ประกันสังคม ย่างเข้าสู่อำนาจฝ่ายการเมือง และฝ่ายราชการแบบเบ็ดเสร็จ

สปส.โปร่งใส

เมื่อการประชุมเมื่อวันจันทร์  22  เมษายน  พ.ศ. 2556ที่ผ่านมา ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ได้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม ( ฉบับที่ .. ) พ.ศ. …  ด้วยในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่  24  ปีที่  2  ครั้งที่ 23 ( สมัยสามัญนิติบัญญัติ )  วันพุธที่  20  มีนาคม 2556 และครั้งที่ 24 ( สมัยสามัญนิติบัญญัติ )  วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม  2556  ที่ประชุมได้พิจารณาและลงมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม ( ฉบับที่..) พ.ศ. ….ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ, ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม ( ฉบับที่..)พ.ศ. …  ซึ่งนายเรวัต  อารีรอบ กับคณะ เป็นผู้เสนอ และตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา

มีการแก้ไข   มาตรา 7 

มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม  พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม   ( ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้

“มาตรา 8 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “ คณะกรรมการประกังสังคม” ประกอบด้วยรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ  ปลัดกระทรวงแรงงาน  ผู้แทนกระทรวงการคลัง  ผู้แทนกระทรวงหมาดไทย  ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข  และผู้แทนสำนักงบประมาณ เป็นกรรมการ  กับผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน ฝ่ายละเจ็ดคน  ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นกรรมการ ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ ให้ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งมาจากการเลือกตั้งทั้งนี้  หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด

P5010450P5010372

หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิเป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด

นี้คือการเพิ่มอำนาจให้กับรัฐมนตรีแบบเหน็บเสร็จ ในการสั่งการได้อย่างเติมที่  การบริหารจัดการทั้งหมดอยู่ในอำนาจของรัฐมนตรีเป็นคนสั่งการไม่สามารถที่จะตรวจสอบได้ ถ้าหากประกันสังคมที่มีโครงสร้างแบบนี้ การบริหารงานผิดพลาดก็ไม่มีใครรับผิดชอบ ผู้ประกัน 11  ล้านคน และเงินประกันสังคมที่มีอยู่  1  ล้านล้านบาท ถือว่าเป็นขุนทรัพย์ของรัฐบาลมักจะใช้เป็นเครื่องมือสนองนโยบายทางการเมือง ก็จะเข้ามาอยู่ในวงจรอุบาทเหมือนเดิม

DSCN4916DSCN4921

ประเด็นสำคัญประกันสังคม คือข้อเสนอการรื้นโครงสร้างสำนักงานประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระปราถจากการแทรกแซงฝ่ายการเมือง ต้องสร้างกลไกการตรวจสอบการบริหารกองทุนที่มีมืออาชีพในการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมของผู้ประกันตน และเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตน  แต่หลักการต่างๆที่เป็นร่างของภาคประชาชนที่ตกไปแล้วนั้นไม่มีประเด็นที่อยู่ในร่างนี้เลย  พวกเราผู้ประกันตนไม่ควรปล่อยให้ร่างนี้ผ่านสภา  ทุกคนต้องลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องสิทธิในฐานะผู้ประกันตน

หมายเหตุ    ในการประชุมครั้งนี้  ชาลี  ลอยสูงประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ที่ได้ส่งเข้าไปร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ไม่ได้เข้าร่วมประชุมพิจารณาฯจึงไม่ได้มีการโต้แยง  เนื่องติดภารกิจที่ต่างประเทศ

วิไลวรรณ แซ่เตีย รายงาน