นายจ้างฟูจิตสึฯรุกหนัก พลิ้วไม่เจรจา กฎหมายบีบ สั่งขัง 15 คน

เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ศาลแรงงาน 2 จังหวัดชลบุรี แกนนำ สหภาพแรงานงานฟูจิตสึ เจเนอรัลประเทศไทย จำนวน 15 คน หญิง 2 ชาย 13 หลังศาลพิพากษา มีคำสั่งจำคุก 7 วัน ข้อหาละเมิดคำสั่งศาล ผู้นำแรงงานวุ่นวิ่งขอประกันตัวแต่ไม่ทัน ทั้งหมดถูกส่งเข้าเรือนจำกลางชลบุรี ส่วนผู้หญิงส่งเข้าทัณฑสถาน ม๊อบหน้าโรงงานโดนด้วย ให้รื้อเต๊นย้ายที่ชุมนุมใหม่
 
จากที่นายจ้างร้องต่อศาลแรงงาน 2 จังหวัดชลบุรี อ้างว่ากลุ่มผู้ชุมนุมมีการปิดกั้นขวางทางเข้าออกโรงงานและศาลมีหมายห้ามชั่วคราว เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ความว่า ให้จำเลยทั้ง 16 (สหภาพแรงงานจำเลยที่ 1 และแกนนำ จำเลยที่ 2 ถึง 16) และศาลมีคำสั่งห้ามทั้งหมดกระทำการดังนายจ้างกล่าวอ้าง
 
เป็นเวลากว่า 45 วันแล้วที่กลุ่มพนักงาน กว่า 600 คน ของบ.ฟูจิตสึเจเนอรัลประเทศไทยจำกัดยังคงชุมนุมอยู่ข้างโรงงาน เนื่องจากถูกนายจ้างปิดงาน และไม่ยอมเจรจา เพื่อหาข้อยุติร่วมกัน ทั้งนี้ในส่วนของข้อเรียกร้องที่เจรจากันมาเป็นเวลานาน เหลือเพียง 1. โบนัสเรายื่นไปที่ 4.5 เดือนบวกเงิน 12,000 บาท แต่วันที่ 2 ก.พ.54 นายจ้างตอบรับที่ 4.2 เดือนเงินบวก12,000  บาท ทั้งนี้ในส่วนของข้อเสนอของนายจ้างลูกจ้างได้รับมาขอมติกับส่วนของสมาชิกสหภาพแรงงาน และได้รับฉันทามติในการยอมรับข้อตกลงแล้ว แต่มาเกิดเหตุการณ์จับกุมแกนนำเสียก่อน
 
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 18.10 น.ภายในเต๊นผู้ชุมนุมยังคงมีแกนนำสหภาพแรงงานและสมาชิกสหภาพแรงงานกลุ่มแหลมฉบังสัมพันธ์นำโดย นาย สมควร โสนรินทร์ ประธานสหภาพแรงงานฟูจิตสึฯ นาย วัลลภ จั่นเพชร แกนนำสหภาพแรงงาน คงปรระกอบกิจกรรมตามปกติ โดยมี นาย สมพร ขวัญเนตร ประธานคณะทำงานกลุ่มแหลมฉบังสัมพันธ์ นาย เสมา สืบตระกูล เจ้าหน้าที่จัดตั้งสหภาพแรงงาน OLUC ร่วมให้กำลังใจและคำปรึกษากับกลุ่มผู้ชุมนุม
 
นาย วุฒิชัย รอดนุ้ย เหรัญญิกสหภาพแรงงานฟูจิตสึฯ เปิดเผยว่า ในวันนี้(8 กพ54) ช่วงเช้ากลุ่มผู้ชุมนุมได้ทำบุญเลี้ยงพระ โดยนิมนต์พระสงฆ์จากวัดใหม่เนินพยอม จำนวน 9 รูป ทั้งนี้เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ทุกๆคน แต่ช่วงบ่ายมีเจ้าหน้าที่ศาลมาส่งหนังสือ นัดสอบถาม โดยให้แกนนำทั้ง 15 คนเดินทางมาศาลแรงงาน 2 จังหวัดชลบุรีในวันที่ 9 กพ 54 เวลา9.00 น
นัดสอบ นายจ้างยื่นคำแถลง  ศาลชี้พนักงานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล พิพากษาคุมขัง  15 คนงาน  
 
เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์  2554 เวลา 9.00 น. แกนนำสหภาพแรงงานฟูจิตสึ เจเนอรัลประเทศไทย ทั้ง 15 คน ประกอบด้วย 1 นาย สมควร โสนริทร์  2 นาย วัลลภ จั่นเพชร 3 นาย อภิเชษฐ สุขจันทร์ 4 นาย วุฒิชัย รอดนุ้ย 5 นาย สงกรานต์ ปานไธสง 6 นาย จำรอง ใจคำติ๊บ 7 นาย อุทิตย์ วงศ์จันทร์ 8 นาย บุญวัฒน์ สำเภอเงิน 9 นาย ปรีชา สุดเอียด 10 นาง ประภัสรา เพ้ยจันทึก 11 นาย อดิสร รุ่งสว่าง 12 นาย สุบิน จันทร์แดง 13 นาย ประครอง โทผา 14 นาง นิภาวรรณ พวงศรี  15 นาย กิตติศักดิ์ มหาฤทธิ์ พร้อมผู้นำแรงงานกลุ่มแรงงานกลุ่มแหลมฉบังสัมพันธ์และย่านใกล้เคียงร่วมให้กำลังใจและคอยให้ความช่วยเหลือ 
 
นาย ธนกร สมสิน ประธานสหภาพแรงงานมิชลินประเทศไทย ผู้ซึ่งได้ไปร่วมให้กำลังใจกลุ่มคนงานที่ศาลแรงงาน 2 จังหวัดชลบุรีเปิดเผยว่า ช่วงเช้าทุกคนได้เข้าห้องพิจารณาคดีโดยมีเฉพาะฝ่ายคนงาน 15 คนและฝ่ายนายจ้างประมาณ 10 คน  เนื่องจากห้องคับแคบตนเองและผู้นำแรงงานคนอื่นๆอยู่นอกห้องโดยได้สังเกตอาการของกลุ่มคนงานในห้องอยู่ตลอดเวลา ทุกคนยังมีสีหน้าและอาการที่ปกติดี หลังจากนั้นเป็นเวลาพักเที่ยง  ในช่วงบ่ายทุกคนได้เข้าห้อง ศาลขึ้นบัลลังค์อ่านคำพิพากษาว่าให้จำคุกคนงานทั้ง 15 คน เป็นเวลา 7 วัน ซึ่งทุกคนมีสีหน้าที่วิตกอย่างเห็นได้ชัด  และไม่สามารถจะเดินเรื่องประกันตัวได้ทัน
 
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ศาลแรงงาน 2 จังหวัดชลบุรี นาย ทวีป พรมมา ผู้ช่วยเหรัญญิก สหภาพแรงานมิชลินประเทศไทยซึ่งได้เดินทางมาเพื่อช่วยเหลือและประสานงานในการประกันตัวแกนนำทั้ง15 คนเปิดเผยว่า ได้ซื้อเงินประกันเป็นเงิน 700,000 (เจ็ดแสนบาท) เพื่อยื่นประกันตัวทั้งหมด โดยใช้เงินประกัน 50,000 บาท ต่อคน แต่ศาลอนุญาตแค่ 2 คน คือนาง นาง ประภัสรา เพ้ยจันทึก นาง นิภาวรรณ พวงศรี   หลังจากที่ทราบว่าศาลไม่อนุญาตให้ประกัน ตัว ญาตพี่น้องและครอบครัวที่เฝ้ารอคอยอิสระภาพของทุกคนต้องน้ำตาคลอ บางคนร้องไห้ออกมา บางคนก็ตัดพ้อว่าความผิดแบบนี้ทำไมถึงต้องทำกันขนาดนี้..ไม่ได้ไปฆ่าใครที่ไหน
 
