พลังสันติภาพ ผู้หญิงสามจังหวัดชายแดนใต้

P3150373

ผู้หญิงภาคใต้ ลุยกรุงเทพ เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล วานีดา พลังหญิงสร้างสังคม พลังสันติภาพ ผู้หญิงสามจังหวัดชายแดนใต้ หวังสร้างความตระหนักให้สังคมได้รับรู้ถึงบทบาทความสำคัญ และวิถีชีวิตของผุ้หญิง และเด็กหญิง ที่ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อความไม่สงบ และความขัดแย้ง ซึ่งปัจจุบันมีผู้หญิงที่ก้าวขึ้นมาเป็นหัวหน้าครอบครัวแทนสามีที่เสียชีวิตจากเหตุความไม่สงบเพิ่มขึ้นเป็น 2,480 คนโดยมีสัดส่วนผู้ชายเสียชีวิตมากกว่าผู้หญิง 6 ต่อ 1 มีเด็กกำพร้า 4,883 คน มีครูผู้หญิงที่ทำงานปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่หลายพันคน 

P3150295P3150297

กิจกรรมพิเศษเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล วานีดา พลังหญิงสร้างสังคม พลังสันติภาพ ผู้หญิงสามจังหวัดชายแดนใต้ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2556 ณ ศูนย์การค้า เซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์ โซน เอเทรียม2 จัดโดยมูลนิธิรักไทย, มูลนิธิเพื่อนหญิง, OXFAM, Save The Children,Konrad Adenauer Stiftung Action Aid, Foundation of Children’s Development มูลนิธิชุมชนไท,เครือข่ายชุมชนศรัทธา,เครือข่ายผู้หญิงยุติความรุนแรงแสวงสันติภาพ สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย

P3150329P3150360

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ได้กล่าวว่า  เดือนมีนาคมของทุกปี นานาประเทศทั่วโลกต่างร่วมใจจัดกิจกรรมในวันสตรีสากล องค์กรเอกชน ได้ร่วมกันผลักดันนโยบายการพัฒนา รวมทั้งช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กด้อยโอกาส เพื่อลดปัญหาการถูกทำความความรุนแรงจากครอบครัว และสังคม รวมถึงการส่งเสริมทักษะอาชีพ เพื่อประกอบอาชีพเลี้ยงตนเอง และครอบครัว ปัจจุบันผู้หญิงเป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิตของครอบครัวและชุมชน กิจกรรมครั้งนี้ทั้งภาครัฐ และเอกชนเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเรียกร้องสิทธิ และเสรีภาพที่เท่าเทียมกันของผู้หญิง รวมถึงการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม และสันติภาพภายใต้แนวคิด วานีตา พลังหญิงสร้างสังคม เพื่อเรียกร้องให้สังคม สนใจสถานการณ์เด็กหญิง ผู้หญิง ที่ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อความไม่สงบ และความขัดแย้งใน 3 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งที่ผ่านมาไม่ได้รับการพูดถึงหรือให้ความสำคัญกันมากเท่าที่ควร

ปัจจุบันมีผู้หญิงที่ก้าวขึ้นมาเป็นหัวหน้าครอบครัวแทนสามีที่เสียชีวิตจากเหตุความไม่สงบเพิ่มขึ้นเป็น 2,480 คนโดยมีสัดส่วนผู้ชายเสียชีวิตมากกว่าผู้หญิง 6 ต่อ 1 มีเด็กกำพร้า 4,883 คน มีครูผู้หญิงที่ทำงานปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่หลายพันคน และยังมีผู้หญิงกลุ่มอื่นๆเหล่านี้มีจำนวนกว่าครึ่งของประชากรทั้งหมดในพื้นที่ ดังนั้นการจัดงานครั้งนี้เพื่อสร้างความตระหนักถึงบทบาทความสำคัญ และวิถีชีวิตของผุ้หญิง และเด็กหญิงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้เมื่อสังคมร่วมรับรู้ และคาดหวังว่าสังคมจะเกิดการร่วมด้วยช่วยกันทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อร่วมส่งเสริมพลังของผู้หญิง และเด็กในการสร้างสังคมและสันติภาพในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

