พัฒนามักกะสันต้องตอบโจทย์ กรุงเทพฯเมืองน่าอยู่

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

สมาคมสถาปนิกเชิญหลายภาคส่วนร่วมถกการพัฒนาพื้นที่มักกะสัน เห็นพ้องเป็นพื้นที่ของภาครัฐต้องทำให้มีคุณค่ามากกว่าแค่พื้นที่เชิงธุรกิจที่ได้ประโยชน์เพียงคนบางกลุ่ม เสนอให้คำนึงถึงความเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและเอื้อประโยชน์ต่อสาธารณชน ทั้งการเป็นพื้นที่สีเขียว เป็นสวนสาธารณะ สร้างพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ และต้องสอดคล้องกับการทำให้กรุงเทพฯเป็นเมืองน่าอยู่

จากการที่กระทรวงคมนาคมโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดทำโครงการหารายได้โดยการเปิดให้เอกชนพัฒนาพื้นที่บริเวณมักกะสันอันเป็นพื้นที่ของรัฐขนาดใหญ่ 5 ร้อยกว่าไร่อยู่ใจกลางกรุงเทพฯ เพื่อให้เป็นแหล่งธุรกิจการค้าขนาดใหญ่โดยไม่คำนึงถึงการเอื้อประโยชน์ต่อสาธารณชน และไม่คำนึงถึงความเป็นเมืองน่าอยู่ของกรุงเทพฯจนกลายเป็นประเด็นร้อนในสังคมไทยอยู่นั้น

ในการจัดงาน ” สถาปนิก’56 แข่งขัน…แบ่งปัน ” ระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 5 พฤษาคม 2556 ที่อาคารชาเลนเจอร์ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยสมาคมสถาปนิกสยามฯ จึงได้จัดงานนิทรรศการ ” ออกแบบมักกะสันอย่างไรกันดี? ” พร้อมกับงานเสวนาแลกเปลี่ยนเรื่อง ” มักกะสัน ออกแบบอย่างไร ให้มีนวัตกรรมเมือง ” ในวันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม เวลา 13.00 – 15.00 น. ณ ห้องจูปิเตอร์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในสาขาต่างๆ มาร่วมระดมความคิดเห็นเพื่อให้ได้โครงการพัฒนามักกะสันที่มีการออกแบบและวางผังอย่างมีนวัตกรรมและสอดคล้องกับความต้องการที่หลากหลายของคนกรุงเทพฯ

OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA

วงเสวนากล่าวถึงพื้นที่มักกะสันว่า เป็นที่ดินแปลงงามขนาดใหญ่ของรัฐอยู่ใจกลางเมืองที่ถูกปรับสีผังเมืองให้เป็นพื้นที่สีแดงที่สามารถใช้ประโยชน์ได้สูงขึ้นในเชิงพานิชยกรรม ซึ่งพื้นที่มักกะสันนั้นการรถไฟครอบครองอยู่และต้องการพัฒนาเพื่อหารายได้จากการดำเนินโครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์ที่จะมีแต่อาคารพานิชย์และตึกสูงรวมทั้งถนนคอนกรีตเกือบเต็มพื้นที่ โดยมีพื้นที่สีเขียวน้อยมาก ซึ่งการพัฒนาเช่นนี้ หลายฝ่ายกังวลถึงผลกระทบที่จะตามมาหลายอย่าง ทั้งเรื่องการจราจรที่ปัจจุบันในบริเวณรอบๆมักกะสันก็ล้วนเป็นย่านการค้าที่มีตึกสูงอาคารพานิชย์ที่มีปัญหารถติดขัดหนักอยู่แล้วตลอดทั้งวัน ก็จะยิ่งเป็นการก่อมลพิษที่สร้างปัญหาสุขภาพให้กับคนกรุงเทพฯมากขึ้นอีก และการที่บริเวณมักกะสันเป็นพื้นที่รับน้ำดังจะเห็นว่ามีบึงมักกะสันอันเป็นโครงการพระราชดำริอยู่ ดังนั้นเมื่อจะทำพื้นที่เป็นคอนกรีตเต็มหมดก็จะมีปัญหาเรื่องการซึมน้ำของพื้นที่ที่เดิมเป็นพื้นดิน ปัญหาน้ำท่วมขังก็จะตามมาซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องใช้งบประมาณอีกมหาศาลในการแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไม่รู้จบสิ้น อาจไม่คุ้มค่าที่ประเทศชาติได้ประโยชน์เพียงเฉพาะด้านเฉพาะหน้า แต่ต้องสูญเสียทั้งด้านคุณค่าและมูลค่าอย่างมหศาลกับการตามแก้ปัญหาต่างๆในอนาคต ซึ่ง กทม.นั้นเป็นภาพลักษณ์ของประเทศ แต่แทบจะไม่เหลืออะไรดีๆไว้อวดชาวโลกแล้ว เพราะการพัฒนาสมัยใหม่ทำลายคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมต่างๆไปเรื่อยๆ

