ประกาศอัตราค่าจ้างขึ้นต่ำใหม่ 300 บาท 1 ม.ค.เท่ากันทั่วประเทศ ไม่เว้นแรงงานชาติไหน

บอร์ดค่าจ้างได้แถลงผลการประชุมการศึกษา และพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่นๆตามกฎหมายกำหนด ว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบยืนยันตามมติเดิมเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2554 ให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ใน 70 จังหวัดทั่วประเทศ ในวันที่ มกราคม 2556 /นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเป็นเงินให้แก่ลูกจ้างทุกคนไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดไม่ว่า ลูกจ้างนั้นจะมีเชื้อชาติ สัญชาติ วัย หรือเพศใด สำหรับนายจ้างใดได้จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่ากับหรือสูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

 

ประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งได้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ในอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร  จังหวัดกระบี่  กาญจนบุรี  กาฬสินธุ์  กำแพงเพชร  ขอนแก่น  จันทบุรี  ฉะเชิงเทรา  ชลบุรี  ชัยนาท  ชัยภูมิ  ชุมพร  เชียงราย  เชียงใหม่  ตรัง  ตราด  ตาก  นครนายก  นครปฐม  นครพนม  นครราชสีมา  นครศรีธรรมราช  นครสวรรค์  นนทบุรี  นราธิวาส  น่าน  บึงกาฬ  บุรีรัมย์  ปทุมธานี  ประจวบคีรีขันธ์  ปราจีนบุรี  ปัตตานี  พระนครศรีอยุธยา  พังงา  พัทลุง  พิจิตร  พิษณุโลก  เพชรบุรี  เพชรบูรณ์  แพร่  พะเยา  ภูเก็ต  มหาสารคาม  มุกดาหาร  แม่ฮ่องสอน  ยะลา  ยโสธร  ร้อยเอ็ด  ระนอง  ระยอง  ราชบุรี  ลพบุรี  ลำปาง  ลำพูน  เลย  ศรีสะเกษ  สกลนคร  สงขลา  สตูล  สมุทรปราการ  สมุทรสงคราม  สมุทรสาคร  สระแก้ว  สระบุรี  สิงห์บุรี  สุโขทัย  สุพรรณบุรี  สุราษฎร์ธานี  สุรินทร์  หนองคาย  หนองบัวลำภู  อ่างทอง  อุดรธานี  อุทัยธานี  อุตรดิตถ์  อุบลราชธานี  และอำนาจเจริญ 

คณะกรรมการค่าจ้างกลาง  (บอร์ด) ได้แถลงผลการประชุมการศึกษา และพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่นๆตามกฎหมายกำหนด ว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบยืนยันตามมติเดิมเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2554 ให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ใน 70 จังหวัดทั่วประเทศ ในวันที่ มกราคม 2556 และให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไว้ที่วันละ 300 บาท เป็นเวลา ปี ตั้งแต่ปี 2557-2558 โดยบังคับใช้แก่นายจ้างและลูกจ้างทุกคน โดยอาศัยอานาจตามความในมาตรา79 (3) และมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2551ที่คณะกรรมการค่าจ้างประกาศไว้ (อ่านเพิ่มเติมประกาศฯ  และคำชี้แจง ได้ที่นี่ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่7)

 

ทั้งนี้ อัตราค่าจ้างตามประกาศฉบับนี้ไม่มีผลบังคับใช้กับราชการส่วนต่างๆ ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ นายจ้างที่ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับบ้านอันมิได้มีการประกอบธุระกิจรวมอยู่ด้วย นายจ้างซึ่งลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศษรฐกิจ นายจ้างที่จ้างลูกจ้างในงานประมงทะเล นายจ้างที่จ้างลูกจ้างในงานเกษตรกรรมซึ่งมิได้จ้างลูกจ้างทำงานตลอดปี หรือมิได้ให้ลูกจ้างทำงานในลักษณะที่เป็นงานอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากงานเกษตรกรรม 

 

นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างเป็นเงินให้แก่ลูกจ้างทุกคนไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดไม่ว่า ลูกจ้างนั้นจะมีเชื้อชาติ สัญชาติ วัย หรือเพศใด สำหรับนายจ้างใดได้จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่ากับหรือสูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ถือว่า นายจ้างรายนั้นปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำแล้วส่วนนายจ้างใดที่ยังจ่ายค่าจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้ปรับค่าจ้างให้เท่ากับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามท้องที่ที่สถานประกอบกิจการดำเนินการอยู่ แลอัตราค่าจ้างขั้นต่ำนี้มุ่งที่จะคุ้มครองแรงงานเพื่อพัฒนาฝีมือที่เข้าสู่ตลาดแรงานใหม่ในปี 2556 เพื่อให้แรงงานเข้าใหม่เหล่านี้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามสมควรแก่ภาวะการครองชีพในปี2556สำหรับแรงงานที่เข้าสู่ตลาดแรงงานมาไม่น้อยกว่า 1 ปี จะเป็นแรงงานที่มีทักษะฝีมือมากขึ้น มีผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้นนายจ้างควรพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างมากกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

 

หมายเหตุ 1.  คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง  เรื่อง  อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 7)  เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2554 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป