บ้านฉันวันนี้ ตอน 20 ปี พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

เสียงแห่งความภาคภูมิใจของผู้ใช้แรงงานในการจัดงานครบรอบ 20 ปีการมีพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยซึ่งถือเป็นแห่งแรกของเอเชียที่ยังตั้งอยู่ริมถนนมักกะสัน เพื่อบอกเล่าประวัติศาสตร์ คุณค่าของผู้ใช้แรงงาน

  • ยงยุทธ เม่นตะเภา  เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์ยานยนต์โลหะแห่งประเทศไทย “ถ้าใครไม่รู้อดีตก็คงไม่มีอนาคต ทุกคนต้องรู้ปูมหลังของตัวเอง เราเองต้องรู้ว่าพ่อแม่เรากำพืดเรา ผู้ใช้แรงงาน ผู้นำแรงงานก็ควรรู้ เมื่อมาเรียนรู้จะว่าขบวนการแรงงานมีการต่อสู้มีพี่น้องเราล้มหายตายจากรู้ว่าภาครัฐพยายามที่จะแทรกแซงตลอด รู้ว่าเราต้องมีเอกภาพ คนงานอยากได้อะไรต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ ผู้นำแรงงานในส่วนของโลหะเครื่องใช้ไฟฟ้า ถือว่าเป็นหลักสูตรหนึ่งที่ต้องมาเรียนรู้ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย”

snapshot22  snapshot23  snapshot34

ปีนี้แม้การจัดงานจะไม่ใหญ่โตนัก มีการทำบุญเลี้ยงพระ และรำลึกถึงผู้นำการต่อสู้ ตลอดจนบุคคลสำคัญที่มีคุณูปการต่อผู้ใช้แรงงาน รวมทั้งมีการล้อมวงคุยกันในโรงงานซ่อมหัวรถจักรมักกะสันเพื่อมองอนาคต บทบาทและความอยู่รอดของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

  • สาวิทย์ แก้วหวาน  อดีตเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ “กว่าจะเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่มาต้องใช้เวลาเป็นสิบปี แต่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้ทำหน้าที่ย่นระยะเวลา ของการศึกษาเรียนรู้นั้นทำให้เราศึกษาได้ง่ายขึ้น เราได้มีโอกาสเรียนรู้ว่าอดีตเขาสู้กันอย่างไร ปัจจุบันเราพิสูตรตัวเราเองได้ว่าเราก้าวหน้าหรือล้าหลัง เพราะฉะนั้นนี้คือหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยในการย่นประวัติศาสตร์”
  • สำเร็จ มูระคา  กลุ่มแท็กซี่อาสาแรงงานนอกระบบ “ก่อนอื่นต้องขอบคุณแกนนำแรงงานที่ช่วยกันทำมา 20 ปีจากการที่เข้ามาสัมผัส ก่อนเลยเคยเป็นแรงงานในระบบ และไม่เคยมาสัมผัสตรงนี้เลย และปัจจุบันได้ออกไปเป็นแรงงานในระบบ และเข้ามาใกล้พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยตรงนี้และได้ศึกษาประวัติศาสตร์ที่ได้ทำหน้าที่ต่อสู้เรียกร้องสิทธิต่างๆถ้าได้เข้ามาใกล้จริงๆพิพิธภัณฑ์แรงงานแห่งนี้มีประโยชน์กับแรงงานทุกรูปแบบไม่ว่าจะในระบบหรือนอกระบบเพราะว่าการที่จะได้อะไรมาสักอย่างต้องต่อสู้เรียกร้องมา”
  • วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย “พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยศูนย์ร่วมของแรงงาน ซึ่งไม่ได้บอกว่าทุกกลุ่ม เพราะมีบางกลุ่มที่ยังไม่เข้ามา พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้ผลิตนักสื่อสารแรงงาน ที่สามารถเขียนข่าวได้ ผลิตวีดีโอของคน ทั้งแรงงานข้ามชาติ แรงงานนอกระบบ แรงงานในระบบ ได้เข้าไปถึงชีวิตของคนงานเหล่านั้น ผลิตคนงานที่สามารถถ่ายทอดเขียนบทความเขียนข่าวได้ อยากย้ำว่านี้คืออาวุธทางปัญญาของคนงาน”

ถึงแม้ผู้ใช้แรงงานในสังคมส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักพิพิธภัณฑ์แรงงานแห่งนี้มากนัก และมองว่าเป็นเพียงสถานที่เก็บของเก่าเท่านั้น ซึ่งในความจริงแล้วพื้นที่แห่งนี้ ได้ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงเล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของแรงงาน สิทธิ สวัสดิการ กฎหมาย และการต่อสู้อันยากลำบากของแรงงานทุกกลุ่ม

นักข่าวพลเมือง เครือข่ายนักสื่อสารแรงงาน รายงาน