รัฐมนตรีแรงงานหลบแถลงผลงานปี 58 สั่งอธิบดีรับหน้าแก้ปัญหาแรงงาน

 1451098899362

คสรท.นำแรงงานร้องทุกข์ ถูกนายจ้างปิดงานระหว่างเจรจาข้อเรียกร้อง อีกสหภาพถูกเลิกจ้าง ก่อนรับโบนัส ด้านนิคมอุตสาหกรรมขอศาลสั่งให้คนงานออกนอกสถานที่ไม่อนุญาตให้ชุมนุม

วันที่ 25 ธันวาคม 2558 ที่กระทรวงแรงงานได้มีกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ประสบปัญหาข้อพิพาทแรงงาน และถูกนายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรมราว 30 คนจาก 3 บริษัท ประกอบด้วย ลูกจ้างบริษัทซันโค โกเซ เทคโนโลยี ประเทศไทย จำกัด ลูกจ้างบริษัทโตโยต้า โกเซ ประเทศไทย (ประเทศไทย) จำกัด และลูกจ้างบริษัท ฟูจิทรานส์ประเทศไทย (จำกัด) ซึ่งนำโดยนางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) โดย มีอธิบดีกรมสวัสดิการ กระทรวงแรงงาน มารับเรื่อง แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคสรท. กล่าวว่าขณะนี้ปัญหาแรงงานที่มีข้อพิพาทแรงงานจนถูกนายจ้างปิดงาน ของสหภาพแรงงานซันโคโกเซ ประเทศไทย เนื่องจากการเจรจาไกล่เกลี่ยยังไม่คืบหน้า ด้วยนายจ้างยังยืนยันข้อเสนอเดิม คือโบนัส 0.6 เดือน บวกเงินพิเศษ 500 บาท และปรับค่าจ้างค่าจ้างประจำปีร้อยละ 1 บวกเงินบวกพิเศษ 70 บาท ให้กับพนักงานทุกคน ซึ้งหากดูเรื่องข้อมูลที่สหภาพแรงงานได้ทำข้อมูลมาตามงบดุลบริษัทนั้นแม้ว่าดูจะขาดทุน 45,521,074 บาท แต่บริษัทกลับมีสินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มขึ้น กว่า46,238,538 บาท มีเงินชำระหนี้กว่า100,552,883 บาท การขาดทุนของบริษัทคือการนำเงินไปลงทุนเพิ่ม จึงสรุปว่าบริษัทมีผลกำไร กว่า 100 ล้านบาท การที่ลูกจ้างต้องการขวัญกำลังใจโดยเสนอโบนัส 50,000 บาทเท่ากันทุกคนโดยการแบ่งจ่าย 2 งวด และเสนอปรับขึ้นค่าจ้างประจำปี 500 บาทเท่ากันทุกคน โดยเสนอให้บริษัทมีการแบ่งจ่าย จึงเป็นความรู้สึกว่า การทำงานแต่ละงวดคือการสร้างผลกำไร การทำงานล่วงเวลาในการผลิตเพื่อพัฒนาบริษัทให้เกิดผลกำไรและมีการแบ่งปันกำไรเพียงน้อยนิดในการตอบสนองเพื่อเป็นขวัญกำลังใจกับลูกจ้างเท่านั้น ข้อเสนอที่นายจ้างเสนอนั้นควรจะเหมาะสมเพื่อสร้างขวัญกำลังใจกับลูกจ้างซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการผลิต เพื่อสร้างผลผลิตและกำไร
1451098955010
ด้านตัวแทนสหภาพแรงงานซันโกโคเซฯ เล่าว่า นายจ้างได้ประกาศปิดงานสหภาพแรงงานกว่า 600 คน เพื่อไม่ให้ทำงานจนกว่าจะตกลงกันได้ ซึ่งตอนนี้สหภาพแรงงานได้ขออนุญาตชุมนุมเพื่อรอการเจรจากับนายจ้าง แต่ปัจจุบันนี้นายจ้างได้นำลูกจ้างบริษัทเหมาค่าแรงเข้ามาทำการผลิตในบริษัทในช่วงที่ปิดงานด้วย เป็นอำนาจการต่อรองที่นายจ้างใช้เป็นกลยุทธ์ในการผลิตสินค้า หลังปิดงานลูกจ้างประจำซึ่งดูไม่เป็นธรรมกับลูกจ้างอย่างพวกเราที่ทุ้มเททำงานมานาน ข้อเสนอก็เป็นเพียงการแบ่งปันผลกำไรเพียงน้อยนิด และยังเสนอให้มีการแบ่งจ่ายเป็นงวด เนื่องจากคนทำงานก็ต้องการขวัญกำลังใจจากเงินรางวัลย์ในช่วงปีใหม่ ซึ่งนายจ้างได้นัดเจรจาอีกครั้งวันที่ 29 ธันวาคม 2558 ที่บริษัทฯ
