นโยบายค้ามนุษย์ไทยทำให้เหยื่อแรงงานข้ามชาติพม่าที่นายหน้าแสวงหาผลประโยชน์ถูกบังคับกักขัง 

DSC07634

MWRN เรียกร้องหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งก.พ.ม. ก.แรงงานอนุญาตให้แรงงานข้ามชาติทั้ง 10 คน ออกจากบ้านพักผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ได้โดยทันที พร้อมช่วยเหลือหางานที่ถูกต้องตามกฎหมายตามความสมัครใจโดยไม่ประวิงเวลาต่อไปอีก

26 เมษายน 2559 เครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN) ได้เข้าร่วมช่วยเหลือการบังคับใช้กฎหมายต่อบริษัทจัดหางาน  และนายหน้ากับหน่วยงานราชการไทย กรณีแรงงานข้ามชาติพม่า 10 คน ผ่านการคัดกรองว่าเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ จากแรงงานพม่าประมาณ 100 คน ต่อ “นโยบายค้ามนุษย์ไทยทำให้เหยื่อแรงงานข้ามชาติพม่าที่นายหน้าแสวงหาผลประโยชน์ถูกบังคับกักขัง” ที่เครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN) ได้เข้าร่วมช่วยเหลือการบังคับใช้กฎหมายต่อบริษัทจัดหางานและนายหน้ากับหน่วยราชการไทย ซึ่งมีหน่วยราชการไทย ที่เข้าร่วมในปฏิบัติการครั้งนี่ได้แก่ กระทรวงแรงงาน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พ.ม.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (กองบังคับการปราบปรามความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ราชบุรี เเละ สุพรรณบุรี ซึ่งแรงงานข้ามชาติกลุ่มนี่ถูกบังคับหน่วงเหนี่ยวโดยไม่เต็มใจขณะผู้เสียหายได้เข้าพักที่บ้านพักผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ชาย จังหวัดปทุมธานี

จากประเด็นแรงงานข้ามชาติพม่า 10 คน ผ่านการคัดกรองว่าเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ จากแรงงานพม่าประมาณ 100 คน แรงงานข้ามชาติทั้งหมดถือหนังสือเดินทางจากรัฐบาลพม่า เเละเดินทางเข้าประเทศไทยโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 แรงงานทั้งหมดถูกแสวงประโยชน์หลายเดือน ตั้งแต่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย เเละเตรียมขอทำใบอนุญาตทำงานกับนายจ้างรายใหม่ในสมุทรสาคร ต่อมาแรงงานกลุ่มนี้ได้ถูกย้ายเข้าไปพักที่บ้านพักผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ของทางราชการทำให้มีข้อจำกัดเรื่องเสรีภาพในการเดินทางของตน

MWRN มีความห่วงใยอย่างยิ่งต่อระบบ เเละนโยบายด้านการค้ามนุษย์ที่เป็นอยู่ของรัฐบาลไทยในกรณีข้างต้น ซึ่งทำให้ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ 10 คนถูกหน่วงเหนี่ยวโดยไม่เต็มใจ แรงงานข้ามชาติเหล่านี้มีหนังสือเดินทางถูกต้องตามกฎหมายและต้องทนทุกข์เป็นเวลาหลายเดือนระหว่างรอหางานใหม่ เพื่อจะได้มีรายได้และส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวที่ประเทศเมียนมาร์โดยด่วน เพื่อใช้หนี้ก้อนใหญ่ที่เกิดจากการเดินทางมายังประเทศไทย เนื่องจากกระบวนการจัดหาแรงงานที่ใช้นายหน้าและบริษัทจัดหางานทั้งฝั่งไทยเเละฝั่งเมียนมาร์ซึ่งปราศจากความรับผิดชอบมุ่งแสวงประโยชน์และมีค่าใช้จ่ายสูง

