ปิดฉากสมัชชาปฏิรูปประเทศไทย กับแนวทางการเคลื่อนไหว ภาคประชาชน

คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ได้จัดประชุมสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นการประชุมครั้งสุดท้าย ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม -2 มิถุนายน 2556 โดยกำหนดประเด็นหลักในการประชุมคือ พลังพลเมืองปฏิรูปประเทศไทย มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 2,500 คน จากเครือข่ายพื้นที่ 77 จังหวัด มีผู้แทนจากกลุ่มเครือข่ายเฉพาะประเด็น 35 กลุ่ม

968925_533382210054928_1115365863_n 2013_06_04_074824_ebgjkknw

สำหรับความเป็นมาของสมัชชาปฏิรูป เกิดขึ้นโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2553 สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ซึ่งมีอดีตนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน และ คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.) ซึ่งมี ศ.นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน

คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ประกอบด้วยผู้แทน นักวิชาการ นักธุรกิจ ผู้นำชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน ทำงานด้วยระบบเครือข่าย เช่น เครือข่ายเกษตรกร เครือข่ายทรัพยากร เครือข่ายศิลปิน เครือข่ายคนพิการ เป็นต้น สำหรับเครือข่ายแรงงานมี รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ เป็นประธาน และมีผู้นำแรงงานไปร่วมเป็นอนุกรรมการเครือข่ายหลายคน เช่น นายชาลี ลอยสูง นายชัยสิทธิ์ สุขสมบูรณ์ เป็นต้น

ระเบียบสำนักนายกที่ 10 (3) ได้กำหนดให้คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป จัดสมัชชาปฏิรูปเฉพาะพื้นที่และเฉพาะประเด็นเพื่อเป็นเครื่องมือในการเชื่อมประสานทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อให้เรียนรู้ร่วมกันบนฐานของปัญญา และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการปฏิรูปประเทศไทย โดยมีเป้าหมายในการสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เช่น จัดเรื่องสมัชชาสุขภาพเพื่อเป็นข้อเสนอด้านความเสมอภาคในด้านสุขภาพ เป็นต้น

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีการขับเคลื่อนภาคประชาชนอย่างต่อเนื่องขยายผลเป็นวงกว้างนำไปสู่การจัดสมัชชาระดับชาติปีละ 1 ครั้ง สรุปเป็นมติเพื่อเสนอเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นนโยบายสาธารณะเสนอต่อรัฐบาล และสังคมได้ตระหนักและขับเคลื่อนร่วมกัน สำหรับการจัดสมัชชาปฏิรูปที่ผ่านมา ครั้งที่ 1 จัดเมื่อวันที่ 24-26 มีนาคม 2554 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม- 1 เมษายน 2555 สำหรับครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา ถือเป็นการจัดครั้งสุดท้าย จึงได้จัดกิจกรรม 39 วันปฏิบัติการปฏิรูปประเทศไทย สานพลังภาคีเครือข่ายทางสังคมทุกภาคส่วนในการร่วมพันสร้างกระแสสังคมปฏิรูปอย่างกว้างขวาง ผ่านการรณรงค์เชิงสัญลักษณ์ด้วยขบวน “ผ้าพลังพลเมือง” อันยิ่งใหญ่นำสู่ขบวนการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไทยอย่างต่อเนื่องสืบไป

reform28

ในการเปิดงานครั้งสุดท้ายนี้ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้กล่าวเปิดงานอย่างยิ่งใหญ่และมีพลัง โดยกล่าวว่า สังคมที่เข้มแข็งเป็นปัจจัยชี้ขาดอนาคตประเทศไทย อยากเห็นประเทศของเรามีเศรษฐกิจที่ดี การเมืองดี ศีลธรรมดี มีความสุจริต ไม่คอรับชั่น จะเกิดขึ้นได้โดยพลังพลเมืองที่เข้มแข็งเท่านั้นที่จะปฏิรูปประเทศได้ โดยเริ่มจากปฏิรูปตนเองด้วยจิตสำนึกใหม่ ปฏิรูปองค์กร และปฏิรูประดับนโยบายที่เป็นสาธารณะ
ต่อจากนั้น นางรสนา โตสิตระกูล สว.ได้กล่าวปาฐกถา โดยได้จุดประกายพลังฮึกเหิมของการสร้างอำนาจของประชาชนฐานล่าง โดยกล่าวว่ากระบวนสมัชชาปฏิรูปเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่ไม่เคยมีมาก่อน 230 ปี ของยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีการปฏิรูปประเทศไทย 4 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 คือการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ 5 ครั้งที่ 2 คือการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ครั้งที่ 3 ขบวนนักศึกษาประชาชน 14ตุลา 2516 ครั้งที่ 4 คือการปฏิรูปการเมืองเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนปี 2540 แต่รัฐธรรมนูญฉบับนั้นสร้างความเข้มแข็งให้รัฐบาลและนักการเมืองแต่อำนาจการตรวจสอบและการทีส่วนร่วมของประชาชนที่เป็นประชาธิปไตยทางตรงอ่อนแอลง

