ผลกระทบการจ้างงานแบบยืดหยุ่น ไม่มั่นคง ภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน

            วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 โครงการศึกษาอบรมเสริมสร้างศักยภาพแกนนำแรงงานครั้งที่ 3 เรื่อง “ม.11/1 VS AI:ใครอยู่?ใครไป?” ผ่านzoom ซึ่งมีการบรรยายวิชาการเรื่อง ผลกระทบการจ้างงานแบบยืดหยุ่น แต่ไม่มั่นคง และวงเสวนา ม. 11/1 VSAI ส่องอนาคตการจ้างงานและคุ้มครองแรงงาน

            อาจารย์สุนี ไชยรส รองประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กล่าวว่า การจัดการศึกษาครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นการช่วยลงขันเพื่อให้งบประมาณสมทบกัน การต่อสู้ของขบวนการแรงงานเพื่อการต่อสู้เพื่อสังคมและเพื่อแรงงานทุกกลุ่มด้วย ช่วงสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ทำให้การจัดการศึกษามีการจัดผ่านระบบออนไลน์ทำให้มีการสานกันเข้ามาในการศึกษา และยังมีการหยิบยกเรื่องประเด็นแรงงานขึ้นมาวิเคราะห์ด้วยทฤษฎี เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกันเป็นความรู้

บรรยายวิชาการและแลกเปลี่ยน หัวข้อ “ผลกระทบการจ้างงานจากการผลิตในห่วงโซ่อุปทานโลก”

            โดย รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ  อดีตกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย และอดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต สรุปได้ดังนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจโลก เมื่อมีการผลิตน้ำมันลดลงซึ่งทวนกระแสความต้องการน้ำมันของโลกที่เพิ่มขึ้น ด้วยการเดินทางที่เป็นปกติเช่นการใช้รถส่วนตัวบนท้องถนนราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นไม่หยุด และเรื่องของสงครามรัสเซียกับยูเครนซึ่งกระทบกับเศรษฐกิจโลกกระทบแน่นอน

            หากมองระบบทุนนิยมโลก ซึ่งในความเป็นจริงไกลตอนนี้คือระบบเศรษฐกิจการตลาด และระบบทุนนิยมโลกครอบโลกอยู่ในปัจจุบันที่บีบคั้นทางเศรษฐกิจอยู่ มีคนรวยน้อยคนจนทั่วโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทางเศรษฐกิจซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้หากใครเปลี่ยนแปลงได้ก็จะเดินหน้าต่อได้แต่หากไม่ปรับตัวก็จะหายไปจากระบบทุนบนโลกนี้ เช่นทางการเงินก็มีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงเป็นระบบใหม่รูปแบบเดิมจะหายไปจากระบบ อย่างระบบรถยนต์ก็เช่นกันมีการปรับตัวตั้งเป้าในการที่จะลดรถยนต์สันดาปภายในแบบเก่าให้หมดไป โดยประเทศไทยรับจ้างผลิตรถยนต์สันดาปภายในที่มีการจ้างงานจำนวนมาก การปรับเปลี่ยนมีผลกระทบต่อการจ้างงานแน่นอน

            ทำไมประเทศไทยควรมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ปรับขึ้นเพื่อที่จะให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจได้ ซึ่งในหลายประเทศมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแบบก้าวกระโดด เพื่อให้มีการกระตุ่นเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งการมองการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำว่าเป็นผลกระทบต่อการลงทุนก็จะเป็นปัญหาทางการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งทางสหรัฐเองก็มีการรับแรงงานอพยพ มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นไม่ใช่การสูญเสียงาน แต่เป็นการกระตุ่นการจ้างงานและเพิ่มเศรษฐกิจด้วย แต่ประเทศไทยไม่มองเรื่องการจ้างงานเป็นการเพิ่มJob building แต่การที่มีการเพิ่มขึ้นของAI หรือเทคโนโลยีซึ่งเป็นการฆ่าแรงงาน ควรต้องมองว่าการปรับตัวของแรงงานและการพัฒนาระบบใหม่นี้เพื่อให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างไรให้คนทำงานน้อยลงแต่รายได้เพิ่มขึ้น โดยคนทำงานกับเทคโนโลยี คนทำงานกับหุ่นยนต์ AI มีการเพิ่มโปรดักส์ขึ้นคนมีรายได้เพิ่มพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

