รัฐมนตรีแรงงาน ยกเรื่อง พิพิธภัณฑ์แรงงาน และการจ้างงานรายชั่วโมงเป็นประเด็นร่วมแก้ปัญหากับกรรมาธิการฯ

 

รัฐมนตรีแรงงาน ร่วมประชุมใหญ่สหภาพแรงงานสยามโตโยต้า ยกเรื่องพิพิธภัณฑ์แรงงาน และการจ้างงานรายชั่วโมง เพื่อแก้ปัญหาร่วมในชั้นกรรมาธิการการแรงงาน ย้ำปัญหาแรงงานมีมากต้องช่วยกัน รัฐต้องดูให้แรงงานได้รับการคุ้มครองไม่ต่ำกว่ากฎหมาย

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2563 สหภาพแรงงานสยามโตโยต้า จัดประชุมใหญ่ประจำปีครั้งที่ 21/2563 ที่เทศบาลบ้านสวน จังหวัดชลบุรี

นายธนัสถา คำมาวงศ์ ประธานสหภาพแรงงานสยามโตโยต้า  กล่าวถึงสถานการณ์วันนี้กระบวนการผลิต ถือเป็นประเด็นปัญหาทั้งการปรับเปลี่ยนด้านเทคโนโลยี สืบเนื่องจากภาวะโลกร้อนการเข้าสู่ยุค 4.0 ที่มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตใช้เทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามา ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงาน ต่อด้วยการระบาดของไวรัสโคโลนา2019 ที่ทำให้ยอดผลิตลดลง คำสั่งซื้อน้อยลง วัตถุดิบในการผลิตไม่สามารถที่จะเข้ามาได้ ซึ่งทางบริษัทได้สอบถามสหภาพแรงงานฯถึงความมั่นคง และถามว่าสมาชิกจะช่วยทางบริษัท หรือดูแลกันอย่างไรเพื่อให้บริษัทดำเนินกิจการไปต่อได้ ซึ่งก็มีการพูดคุยในส่วนของโตโยต้าญี่ปุ่น โดยมีนโยบายในการดูแลแรงงาน จะยังคงสวัสดิการให้กับสมาชิกสหภาพแรงงาน อย่างการตัดแว่นสายตา 4 พันบาท ขอให้ตัดตามความเป็นจริง การรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย เดิมใช้โรงพยาบาลดีๆโรงพยาบาลที่มีราคาสูงในการรักษา จำเป็นต้องใช้ ก็อาจมีระเบียบในการใช้ ที่พูดคุยกัน คืออย่างคนที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งต้องรักษาจำเป็นในการต้องรักษาก็ให้ใช้สิทธิตรงนี้ในการรักษา

การจัดประชุมใหญ่ครั้งนี้อาจมีหลายคนเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายด้วยว่าได้เข้าสู่โครงการเออรี่รีไทม์ออกจากงงาน จึงมีการเฉลิมฉลองกัน

จากนั้นได้เชิญแขกผู้มีเกียรติขึ้นกล่าวบนเวที นายเฉลิมเกียรติ สุวรรณชื่น ผู้อำนวยการโครงการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ กล่าวว่า เราได้เผชิญกับโควิด-19 มาด้วยกันและแรงงานได้มีการปรับเปลี่ยนหลายเรื่อง เพื่อเข้ากับชีวิตความเป็นอยู่ที่สามารถอยู่ด้วยกัน ดีใจที่ในบริษัทเราไม่มีผู้ติดเชื้อแม้แต่คนเดียว และการที่เราสามารถส่งสินค้าถึงมือของลูกค้า และลูกค้ามีความพึงพอใจการปรับเปลี่ยนไม่ใช่การปรับลด