ขณะที่วงเสวนาก็มีข้อเสนอหลากหลายจากผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ โดยเห็นว่า ถ้าจะชี้ว่ามักกะสันจะเป็นอะไรควรต้องมองจากเป็นแค่พื้นที่ให้ขยายออกมาเป็นเรื่องของเมือง ซึ่งต้องตอบสนองผลประโยชน์ของคนกรุงเทพฯทั้งหมด มักกะสันเป็นพื้นที่สีเขียวผืนสุดท้ายที่ กทม.มีอยู่ ซึ่งจะสามารถนำมาทำเป็นพื้นที่เชิงสร้างสรรค์เพื่อสาธารณประโยชน์ได้โดยไม่ต้องซื้อจากเอกชน และเพราะผังเมืองรวมคือการจัดสรรผลประโยชน์การใช้พื้นที่ร่วมกันของทุกคน การพัฒนามักกะสันจึงควรต้องฟังเสียงคนหลากหลายที่มีทั้งสถาปนิก นักผังเมือง นักอนุรักษ์ด้านต่างๆ และภาคประชาชนส่วนอื่นๆ ที่ล้วนมีข้อเสนอจากมุมมองของตนเอง

โดยมีการมองถึงการต่อยอดคุณค่ามรดกทางด้านวัฒนธรรมกับสมัยใหม่ ซึ่งด้านสถาปัตยกรรมก็มีการสร้างโรงงานซ่อมรถไฟที่บริเวณมักกะสันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีอาคารเก่าสร้างเมื่อปี 2465 ที่ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น พ.ศ.2549 และอีกหลายอาคารเก่าที่จะสามารถนำมาเพิ่มคุณค่าและมูลค่าได้ ทั้งการทำเป็นพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สังคมไทยขาดแคลน บางส่วนอาจนำมาทำเป็นศูนย์ประชุมสัมมนาหรือใช้เป็นเวทีจัดงานเชิงธุรกิจแฟชั่นได้อย่างมีเอกลักษณ์แปลกใหม่และน่าสนใจ ส่วนบ้านพักสวัสดิการของคนงานรถไฟที่มีสไตล์สมัยเก่าสามารถนำมาทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวย้อนยุคที่กำลังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นได้ รวมทั้งยังมีตลาดสดบริเวณสถานีรถไฟมักกะสัน ที่จะเห็นถึงวิถีชีวิตและอาหารการกินของไทยแบบดั้งเดิมที่ถูกขนส่งมาทางรถไฟจากพื้นที่เกษตรในชนบท ที่นับเป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของ กทม.ที่ควรรักษาไว้

สำหรับเรื่องผังเมืองและการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว มองว่าปัจจุบัน กทม.มีอัตราพื้นที่สีเขียว 3.7 ตารางเมตร(ตร.ม.)ต่อคน ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่ต้องมากกว่า 9 ตร.ม.ต่อคน และต่ำกว่ามาตรฐานสากล 39 ตร.ม.ต่อคนมาก บริเวณมักกะสันสามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้เป็นปอดของคนกรุงเทพฯได้อีกมาก เป็นการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืนที่คิดถึงเรื่องความสมดุลของมูลค่าที่จะได้รับกับมูลค่าที่จะสูญเสียจากการเจ็บป่วยและสิ่งแวดล้อมเสียด้วย และเทคโนโลยีการก่อสร้างสมัยใหม่สามารถทำได้ทั้งแบบมีโครงสร้างหลายชั้น เช่นพื้นที่อาคารต่างๆอยู่ด้านบนมีพื้นที่สีเขียวสลับ ถนนและคลองระบายน้ำอยู่ด้านล่าง หรืออาจสร้างอาคารในแนวสูงขึ้นไปโดยใช้พื้นที่เพียงบางส่วนโดยไม่ต้องสร้างตึกอาคารให้เต็มพื้นที่ก็ได้

และยังมีมิติด้านประวัติศาสตร์ซึ่งนอกจากอาคารสถานที่เก่าแก่อันทรงคุณค่าแล้ว ยังมีเรื่องราวประวัติศาสตร์ของแรงงานรถไฟมักกะสันที่ได้ต่อสู้เรื่องสิทธิของแรงงานมาตั้งแต่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนเกิดเป็นสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่าตอบแทนทำงาน ที่พักอาศัย การรักษาพยาบาล และสิทธิอื่นๆ ที่แรงงานหรือคนทำงานได้รับสืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งที่มักกะสันในปัจจุบัน มีพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แรงงานแห่งเดียวในเอเชีย ทำหน้าที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกำเนิดและความเป็นมาของแรงงานในประเทศไทย ซึ่งพิพิธภัณฑ์ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2536 ถูกบรรจุอยู่ในแผนที่การท่องเที่ยวทั้งของเขตราชเทวี และของ ททท. รวมทั้งในคู่มือท่องเที่ยวของต่างชาติเช่นญี่ปุ่น และยังเป็นแหล่งศึกษาเรื่องแรงงานที่สำคัญของนักศึกษากว่า 20 สถาบัน

วงเสวนาจึงสรุปว่า การที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการออกแบบพัฒนามักกะสัน จึงถือเป็นนวัตกรรมที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ที่ไม่เพียงสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังเกิดคุณค่าในแง่การพัมนาตามแนวคิดทำกรุงเทพให้เป็นเมืองน่าอยู่ ซึ่งต้องอาศัยความร่่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่ายอย่างจริงใจและจริงจัง

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA