พ.ร.บ.ประกันสังคมผ่านมติสมัชชาปฏิรูปประเทศ

เมื่อวันที่ 30 มี.ค.55 – 1เม.ย.55 มีการจัดงานสมัชชาปฏิรูปประเทศไทยระดับชาติ ครั้งที่ 2โดยประเด็นหลักของสมัชชาปฏิรูปคือ” เพิ่มพลังพลเมือง สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ” ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯมีความเป็นมาของสมัชชาปฎิรูประดับชาติ คือ การปฎิรูปประเทศไทย เป็นเรื่องทีจำเป็นต้องสร้างขบวนการเรียนรู้ และทำความเข้าใจในสถานการณ์ ปัญหาเชิงระบบที่ซับซ้อน (Complex System)และมีความโกลาหล การชักชวนคนไทย ให้มาร่วมกันสร้าง จินตนาการใหม่ หรือสัมมาทัศนะใหม่ เพื่อให้เห็นทิศทางการพัฒนาไปสู่ประเทศไทยที่น่าอยู่ บนฐานความดี ความงาน ความเข็มแข็ง ความพอเพียง ความสมดุลและสันติภาพ จะทำให้การปฎิรูปประเทศไทยสามารถ สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ เคารพยอมรับในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพื่อประโยชน์สุขและความมั่นคงในชิวิตของประชาชนทุกกลุ่มฝ่ายอย่างแท้จริง เพื่อให้การดำเนินงานขับเคลื่อนการปฎิรูปเชิงระบบ และโครงสร้างต่างๆดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชนและชุมชน ภาคธุรกิจ ภาควิชาการ และภาครัฐ จึงได้มีการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฎิรูป พ.ศ.2553 โดยอาศัยอำนาจตามความมาตรา11(8)แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี 172/2553 แต่วตั้งศาสตราจารย์ประเวศ วะสี เป็นประธานสมัชชาปฎิรูปฯ 

การจัดงานในครั้งนี้ด้รับการสนับสนุนให้มีกระบวนการทางด้านวิชาการและการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยมีร่างข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับนำเข้าสู่งานสมัชชาปฎิรูประดับชาติ รวมถึงการพัฒนารูปแบบและแนวทางการมีส่วนร่วมของเครือข่ายต่างๆอย่างเป็นระบบ ผู้เข้าร่วมงานสมัชชาฯมีจำนวน 2,000 กว่าคน โดยมีสมาชิก 1,200  คน ประกอบด้วย กลุ่มเครือข่ายพื้นที่ต่างๆ จำนวน 234 กลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ 200 คน ผู้สังเกตุการณ์ และประชาชนทั่วไป นอกเหนือจากนี้ยังจัดให้มีส่วนร่วมจากการเปิดตลาดนัดปฎิรูป มีการจัดแสดงกิจกรรมภาคพื้นบ้านจากหลายพื้นที่ให้ผู้เข้าร่วมงานได้ชม และได้ความรู้และเรียนรู้

นพ.ชูชัย ศุภวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกล่าวว่า หลังจากที่ประชุมลงมติทางคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปจะนำมติดังกล่าวไปทำแผนที่เส้นทางเดิน โดยเน้นมติที่สำคัญ มติเร่งด่วน เพื่อประชุมครั้งหน้าจะทำเป็นแผนแบบเข้มข้นในภาครัฐ

ดร.วณี ปิ่นประทีป รองผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูป กล่าวรายงานความคืบหน้าจากการดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ 1 /2554 ในครั้งที่ 2 นี้ ด้วยที่ประชุมได้มีฉันทามติ 9 ประเด็น โดยมีมติประเด็นต่างๆ 8 ประเด็น และกลุ่มที่มีความคืบหน้าทั้งในส่วนภาครัฐและภาคประชาชน มติที่ 4 คือเรื่องการปฏิรูประบบประกันสังคมเพื่อความเป็นธรรม การแก้ไข พ.ร.บ ประกันสังคม พ.ศ. ….ฉบับภาคประชาชนลงลายมือชื่อเสนอ โดยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนอยู่ ณ.ปัจจุบันนี้ และให้ทันภายในการประชุม 18 เมษายน 2555 นี้ ซึ่งตอนนี้ทราบข่าวว่า ในร่างของสภาอยู่ในอันดับที่ 14 ต่ำกว่าเดิมแล้ว มติจะผ่านหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการขับเคลื่อนและรณรงค์ของสื่อต่างๆ และก็เป็นที่น่าสนใจมากตอนนี้ สื่อกระแสหลักก็หันมานำเสนอประเด็นต่างๆที่ทางคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กำลังขับเคลื่อนอยู่

ข้อเสนอจากภาคแรงงาน การทำงานที่มีเป้าหมายและสิ่งไหนที่ทำให้เป็นธรรม ต้องบูรณาการทุกภาคส่วน ร่วมกันเพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเป็นธรรมในระบบแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ รวมถึงความปลอดภัยในการทำงาน ระบบค่าจ้างแรงงาน ค่าแรงที่เป็นธรรมอย่างไรก็ดี ถ้ารัฐบาลนี้ให้ความสนใจในการแก้ปัญหาของประชาชน ทำได้ทันที ยกตัวอย่างเช่น เรื่องที่รัฐบาลประกาศเป็นเรื่องเร่งด่วย แค่ 10 วันยังทำได้เลย

นายอิสเรศ จันทร์ศรี ผู้บริหารวิทยุชุมชนชาวอุดรกล่าวว่า วิธีผลักดันให้เกิดผลสำเร็จคือ ต้องใช้สูตร 3 จ. คือ จัด แจง จบ

จัด คือ จัดตั้งคณะทำงานติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ และสรุปผล

แจง คือ นำผลมาวิเคราะห์จากนักวิชาการแล้วนำเสนอประเด็นสำคัญ นำไปสู่การเผยแพร่โดยสื่อต่างๆ เช่น จัดแถลงข่าว ทำสื่อพิมท์แจก จัดทำระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อเชื่อมโยงได้เร็ว

จบ คือ ต้องหาแนวทางเดินให้เจอ และเชื่อว่าเราต้องสำเร็จแน่นนอนเพราะเราทำอยู่ในพื้นฐานความเป็นจริง

 

อรรถพล พรมหา นักสื่อสารแรงงานศูนย์ฉะเชิงเทรา รายงาน