ด้านกรณีของสหภาพผลิตยานยนต์ไทย นายสัพพัญญู งามไทยสง ประธานสหภาพแรงงานฯ กล่าวว่า ประเด็นปัญก็ไม่ต่างกับสหภาพซันโคโกเซฯ คือการเรียกร้องค่าจ้าง และสวัสดิการ แต่นายจ้างยังไม่ได้มีการปิดงาน แต่สหภาพแรงงานได้จัดประชุมและขอมตินัดหยุดงานไว้แล้ว สภาพการจ้างงานที่นายจ้างใช้ในการจ้างงานเดิมมีการจ้างงานลูกจ้างชั่วคราวและเหมาค่าแรงมาทำ แต่เมื่อมีการเรียกร้องจากสหภาพให้มีการดูแลลูกจ้างเหมาค่าแรงด้านสวัสดิการและให้มีการรับเข้าเป็นลูกจ้างประจำนายจ้างกลับมีการส่งคืนลูกจ้างเหมาค่าแรงกับบริษัทเหมาค่าแรง และตอนนี้มีการจ้างแรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานแทน ซึ่งขณะนี้การเจรจาพูดคุยยังไม่สามารถตกลงกันได้และมีความยืดเยื้อออกไป ซึ่งนีดเจรจาอีกครั้งหลังปีใหมาแล้ว
1451098979977
กรณีต่อมาคือการเลิกจ้างสหภาพแรงงานฟูจิทรานส์ (ประเทศไทย) นายสมพร ขวัญเนตร เลขาธิการกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก กล่าวว่า เมื่อวันที่ 21-23 ธันวาคม 2558 นายจ้างบริษัทฟูจิทรานส์ประเทศไทย (จำกัด) ได้เรียกลูกจ้างเข้าไปเพื่อบอกเลิกสัญญาจ้างจำนวน 23 คน โดยให้เหตุผลว่าไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน หรือทำงานไม่ได้ตามมาตรฐานกำหนด ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งเกตุผลดังกล่าวนั้นทางลูกจ้างมองว่าบริษัทไม่เคยแจ้งให้ทราบกรือมีการตักเตือนเลย สหภาพแรงงานจึงมีการทำหนังสือคัดค้านการเลิกจ้างแล้วเมื่อวันที่ 21 ธันวาคมแล้ว
ด้านตัวแทนสหภาพแรงงานเล่าว่า บริษัทได้นัดลูกจ้างให้มารับเงินค่าชดเชย ค่าจัาง และค่าบอกกล่าวล่วงหน้าแล้วเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2558 ที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี ซึ่งลูกจ้างได้เซ็นรับเงินดังกล่าวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ประนอมแล้ว แต่ลูกจ้างคิดว่าลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะเป็นช่วงที่นายจ้างต้องจ่ายโบนัสประจำปีให้กับลูกจ้างตามที่มีการตกลงตามสภาพการจ้าง ซึ่งจกลงกันไว้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2558นี้ โดยนายจ้างจะจ่ายเป็นงวดการจ่ายประจำเดือนปฏิทินวันที่ 25 ธันวาคม 2558 แต่มามีการเลิกจ้างเสียก่อน
1451098932123
ทั้งนี้ในวันเดียวกันได้มีหมายศาลจังหวัดระยอง ด้วยบริษัทอิสเทรอน ซีบอร์ด อินดัสเตรียล เอสเดท (ระยอง)จำกัด โจทย์ได้ยื่นขออำนาจศาลให้รื้อถอนเต็นท์ ห้องน้ำสอ่งปลูกสร้างต่าง ออกจากพื้นที่ถนน ทางเท้า ในนิคมอุตสาหกรรมฯส่งผลให้คนงานต้องยุติการชุมนุมชั่วคราว