P3150387

นายพร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการมูลนิธิรักไทย กล่าวว่า เมื่อวันที่ 8 มีนาคมในทุกปี นานาประเทศทั่วโลกต่างร่วมใจจัดกิจกรรมในวันสตรีสากล มูลนิธิฯเป็นองค์กรหนึ่งที่ร่วมผลักดันนโยบายการพัฒนา และช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กด้อยโอกาสเพื่อลดปัญหาการถูกกระทำรุนแรงจากครอบครัวและสังคม ความยากจน รวมถึงการส่งเสริมทักษะอาชีพเพื่อให้หาเลี้ยงตนเอง และครอบครัวได้อย่างมั่นคง เพราะปัจจุบันผู้หญิงเป็นเป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวตของครอบครัวและชุมชน

“โดยหลักๆ เรามีผู้หญิงที่ก้าวขึ้นมาเป็นหัวหน้าครอบครัวแทนสามีที่เสียชีวิตจากเหตุความไม่สงบประมาณเกือบ 3,000 คน มีเด็กกำพร้าเกือบ 5,000 คน มีครูผู้หญิงที่ทำงานปฏิบัติหน้าที่อยู่หลายพันคน และยังมีผู้หญิงกลุ่มอื่นๆเหล่านี้มีจำนวนคิดเป็นกว่าครึ่งของประชากรทั้งหมดในพื้นที่ ดังนั้นการจัดงานครั้งนี้เพื่อสร้างความตระหนักถึงบทบาท ความสำคัญและวิถีชีวิตของผู้หญิง และเด็กใน 3 จังหวัดภาคใต”

P3150388P3150309

นางธนวดีท่าจีน ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวว่า “กิจกรรมนี้เป็นโอกาสดีที่จะมีผู้หญิงและเด็กจากพื้นที่ 3 จังหวัดขึ้นมาเล่าเรื่องราวความคิดความรู้สึกของพวกเขาให้เรารับฟัง ซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ทำให้เราทราบว่า ผู้หญิงที่สามีเสียชีวิต แล้วต้องก้าวมาเป็นหัวหน้าครอบครัวนั้น สามารถผ่านพ้นการเปลี่ยนผ่านที่ยากลำบากนั้นได้อย่างไร ครูผู้หญิงทำงานสอนนักเรียนทุกวันรู้สึกอย่างไร เด็กและเยาวชนใช้ชีวิตในพื้นที่อย่างไร รวมถึงผู้หญิงที่เข้ามาร่วมแก้ปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อม แต่ที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ บทบาทของผู้หญิงที่ทำงานในมิติทางสังคม กฎหมายและการเมืองในปัจจุบัน”

นางฉลวย บุญเพชรศรี กล่วว่า ประกอบอาชีพข้าราชการครู ต้องสูญเสียสามีไปกับเหตุการความรุนแรง ทำให้ต้องลุกขึ้นมาทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัวซึ่งถือว่าเป็นงานที่หนักมาก “การที่เราทำงานเป็นครู ด้วยความหวังที่จะให้เด็กมีความรู้ เป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม แต่ไม่รู้ว่าที่คิดร้ายต่อเด็กไม่ต้องการให้เด็กมีความรู้ เพราะการที่ฆ่าครู เท่ากับเป็นการฆ่าเด็กทำให้เด็กไม่มีอนาคต แต่อย่างไรในฐานะครูคนหนึ่งจะไม่ย่อท้อต่อการทำหน้าที่ และจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด”

นางรอชีดะห์ ปูชู กล่าวว่า การทำงานสื่อมวลชนคนหนึ่ง อยากเห็นพื้นที่มีความสงบ เมื่อได้รับผลกระทบผู้หญิงในปัจจุบันมีความเข้แข็งมากขึ้น ด้วยการลุกขึ้นมามีบทบาทอาสาสมัครในการช่วยแก้ไขปัญหา ที่รัฐเองยังแก้ไขไม่ได้ “พลังผู้หญิงจำนวนมากที่ออกมาทำงานมีความเข้มแข็งที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครกว่า 3,000 คน การเป็นอาสาสมัครด้านกฎหมาย ด้านพยาบาล ซึ่งเดิมไม่เคยได้รับบทบาท ได้ออกมาทำงานในหน้าที่ในการตัดสินใจ ทำหน้าที่ดูแลครอบครัว ดูแลพ่อแม่ จากเดิมถูกกำหนดให้เป็นบทบาทของผู้ชาย”

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน