รมว.แรงงานชี้ รับรองอนุสัญญาไอแอลโอ 87และ98 ต้องรอสปช.พิจารณา

FB_IMG_13811181328677034

รมว.แรงงาน เผย การรับรองอนุสัญญาไอแอลโอ ฉบับที่ 87และ98 ต้องรอการพิจารณาของสปช.ด้านประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานฯ เรียกร้องนายจ้าง หยุดกีดกันการตั้งสหภาพแรงงาน เชื่อเป็นกลไกที่ดีในสถานประกอบการ ส่วนที่ปรึกษารัฐมนตรีฯ แนะนายจ้างลูกจ้างปรับทัศนคติตนเอง เพื่อสร้างแรงบรรดาลใจในการทำงานร่วมกัน ให้เกิดความก้าวหน้า ผู้นำแรงงานคสรท.เรียกร้องให้รับอนุสัญญาไแแอโอ ฉบับที่87และ98

วานนี้ (24 ธ.ค.57) สำนักแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้จัดเวทีสัมมนา การสร้างความตระหนักรู้ในสิทธิการรวมตัวและเจรจาต่อรองเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ

นักข่าวกระทรวงแรงงานรายงานว่า พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.) กล่าวว่า อยากให้นายจ้างลูกจ้างเปิดใจพูดคุยกันมากขึ้น เมื่อเกิดปัญหาจะได้สอบถามข้อเท็จได้อย่างไม่ระแวงซึ่งกันและกัน ทั้งนี้อยากเห็นบริษัทที่มีระบบการจัดการที่ดี ในการยื่นข้อเรียกร้อง เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างให้บริษัทอื่นๆ และหากเกิดข้อพิพาทในสถานประกอบการ อยากให้มีการทำงานเชิงรุก โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเร่งเข้าไปเจรจาไกล่เกลี่ย ให้มีข้อยุติโดยเร็วก่อนปัญหาจะลุกลาม อีกทั้งมาตรฐานของแรงงานไทยควรเป็นมาตรฐานสากลไม่ใช่มาตรฐานของไทยเท่านั้น ส่วนการรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอแอลโอ ฉบับที่ 87 และ98 ว่าสิทธิการรวมตัวและเจรจาต่อรองนั้น จะมีความชัดเจนหลังการหารือของสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.)ที่กำลังนำเรื่องนี้มาพิจารณา

เฟซบ้าวิ

ดร.นพดล กรรณิกา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวในการเสวนา นายจ้างลูกจ้าง เอื้ออาทร ร่วมแบ่งปัน สร้างสรรค์สังคมไทย ว่า รัฐบาลอยากเห็นสังคมไทย และคนไทย มีความเอื้ออาทรต่อกัน ซึ่งนายจ้างลูกจ้างไม่ควรแบ่งฝ่าย เพื่อให้มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ในการสร้างความมั่นคงให้กับสถานประกอบการ โดยต้องเริ่มปรับทัศนคติเชิงลบของตนเอง ให้มองเชิงบวกมากขึ้น เพื่อสร้างจุดแข็ง และโอกาส ให้กับตนเอง เพื่อสร้างแรงบรรดาลใจในการทำงานและแก้ปัญหา ทั้งนี้เห็นด้วยกับการรวมตัวของทั้งนายจ้างและลูกจ้างให้เป็นหนึ่งเดียวในสถานประกอบการ เพื่อส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าร่วมกัน

นายชิณโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทยกล่าวว่า นายจ้างและลูกจ้าง ต้องอยู่ร่วมกันโดยนึกถึงอนาคต ในการนำระบบแรงงานสัมพันธ์ และระบบคุณธรรม ไปใช้ในการทำงานร่วมกัน เพื่อให้การทำงานราบรื่น มีผลกำไร และผลตอบแทนที่ดี ซึ่งจะส่งผลดีต่อบรรยากาศการลงทุน มีนักลงทุนมาลงทุนในไทยมากขึ้น แต่หากมีปัญหาข้อพิพาทแรงงานจนเกิดการชุมนุม จะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของนักลงทุน พร้อมเรียกร้องให้นายจ้างเลิกกีดกันการจัดตั้งสหภาพแรงงานในสถานประกอบการ เพราะสหภาพแรงงานคือกลไกลที่ดีในการผลิตของโรงงาน หากเกิดข้อพิพาทแรงงาน และทั้งสองฝ่ายไม่หาความพอดีร่วมกัน สุดท้ายแล้วลูกจ้างก็จะเป็นผู้แพ้ในการเรียกร้อง เพราะหลายปัจจัย อาทิ กฎหมาย และกำลังทรัพย์ในการต่อสู้ นอกจากนี้สภาพปัญหาแท้จริงของลูกจ้างไทยในปัจจุบันมีปัญหามากมาย อนาคตไม่ค่อยมั่นคง โดยเฉพาะการจ้างลูกจ้างซับคอนแทรคที่มีอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ที่เสมือนการค้ามนุษย์ เพราะระบบการทำงานที่ไม่ถาวร และขาดความมั่นคง

เฟซป้าวิวิไลวรรณ

นายสุวรรณ สุขประเสริฐ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย กล่าวว่า นายจ้างลูกจ้างไม่ควรแยกฝ่าย เพราะทั้งหมดคือคนไทย ทั้งนี้การเกิดขึ้นของสหภาพแรงงาน เนื่องจากนายจ้างที่ปฎิบัติไม่ถูกต้อง ซึ่งนายจ้างลูกจ้างไม่ควรเป็นคู่แข่งกัน เพราะการปฎิบัติงานในโรงงานต้องพึ่งพาอาศัยกัน พร้อมยืนยัน สภาองค์การนายจ้างฯพยายามผลักดันให้นำลูกจ้างซับคอนแทรคมาเป็นลูกจ้างประจำ เพื่อให้คำนวนค่าจ้าง และสวัสดิการต่างๆสะดวกขึ้น ส่วนการจ้างลูกจ้างไทยน้อยลงนั้น นายจ้างต้องช่วยกันหันมาจ้างแรงงานไทยมากขึ้น นอกจากนี้มองว่าการจ่ายเงินพิเศษประจำปี หรือโบนัส ควรมีการเปิดใจพูดคุยกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างตั้งแต่ต้นปี เพื่อป้องกันเกิดปัญหาการยื่นข้อเรียกร้องในช่วงสิ้นปี ส่วนสาเหตุการทำงานล่วงเวลา แต่ไม่มีผลกำไรนั้น เนื่องจากนายจ้างต้องเร่งผลิตสินค้าให้ทันตามระยะเวลาที่กำหนด แนะลูกจ้างและคนหางานอย่าเลือกงาน ขณะเดียวกันเชื่อว่านายจ้างยอมจ่ายค่าจ้างสูงกว่า300 บาทให้กับแรงงานไทย เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ มากกว่าการจ้างแรงงานต่างด้าวที่ต้องใช้เวลาในการสื่อสารและการเรียนรู้งาน

ด้านน.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้แสดงความคิดเห็นว่า อยากเรียกร้องให้ลูกจ้างได้เข้าถึงสิทธิต่างๆตามกฎหมาย เนื่องจากนายจ้างไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้ได้ผลกำไรมากที่สุด พร้อมยืนยันความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดจากลูกจ้างทั้งหมด หากนายจ้างปฎิบัติตามกฎหมาย จัดสวัสดิการที่ดี ก็จะได้รับความจริงใจจากลูกจ้างในการทำงานและรักในองค์กร ขณะเดียวกันนายจ้างบางสถานประกอบการยังมีทัศนคติที่ไม่ดีกับลูกจ้าง เพราะมองลูกจ้างเป็นเพียงคนทำงาน ทั้งนี้สิทธิการรวมตัว และเจรจาต่อรองเกิดขึ้นได้ยาก เพราะนายจ้างไม่ยอมรับสหภาพแรงงาน ทั้งนี้ขอให้ส่งเสริมการรวมตัวและเจรจาต่อรอง โดยการรับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอแอลโอ ฉบับที่ 87 และ98 ว่าด้วยสิทธิการรวมตัวและเจรจาต่อรอง เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของลูกจ้าง

//////////////////