ประชาวิวัฒน์กับปกส.ม. 40 แรงงานนอกระบบได้อะไร์?

เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2554 ในงานสมัชชาแรงงาน ปฏิรูปประกันสังคม กับคุณภาพชีวิตแรงงาน“ ประกันสังคมถ้วนหน้า  อิสระ  และโปร่งใส ”      ณ   โรงแรมรามาการ์เด้นส์     ห้องคอนเวนชั่น   ชั้น  4 โดยมีนายอภิสิทธิ์    เวชชาชีวะ  นายกรัฐมนตรี เป็นประธานจัดงานพร้อมรับข้อเสนอของผู้ใช้แรงงานทั้งหมดไปพิจารณาและผลักดันให้มีการปฎิรูปประกันสังคม ต่อมาเวลา 13.20 น. ได้มีการแบ่งกลุ่มย่อย 4 กลุ่ม คือกลุ่มแรงงานนะระบบ กลุ่มแรงงานนอกระบบ กลุ่มแรงงานข้ามชาติ และกลุ่มการเข้าถึงสุขภาพ เพื่อการเสวนาอะไรคือสาระสำคัญของการปฏิรูปประกันสังคมที่ต้องการหาข้อสรุป ทางออกทางเลือก และความเป็นไปได้ โดยห้องกลุ่มแรงงานนอกระบบ เสวนา เรื่อง “ความมั่นคงในวัยทำงาน: เป็นธรรมเข้าถึงง่ายและยั่งยืน” ดำเนินรายการโดย นาง สุนทรี ชัยจิต โดยผู้ดำเนินรายการได้เชิญวิทยากรกล่าวความคิดเห็นต่อหัวข้อในการเสวนาตามลำดับ

นายแพทย์ ถาวร สกุลพาณิชย์ จาก สำนักงานวิจัยเพื่อพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย กล่าวให้ความเห็นต่อหัวข้อในการเสวนาว่า “หากจะทำให้หลักประกันด้านสุขภาพของแรงงานนอกระบบนั้นมั่นคงนั้น ตามที่นายกรัฐมนตรีประกาศในนโยบายประชาวิวัฒน์นั้น การจ่ายเงินสบทบตามมาตรา 40 นั้น ตนเองมีความเห็นว่า หากจะทำให้ตัวกองทุนมีความมั่นคงนั้นรัฐต้องรวบรวมเงินกองทุนทุกก้อนมาบริหารร่วมกัน เพื่อให้เกิดขนาดของกองทุนที่ใหญ่ขึ้น และจะสามารถจ่ายเงินบำนาญได้”

นาย รักษ์ศักดิ์ โชติชัยสถิต ผู้ตรวจการกรม สำนักงานประกันสังคม  แสดงความคิดเห็นบนเวทีเสวนาว่า “คนไทยมีหลักประกันในชีวิตจริงประมาณ 9 ล้านคนเท่านั้น ซึ่งอยู่ในระบบประกันสังคมในภาคบังคับ ส่วนคนไทยอีกประมาณ 56 ล้านคน ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม”

อาจารย์ สุวัฒนา ศรีภิรมย์ ที่ปรึกษาแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานด้านสวัสดิการ แสดงความคิดเห็นบนเวทีเสวนาว่า “ให้นำระบบบริหารที่ดี มีสิทธิภาพ มาบริหารกองทุนฯ เพื่อให้กองทุนนั้นอยู่รอด และมาตรา 40 ไม่ใช่สิ่งที่จะสร้างหลักประกันให้มั่นคงเพียงอย่างเดียว เพราะในระยะเริ่มแรกยังจ่ายค่าทดแทนในกรณีที่คุ้มครองเป็นจำนวนที่ยังน้อย จึงต้องอาศัยมาตรการของรัฐที่คอยสนับสนุนอยู่ เช่น เบี้ยชราภาพ กองทุนสมทบบาทต่อบาท และกองทุนการออมแห่งชาติ”  