นายสมภพ มาลีแก้ว เจ้าหน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดชลบุรีกล่าวว่า  1 ปีที่ผ่านมามีผลกระทบต่อลูกจ้างจำนวนมากในการที่นายจ้างใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานมาตรา 75 แต่จะมีความสุขหรือไม่ อยู่ด้วยการดูแลกัน หากว่านายจ้างไม่ใช้การดูแลแรงงานที่ดี การจะมาขอความร่วมมือกับลูกจ้างนั้นก็ยาก เมื่อดูแลกันย่อมได้รับความร่วมมือจากลูกจ้างอย่างแน่นอน ซึ่งก็อยากฝากว่า ข้อตกลงที่แย่ยังทำให้อยู่ด้วยกันได้ แต่คำตัดสินและคำชี้ขาดที่ว่าดีอาจทำให้ลูกจ้าง นายจ้างอยู่ร่วมกันได้ยากก็ได้

 

นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าว่า การที่อุตสากรรมยานยนต์ขาลง มีการเปิดโครงการสมัครใจลาออก และจะทำอย่างไรที่จะมีการปรับสกิลให้กับแรงงานกลุ่มนี้ ที่มีสกิลอยู่แล้ว ซึ่งอาจเป็นการทำอุตสาหกรรมการเกษตรการแปรรูปอาหาร ประเด็นที่สองกรณีนักศึกษาจบใหม่ที่ต้องมีการปรับสกิลให้เขาสามาถเข้าสู่การจ้างงาน ซึ่งตอนนี้มีอุตสาหกรรมที่ไม่มีแรงงานในกระบวนการผลิต แต่ว่า แรงงานในอนาคตอาจไม่ได้เข้าสู่ระบบการจ้างงาน แบบเดิมอาจมีการทำงานที่บ้าน ทำงานอิสระมากขึ้น

นายมานิตย์ พรหมการีย์กุล ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การที่อุตสากรรมยานยนต์มีแรงงาน 7 แสนกว่าคน และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกันอีก 8 แสนกว่าคน การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีเดิมเรามองว่า อีก 10 ปี แต่หลังจากการระบาดของโควิด-19 มีการปรับตัวปรับเปลี่ยนเร็วมากในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ แรงงานคงจะหายจากกระบวนการผลิตหลายแสนคนทีเดียว จึงต้งมีการเตรียมตัวในการรีสกิล อัพสกิลใหม่ การเกิดแนวคิดการจ้างงานรายชั่วโมง ที่มีการเสนอมานั้น ไม่สอดคล้องความต้องการ และความเป็นจริง ด้วยค่าจ้างที่เห็นในร่างกฎหมายการจ้างงานรายชั่วโมงนั้น ชั่วโมงละ 45 บาท มันน้อยมาก ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ

ส่วนที่สองคือการใช้นักศึกษาฝึกงานมาทำงานเต็มเวลาแทนลูกจ้างประจำที่เลิกจ้างออกไป อาจต้องมาพูดคุยกันเพื่อแก้ปัญหาตรงนี้ด้วยว่า เด็กควรศึกษาหาความรู้ การให้ทำงานไม่ใช่การฝึกงาน หรือจ้างงาน ซึ่งต้องมีการแก้ปัญหาร่วมกัน ระหว่างภาครัฐ และฝ่ายสหภาพแรงงาน เพราะกฎหมายไม่ด้ดูแลเด็ก หรือการจ้างงานก็ไม่เป็นธรรม

ดร.ภูภาร สมาทา ประธานสหพันธ์แรงงานโตโยต้าประเทศไทย กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมาคงทราบแล้วเรื่องการระบาดโควิดทำให้เกิดการระงับการใช้จ่าย จึงทำให้การที่ยังอยู่กันได้เกือบปกติสุข ต่างกับอีกบางส่วนที่ต้องออกจากงานการถูกเลิกจ้าง ซึ่งทางสหภาพแรงงานได้มองการไกลในการเตรียมตัวให้กับสมาชิกสหภาพแรงงาน ในการที่จะมีอาชีพที่สอง ตอนนี้ทางโตโยต้า เริ่มกระบวนการผลิตเปิดทำงานกะ สองกะ และเริ่มมีการเปิดทำงานโอที(งานล่วงเวลา)ในวันหยุด ซึ่งเราก็ทราบดีอยู่แล้วว่าแรงงานมีค่าจ้างไว้ใช้ โอทีจะเป็นเงินที่ใช้พิเศษต่างจ้างรายได้ปกติ หากมีตรงนี้จะทำให้เกิดการใช้จ่าย และสยามโตโยต้า คือเสาหลักในขบวนการแรงงานในสหพันธ์แรงงานโตโยต้าฯด้วย

