นโยบายรถคันแรก กระทบรายได้แรงงาน -เศรษฐกิจโลก

ส่งข่าว4ส่งข่าว1

แรงงานแจงผลรอยต่อนโยบายรถคันแรกทำรายได้แรงงานลดลง หลังผ่านไตรมาสแรกปี 56 เหตุซ้ำเศรษฐกิจโลกถอยเป้าหมายผลิตจาก 2.8 ล้านคัน เหลือ 2.5 ล้านคัน นายจ้างสั่งงดทำงานล่วงเวลาระนาว  นักวิชาการชี้ ประเทศไทยเป็นฐานผลิตที่ได้เปรียบประเทศในภูมิภาคอาเซียน เพราะมุ่งส่งเสริมการลงทุนโดยไม่เก็บภาษีนักลงทุน

วันที่ 29 กรกฎาคม 2556 สหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทยได้จัดสัมมนาเรื่อง “แรงงานไทยกับการเคลื่อนไหวเศรษฐกิจโลก แรงงานได้รับผลกระทบหรือไม่” ณ ศูนย์ฝึกอบรมการไฟฟ้าฝ่ายผลิต บางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทราโดยได้รับเกียรติจากวิทยากร ของสถาบันยานยนต์แห่งประเทศไทยมาเป็นผู้บรรยาย

ข่่่าวส่ง2ส่งข่าว-3

นายวิสุทธิ์  เรืองฤทธิ์ ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงสถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันนี้ว่า “สถานการณ์ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า ยอดการผลิตค่อนข้างลดลงอย่างมากจนเป็นที่น่าแปลกใจ ผลสืบเนื่องมาจากรอยต่อการกำหนดนโยบายรถคันแรก เมื่อผ่านไตรมาสแรกของปี 56 มีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นกับสถานการณ์เศรษฐกิจระดับโลกในแถบยุโรป, อเมริกา, โดยเฉพาะจีน ทำให้เป้าหมายการผลิตของไทยจากเดิมที่กำหนดไว้ 2.8 ล้านคันในปี 2556 ต้องมีการลดเป้าลงเหลือ 2.5 ล้านคันจากเหตุการณ์สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้ทำให้บริษัทประกอบรถยนต์หลายแห่งประกาศงดทำงานล่วงเวลา (OT) เป็นเวลา 3 เดือน เพื่อให้รถที่ตกค้างอยู่ได้กระจายออกสู่ท้องตลาดตามใบสั่งจอง”

“อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ยอดการผลิตลดลงก็คือ ค่าเงินบาทที่แข็งตัว ทำให้เกิดการชะลอตัวในการส่งออกรถยนต์ในปัจจุบันจากสถานการณ์ที่กล่าวมาจึงนำมาซึ่งการเลิกจ้างแกนนำหลาย ๆ ที่เพื่อรถต้นทุนการผลิต ลดค่าใช้จ่ายต่างๆ จากสถานการณ์ต่างๆนำมาสู่การจัดสัมมนาในครั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานะการต่างๆรวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับขบวนการต่อไปในอนาคต” นายวิสุทธิ์  เรืองฤทธิ์

นางรัชนิดา นิติพัฒนาภิรักษ์ รองผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยถือเป็นฐานการผลิตยานยนต์ในเอเชียสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศ โดยมีอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีความแข็งแกร่ง และประเทศไทยนับเป็นฐานการผลิตยานยนต์โลก ซึ่งปัจจุบันมีการแข่งขันของตลาดยานยนต์สูงมากในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนด้วยกัน แต่ประเทศไทยนั้นถือว่า ได้เปรียบในเรื่องของนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งส่งเสริมให้นักลงเข้ามาลงทุนภายในประเทศโดยการไม่เรียกเก็บภาษีกับนักลงทุน (BOI) การผลิตรถยนต์มีแนวโน้มที่สูงขึ้นโดยรถยนต์นั่งจะมีการผลิตที่สูงกว่ารถปิกอัพทั่วไปปี 2012 ที่ผ่านมาไทยสามารถผลิตรถยนต์ได้ถึง 2.4 ล้านคันซึ่งถือว่าสูงสุดเป็นประวัติการ แต่ไทยก็ยังมีคู่แข่งที่น่าจับตามอง เช่น อินโดนีเซีย ซึ่งในปีที่ผ่านมานั้นอินโดฯสามารถผลิตรถยนต์ได้ถึงหลักล้านคันและขายในประเทศเท่านั้นหากในอนาคตอินโดมีการขยายการส่งออกก็จะทำให้มีปัญหากับประเทศไทยอย่างแน่นอนแน่นอนว่าไทยต้องปรับปรุง และพัฒนาศักยภาพของตัวเองให้ดีขึ้นกว่าประเทศคู่แข่งเพื่อความได้เปรียบทางการค้าการลงทุน ในปี 56 มีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะมียอดการผลิตรถยนต์อยู่ที่ 2.5 ล้านคันอนาคตจะมีค่ายรถยนต์ยี่ห้อต่าง ๆ เข้ามาลงทุนในบ้านเรามากขึ้นทั้งหมดนี้คือทิศทางของยานยนต์ ในอนาคต.

ส่งข่าว7อาจารย์วิมล  ปั้นคง สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD) กล่าวว่าปัจจุบันตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของไทย ก็คือรถยนต์ และอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในปัจจุบัน ก็คือ อัตราเงินแลกเปลี่ยน น้ำมันดิบ รายได้ประชากร จากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 55 ที่ผ่านมาเนื่องจากนโยบายรถคันแรกของรัฐบาลทำให้มียอดผลิตสูงสุดเป็นประวัติการประเด็นที่น่าจับตามอง ในปี 56 นี้ก็คือผลกระทบจากนโยบายรถคันแรกของรัฐฯที่ดึงเอายอดผลิตของรถยนต์ในอนาคตมาใช้ จึงทำให้ยอดผลิตรถยนต์จากวันนี้ไปจนถึงอีก 2 ปีข้างหน้าเกิดการชะลอตัวไม่หวือหวาเท่าที่ควรอีกทั้งยังส่งผลกระทบไปสู่ภาคแรงงานที่หลาย บริษัทฯผู้ผลิตรถยนต์และอะไหล่ ประกาศงดโอที และเลิกจ้างคนงานบางส่วนซึ่งเป็นผลกระทบกับคนงานโดยตรงซึ่งคนงานก็ต้องบริหารจัดการตัวเองให้อยู่ได้สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการพัฒนาทักษะยกระดับฝีมือแรงงานให้ได้เปรียบประเทศคู่แข่งเพื่อรองรับการแข่งขันกับเทคโนโลยี และตลาดแรงงานเพื่อนบ้านสำหรับแนวทางการปรับตัวของภาคแรงงานก็คือความร่วมมือกันทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ลูกจ้าง นายจ้าง รัฐบาลต้องให้ความร่วมมือซึ่งกันและกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแรงงานขึ้นซึ่งณสถานะการณ์แบบนี้ความร่วมมือเป็นสิ่งสำคัญ ตลอดจนการสร้างอำนาจการต่อรองที่ยิ่งใหญ่ด้วยการรวมตัวกันเพื่อให้สามารถยืนอยู่ได้ด้วยขาของตัวเองต่อไป

กระมนต์   ทองออน   นักสื่อสารแรงงาน / รายงาน