ผู้หญิง “สลัมพากัดซิงค์” ลุกรวมกลุ่มสร้างงาน ความรู้ เพื่อสิทธิและการยอมรับ

20130624_121821

ผลสำรวจโครงการ Saathi คนงานผู้หญิงในสลัม ความต้องการของคนจนในชุมชน “สลัมพากัดซิงค์”มุมไบ ประเทศอินเดีย ซึ่งมีคนอาศัยอยู่กว่า 5 แสนคน สิ่งที่ต้องการส่วนใหญ่คือ น้ำที่สะอาด การศึกษา ศูนย์เลี้ยงเด็ก อาชีพ และความไม่ปลอดภัยในเนื้อตัวร่างกายของผู้หญิง อินเดียยังไม่ยอมรับบทบาทของผู้หญิง การลุกขึ้นมารวมตัวกันเป็นการสร้างโอกาสในการจัดสวัสดิการกันเอง การคุ้มครองสิทธิ และการศึกษา

ในวันที่ 24 มิถุนายน 2556 โครงการเสริมสร้างภาวะการนำเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ (นธส.) โดยมีการแบ่งกันลงพื้นดูการทำงานของหลายกลุ่ม ทั้งนี้ผู้เขียนได้ไปดูงานใน กลุ่มเดส (Desh Seva Samiti) โดยมีคุณนูดเตอร์ ผู้อำนวยการโครงการ Saathi คนงานผู้หญิงในสลัม (ส่วนใหญ่  Goregaon ตะวันตกชุมชนสลัม) ให้การต้อนรับ และคุณนันดา กุมาน ผู้จัดการงานบริหารฯ มาช่วยกันแนะนำการทำงานขององค์กร

เป็นองค์กรทำงานบริการสังคมอยู่ในชุมชนแออัด โดยตั้งองค์กรขึ้นเมื่อปี 2003 ทำงานกับคนยากจนในชุมชน เพราะว่าคนจนส่วนใหญ่ไม่ได้รับสิทธิอะไรจากรัฐเพราะเข้าไม่ถึง ผลจากการสำรวจความต้องการของคนจนในชุมชน สิ่งที่ต้องการส่วนใหญ่คือ น้ำที่สะอาด กลุ่มที่องค์กรทำงานด้วยคือ กลุ่มผู้หญิง กลุ่มเด็ก โดยใช้วิธีการรวมกลุ่มเพื่อออมเงิน จัดการศึกษา ศูนย์เลี้ยงเด็ก ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ และรับเรื่องราวร้องทุกข์กรณีที่ถูกทำร้าย

กลุ่มออมทรัพย์ในชุมชนมีจำนวน 16 กลุ่มๆละ20 คน ซึ่งเงื่อนไขการรวมกลุ่มเพื่อให้เกิดการออมในการพัฒนาอาชีพ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการในกลุ่ม เช่นหากกลุ่มออมเงินได้ 1 หมืนรูปีขึ้นไปก็จะสามารถกู้เงินกับรัฐผ่านทางธนาคารได้  20,000 รูปี โดยเสียดอกเบี้ยจะถูกกว่าปกติ หากไม่มีการรวมกลุ่มออมทรัพย์ คนจนเหล่านี้ก็ไม่สามารถกู้เงินธนาคาร หรือรัฐได้ เพราะไม่มีใครเชื่อถือว่า จะจ่ายเงินคืนได้ การรวมกลุ่มนี้ยังมีการฝึกอาชีพ เช่นการเย็บปักเสื้อผ้า กลุ่มมี 15 คน  และมีกลุ่มที่รับผักสดมาจากตลาดค้าส่ง มาจัดการแพ็คใส่ถุงใหม่ แปะยี่ห้อของsaathi ส่งไปขายในตลาดเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้า

คุณนูดเตอร์ กล่าวว่า ประเทศอินเดียยังมีปัญหาเรื่องการไม่ยอมรับบทบาทผู้หญิงในการออกมาทำงานนอกบ้านมากนักสำหรับผู้หญิงในกลุ่มที่ยากจนไม่ได้รับการศึกษา มักถูกใช้ความรุนแรง การที่ผู้หญิงมากลุ่มออมทรัพย์ เพราะต้องการสร้างอาชีพให้มีรายได้ และได้รับการยอมรับจากครอบครัวสังคม ซึ่งเห็นได้จากกลุ่มออมทรัพย์ที่บางครอบครัวผู้ชายจะร่วมสนับสนุนเงินออมช่วยภรรยา

P6240388P6240383

องค์กรยังได้จัดการอบรมอาสาสมัครที่จะให้คำปรึกษา และรับเรื่องราวร้องทุกข์ให้ความช่วยเหลือผู้หญิงที่ ถูกทำร้ายทุบตี ถูกข่มขืน ซึ่งมีบางรายที่เผาทั้งเป็น ซึ่งเป็นการกระทำความรุนแรงในครอบครัว หรือเนื่องจากผู้หญิงไม่มีเงินสินสอดไปสู่ขอผู้ชาย ในประเทศอินเดียยังมองว่าผู้หญิงไม่ใช่คน การทำรุนแรงต่อผู้หญิงทำได้ เป็นเรื่องในครอบครัว เป็นสิทธิของพ่อ แม่ สามี จึงมีเรื่องที่ผู้หญิงถูกทำร้ายถึงเสียชีวิตจำนวนมาก รวมทั่งการทำแท้งของแม่ เมื่อรู้ว่า เด็กที่จะเกิดเป็นลูกผู้หญิง การทำงานขององค์กรจะส่งอาสาสมัครที่ผ่านการอบรมลงพื้นที่ นั่งประจำอยู่ที่สถานีตำรวจรวม 5 แห่ง สัปดาห์ละ 2 วัน อาสาสมัครจะมีหน้าที่ในการบันทึกรายละเอียด สภาพปัญหาเก็บหลักฐานลงพื้นที่ ไปที่บ้านของผู้หญิงที่ถูกทำร้ายด้วยมีการสอบหาข้อเท็จจริง รวมทั้งการไกล่เกลี่ย บันทึกข้อมูล เพื่อการช่วยเหลือฟ้องร้อง

การจัดการศึกษา ทางองค์กรจัดส่งอาสาสมัครด้านการศึกษาซึ่งนำร่องในโรงเรียนเทศบาล 2 แห่ง เข้าไปสอนเด็กในเรื่องภาษา วัฒนธรรม การเต้นรำ และคอมพิวเตอร์โดยมีครูอาสาที่เป็นNGO ข้าราชการที่เกษียณอายุแล้วมาช่วยกันสอนนักเรียน และยังมีการอบรมการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น เพื่อเป็นพื้นฐานให้กับ เด็ก เยาวชนที่เรียนหนังสือเพียงชั้นประถม และมัธยมต้น เนื่องจากไม่มีเงินเรียนต่อ เพื่อให้เขาสามารถที่จะมีฝีมือด้านคอมพิวเตอร์ และภาษา จะได้หางานที่ดีทำได้ ซึ่งโครงการจะมีการจัดส่งรายชื่อของเด็กที่ผ่านการอบรมไปให้กับสถานประกอบการ เช่นแมคโดนัล เคเอฟชี เป็นต้น ซึ่งมีความต้องการคนงาน และรับเด็กเข้าทำงานแล้วรวม 40 คน ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนทุนจากมูลนิธิสมาย กับไมโคซอฟ เด็กทุกคนที่จบจะได้รับใบประกาศเพื่อรับรองว่าผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมของโครงการ และสามารถเอาไปรับรองสมัครงานได้ การอบรมจะรับเด็กรุ่นละ 40 คน เรียน 2 ช่วง หลักสูตร 4 เดือน

20130624_111954P6240373

คุณสุนัยนา ไลจบาท อายุ 16 ปีกล่าวว่า “การที่ได้มาเรียนคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานที่นี่เพราะเห็นว่าเป็นองค์ที่น่าเชื่อถือ มีการออกใบประกาศรับรองให้ผู้ที่มาเรียนสามารถนำไปสมัครงานได้ และตนก็ต้องการที่จะมีงานทำได้รับเงินเดือน ถามว่าอยากได้งานอะไรทำ และต้องการเงินเดือนๆละเท่าไรนั้น ความต้องการของตนอยากได้งานที่ทำในออฟฟิต เงินเดือนซักเดือนละ 10,000รูปี คิดว่า เพียงพอในการใช้จ่ายในชีวิตและครอบครัว

ทางองค์กรยังมีการทำงานเรื่องศูนย์เลี้ยงเด็กในชุมชนด้วยเนื่องจากมีเด็กบางส่วนที่ไม่สามารถเข้าเรียนในระบบได้จำนวน 20 กว่าคน จึงตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กไว้รองรับ วัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กได้เรียนหนังสือ หรือรอที่จะเข้าสู่ระบบการศึกษาปกติ พื้นที่ชุมชนที่องค์กรทำงานนั้นถือเป็นสลัมที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอินเดีย ชื่อว่า สลัมพากัดซิงค์ ซึ่งมีคนอาศัยอยู่กว่า 5 แสนคน ซึ่งเป็นชื่อของผู้นำที่สร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอีกคนหนึ่ง ซึ่งขับเคลื่อนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 50 หรือราวปี 1850

วาสนา ลำดี นักสื่อสารแรงงาน รายงาน

P6240368P6240391