ต่อมาผู้ดำเนินรายการ ให้ผู้เข้าร่วมเสวนาแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเสวนาอภิปรายแสดงความคิดเห็น โดยมีการอภิปรายในประเด็นต่างๆ 3 ประเด็น และหนึ่งในสามประเด็นนั้นมีหัวข้อเรื่อง รูปแบบสิทธิประโยชน์ ความซ้ำซ้อนกับสภาพแรงงานนอกระบบ (จัดการอย่างไร, จ่ายเงินสมทบอย่างไร) โดยให้ผู้เข้าร่วมเสวนาแสดงความคิดเห็นว่าควรจัดการรูปแบบของสิทธิประโยชน์อย่างไรและจะจ่ายเงินสมทบอย่างไร ซึ่งมีข้อเสนอต่างๆมากมายและเวทีอภิปรายมีความเห็นพร้องต้องกันมาที่สุด ดังนี้

1.สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนตาม มาตรา 40 ควรที่จะได้รับเท่ากันกับผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 หรือใกล้เคียงกันมากที่สุด

2.ขยายอายุการรับเงินสงค์เคราะห์บุตรจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ

3.บูรณาการการนับเวลาการส่งเงินสมทบใหม่

4.ให้สำนักงานประกันสังคมปรับปรุงวิธีการประชาสัมพันธ์ใหม่ การเข้าถึงข้อมูลให้ง่ายขึ้น โดยอาศัย กำนัล, ผู้ใหญ่บ้าน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

5. ให้สำนักงานประกันสังคมแจ้งสถานะของผู้ประกันตนเป็นหนังสือถึงผู้ประกันตน ทุกๆ 6 เดือน

6. จ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีที่เข้ารักษาพยาบาล (ผู้ป่วยใน) ตามที่ป่วยจริง

7. ให้รัฐจ่ายเงินสมทบเท่ากันกับผู้ประกันตน

8. ปรับวิธีการจ่ายเงินสมทบให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น สามารถจ่ายตอนไหนก็ได้แต่ต้องจ่ายเงินสมทบให้ครบตามที่กำหนดภายในระยะเวลา 1 ปี

9. เข้าเป็นผู้ประกันตนในระบบกลุ่ม เช่น กลุ่มสหกรณ์ กลุ่มตามสาขาอาชีพ เป็นต้น เพื่อเป็นการเฉลี่ยทุกข์-เฉลี่ยสุข

ทั้งนี้ การขยายการประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ เพื่อความมั่นคงทางด้านรายได้และด้านสุขภาพในช่วงที่ประกันสังคมครอบคลุม ฉะนั้นการที่จะเข้าไปรักษานั้นเป็นเรื่องใหญ่ของแรงงานนอกระบบ แรงงานเหล่านั้นต้องส่งประกันสังคมที่แพงมากเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้แต่การที่จะได้สิทธิประโยชน์ในการรักษากลับมีตัวเลือกที่น้อย
หลักความมั่นคงมีอยู่ 2 หลัก คือหลักความมั่นคงทางด้านรายได้และหลักความมั่นคงทางด้านสุขภาพ สิ่งที่รัฐบาลเสนอให้สิทธิประกันสังคมนำรองแรงงานนอกระบบ 4 กลุ่ม คือ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง หาบเร่แพงลอย คนขับแท็กซี่ คนทำงานกลางคืน มีรายได้ที่น้อยอยากให้รัฐบาลสมทบเพื่อให้แบ่งเบาค่าใช่จ่ายแรงงานนอกระบบ และเนื่องด้วยแรงงานนอกระบบมีจำนวนมากการให้บริการส่งประกันตนจะต้องสามารถเข้าถึงได้ง่าย เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อ.บ.ต.) หรือ เขตต่างฯ สุดท้ายผู้ประกันตนแรงงานนอกระบบรัฐจะต้องสมทบและจะต้องได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน

สราวุธ ขันอาสา และมาโนช  หอมจันทร์ นักสื่อสารแรงงาน ชลบุรี-ระยอง รายงาน