            ส่วนของระบบการจ้างงานที่ยืดหยุ่นเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นมาหลาย 10 ปีแล้วพื้นฐานคือ องค์กรทุนไม่ต้องการที่จะรับภาระการจ้างงานลสวัสดิการแรงงาน การจ้างงานที่ยืดหยุ่นทำให้การทำงานที่มีความรวดเร็วลดต้นทุนมีความหลากหลายด้วย แล้วการจ้างงานแบบยืดหยุ่นเป็นเอาเปรียบแรงงานหรือไม่ การจ้างงานนั้นมีความเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปมาก เดิมอาจเป็นการจ้างงานในงานที่สกปรก งานที่ไม่ปลอดภัยซึ่งตอนนี้มีการเปลี่ยนไปเมื่อมีการต่อสู้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและเป็นธรรมขึ้น เกิดระบบสามแปดและแนวคิดในประเทศคอมมิวนิสต์เองก็เห็นถึงความไม่สอดคล้องมีการพัฒนามาเรื่อย และมีการปรับเรื่องการจ้างงานทำอย่างไรให้เกิดต้นทุนต่ำได้ผลกำไรมากขึ้น เช่นการปรับตัวด้านเทคโนโลยีให้สามารถทำงานที่ไหนก็ได้ อย่างการจ้างงานไม่จำเป็นต้องจ้างคนในประเทศก็ได้อย่างเช่นโอเปอเรเตอร์ เป็นต้น

            ประเทศไทยก็เป็นประเทศที่รับจ้างผลิตทำให้มีคู่แข่งในการลงทุนโดยเดิมไทยก็ไปลงทุนที่ประเทศจีนเพื่อค่าแรงต่ำ แต่เมื่อจีนมีการพัฒนานโยบายของสี จิ้นผิง มีการเพิ่มค่าแรงที่สูงขึ้นทำให้สังคมจีนเป็นสังคมค่าจ้างสูงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน แม้จีนมาที่หลังไทยเดิมรับจ้างผลิตแต่ตอนนี้ยกระดับตัวเองจนสามารถมีเทคโนโลยีปรับทักษะแรงงานให้สูงและผลิตเองแทนการรับจ้างผลิตได้ ส่วนประเทศไทยยังคงอยู่ที่เดิมคือรับจ้างผลิต และเมื่อเกิดโควิดทำให้เกิดการจ้างงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น เช่นการทำงานที่ไหนก็ได้และการทำงานทางไกลคือส่วนหนึ่งในการจ้างงานที่ยืดหยุ่น ซึ่งการจ้างงานแบบนี้เป็นการจ้างงานที่ไม่มีมาตรฐานคือจ้างเท่าไรก็ได้ แต่อาจไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง และองค์การแรงงานระหว่างประเทศก็มองว่าเป็นการจ้างงานที่ไม่ได้มาตรฐาน การจ้างงาน Outsource (เอ้าท์ซอร์ส) ไลน์แมน แกร็บ โรบินฮู้ด ซึ่งการที่จะให้เกิดการจ้างงานที่เป็นธรรมจะต้องมาจากการเรียกร้องไม่ใช่ได้มาโดยไม่มีการเรียกร้อง ซึ่งการเรียกร้องต้องมีเห็นผลมีข้อมูลไม่เช่นนั้นการต่อสู้ก็จะดูไม่มีพลัง การจ้างงานแบบยืดหยุ่น อย่างงานพาร์ทไทม์ซึ่งคนรุ่นใหม่ทำงานแบบนี้จำนวนมาก ด้วยอุตสาหกรรมนี้ทำงานแบบshort-term แต่งานนั้นเป็นแบบงานประจำ หรือแบบหลายคนรับงานวิจัยแบบที่ไม่ชอบสอนเป็นต้น และการที่นำเอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบก็มีการจ้างงานแบบสัญญาจ้างระยะสั้นหากไม่พอใจก็ไม่ต่อสัญญาอาจารย์ได้ การจ้างงานแบบสัญญาจ้างในสื่อมวลชนก็เพิ่มขึ้น หรือในเอกชนจำนวนมากก็มีการใช้การจ้างงานแบบนี้ด้วย หรือหากนำมาตรฐานการจ้างงาน เช่นเรื่องรายได้ค่าจ้างและสวัสดิการที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งมีการออกมาต่อสู้ของแรงงานทั่วโลกด้วยไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย

            สิ่งที่เป็นปัญหาทำงานในหลายประเทศคือ ประเทศไทย อินเดีย คือการรับงานมาทำที่บ้านที่เป็น

ปัญหาเป็นการรับงานเป็นชิ้นๆ  ซึ่งไม่มีการดูแลมาตรฐานการจ้างงานขั้นต่ำ ตอนนี้การจ้างงานมีการกินหัวคิวแรงงานด้วย ต่อไปที่จะเกิดมากขึ้น คือการทำงานแบบ Remote Working การจ้างงานข้ามประเทศเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานอยู่ที่ไหนก็ทำงานได้ มีการจ้างงานแบบB2Bเป็นการจ้างงานแบบไม่ประจำ คือจ้างงานแบบไหนก็ได้แต่ต้องเป็นการจ้างงานที่เป็นธรรมโดยรัฐต้องเข้ามาดูแลและรัฐส่วนใหญ่ไม่ดูแลแรงงาน จะเข้าข้างนายจ้างอย่างประชานิยมส่วนใหญ่ก็สนับสนุนทุน

เสวนา ม.11/1 ปะทะ AI ส่องอนาคตการจ้างงานและคุ้มครองแรงงาน สรุปได้ดังนี้

            ปิยะ พวงเพชร    ประธานสหภาพแรงงานรถยนต์มิตซูบิชิ แห่งประเทศไทย กล่าวถึงการปรับตัวกระบวนการผลิตนั้นว่า มีมาตั้งแต่หลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 และมีการปรับมาตลอด มีการนำโรบอทเข้ามาทำงานร่วมกับคนงาน และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของงาน และลดจำนวนแรงงานลงไปราว 20% และยังมีการจ้างงานสัญญาการจ้างงานแบบชั่วคราว งานOutsource (เอ้าท์ซอร์ส) เป็นต้น เมื่อมาถึงช่วงวิกฤติโควิด-19 ทำให้การปรับตัวของนายจ้างเพิ่มขึ้น ทั้งการขอลดสวัสดิการและยืดระยะเวลาในการจ่ายสิทธิสวัสดิการออกไป รวมถึงการลดจำนวนคนทำงานประจำลง และการใช้มาตรการทางกฎหมายมาปรามเพื่อเป็นการจัดระบบแรงงานสัมพันธ์เชิงรุก อย่างการใช้พรบ.แกเฉินทำให้แรงงานมีความเดือดร้อนไม่สามารถที่จะดำนินกิจกรรมได้ และยังมีการให้คนงานหยุดงานใช้มาตรา 75 และมีการจ้างงานเอาซ๊อตเข้ามาแทน และมีการจ้างงานระยะสั้นเข้ามาทั้ง 3 เดือน และ 11 เดือน เป็นการจ้างงานที่มีระยะเวลาที่ชัดเจน

            ระบบราชการเองก็มีการจ้างงานที่ไม่มั่นคง ด้วยรูปแบบการจ้างงานแบบสัญญาจ้างอยู่ และการเกิดการจ้างงานแบบนี้เพราะนายทุนต้องการรักษาอัตราต้นทุนการจ้างงานให้คงที่ วึ่งภาครัฐเองก็ไม่ได้ให้ความสำคัญในการคุ้มครองการจ้างงานที่ให้เกิดความเป็นธรรม ในอุตสาหกรรมยานยนต์เองก็มีการจ้างงานระยะสั้น และการรับฝึกงานนักศึกษาที่มีการให้ปฏิบัติงานในรูปแบบลักษณะเดียวกับการจ้างงานประจำอยู่กระบวนการผลิตจำนวนมาก โดยสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์ฯเองได้มีการยื่นหนังสือต่อภาครัฐเพื่อให้เข้ามาดูแลว่าเข้าข่ายการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่

