแรงงานก็กำลังตกอยู่ในเครื่องหมายคำถามถึงอนาคต  เมื่อมักกะสันกำลังจะกลายเป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่  ซึ่งหมายความว่าพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยอาจต้องย้ายออกไปจากที่แห่งนี้

พัชรี  ชมภู // คนงานชิ้นส่วนยานยนต์

“ตอนนี้กลายเป็นโบราณสถานไปแล้ว  การพัฒนาหรือการก้าวสู่เทคโนโลยีที่ก้าวขึ้น  คิดว่าพิพิธภัณฑ์นี้ยังคงอยู่”

ลาเร่  อยู่เป็นสุข // ประธานสหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์

“ถ้าเกิดว่าจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำให้พิพิธภัณฑ์ต้องย้ายออกไป  ในส่วนของพี่น้องแรงงานคิดว่าจะร่วมต่อสู้อย่างถึงที่สุด”

เมื่อกาลเวลาผันผ่านแรงงานวันนี้ยังมีส่วนร่วมสำคัญกับกงล้อประวัติศาสตร์แต่สำหรับพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย  พื้นที่บอกเล่าเรื่องราวของแรงงานจะเป็นอย่างไร สังคมควรมีส่วนร่วมตัดสินใจในหน้าบันทึกความทรงจำแห่งมักกะสันเช่นกัน

นักข่าวพลเมืองนักสื่อสารแรงงาน  รายงาน