นายสรายุทธิ์ อุตมาลา รองประธานสมาพันธ์แรงงานฮอนด้า กล่าาว่า กรณีการระบาดจากไวรัสโคโลนา2019 ที่เกิดขึ้น การปิดกิจการของนายจ้างกับการที่ประกันสังคมรับเอาคนงานที่ถูกนายจ้างปิดงานไปใช้ว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย 62% ตรงนี้คาใจแรงงานอย่างมากว่า เหตุสุดวิสัยตรงไหน และมาช่วงนี้การที่นายจ้างมาให้ลูกจ้างเซ็นต์ยอมรับการปิดงานรับค่าจ้างร้อยละ 50 แทนการรับ 75% อันนี้ภายใต้กฎหมายกำหนด แต่นายจ้างให้ลูกจ้างเซ็นต์ยอมรับ 50%ได้อย่างไร ทำไมรัฐไม่ช่วยดูแลให้นายจ้างทำตามกฎหมาย

คุณกิตติศักดิ์ อธิสกุลทรัพย์ ประธานสมาพันธ์แรงงานเด็นโซ่กล่าวว่า การที่อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากปลายปีที่ผ่านมา ที่มีการนำออโตเมชั่นเข้ามาในกระบวนการผลิต การเปลี่ยนรถจากระบบสันดาปใช้น้ำมันมาเป็นไฟฟ้า และท่ามกลางสงครามของสองมหาอำนาจ จีนกับสหรัฐอเมริกาด้วย การทำงานในกระบวนการผลิตลดลง สร้างผลกระทบกว้างมากขึ้น หลังโควิด-19 อุตสาหกรรมหยุดกระบวนการผลิต และหลายที่ก็เริ่มลดโอทีลง ซึ่งการปรับตัวนี้ทำให้สหภาพแรงงานกับบริษัทเริ่มพูดคุยกันด้วยดีมากขึ้น ตอนนี้บบริษัทเริ่มมีการลดกระบวนการผลิต ซึ่งมีการพูดถึงการลดต้นทุนแล้วไม่กระทบกับสมาชิกสหภาพแรงงาน คือต้องอยู่รอดทั้งสองฝ่าย โดยต้องมีการปรับตัว การทำอาชีพเสริมด้วย

นายอาลี นิมะ ประธานสมาพันธ์แรงงานอีซูซุ กล่าวว่า การที่เราทำงานทั้งความคิด ทั้งแรงงาน มีการแบ่งชนชั้นกันเอง หากดูที่ยุโรปแรงงานทั้งหมด จะอยู่ในชนชั่นเดียวกัน และมีการรวมตัวกันในรูปแบบสหภาพแรงงานเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง หวังว่า สหภาพแรงงานจะรวมตัวกันให้ยิ่งใหญ่

นายวิชัย นราไพบูลย์ กล่าวขอบคุณสหภาพแรงงานที่สนับสนุนพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย แน่นอนอาจเกิดคำถามว่า ทำไมสหภาพแรงงานจึงต้องสนับสนุนพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ด้วยพิพิธภัณฑ์ฯเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้ใช้แรงงาน ประชาชน ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นคนไทย และนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ โดยเปิดให้เข้าเยี่ยมชมและศึกษาฟรี

วันนี้แรงงานภาคภูมิใจที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส.) ที่เป็นผู้ใช้แรงงานเข้าสู่สภาฯ และวันนี้อาจกล่าวได้ว่า มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานที่เป็นลูกจับกัง เป็นจับกังแบกน้ำตาล-ข้าวสาร รับเหมาเป็นกุลี และเคยเป็นแรงงานแบงค์มาก่อน การเข้ามาทำหน้าที่รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน จะนำเข้ามาซึ่งการแก้ไขปัญหาแรงงาน และการร่วมกันเชิดชูคุณค่าของผู้ใช้แรงงาน ด้วยการช่วยกันพัฒนาพิพิธภัณฑ์แรงงานเพื่อการเชิดชูคุณค่าแรงงาน