            การจ้างงานในกิจการยานยนต์ที่เป็นลูกจ้างประจำมีตัวเลขไม่ถึงแสนคนที่ว่ามีการจ้างงานสูงปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่ยังเป็นแรงงานเหมาช่วงเหมาค่าแรง และนักศึกษาฝึกงาน ซึ่งเป็นแรงงานที่ไม่ได้รับการดูแลด้านสวัสดิการเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ ซึ่งขบวนการแรงงานต้องช่วยกันขับเคลื่อนผลักดันภาครัฐให้แก้ปัญหาเรื่องนี้ด้วย

            ดร.พงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี รองเลขาฝ่ายวิชาการ  สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) กล่าวว่า การจ้างงานที่มีการเปลี่ยนไป และรูปแบบการจ้างงานแบบเสรีนิยม เช่นการจ้างงานประจำที่มีการลดลงไม่ใช่เพราะงานที่ทำน้อยลงหรือความต้องการแรงงานลดลงมีการจ้างงานแบบชั่วคราวมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาเสริมศักยภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น อีกปัจจัยคือความต้องการงานที่ลดลงของผู้ใช้บริการที่มีความต้องการที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยด้วย

            ซึ่งรูปแบบการจ้างงานก็มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อแรงงานมีอายุมากขึ้น การจ้างงานก็มีการปรับตัวจ้างแรงงาน Outsource เข้ามาทำงานแทนตอบสนองความต้องการของงานที่เป็นช่วงๆตามสัญญางานลักษณะไม่ประจำ แบบช่วงไหนที่ต้องการแรงงานมากก็ Outsource เข้ามาทำแทนรวดเร็วกว่า ขณะนี้รูปแบบการจ้างงานรัฐวิสาหกิจมีการปรับตัวภายในอย่างมาก การที่เอกชนจะตอบสนองการทำงาน ทันสถานการณ์ความต้องการรวดเร็วทันสถานการณ์ความต้องการของผู้ใช้บริการ ทำให้เกิดการปรับตัวของรัฐวิสาหกิจเนื่องจากการจ้างงานภายในรัฐวิสาหกิจมีพนักงานจำนวนมาก มีการใช้งบประมาณการจ้างงานมากแต่ว่าไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้มีการใช้ระบบการจ้างงานแบบ Outsource เข้ามาเป็นต้น

            ทางองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)ก็มองว่า การจ้างงานแบบ Outsource นั้น ยังไม่ใช่การจ้างงานแบบเลือกปฏิบัติ ด้วยการเลือกปฏิบัติต่อการจ้างงานนั้นเป็นเรื่องสีผิว เชื้อชาติ ศาสนา

การจะใช้ประโยชน์จากรัฐวิสาหกิจในการทำงานด้านการจัดตั้งสหภาพแรงงานในประเภทกิจการเดียวกันได้อย่างไรนั้น ด้วยพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543มีการแยกทำให้แรงงานเอกชนกับรัฐวิสาหกิจไม่สามารถรวมตัวกันแบบแรงงานอุตสาหกรรมเดียวกันได้ และการที่รัฐวิสาหกิจถูกแยกออกจากเอกชนมานานจึงทำให้ไม่สนใจแรงงานในภาคเอกชน และการมองว่าแรงงานรัฐวิสาหกิจเองก็มีสวัสดิการและสภาพการจ้างที่ดีกว่าจึงไม่ใส่ใจแรงงานในภาคเอกชนเลย นี่ก็เป็นอีกประเด็น ส่วนเรื่องการช่วยกันให้ความรู้หรือจัดตั้งสหภาพแรงงานเอกชน ทางสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจในส่วนขนส่งได้มีการจัดตั้งสหภาพแรงงานให้กับบริษัทลูกเพื่อให้มีการต่อรองร่วมกัน