นาง นิภาวรรณ หนึ่งในผู้ที่ถูกคุมขังและได้รับการประกันตัวอออกมาเปิดเผยว่า ตนเองอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมนั้นทำหน้าที่เลขาธิการสหภาพ และวันๆก็อยู่ในเต๊นทำหนังสือแต่ไม่เข้าใจว่าอยู่ในกลุ่มผู้ทำความผิดตามที่นายจ้างกล่าวอ้างได้อย่างไร และความจริงพวกเราก็ไม่มีใครไปปิดกั้นตามที่นายจ้างกล่าวอ้าง ที่ผ่านมาเราถูกกระทำมาโดยตลอดไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ชุมนุมก็มีการปิดกั้นรั้วสังกะสีตลอดแนวฟุตบาทซึ่งเป็นที่ของการนิคมฯทำให้พวกเราไม่มีที่อยู่ คล้ายๆกั้นไม่ให้เรามีพื้นที่ในการชุมนุม แต่พอเราอยู่กลางถนนกลับหาว่าเราปิดกั้นโรงงาน ช่วงบริษัทประกาศปิดงานก็ห้ผู้รับเหมาเข้าทำงานตลอดเวลา ยังมีกระแสว่าบริษัทให้บริษัทผู้รับเหมาประกาศรับคนงาน 500 อัตรา เพื่อเข้าทำงานด่วนพร้อมทั้งให้โปรโมชั่นพิเศษหลายอย่างอีกด้วย ที่ผ่านมาการเจรจาแต่ละครั้งสหภาพแรงงานก็ยอมถอนข้อเรียกร้องตามที่นายจ้างต้องการมาแล้วเกือบทุกข้อแต่นายจ้างก็สร้างเงื่อนไขใหม่ๆมาเรื่อยและบ่ายเบี่ยงไม่ยอมเจรจาเอาดื้อๆ โดยบางครั้งให้เหตุผลว่าไม่พร้อม
 
ทางด้านนาย สมพร ขวัญ เนตร ประธานคณะทำงานกลุ่มแรงงานแหลมฉบังสัมพันธ์ เปิดเผยว่า วันนี้(10 ก.พ. 54) ตนพร้อมผู้นำแรงงานได้เดินทางไปศาลแรงงาน 2 จังหวัดชลบุรี เพื่อขอประกันตัวกลุ่มคนงานทั้ง15 คน แต่ก็ต้องผิดหวังเมื่อศาลอนุญาตแค่ผู้หญิงสองคนที่เหลือไม่อนุญาตให้ประกัน 
 
ในส่วนของยุทธศาสตร์การต่อสู้วันนี้เราประชุมกันกับกลุ่มพนักงานและแกนนำรุ่นสอง สรุปว่า พรุ่งนี้จะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)ท่านหนึ่งในจังหวัด ชลบุรีอาสาที่จะไกล่เกลี่ยหาข้อยุติกันให้ พร้อมทั้งขอนิรโทษกรรมผู้ถูกดำเนินคดีทั้งหมด หากไม่จบเราก็จะเดินเท้าเข้าสมทบกับพี่น้องแรงงาน แมกซิส พีซีบี เอ็นทีเอ็น ที่ยังคงปักหลักรอพวกเราอยู่  พร้อมทั้งกล่าวว่าพรุ่งนี้หวังว่าศาลฎีกาที่เรายื่นอุทธรณ์คำสั่งจากศาลชั้นต้นเพื่อขอประกันตัวแกนนำนั้นผลการวินิจฉัยจะออกมาทัน ซึ่งพรุ่งนี้(11 ก.พ. 54) ก็คงต้องติดตามกันต่อไป นาย สมพรกล่าวเสริม
 
อนึ่ง บริษัท ฟูจิตสึ เจเนอรัล ประเทศไทย จำกัด  ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี  ซึ่งผลิตเครื่องปรับอากาศส่งอก เป็นหนึ่งในกลุ่มฟูจิตสึ ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น
 
สมหมาย ประไว สื่อสารแรงงานศูนย์ ชลบุรี ระยอง รายงาน