นายทวีศักดิ์ ทักษิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.ปีกแรงงาน) พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ตนได้ก้าวมาเป็นสส.นั้น เดิมก็เป็นสหภาพแรงงาน ทำหน้าที่เหมือนกับสมาชิกสหภาพแรงงาน เป็นแรงงานในสถานประกอบการเช่นกัน เมื่อทำหน้าที่สหภาพแรงงานก็เรียกร้องสวัสดิการที่ดีๆให้กับแรงงานทุกท่าน และสวัสดิการยังอยู่ในสถานประกอบการ วันนี้การที่ก้าวเข้ามาเป็นสส.เราก็อยากเห็นสวัสดิการดีๆนี้ครอบคลุมแรงงานทั้งประเทศ หรือไม่เท่าก็ต้องเกือบเที่ยบเท่า คือต้องดีกว่าเก่า ซึ่งต้องฝันร่วมกัน ช่วยกันให้ถึงฝันนั้นด้วยกัน

นายสุเทพ อู่อ่น ประธานกรรมาธิการ การแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร สส.ปีกแรงงาน พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ในฐานะผู้ใช้แรงงาน ผู้นำสหภาพแรงงาน และได้รับเกียรติเป็นผู้แทนราษฏร ถือเป็นโอกาสรับใช้ประชาชน หลังปี 2562 เศรษฐกิจเริ่มชลอตัว และต้นปี2563 ที่กระทบหนักหลังการระบาดของโควิด ทำให้กระทบกับแรงงานหนักหน่วงมาก การที่ตนได้มีโอกาสมาทำงานในสภาฯ จะทำงานเพื่อแรงงานไม่ว่าจะเป็นแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานต่างด้าว เพื่อการคุ้มครองแรงงานที่มีด้านสวัสดิการประกันสังคม แรงงานในระบบ และแรงงานนอกระบบบางส่วน ที่ได้รับการดูแล การที่ประเทศเข้าสู่สังคมสูงวัย การมีบำนาญชราภาพมีความจำเป็นต้องมีเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งวันนี้แรงงานในระบบมีบำนาญชราภาพที่มาจากประกันสังคม แต่แรงงานนอกระบบ ซึ่งเป็นแรงงานกลุ่มใหญ่ยังไม่มี ต้องมาช่วยกันพัฒนาระบบสวัสดิการให้ครอบคลุม ก้าวต่อไปที่ตั้งทำคือความมั่นคงต่อผู้ใช้แรงงาน ทุกคน และการทำงานของสหภาพแรงงานนั้นต้องทำทั้งภายในและภายนอก

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.แรงงาน) กล่าวว่า การที่มาจากพรรคการเมืองที่ต่างกันกับสส.แรงงาน แต่ว่า ได้ทำงานร่วมกันในชั้นกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร และหวังว่า วันนี้ได้มามีอำนาจที่สูงขึ้น จะแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้แรงงาน ซึ่งกรณีกฎหมายที่กระทบแรงงานจะยังไม่ลงมือทำ อย่างเช่น ประเด็นการจ้างงานรายชั่วโมงซึ่งแรงงานมองว่ากระทบต่อคุณภาพชีวิตแรงงาน และเรื่องที่สองคือ เรื่องของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ไม่เข้าใจทำไมจึงไม่เจ้าหน้าที่รัฐไม่ไปดูแล และอยากให้มีการยื่นข้อเสนอมา เพื่อที่จะได้นำเรื่องมาพูดคุยกันว่าจะแก้ปัญหาร่วมกัน เนื่องจากได้ฟังจากท่านประธานกรรมาธิการ การแรงงาน เรื่องปัญหาพิพิธภัณพ์แรงงานไทย ที่งเรื่องงบประมาณ เรื่องสถานที่ที่อาจมีปัญหาหากมีการสร้างรถไฟความเร็วสูง  ปัญหาความมั่นคงในการจ้างงาน หลายปัญหา ให้ส่งเรื่องมาได้ หรือส่ไปที่ประธานกรรมาธิการการแรงงาน และตนจะเข้าไปชี้แจงกับทางกรรมาธิการฯ นำเรื่องการจ้างงานรายชั้วโมง และเรื่องพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เข้าที่ประชุม แล้วตนจะเข้าไปชี้แจง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา

ประเด็นที่ไม่มีการบังคับใช้กฎหมายในประเด็นที่นายจ้างมีการเลือกปฏิบัติจิ่มให้ลูกจ้างไปใช้เงินประกันสังคม 62% อ้างเหตุสุดวิสัยจากโควิด-19 การปิดงานจ่าย50% ต้องขอให้สวัสดิการแรงงานจังหวัดไปทำให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย อย่าปล่อยให้เกิดการเอาเปรียบแรงงานทางด้านกฎหมาย ซึ่งกรณีประกันสังคมนั้นนิยามมีสองเรื่องคือ ป้องกัน และรักษา ไม่ใช่เน้นรักษาอย่างเดียว ต้องมีแนวคิดเชิงป้องกันด้วย หลักประกันสุขภาพมีการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่กับประชาชน แต่สปส.กลับไม่มีตรงนี้ ซึ่งควรต้องมีในกลุ่มของแรงงานอายุ 65 ปีลงมาให้ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญด้วย ขอให้ผู้ประชุมเข้าใจการทำงานของสส.แรงงานที่ต้องทำหน้าที่กับประชนทั่วประเทศด้วย

ต่อมาเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2563 ในเวทีการจัดสัมมนา เรื่อง การส่งเสริมความร่วมมือในการดำเนินการตามภารกิจขององค์กรระหว่าง คณะกรรมาธิการการแรงงานกับกระทรวงแรงงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างภาวะสันติสุขในสังคม อุตสาหกรรมของประเทศในทุกมิติในจังหวัดพื้นที่เสี่ยง และเขตกรุงเทพมหานคร ของกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร นายมานิตย์ พรหมการีย์กุล รองประธาน ร่วมกับกรรมการพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ได้ยื่นหนังสือเรื่อง ขอการสนับสนุนและช่วยเหลือพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ให้กับนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนายสุเทพ อู่อ่น ประธานกรรมาธิการการแรงงานสภาผู้แทนราษฎร

ด้วยพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย อันเป็นสถานที่เชิงสัญลักษณ์แห่งคุณค่าและความภาคภูมิใจของผู้ใช้แรงงานในประเทศไทย กำลังอยู่ในสถานการณ์ยากลำบากที่อาจทำให้ไม่สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้จากปัญหาเรื่องสถานที่ตั้งอันเนื่องมาจากแผนการพัฒนาพื้นที่มักกะสันของภาครัฐ และปัญหาในด้านการขาดแคลนงบประมาณในการดำเนินงานอันเนื่องมาจากการขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ

พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยนั้นก่อตั้งและเปิดดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2536 จนปัจจุบันกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ปรากฏอยู่ในแผนที่ท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งยังเป็นสถานศึกษาด้านประวัติศาสตร์แรงงานแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีสถาบันการศึกษามากกว่า 20 แห่งส่งนักเรียนนักศึกษามาศึกษาเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับแรงงาน

ในช่วงแรกๆ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยก่อตั้งขึ้นมาด้วยความร่วมแรงร่วมใจขององค์กรแรงงานและนักวิชาการโดยมีหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุน เช่น กระทรวงคมนาคมให้ใช้พื้นที่และอาคารของการรถไฟฯเป็นที่จัดทำพิพิธภัณฑ์ และกระทรวงแรงงานมอบเงินสนับสนุนการดำเนินงาน

ต่อมาในช่วงปี 2548 พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้รับผลกระทบเรื่องสถานที่ตั้งจากโครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์จนมีการนำเรื่องเข้าสู่คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งในที่สุดได้มีมติให้มีการอนุรักษ์พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยโดยให้การรถไฟช่วยปรับปรุงพื้นที่ให้ จนกระทั่งปลายปี 2562 มีการลงนามโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินซึ่งมีแผนการพัฒนาพื้นที่มักกะสันด้วย จึงทำให้เกิดผลกระทบในด้านความไม่ชัดเจนในเรื่องสถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

นอกจากนั้น พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยยังประสบกับปัญหาเรื่องทุนดำเนินงานเพราะมีรายได้จากการรับบริจาคเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถรองรับภารกิจที่เพิ่มมากขึ้นได้ ทั้งในเรื่องการบริการนักท่องเที่ยว นักเรียน นักศึกษาให้ได้รับความสะดวก และเรื่องให้การศึกษาฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพผู้นำแรงงาน โดยที่ผ่านมาได้มีการทำเรื่องขอการสนับสนุนจากกระทรวงแรงงาน แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีบ่อยครั้งทำให้เรื่องขอการสนับสนุนยังไม่ได้รับการพิจารณา (เอกสาร 10)

ดังนั้น เพื่อให้พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย อันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและศึกษาเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์แรงงานที่สำคัญของสังคมไทย อีกทั้งยังเป็นสถานที่สัญลักษณ์แห่งคุณค่าที่ผู้ใช้แรงงานและขบวนการแรงงานภาคภูมิใจสามารถดำรงอยู่ได้ต่อไปอย่างมั่นคง ซึ่งไม่เพียงจะเกิดประโยชน์ต่อฝ่ายแรงงานเท่านั้น ยังจะเกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยในด้านการศึกษาและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีในด้านการท่องเที่ยวด้วย

จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์ในการดำเนินการให้การรถไฟฯภายใต้การกำกับของกระทรวงคมนาคมให้ความชัดเจนในการสนับสนุนเรื่องอาคารสถานที่ของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย และให้กระทรวงแรงงานในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านแรงงานช่วยสนับสนุนด้านงบประมาณในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียดเพื่อขอการสนับสนุนดังนี้

  1. ขอให้กระทรวงคมนาคมโดยการรถไฟฯ กำหนดพื้นที่สำหรับจัดทำพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยใน

แผนพัฒนาพื้นที่ให้ชัดเจน และช่วยปรับปรุงพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยให้เกิดความพร้อมในการให้บริการต่อสังคมได้อย่างมีคุณภาพ

  1. ขอให้กระทรวงแรงงานสนับสนุนงบประมาณประจำปี จำนวนปีละ 4 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยให้สามารถดำเนินกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้แรงงานและสาธารณชนได้อย่างครอบคลุม มีประสิทธิภาพ และมีความมั่นคง โดยแบ่งเป็น
    • งบบริหารจัดการ 1.5 ล้านบาท ประกอบด้วย การจัดจ้างเจ้าหน้าที่, ค่าสาธารณูปโภค และค่าใช้จ่ายสำนักงาน
    • งบจัดกิจกรรม 2.5 ล้านบาท ประกอบด้วย การบำรุงรักษาสถานที่และสิ่งของจัดแสดง, การจัดนิทรรศการหมุนเวียน, การจัดพิพิธภัณฑ์สัญจร และการทำงานเชิงสถาบันแรงงานด้านการศึกษา ค้นคว้าวิจัยและฝึกอบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพนักสหภาพแรงงาน

ทั้งนี้ในนามของประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์ นายมานิตย์ ยังยื่นหนังสือเรื่อง ขอให้หยุดการแก้กฎหมาย การจ้างงานรายชั่วโมง อันอาจส่งผลต่อการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม และทำให้ลูกจ้างไม่มีคุณภาพชีวิตที่ดีเนื่องจากรายได้ต่ำ ไม่มีสวัสดิการ และยังส่งผลให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบต่อผู้ใช้แรงงานเพิ่มขึ้นด้วย