            ในส่วนของไรเดอร์ก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นในต่างประเทศมีการทำงานร่วมกัน แต่ประเทศไทยกฎหมายไม่เอื้อในการให้รัฐวิสาหกิจเข้าไปร่วมหรือจัดตั้งเป็นสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมเดียวกัน ตอนนี้มีการจัดตั้งสหภาพแรงงานในสนามบิน โดยตอนนี้มีการเปิดรับสมัครสมาชิกในแรงงานสนามบิน และมีการรวมตัวกันจำนวนมาก มีการจัดตั้งแรงงานในประเภทกิจการประมงด้วย

            โลกเปลี่ยนไวมากในการพัฒนา ซึ่งขบวนการแรงงานต้องมีการเรียกร้องเพื่อให้มีการคุ้มครองแรงงานทุกกลุ่ม และมีการพัฒนาตนเองเพื่อให้เพิ่มทักษะงานในการที่จะเตรียมความพร้อมให้สอดคล้องกับการจ้างงานในอนาคตด้วย ซึ่งคงมีการใช้ระบบดิจิตอลมากขึ้น

            ชฤทธิ์ มีสิทธิ์ ทนายความนักสิทธิแรงงาน กล่าวว่า รูปแบบการจ้างงานที่อยู่ในประเทศไทยเป็นการจ้างงานแบบนายจ้างกับลูกจ้าง หากใครไม่อยู่ภายใต้ลักษณนี้ก็ถือว่าไม่ใช่นายจ้างลูกจ้าง จึงมีการจ้างงานหลายรูปแบบ อย่างที่ว่าเป็นรูปแบบการจ้างทำของ อย่างเกษตรพันธสัญญา เป็นต้น

            หลังวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งก็เกิดการจ้างงานในรูปแบบจ้างทำของเพิ่มมากขึ้นและมีการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนจำนวนมากในการที่ต้องการให้เกิดกมารคุ้มครอง รูปแบบการจ้างงานมีการปรับตัวอย่างมากอย่างกรณีไรเดอร์ก็เป็นรูปแบบการจ้างงานแบบยืดหยุ่น การจ้างงานแบบเหมาค่าแรงเป็นรูปแบบสัมพันธ์อีกรูปแบบหนึ่งของการจ้างทำของ เป็นการนำลูกจ้างของบริษัทรับเหมาค่าแรงมาทำงานในบริษัทที่ว่าจ้างทำของ มาทำงานในกระบวนการผลิตของตนเอง ซึ่งก็มีเงื่อนไขการจัดหางาน และบริษัทเหมาค่าแรงก็มาใช้รูปแบบการเป็นนายจ้างลูกจ้าง และกฎหมายแรงงานมาเขียนเสริมเพื่อรับรองให้มีการจ้างงานแบบนี้อีกหลังสถานการต้มยำกุ้ง และยังมีแนวความคิดให้การเคลื่อนไหวสองแบบ คือเคลื่อนไหวให้ยกเลิกไม่มีให้มีการจ้างงานแบบนี้ และอีกรูปแบบคือเห็นว่ายกเลิกไม่ได้แต่อยากให้มีการจ้างงานให้เป็นธรรมมีการดูแล เพราะว่ารูปแบบการจ้างงานแบบนี้มีทั่วโลก ทำให้เราได้กฎหมายคุ้มครองแรงงานมาตรา 11/1 เกิดขึ้นมาซึ่งไม่พอ ได้เห็นการคุ้มครองแบบนายจ้างสองคน เช่น มีนายจ้างจ่ายค่าจ้าง หากเลิกจ้างก็มีการจ่ายค่าชดเชยจากนายจ้างอีกคนหนึ่งจึงทำเกิดปัญหาอยู่ หรือการจ้างงานสวัสดิการต้องมีความเท่าเทียมกัน จากกฎหมายแบบนี้จึงเป็นว่าใครมีกำลังมากก็ต่อรองได้มากใครมีน้อยก็ได้น้อย การจ้างงานแบบเหมาช่วงก็มีการจ้างรับเหมาช่วงกันเป็นทอดๆไป และต้องมีการรับผิดชอบกันเป็นช่วงๆ ซึ่งกฎหมายก็ให้ร่วมรับผิดแต่ไม่ได้ให้เป็นนายจ้าง

