นายจ้างขอลดสวัสดิการเฉพาะสมาชิกสหภาพฯ ในขณะที่สหภาพชี้แจงสมาชิกท่ามกลางกองกำลังตำรวจทหาร เจ้าหน้าที่แรงงานลงพื้นที่พร้อมเปิดเวทีไกล่เกลี่ยทั้งสองฝ่าย ลูกจ้างยืนยันขอใช้แรงงานสัมพันธ์ เจรจาทวิภาคี ผลยังไม่คืบ
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน สหภาพแรงงานชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคและคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ลูกจ้างบริษัท ฮัทชินสัน เทคโนโลยี โอเปอเรชั่น จำกัด ตั้งอยู่นิคมอุตสาหกรรมโรจน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวนมากได้รอฟังการชี้แจงความคืบหน้าข้อเรียกร้องและสถานการณ์ หลังนายจ้างประกาศจะลดสวัสดิการเฉพาะสมาชิกสหภาพแรงงานฯซึ่งมีสมาชิกเข้าร่วมประมาณ400คนโดยได้มีการเจรจาข้อเรีกย้องกันมาอย่างต่อเนื่องและไม่นานนักก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารได้เข้ามาควบคุมสถานการณ์การชี้แจงข้อเรียกร้องของลูกจ้างเหมือนทุกครั้งแต่ครั้งนี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
ตัวแทนสหภาพแรงงานได้ให้ข้อเท็จจริงต่อนักสื่อสารแรงงานว่า “สหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างเมื่อวันที่13พฤศจิกายน2557และเจรจาไป1ครั้งจนวันที่20พฤศจิกายนได้เจรจาข้อเรียกร้องครั้งที่2 แต่ทางนายจ้างแจ้งว่าไม่มีอะไรจะให้ และได้ยื่นข้อรียกร้องสวนทางขอลดสวัสดิการ ทำให้บรรยากาศในการเจรจาเลวร้ายลง ซึ่งต่อมานายจ้างได้ปิดประกาศแจ้งลูกจ้างว่าจะขอลดสวัสดิการเฉพาะลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานฯเท่านั้น ทางกรรมการสหภาพแรงงานจึงเปิดการชี้แจงต่อสมาชิกในช่วงเย็นหลังเลิกงาน ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารคอยควบคุมการชุมนุมอยู่จำนวนมากทุกครั้ง
ซึ่งในวันที่ 20 พ.ย.เวลาประมาณ19.00น. ทางสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดได้เข้ามาได้ขอเปิดเวทีเพื่อเจรจาไกล่เกลี่ยทั้งฝ่ายแต่ทางฝ่ายนายจ้างยังคงยืนยันที่จะขอลดสวัสดิการและพร้อมที่จะพิพาทแรงงาน ด้านทางฝ่ายลูกจ้างแจ้งว่าจะไปร่วมสมทบกับคณะกรรมการสมาฉันท์แรงงานไทย(คสรท.)เพื่อร่วมเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานวันที่21พฤศจิกายน2557เพื่อหาทางออกโดยได้มีการร้องเรียนบทบาทเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปสังเกตการณ์การเจรจา ด้วยยังไม่มีข้อพิพาท เป็นการเจรจาแบบทวิภาคี พร้อมแจ้งว่าทางลูกจ้างยังต้องการใช้ระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดี่อนายจ้างอยู่ และขอยึดหลักการเจรจาสองฝ่าย เพื่อหาข้อยุติ ซึ่งในวันนี้(25 พ.ย. 57) ทั้งสองฝ่ายมีการนัดเจรจาอีกครั้ง ช่วงเย็นกลุ่มคนงานก็ได้นัดกันเพื่อรอฟังผลการเจาจราที่บริเวณด้านข้างบริษัทเช่นเดิม
ด้านกระทรวงแรงงานวานนี้ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.)นายสุวิทย์ สุมาลา กล่าวว่า ทางกสร.เฝ้าระวังข้อพิพาทแรงงานที่ยื่นข้อเรียกร้องช่วงปลายปีของทุกปี สหภาพแรงงานในสถานประกอบการต่างๆจะยื่นข้อเรียกร้องปรับเพิ่มค่าจ้างประจำปี สวัสดิการและเงินโบนัสต่อนายจ้าง หากไม่สามารถตกลงกันจนเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายก็อาจจะเกิดพิพาทขึ้นได้โดยเฉพาะช่วงนี้สภาพเศรษฐกิจยังชะลอตัวและ ไม่เติบโตเท่าที่ควร ทำให้ความสามารถในการจ่ายเพื่อปรับเพิ่มค่าจ้างประจำปี สวัสดิการต่างๆและเงินโบนัสลดลงจากเดิม ซึ่งขณะนี้มีสถานประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ประมาณ100แห่งในพื้นที่ภาคกลางและตะวันออก เช่น จ.สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา สระบุรี ชลบุรี และระยอง ที่กสร.เฝ้าระวังปัญหาข้อพิพาท เนื่องจากมีการยื่นข้อเรียกร้องข้างต้น หากพบว่าเกิดข้อพิพาทจะเร่งส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปไกล่เกลี่ยให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว ซึ่งกสร.เน้นใช้หลักแรงงานสัมพันธ์ให้ทั้งสองเจรจากันจนได้ข้อยุติที่ทั้งสองฝ่ายพอใจและอยู่รอดได้แบบถ้อยทีถ้อยอาศัย
ทั้งนี้ สถานการณ์ด้านแรงานสัมพันธ์ ในช่วงวันที่1- 29 ตุลาคม 2557 พบใน 5 กรณี คือ 1. เกิดการชุมนุม 1 ครั้ง ในจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อรอฟังผลการเจรจาข้อเรียกร้องในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง 2.การยื่นข้อเรียกร้องในสถานประกอบการ 65 แห่ง ลูกจ้างเกี่ยวข้อง 27,625 คน 3.มีข้อพิพาทในสถานประกอบการ 8แห่ง ลูกจ้าง 5,292 คน 4.มีข้อขัดแย้งในสถานประกอบการ 9 แห่ง ลูกจ้าง7,123คน และ5. มีการจดทะเบียนข้อตกลงและสิทธิประโยชน์ 25 ฉบับ รวมวงเงินกว่า 974 ล้านบาท ขณะเดียวกันเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายน2557คาดว่าจะมีสถานประกอบการยื่นข้อเรียกร้อง เพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงาน เนื่องจากข้อตกลงเดิมสิ้นสุดลง จำนวน 73 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องการขอปรับค่าจ้างประจำปี เงินโบนัส ค่าครองชีพและสวัสดิการต่างๆนอกจากนี้ ยังพบว่าจะมีสถานประกอบการทั่วประเทศที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสิ้นสุด ในช่วงเดือนตุลาคม 2557ถึง เดือนกันยายน 2558 จำนวน 409 แห่ง (ข้อขอบคุณข้อมูลจากนักข่าวกระทรวงแรงงาน)
นักสื่อสารแรงงาน รายงาน