ในกรณีนี้ แม้แรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าทั้ง 10 คนมีเจตนาจะเข้าร่วมการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายต่อนายหน้าบริษัทจัดหางานทั้งไทยและพม่าที่แสวงประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรมต่อตนเอง ทั้งยังต้องการรับสวัสดิการสำหรับผู้ที่ได้รับการคัดกรองในฐานะผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ทว่าทางเลือกของแรงงานข้ามชาติที่จะเข้าสู้กระบวนการข้างต้นไม่ควรต้องแลกมาด้วยเสรีภาพส่วนบุคคล ที่จะสามารถเลือกประกอบอาชีพได้โดยอิสระและสามารถเลือกพำนักกับชุมชนแรงงานข้ามชาติคนอื่น ๆ ในสังคมไทยได้

ถ้าผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ในประเทศไทยทุกคนต้องถูกบังคับโดยอัตโนมัติให้อยู่เฉพาะในบ้านพักสำหรับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที่จำกัดเสรีภาพเท่านั้น ตามนโยบายรัฐบาล แม้ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ไม่ประสงค์จะอาศัยอยู่ในบ้านพักฯ และในกรณีที่ผู้เสียหายไม่ได้ร้องขอการคุ้มครองพยาน การฟื้นฟู หรือบริการสนับสนุนอื่น ๆ  นโยบายดังกล่าวจึงอาจลดความเต็มใจที่ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จะสมัครใจเปิดเผยตัว เเละเข้าร่วมกับเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้ข้อเท็จจริงที่เที่ยงตรงแห่งการละเมิดของตนในอนาคตได้ สถานการณ์ดังกล่าวย่อมมีโอกาสทำลายประสิทธิภาพความพยายามของรัฐบาลที่จะต่อสู้การค้ามนุษย์อย่างเเท้จริงในอนาคตได้เช่นกัน

MWRN ขอเรียกร้องหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงแรงงานให้อนุญาตให้แรงงานข้ามชาติทั้ง 10 คน ออกจากบ้านพักผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ได้โดยทันที และให้ความช่วยเหลือในการหางานที่ถูกต้องตามกฎหมายตามความสมัครใจโดยไม่ประวิงเวลาต่อไปอีก

ตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2559 MWRN ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติพม่าที่ตกเป็นเหยื่อการแสวงหาผลประโยชน์เกือบ 100 คน จากนายหน้า แม้แรงงานข้ามชาติได้เข้ามาเพื่อทำงานโดยชอบด้วยกฎหมายในประเทศไทยตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน  2558  เพื่อทำงานเป็นลูกจ้างของบริษัทรับเหมาช่วงแรงงานที่จดทะเบียนในประเทศไทย ที่ไม่จดทะเบียนสถานประกอบการ ภายใต้นโยบายปัจจุบันของรัฐบาลไทย บริษัทสามารถจ้างและหมุนเวียนแรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายไปทำงานได้ทั่วประเทศไทย แรงงานข้ามชาติในกรณีนี้และแรงงานข้ามชาติอื่น ๆ มีแนวโน้มว่าเคยถูกหมุนเวียนส่งไปทำงานที่โรงงานไก่ โรงงานมะพร้าว บริษัทรับเหมาก่อสร้างและสถานที่ทำงานอื่น ๆ หลายแห่ง ตั้งแต่เข้ามาในประเทศไทย  หลายกรณีพบว่าแรงงานข้ามชาติไม่ได้รับค่าจ้าง หรืออาจมีการหักเงินค่าจ้างโดยมิชอบด้วยกฎหมายจากค่าจ้างที่ได้รับ เนื่องจากแรงงานตกอยู่ในสถานการณ์แรงงานขัดหนี้ และนายหน้าหรือบริษัทจัดหางานเรียกค่าธรรมเนียมสูง  เวลาที่อยู่ในประเทศไทยส่วนใหญ่แรงงานข้ามชาติจะไม่มีหนังสือเดินทาง เอกสารแสดงตนอื่น ๆ และแม้กระทั่งบัตรเอทีเอ็มไว้กับตัว นายหน้าหรือบริษัทจัดหางานที่เป็นผู้จัดการแรงงานข้ามชาติจะเก็บไว้หรือยึดไว้  โปรดพิจารณาข่าว เรื่อง การช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติจากโรงงานที่จังหวัดราชบุรี http://www.thairath.co.th/content/604267 และ http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9590000036888

///////////////////////////