ด้านกระทรวงแรงงาน อธิบดีกรรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้รับหนังสือและรับปากในการที่จะเสนอปัญหาของแรงงานในการแก้ไขโดยด่วน เพื่อให้นายจ้างรับคนงานกลับเข้าทำงาน และให้มีการตรวจบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กรณีการจ้างงานรับเหมาช่วงเหมาค่าแรงขณะนี้
ข่าวจาก เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่าพล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แถลงผลงานในรอบ 1 ปี ว่า การทำงานในอดีตที่ผ่านมา มีปัญหาในเชิงโครงสร้าง เรื่องกฎหมาย รวมทั้งการประสานงานกับต่างประเทศ ในการขับเคลื่อนงาน ซึ่งกระทรวงแรงงานได้บูรณาการกับหน่วยงานต่างๆเพื่อปฏิรูปแรงงานตามนโยบายของคสช. แก้ปัญหาการค้ามนุษย์ แรงงานที่ลักลอบหลบหนีเข้าเมือง โดยตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการแรงงานต่างด้าว (กนร.) และคณะอนุกรรมการประสานงานด้านการจัดการ เพื่อเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาต่างๆให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ มีการเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว 3สัญชาติให้เข้าสู่ระบบอย่างถูกต้อง 1.6 ล้านคน รวมทั้งบังคับใช้กฎหมายห้ามใช้แรงงานเด็นอายุต่ำกว่า 15 ปี อย่างเข้มข้นทำให้ไทยได้รับการปรับระดับในการประเมินการแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็กที่ได้รับความสำเร็จมาก นอกจากนั้นได้ออกกฎหมายจดทะเบียนแรงงานประมงใน 22 จังหวัดชายฝั่งทะเล ได้กว่า 40,000 คน และอยู่ระหว่างการดำเนินการจดทะเบียนครั้งที่ 2 มีการร่วมมือการตรวจร่วม ที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออก ของเรือประมง จำนวน 28 ศูนย์ มีชุดตรวจปฏิบัติการ ชุดตรวจเฉพาะกิจ เพื่อรวจสอบการใช้แรงงานต่างด้าว และมีการจัดตั้งศูนย์วันสต็อป เซอร์วิส เพื่อสนับสนุนการดำเนินการในเขตเศรษฐฏิจพิเศษให้แรงงานสามารถเดินทางไปกลับหรือตามฤดูกาลทำงาน กว่า 3,500 คน 

พล.อ.ศิริชัย กล่าวว่า กระทรวงแรงงานยังดำเนินการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยแก้ไขพ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับใหม่ เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่างๆให้กับประชาชน มีการสร้างอาชีพ โดยตั้งศูนย์สมาร์ท จ็อบ เซ็นเตอร์ ในการให้บริหารจัดหางานเพื่อคนไทย ซึ่งขณะนี้มีประชาชนได้รับการบรรจุแล้วกว่า 14,200 คน สร้างรายได้กว่า 127 ล้านบาทต่อครัวเรือนห และจะขยายศูนย์ดังกล่าวให้ครอบคลุมทั่วประเทศ นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาฝีมือแรงงานกว่า 77,000 คน และเพิ่มศักยภาพแรงงานในสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม 260 แห่ง อย่างไรก็ตามกระทรวงแรงงานได้พัฒนาแอพลิเคชัน เป็นช่องทางสำหรับผู้ใช้แรงงานให้รับรู้ข่าวสารแรงงานได้อย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองคนทำงาน ผ่านทางอุปกรณ์สมาร์ทโฟนต่างๆ อีกด้วย

นักสิ่อสารแรงงาน รายงาน