            ปัญหาที่เป็นอยู่ตอนนี้ ที่รับหลักการไว้ในกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาตรา 11/1คือ ความเท่าเทียมกันในการดูแลยังไม่มีการปฏิบัติเท่าไร ในส่วนของธุรกิจที่จัดหาแรงงานที่เข้าไปทำในธุรกิจต้องมีมาตรฐานแค่ไหนไม่ใช่ใครก็ได้ ซึ่งตอนนี้มีนายจ้างเปิดรับสมัครงานผ่านคอมพิวเตอร์ ระบบออนไลน์ใครก็ได้กฎหมายไม่มีมาตรฐานพอในการดูแล และการจ้างงานเหมาค่าแรงมีเท่าไรที่ไหนบ้างไม่มีข้อมูลเลย และไม่มีระบบบริหารจัดการในส่วนนี้เรื่องสภาพการจ้างหรือมาตรฐานเลย ทำให้กฎหมายเขียนไว้เป็นหลักแต่ไม่มีหลักฐานการบังคับใช้เลย

            เมื่อกฏหมายมีผลบังคับใช้แต่ก็อยู่ที่แรงงานในการมีอำนาจในการต่อรองให้มีผล จริงเรามีกฎหมายแรงงานตั้งแต่ปี2541 ในการดูแลแรงงานในการที่นายจ้างมีการปรับปรุงเทคโนโลยีต้องจ่ายค่าชดเชยแล้ว แต่ว่า กฎหมายที่ปรับแก้ทำให้นายจ้างทำได้มากขึ้นในการเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ได้อย่างชอบธรรมมากขึ้น หากใช้มาตรา 121 ในการเลิกจ้างว่ากรณีนี้เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม การจ้างงานแบบยืดหยุ่นเป็นวาทะกรรม จ้างได้แต่ต้องมีมาตรฐานที่เป็นธรรม ม.11/1 เป็นการทำลายสหภาพแรงงาน เป็นการจ้างงานที่ไม่เท่าเทียม และไม่เป็นธรรมแน่ การจ้างงานต้องมีมาตรฐานและเป็นธรรม ซึ่งต้องเคลื่อนไหวทางสังคมด้วย การจะให้แรงงานรับเหมาค่าแรงมาต่อสู้คงไม่ได้ และมีการกล่าวถึงเรื่องการเรียกร้องไม่ครอบคลุมแรงงานเหมาค่าแรง แต่จริงศาลเคยตัดสินแล้วว่าครอบคลุมลูกจ้างเหมาค่าแรงด้วย กรณีมาตรา 11/1ไม่ได้มีผลแค่การจ้างงานในแรงงานเอกชน แต่ว่าครอบคลุมการจ้างงานในระบบรัฐวิสาหกิจด้วย

            อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ   ศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงาน จุฬาฯกล่าวว่า งานวิจัยที่ทำอยู่คือการสำรวจสภาพการทำงานของกลุ่มไรเดอร์ และเรื่องการค้าปลีก หลังมีธุรกิจการการค้าแบบออนไลน์เข้ามา งานในภาคผลิตแบบเทคโนโลยีดิจิตอล มีทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เริ่มจากต้นน้ำ คือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือฮาร์ดดิสไดร์ มีWiFi Module กลุ่มนี้เป็นนาทองคำ โดยเฉพาะที่เป็นโปรแกรมเมอร์ ซึ่งอาจกระทบน้อยในวิกฤตินี้ การผลิตยอดซื้อและยอดขายไม่ได้ลดลง รูปแบบการจ้างงานมีการปรับตัวรวดเร็วและมีการดีเบตกันเรื่องเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนไป ซึ่งมีคนกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า เป็นการนำมาซึ่งโอกาสมากกว่า เมื่อโลกที่เปลี่ยนเป็นดิจิตอลมากขึ้นก็มีการนำเทคโนโลยีใช้มากขึ้นเกือนบทุกชิ้นส่วนแล้ว และเมื่อเทคโนโลยีเป็นฐานเข้ามาทดแทนในการจ้างงาน ซึ่งมีการกล่าวถึงมีการปรับสกิวส์แรงงานใหม่ มีการพัฒนาทักษะซึ่งคิดว่ายากมากที่จะมีการปรับตัวให้เกิดการสมดุลขึ้น