images 3906_612899895386674_935751473_n

สมัชชาปฏิรูป คือการเพิ่มอำนาจประชาธิปไตยทางตรงของภาคประชาชนมุ่งเน้นอำนาจของพลเมืองอย่างกว้างขวาง ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ทำให้มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องมั่นคงของภาคประชาชนสังคม ขบวนการสมัชชาปฏิรูปได้ร่วมกันเคลื่อนไหวผลักดันในภารกิจที่สำคัญ เช่น
1. การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น กาจัดการตนเองในระดับชุมชน จนถึงการจัดการตนเองระดับจังหวัด โดยมี 40 จังหวัดที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอำนาจเจริญ ที่มีเป้าหมายในการจัดการสิ่งแวดล้อมสังคมวัฒนธรรม การศึกษา โดยมี 63 ตำบล รวมพลังขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมาย เป็นต้นแบบของจังหวัดจัดการตนเอง
2. นำเสนอนโยบายสาธารณะ 21 ประเด็นที่มีมติจากสมัชชาที่เสนอต่อรัฐ และภาคประชาชนรวมพลังกันขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จ

สำหรับ 2 ปีที่ผ่านมาเครือข่ายแรงงานได้ผลักดันข้อเสนอให้เป็นมติของสมัชชาปฏิรูปในประเด็นปัญหาเครือข่ายประชาสังคมอื่นๆ เช่น

ปี 2554 มติที่ 4 การปฏิรูประบบประกันสังคมเพื่อความเป็นธรรม
ข้อ 1.ให้รัฐบาล สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาและพรรคการเมืองต่างๆร่วมกัน เร่งดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคมให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี ในประเด็นต่อไปนี้
ข้อ 1.1 ด้านความครอบคลุม ให้ขยายความครอบคลุมไปถึงแรงงานทุกคนทั้งแรงงานในระบบและนอกระบบ รวมทั้งแรงงานข้ามชาติ
ข้อ 1.2 ด้านกลไกการบริหาร
ข้อ1.2.1 ให้มีระบบและกลไกการสรรหาคณะกรรมการประกันสังคม ทั้งฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายผู้แทนผู้ประกันตน การเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนจากผู้ประกันตนจากผู้ประกันตนโดยตรง
ข้อ 1.3 ด้านกลไกการลงทุน ให้มีคณะกรรมการลงทุน ที่องค์ประกอบทั้งฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายผู้แทนผุ้ประกันตน และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
ข้อ 1.4 ให้มีการเปิดเผยข้อมูลการประกันสังคมและการดำเนินการของกองทุนประกันสังคมต่อรัฐสภาปีละครั้ง
ข้อ 1.5 กำหนดเพิ่มเติมใน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ….. ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรกมารประกันสังคม

ปี 2555 มติที่ 1 ปฏิรูปแรงงานและสวัสดิการการเพิ่มอำนาจการต่อรอง โครงสร้างค่าจ้าง การเพิ่มผลิตภาพและการคุ้มครองแรงงาน
มติที่ 1 การปฏิรูประบบแรงงานและสวัสดิการ การเพิ่มอำนาจต่อรองของแรงงานการปรับโครงกสร้างค่าจ้าง การเพิ่มผลิตภาพและการคุ้มครองแรงงาน
ข้อ 1. การเพิ่มอำนาจต่อรองของแรงงาน
ข้อ1.1 ให้รัฐบาลให้สัตยาบันตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และอนุสัญญาฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรองภายในปี พ.ศ.2555
ข้อ1.2. รัฐบาลและนายจ้างให้สิทธิและเสรีภาพในการรวมตัวของแรงงานกลุ่มต่างๆทั้งเป็นการรวมตัวในกลุ่มอุตสาหกรรม ระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรม
ข้อ 1.4 พรรคการเมืองและองค์กรภาคประชาชนต้องเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นโดยให้สิทธิลูกจ้างที่ทำงานในพื้นที่ใดๆในจังหวัดใดๆ มีเวลานานตั้งแต่ 2ปีขึ้นไปมีสิทธิเลือกตั้งและสมัครรับเลือกตั้งตัวแทนของเขตพื้นที่นั้นๆ
ข้อ 1.5 รัฐบาลต้องสนับสนุนการจัดตั้งธนาคารแรงงานหรือกองทุนการเงินของแรงงาน
ข้อ 2. การปรับโครงสร้างค่าจ้าง
ข้อ 2.1 รัฐบาลและนายจ้างต้องมีนโยบายที่ชัดเจนเรื่องค่าจ้างที่เป็นธรรมโดยโครงสร้างค่าจ้างของแรงงานให้คำนึงถึงค่าครองชีพและฝีมือที่สอดคล้องกับประสิทธิภาพ
ข้อ 2.2 กระทรวงแรงงานต้องแก้ไขนิยาค่าจ้างขั้นตำให้เป็นไปตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ สำหรับลูกจ้างที่เริ่มทำงานเป็นครั้งแรกให้มีรายได้พอเพียงเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวอีก 2 คน
ข้อ 3. พัฒนาสมรรถนะความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงปรารถนาเพื่อเพิ่มผลิตภาพ
ข้อ 3.1 ให้กระทรวงศึกษาธิการบรรจุวิชาด้านแรงงานที่เกี่ยวกับเจตคติด้านแรงงาน สิทธิแรงงาน แรงงานสัมพันธ์ การคุ้มครองแรงงาน ประกันสังคม ประวัติศาสตร์ขบวนการแรงงาน
ข้อ 3.4 ให้รัฐบาลมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลัง ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จัดตั้งกองทุนดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 2 ต่อปี ให้ธุรกิจกู้ไปพัฒนาฝีมือลูกจ้างตามความต้องการ

สำหรับในปีสุดท้าย ปี 2556 ไม่มีมติที่เป็นประเด็นของแรงงานแต่เป็นประเด็นของภาคประชาสังคม ซึ่งมี 7 มติ เช่น
1. ข้อเสนอต่อโครงการออกแบบก่อสร้างระบบบริหารจัดการน้ำ
2. การสร้างบรรทัดฐานในการบริหารจัดการน้ำและทุทกภัย โดยใช้หลักธรรมมาภิบาล หลักความโปร่งใส หลักความผิด
3. ให้สมัชชาองค์การเอกชนแต่ละประเด็นมีข้อเสนอเชิงรายละเอียดที่เป็นข้อย่อยอย่างชัดเจน เช่นเดียวกับประเด็นของผู้ใช้แรงงานที่มีรายละเอียดนำสู่การปฏิบัติและการขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรม – ผ่านขบวนการสมัชชาปฏิรูป ซึ่งครอบคลุมประเด็นปัญหาสำคัญ 21 ประเด็น เชื่อมโยงเครือข่ายภาคประชาสังคมทุกกลุ่มทุกพื้นที่อย่างกว้าวขวาง หลายประเด็นประสบความสำเร็จ หลายประเด็นที่มีปัญหา เช่นเดียวกับข้อเสนอของผู้ใช้แรงงานที่ขบวนการต้องปลูกจิตสำนึกรวมพลังขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะประสบความสำเร็จ

เพลง พลังพลเมือง
ประพันธ์โดยเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

สร้างไทยให้เป็นไทย ต้องจริงใจและจริงจัง
บ้างเมืองจะเรืองพลัง ต้องเพิ่มพลังด้วยพลเมือง
ต้องลดความเหลื่อมล้ำ ต้องเป็นธรรมในทุกเรื่อง
ขจัดมารกินบ้านเมือง ไล่มดแมงพวกแมงโกง
สร้างไทยให้เป็นไทย ต้องร่วมใจกันจรรโลง
ร่วมร้างร่วมสร้างโครง ปฏิรูปประเทศไทย

รายงานโดย ทวีป กาญจนวงศ์