บ้านฉันวันนี้ ตอน ห้องเรียนแรงงาน

เป็นอีกครั้งที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยถูกใช้เป็นห้องเรียนสำหรับศึกษาประวัติศาสตร์แรงงานวันนี้นิสิตคณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาอยู่ที่นี่ นอกจากรับฟังการบรรยายจากเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์แล้ว ผู้เป็นของนักศึกษาโดยตรงอย่าง อาจารย์แล ดิลกวิทยารัตน์ ก็ถือโอกาสนี้ช่วยบอกเล่าเรื่องราวแรงงานให้ฟังด้วยตนเอง

snapshot81 snapshot83

ศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยารัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พูดอีกอย่างก็คือเราสอนให้เขาฟังมาเยอะเขาเรียนจากการฟังอย่างเดียวไม่พอควรจะเรียนจากการเห็นและก็เรียนจากการสัมผัสได้หรือเรียนจากตัวบุคคลที่เป็นจริง มันก็จะทำให้การรับรู้ครบวงจรทำให้การรับรู้นั้นรอบด้าน

ครู ห้องเรียน ตำรา แม้จะสามารถให้ความรู้กับผู้เรียนได้แต่การได้มาเห็นภาพจำลองของแรงงาน ที่มีส่วน กับเศรษฐกิจไทยด้วยตาของตนเองเป็นสิ่งที่ เพขรภูมิ ตั้งปณิธานนท์ นิสิตปีที่ 3 มองว่าช่วยทำให้เราเข้าใจได้มากขึ้น

snapshot79 snapshot82

เพขรภูมิ ตั้งปณิธานนท์ นิสิตปีที่ 3 คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาศึกษานอกสถานที่ได้ความรู้ มากกว่าที่เรียนในห้องเรียน เรียนในห้องเรียนก็จะได้ความรู้แค่เรียนในห้องเรียนซึ่งอาจไม่เข้าใจที่อาจารย์สอนเท่ากับมาข้างนอก ข้างนอกได้เห็นภาพ ได้เห็นอุปกรณ์จริงๆว่าทำงานกันอย่างไร ทำให้เข้าใจมากกว่าในห้องเรียน

snapshot80 11snapshot68

เนาวรัตน์ หาญกุดเฉาะ นิสิตปีที่ 3 คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พอมาที่นี่แล้วเราก็ได้เห็นว่าคือเราจะมีการพัฒนาอย่างไรให้อนาคตแรงงานไทยมีความสามารถมากขึ้น และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเพื่อที่จะให้ประเทศชาติเราพัฒนาได้ดีในอนาคต

ศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยารัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวลาที่เราพูดถึงความเจริญของประเทศ พูดถึงปัญหาของประเทศเราจะตัดคนออกไปไม่ได้ เพราะว่าคนพวกนี้เป็นตัวแทนของประเทศชาติจริงๆ ผมถึงคิดว่าเวลาจะสนใจเรื่องเศรษฐกิจของประเทศชาติ มันต้องสนใจถึงปากท้องของคนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนทำงาน

จากห้องเรียนเศรษฐศาสตร์สู่ห้องเรียนประวัติศาสตร์ จากหลักวิชาว่าด้วยเศรษฐกิจถึงผู้ที่อยู่เบื้องหลังความขับเคลื่อนความเติบโตของชาติ ไม่ว่าคนเหล่านี้จะเติบโตไปอย่างไร เราหวังว่ามุมมองต่อชีวิตของแรงงานจะติดตัวเขาไปในอนาคตด้วย
นักข่าวพลเมือง นักสื่อสารแรงงาน รายงาน