            การจ้างงานแบบใหม่ที่เกิดขึ้นมาและแรงงานถูกมองว่าเป็นแรงงานนอกระบบ ซึ่งเดิมมีอยู่แล้วแต่ตอนนี้ถูกทำให้มีแรงงานนอกระบบมากขึ้น ปัจจุบันที่มีการจ้างงานแบบเดิมก็เริ่มมีการสร้างอาชีพที่หนึ่ง อาชีพที่สองและสามมารองรับ ซึ่งเป็นการทำงานเพิ่มมากขึ้นของแรงงานโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่มีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้นในการปรับอาชีพโดยคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ใช้เทคโนโลยีได้ดีจึงไม่สนใจเรื่องสวัสดิการทางสังคมมากนัก เพราะคิดว่าตนมีทางเลือกทางอาชีพสร้างรายได้ได้มากขึ้น แต่คนที่เริ่มสูงวัยก็จะสนใจมากในเรื่องสวัสดิการสังคมโดยเมื่อเริ่มป่วยหรือเมีผลบกระทบกับตนเองจึงต้องการมีหลักประกันทางสังคมเพิ่มมากขึ้น เช่นการเข้าสู่กฎหมายประกันสังคมมาตรา 40 ซึ่งก็ไม่ได้สนองตอบความต้องการของแรงงานนอกระบบกลุ่มนี้ โดยเฉพาะแรงงานวัยรุ่นมองว่าสวัสดิการที่ได้ไม่ได้เอื้อที่จะเข้าสู่ระบบ และยิ่งใช้ความสมัครใจด้วย

            การต่อสู้ตอนนี้ในกลุ่มของไรเดอร์จำนวนมากที่ออกมาบอกถึงความเติบโตของธุรกิจแบบนี้มากขึ้น ซึ่งตอนนี้ก็มีกลุ่มธุรกิจใหญ่ๆเริ่มเข้าสู่ตลาดนี้และตลาดที่มีการแข่งขันสูงเขามองว่าเป็นโอกาสของงาน และผู้บริโภค แต่ว่า ไม่ได้เป็นอย่างนั้น ภายใต้ตลาดที่แข่งขันสูงขึ้นมีการกควบคุมเรื่องการจ่ายค่าตอบแทน ซึ่งในต่างประเทศเริ่มมีการรวมตัวกันเพื่อต่อรองเรื่องค่าตอบแทน และรัฐหรือขบวนการแรงงานในประเทศไทยก็ไม่ได้เข้าไปดูแลแรงงานกลุ่มนี้ ขบวนการแรงงานไม่ได้เข้าไปเรียกร้องในรูปขบวนจริงๆ ซึ่งตอนนี้การเข้าไปของแรงงานการต่อสู้ที่ดูจะเข้มแข็งก็เริ่มมีการแทรกแซงจากรัฐเข้ามาควบคุมด้วย

            การทำงานรูปแบบการทำงานด้วยกันเป็นเพื่อนกันและยังเป็นขู่แข่งกันเองด้วยการกดรับงาน และข้อเรียกร้องของแรงงานไรเดอร์ก็ยังไม่เป็นเป้าประสงค์ร่วมกัน ซึ่งการจ้างงานแบบนี้ในอนาคตก็จะมีการเพิ่มมากขึ้น ด้วยแรงงานในระบบวันนี้ออกมาก็เข้าสู่แรงงานนอกระบบกลุ่มนี้จำนวนมากขึ้นด้วย

            จากแรงงานที่มีระบบดูแลมีมาตรฐาน และสวัสดิการมาเป็นแรงงานที่ไม่มีระบบในการดูแลซึ่งอาจเป็นบทบาทหน้าที่ของขบวนการแรงงานในการที่จะมีการออกมาเรียกร้องต่อรองมาตรฐานการจ้างงานในกลุ่มนี้ด้วย